พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
รองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ | |
ประสูติ | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2474 (69 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
หม่อม | 13 คน |
พระบุตร | 35 องค์ |
ราชสกุล | วรวรรณ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4 |
มหาเสวกโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2474) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร เป็นพระบิดาแห่งการละครร้อง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาเขียน เป็นกวีและนักประพันธ์ ทรงดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นราชสกุลวรวรรณ[1]
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 56 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเขียน ประสูติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
พระองค์ทรงเริ่มรับราชการที่หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นพนักงานการเงินที่ฝากแบงค์ต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี[2][3] และสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2432[4] ดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนกรมขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า[5]
"พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มกุฏวงศ์นฤบดี มหากวีนิพันธนวิจิตร ราชโกษาธิกิจจิรุปการ บรมนฤบาลมหาสวามิภักดิ์ ขัตติยศักดิ์อดุลพหุลกัลยาณวัตร ศรีรัตนไตรย์คุณาลงกรณ์ นรินทรบพิตร"
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประชวรพระโรคพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชันษาได้ 69 ปี 315 วัน[6] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2476 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส[7]
พระโอรสและพระธิดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีหม่อม 13 คน ได้แก่
- หม่อมต่วนใหญ่
- หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สวัสดิ์-ชูโต)
- หม่อมเจียม
- หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ (ราชสกุลเดิม มนตรีกุล)
- หม่อมอินทร์
- หม่อมบุญ
- หม่อมหลวงตาด (ราชสกุลเดิม มนตรีกุล)
- หม่อมแช่ม (สกุลเดิม วงศาโรจน์)
- หม่อมแถม
- หม่อมสุ่น (สกุลเดิม เพ็ญกุล)
- หม่อมเชื้อเล็ก
- หม่อมพร้อม
- หม่อมแสร์
มีพระโอรส 1 พระองค์ กับ 20 องค์ และมีพระธิดา 2 พระองค์ กับ 12 องค์ รวม 35 พระองค์/องค์ ได้แก่
ลำดับ | พระรูปและพระนาม | เพศ | พระมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์/ถึงชีพิตักษัย | คู่เสกสมรส |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | หม่อมเจ้าพรรณพิมล (ท่านหญิงใหญ่) |
ญ. | หม่อมต่วนใหญ่ | 13 กันยายน พ.ศ. 2423 | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 | |
2 | หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ (ท่านชายตุ๊) |
ช. | หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2431[8] | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2496 | หม่อมโจฮันนา (เวเบอร์) หม่อมสมรวย (มุกแจ้ง) |
3 | หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (ท่านหญิงตุ้ม) |
ญ. | หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433[8] | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 | พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ |
4 | หม่อมเจ้า | ช. | ไม่มีข้อมูล | พ.ศ. 2433 | พ.ศ. 2433 | |
5 | หม่อมเจ้าสิริวันต์ (ท่านหญิงต่อม) |
ญ. | หม่อมเจียม | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2434 | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2434 | |
6 | หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ (ท่านชายตุ๋ยตุ่ย) |
ช. | หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434[8] | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 | หม่อมชั้น (บุนนาค) หม่อมฟื้น (บุนนาค) |
7 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์ชายต้อม) |
ช. | หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2434[8] | 5 กันยายน พ.ศ. 2519 | หม่อมเจ้าพิบูลเบญจางค์ (กิติยากร) หม่อมพร้อยสุพิณ (บุนนาค) |
