กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตซุน-เล่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตซุน-เล่า
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสิ้นราชวงศ์ฮั่น
วันที่ป. กรกฎาคม – สิงหาคม ค.ศ. 215[a]
สถานที่
ผล สงบศึก
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
มีการตกลงแบ่งดินแดนนระหว่างซุนกวนและเล่าปี่ตลอดแม่น้