8 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี (พระองค์หญิงเตอะ) |
ญ. | หม่อมอินทร์ | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2435[8] | 7 เมษายน พ.ศ. 2494 | |
9 | หม่อมเจ้าปริญญากร (ท่านชายโต) |
ช. | หม่อมบุญ | 2 เมษายน พ.ศ. 2436 | 29 มีนาคม พ.ศ. 2452 | |
10 | หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ (ท่านชายเต๋อ) |
ช. | หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา | 5 เมษายน พ.ศ. 2436[8] | 16 มีนาคม พ.ศ. 2514 | หม่อมแก้ว (เอี่ยมจำนงค์) หม่อมเล็ก (เจริญจันทร์แดง) |
11 | หม่อมเจ้าวรรณีศรีสมร วรวรรณ (ท่านหญิงต้อย) |
ญ. | หม่อมต่วนใหญ่ | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2436[8] | พ.ศ. 2487 | |
12 | หม่อมเจ้าเต๋า (ท่านชายเต๋า) |
ช. | ไม่มีข้อมูล | 12 กันยายน พ.ศ. 2437 | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2438 | |
13 | หม่อมเจ้าอรทิพยประพันธ์ เทวกุล (ท่านหญิงตุ้ย) |
ญ. | หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา | 26 เมษายน พ.ศ. 2438[8] | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 | หม่อมเจ้าดำรัสดำรง เทวกุล |
14 | หม่อมเจ้าสุวิชากร วรวรรณ (ท่านชายตั๋ง) |
ช. | หม่อมบุญ | 8 กันยายน พ.ศ. 2439[8] | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 | หม่อมพริ้ม (เลาหเศรษฐี) |
15 | หม่อมเจ้านันทนามารศรี วรวรรณ (ท่านหญิงเต่า) |
ญ. | หม่อมอินทร์ | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2439[8] | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 | |
16 | หม่อมเจ้าศิวากร วรวรรณ (ท่านชายต่อ) |
ช. | หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ | 20 มีนาคม พ.ศ. 2440[8] | 5 มีนาคม พ.ศ. 2503 | |
17 | หม่อมเจ้าสิทธยากร วรวรรณ (ท่านชายต้อ) |
ช. | หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา | 13 เมษายน พ.ศ. 2440[8] | 27 เมษายน พ.ศ. 2508 | หม่อมดำริห์ (บุนนาค) |
18 | หม่อมเจ้าไปรมากร วรวรรณ | ช. | หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา | 16 มีนาคม พ.ศ. 2442[8] | 25 มีนาคม พ.ศ. 2519 | หม่อมน้อย (สุวรรณศร) หม่อมสมศรี (ประภาเพ็ชร) หม่อมอรุณ |
19 | พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ (พระนางติ๋ว) |
ญ. | หม่อมหลวงตาด | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2442[8] | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
20 | หม่อมเจ้าวรวีรากร วรวรรณ (ท่านชายตัน) |
ช. | หม่อมแช่ม | 8 กันยายน พ.ศ. 2443[8] | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 | หม่อมแพร (ศรีวรรธนะ) หม่อมเริ่มจิตต์ (พึ่งบารมี) |
21 | หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ (ท่านชายติ่ง) |
ช. | หม่อมบุญ | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443[8] | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2524 | หม่อมสรรพางค์ (บุรณะปินท์) หม่อมจิตรา (ปันยารชุน) |
22 | หม่อมเจ้าดุลภากร วรวรรณ (ท่านชายเต๋าเล็ก) |
ช. | หม่อมอินทร์ | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2443[8] | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 | หม่อมสิรี (ตัณฑัยย์) |
23 | หม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ (ท่านหญิงแต๋ว) |
ญ. | หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา | 1 เมษายน พ.ศ. 2445[8] | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 | พลเอกมังกร พรหมโยธี |
24 | หม่อมเจ้า | ช. | หม่อมแถม | พ.ศ. 2445 | ในวันประสูติ | |
25 | หม่อมเจ้าหัชชากร วรวรรณ (ท่านชายติ๊ด) |
ช. | หม่อมบุญ | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2446[8] | 9 มีนาคม พ.ศ. 2528 | หม่อมสมหทัย (เสนีเศรษฐ) |
26 | หม่อมเจ้าสรรพางค์พิมล วรวรรณ (ท่านหญิงติ๋น) |
ญ. | หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2463 | |
27 | หม่อมเจ้าศรีสอางค์นฤมล เกษมสันต์ (ท่านหญิงตวง) |
ญ. | หม่อมอินทร์ | 12 เมษายน พ.ศ. 2448[8] | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 | หม่อมเจ้าลักษณากร เกษมสันต์ |
28 | อุบล วรวรรณ (ท่านหญิงตัด) |
ญ. | หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2448[8] | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2528 | ฮาโรลด์ แครบบ์ |
29 | ฤดีวรวรรณ วรวรรณ (ท่านหญิงน้อย) |
ญ. | หม่อมสุ่น | 1 เมษายน พ.ศ. 2454[8] | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร ปุ๊ ประไพลักษณ์ โรเบิร์ต เอส. อาร์โนลด์ |
30 | หม่อมเจ้าดวงตา (ท่านหญิงนิด) |
ญ. | หม่อมเชื้อเล็ก | 4 เมษายน พ.ศ. 2454 | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2454 | |
31 | หม่อมเจ้าบุษยากร วรวรรณ (ท่านชายเติบ) |
ช. | หม่อมพร้อม | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 | |
32 | หม่อมเจ้าฉันทนากร วรวรรณ (ท่านชายตั๋น) |
ช. | หม่อมสุ่น | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2458[8] | พ.ศ. 2506 | หม่อมมนวิภา (โมชดารา) |
33 | หม่อมเจ้าเจตนากร วรวรรณ (ท่านชายเต้ก) |
ช. | หม่อมแสร์ | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2459[8] | 3 มกราคม พ.ศ. 2491 | หม่อมมนิตย์ (รามโยธิน) |
34 | หม่อมเจ้าอภิญญากร วรวรรณ | ช. | หม่อมแสร์ | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465[8] | 18 เมษายน พ.ศ. 2516 | |
35 | หม่อมเจ้าสุนทรากร วรวรรณ (ท่านชายอ้วน) |
ช. | หม่อมสุ่น | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2467[8] | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 |
พระนัดดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนัดดารวม 74 พระองค์/องค์/คน ดังนี้
- หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงจิรี วรวรรณ เกิดแต่หม่อมโจฮันนา
- หม่อมราชวงศ์สกุล วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมรวย
- หม่อมเจ้าหญิงพรพิมลพรรณ รัชนี มีโอรสธิดา 2 พระองค์/องค์ ได้แก่
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์วิบุลย์เกียรติ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมเจ้าพิบูลเบญจางค์
- หม่อมราชวงศ์วิวรรณ เศรษฐบุตร เกิดแต่หม่อมพร้อยสุพิณ
- หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 9 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์เริงวรรณ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมชั้น
- หม่อมราชวงศ์หญิงพรรณจิตร กรรณสูต เกิดแต่หม่อมชั้น
- หม่อมราชวงศ์ชวนิศนดากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมชั้น
- หม่อมราชวงศ์ฉันทนากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมชั้น
- หม่อมราชวงศ์ถวัลภากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมชั้น
- หม่อมราชวงศ์วรวัลลภ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมฟื้น
- หม่อมราชวงศ์สุรวรรณ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมฟื้น
- หม่อมราชวงศ์หญิงวรวัณณา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมฟื้น
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุรีย์วรรณ รัตนกรี เกิดแต่หม่อมฟื้น
- หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 8 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์อาชวากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมแก้ว
- หม่อมราชวงศ์กัลยากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมแก้ว
- หม่อมราชวงศ์หญิงอัศวินี สนิทวงศ์ เกิดแต่หม่อมแก้ว
- ท่านผู้หญิงดัชรีรัชนา รัชนี เกิดแต่หม่อมแก้ว
- หม่อมราชวงศ์ศุภนิตย์ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมแก้ว
- หม่อมราชวงศ์หญิงนิติมา พนมยงค์ เกิดแต่หม่อมแก้ว
- หม่อมราชวงศ์หญิงมลุลี สายาลักษณ์ เกิดแต่หม่อมเล็ก
- หม่อมราชวงศ์หญิงมัลลิกา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมเล็ก
- หม่อมเจ้าหญิงอรทิพยประพันธ์ เทวกุล มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงวรรณทิพย์ เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์ทรงดำรัส เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์หญิงทิพยวรรณา นิติพน
- หม่อมเจ้าสุวิชากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์อุตตมากร วรวรรณ (แฝด) เกิดแต่หม่อมพริ้ม
- หม่อมราชวงศ์อุตตรากร วรวรรณ (แฝด) เกิดแต่หม่อมพริ้ม
- หม่อมราชวงศ์ชีโวสวิชากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมพริ้ม
- หม่อมราชวงศ์หญิงสิรยากร ศิลปี เกิดแต่หม่อมพริ้ม
- หม่อมเจ้าสิทธยากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ฐวิศวากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมดำริห์
- หม่อมราชวงศ์หญิงวัลลีวรินทร์ สิริสิงห์ เกิดแต่หม่อมดำริห์
- หม่อมเจ้าไปรมากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 7 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ไกรศวากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมน้อย
- หม่อมราชวงศ์ปรัชญากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมน้อย
- หม่อมราชวงศ์หญิงมาลินี นันทาภิวัฒน์ เกิดแต่หม่อมน้อย
- หม่อมราชวงศ์กรุณากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมน้อย
- หม่อมราชวงศ์รัตนากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมน้อย
- หม่อมราชวงศ์หญิงศิริมา ชมสุรินทร์ เกิดแต่หม่อมสมศรี
- หม่อมราชวงศ์เปรมการ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมอรุณ
- หม่อมเจ้าวรวีรากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์วีรเดช วรวรรณ เกิดแต่หม่อมแพร
- หม่อมราชวงศ์สราวุธ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมแพร
- ท่านผู้หญิงรวิจิตร์ สุวรรณบุปผา เกิดแต่หม่อมเริ่มจิตต์
- หม่อมราชวงศ์หญิงอภิรจิต อาภาศิลป์ เกิดแต่หม่อมเริ่มจิตต์
- หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ มีโอรส 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์วิวัฒน์ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสรรพางค์
- หม่อมราชวงศ์ชาญวุฒิ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมจิตรา
- หม่อมเจ้าดุลภากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 11 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงวรรณาภรณ์ ศุขเนตร เกิดแต่หม่อมสิรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงลภาพรรณ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสิรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงมารศรี สุจริตกุล เกิดแต่หม่อมสิรี
- หม่อมราชวงศ์กรณี วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสิรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงเบญจวรรณ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมสิรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงจารุวรรณ ทิวารี เกิดแต่หม่อมสิรี
- หม่อมราชวงศ์พลากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสิรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงสาวิกา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสิรี
- หม่อมราชวงศ์วรากร วรวรรณ เกิดแต่พิศมัย สุดรุ่งเรือง
- หม่อมราชวงศ์พงศ์กวี วรวรรณ เกิดแต่พิศมัย สุดรุ่งเรือง
- หม่อมราชวงศ์สรัล วรวรรณ เกิดแต่รุ่งนภา นทีสุวรรณ
- หม่อมเจ้าหญิงบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ มีโอรส 2 คน ได้แก่
- กำจรเดช พรหมโยธี (แฝด)
- เจตกำจร พรหมโยธี (แฝด)
- หม่อมเจ้าหัชชากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 7 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงสดุดีภา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
- หม่อมราชวงศ์ณัฏฐธรรม วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
- หม่อมราชวงศ์หญิงทัชวรรณ สายเชื้อ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
- หม่อมราชวงศ์หญิงจุฑาภา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
- หม่อมราชวงศ์ภูมินทร์ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
- หม่อมราชวงศ์หญิงสิริมาดา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
- หม่อมราชวงศ์จักรินทร์ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
- หม่อมเจ้าหญิงศรีสอางค์นฤมล เกษมสันต์ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงลักษณสอาง เกษมสันต์
- หม่อมราชวงศ์ศรีลักษณ์ เกษมสันต์
- หม่อมราชวงศ์หญิงนฤมล พิชัยสนิท
- อุบล วรวรรณ มีธิดา 1 คน ได้แก่
- นรา วนิดา แคร้บบ์
- ฤดีวรวรรณ วรวรรณ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์สมชนก กฤดากร โอรสในหม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร
- วรรณจิตต์ กฤษณามระ ธิดาของปุ๊ ประไพลักษณ์
- คนทิพย์ โลทแมน ธิดาของปุ๊ ประไพลักษณ์
- หม่อมเจ้าฉันทนากร วรวรรณ มีโอรส 1 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์มนัตถ์ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมมนวิภา
- หม่อมเจ้าเจตนากร วรวรรณ มีธิดา 1 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงทิพยลาวัณ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมมนิต
พระนิพนธ์
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์มีชื่อเสียงจากงานพระนิพนธ์หลายชิ้นที่รู้จักกันดี ได้แก่ บทละครพูดเรื่อง "สร้อยคอที่หาย" ซึ่งเคยบรรจุในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการ บทละครร้อง "สาวเครือฟ้า" ซึ่งได้สร้างตัวละครให้กลายเป็นคนที่เหมือนกับมีตัวจริงขึ้นมา 2 คน คือ ร้อยตรีพร้อม และสาวเครือฟ้า ทรงก่อตั้งโรงละครร้องขึ้นในบริเวณตำหนักที่ประทับ ชื่อว่า "โรงละครปรีดาลัย" เป็นโรงละครร้องแห่งแรกในสยาม
นอกจากนี้ยังทรงมีงานที่สำคัญ คือ พระนิพนธ์แปล จดหมายเหตุลาลูแบร์ โดยทรงแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ "ตำนานพระแท่นมนังคศิลาอาสน์" รุไบยาตของโอมาร์ คัยยาม และ "นวางกุโรวาท" เป็นต้น พระองค์ทรงใช้นามปากกาว่า "ประเสริฐอักษร" เพื่อทรงพระนิพนธ์เรื่องสั้นไว้จำนวนหนึ่งอีกด้วย รวมไปถึง ละครร้องเรื่อง “อีนากพระโขนง” ที่มีการนำโอ่งเจาะรูพอให้คนเข้าไปแอบ นำมาไว้กลางโรงละครตอนแสดงให้ผู้เล่นเป็นอีนากพระโขนงโผล่ออกมา ทำให้ผู้ชมตกตะลึง แลเป็นที่นิยมมาก ดั่งกลอนที่ ส.พลายน้อยเขียนไว้ว้า “เรื่องอีนากพระโขนงออกโรงสู้ จนคนดูดูไม่ได้มาหลายหน ต้องเล่นใหม่เพื่อให้ทันใจคน ทั้งห้าหนสิบหนยังล้นโรง” และยังเป็นต้นตอที่ให้ผ้วอีนากชื่อมากอีกด้วย
ผลงานในด้านพระนิพนธ์บางเรื่อง คือ ละครปักษีปะกรนัมเรื่อง "พญาระกา" ทำให้เกิดคดีพญาระกาในเวลาต่อมา เนื่องจากเนื้อเรื่องนั้นกระทบกระเทือนถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ที่ทรงคุ้มครองและช่วยเหลือนางละครของคณะพระองค์เอง ทั้งยังเป็นหม่อมของพระองค์อีกด้วย ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขังพระองค์ไว้ในพระบรมมหาราชวัง มีกำหนด 1 ปี โดยหม่อมและพระโอรสธิดาเข้าเยี่ยมได้เป็นเวลาตามควร[9]
บทละครเรื่องสาวเครือฟ้า
[แก้]พระองค์ได้เค้าเรื่องนี้จากละครอุปรากร (โอเปรา) เรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย ของจาโกโม ปุชชีนี อุปรากรเรื่องนี้ได้ต้นเค้ามาจากนวนิยายของจอห์น ลูเธอร์ ลอง อีกต่อหนึ่งในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 ได้ทอดพระเนตรการแสดงละครอุปรากรที่ฝรั่งเศส เรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลายซึ่งเป็นเรื่องความรักและความผิดหวังระหว่างสาวญี่ปุ่นชื่อโจโจ้ซังกับทหารหนุ่มฝรั่ง เมื่อเสด็จนิวัติพระนครได้ทรงเล่าให้กรมนราธิปประพันธ์พงศ์ฟัง กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงดัดแปลงเรื่องนี้มาเป็นละครร้องแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง เป็นที่พอพระหฤทัยมาก นับเป็นการเริ่มต้นกำเนิดละครร้องที่ทรงดัดแปลงมาจากละครอุปรากรของยุโรป
ทรงพระนิพนธ์เป็นบทละครร้องสลับพูด คำประพันธ์ที่ใช้เป็นประเภทกลอนเพลงไทย เพื่อใช้เป็นบทสำหรับเล่นละครร้อง
เรื่องย่อ
[แก้]ร้อยตรีพร้อม ย้ายไปรับราชการที่เชียงใหม่ เกิดรักใคร่กับสาวเครือฟ้า หญิงชาวเชียงใหม่ ภายหลังได้เป็นสามีภรรยากันจนสาวเครือฟ้าให้กำเนิดบุตร ร้อยตรีพร้อมได้คำสั่งย้ายกลับกรุงเทพฯ ถูกผู้ใหญ่บังคับให้แต่งงานกับหญิงสาวชาวกรุงเทพฯ สาวเครือฟ้าเฝ้ารอสามี เมื่อได้ข่าวว่าสามีกลับเชียงใหม่ก็ดีใจไปคอยต้อนรับ ครั้นปรากฏว่าร้อยตรีพร้อมพาภรรยาชาวกรุงเทพฯมาด้วย สาวเครือฟ้าเสียใจใช้มีดแทงตัวตาย ร้อยตรีพร้อมรับบุตรไปอุปการะ
แพร่งนรา
[แก้]วังวรวรรณ เป็นวังที่ประทับของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตั้งอยู่ระหว่างวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารกับวัดมหรรณพารามวรวิหาร ต่อมาวังนี้ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน ตามโครงการขยายความเจริญของพระนครในสมัยนั้น คงเหลือเพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ถูกปรับให้เป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา และมีการแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ขายให้แก่เอกชน ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกย่านนั้นว่า แพร่งนรา ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
พระยศ
[แก้]พระยศพลเรือน
[แก้]- 17 กันยายน 2462 – มหาเสวกโท สังกัดกรมพระคลังข้างที่[10]
พระยศเสือป่า
[แก้]- พลเสือป่า
- 8 ธันวาคม พ.ศ. 2460 นายกองตรี[11]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2432 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร
- 8 ธันวาคม พ.ศ. 2432 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2474 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2432 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[12]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2432 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[12]
- พ.ศ. 2433 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[15]
- พ.ศ. 2452 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[16]
- พ.ศ. 2463 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[17]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[18]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[19]
- พ.ศ. 2452 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[20]
- พ.ศ. 2459 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[21]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[22]
- พ.ศ. 2425 – เหรียญสตพรรษมาลา (ส.ม.)
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 137. 18 เมษายน พ.ศ. 2458. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งกรมพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธุพงษ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 6, ตอน 36, 8 ธันวาคม พ.ศ. 2432, หน้า 304
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 38, ตอน 0 ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464, หน้า 422
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 48, ตอน ง, 18 ตุลาคม พ.ศ. 2474, หน้า 2569
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ พระราชทานเพลิงพระศพและศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เล่ม 49, ตอน ๐ ง, 12 มีนาคม พ.ศ. 2475, หน้า 4254
- ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 8.16 8.17 8.18 8.19 8.20 8.21 8.22 8.23 8.24 8.25 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
- ↑ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับผลงานพระราชนิพนธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-30. สืบค้นเมื่อ 2017-10-06.
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระยศเสือป่า นายกองตรี
- ↑ 12.0 12.1 ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งกรมพระองค์เจ้าวรวรรณากร, เล่ม ๖ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๓๐๓, ๘ ธันวาคม ๑๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๑๘, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๗๑, ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๔๐๐, ๑ กุมภาพันธ์ ๑๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๐, ๑๘ เมษายน ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๓๖, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๘, ๖ มีนาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๙, ๒๘ มกราคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- บรรณานุกรม
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 69. ISBN 978-974-417-594-6
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2404
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2474
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมพระ
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- ราชสกุลวรวรรณ
- นักเขียนชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- เสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินอาหาร
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์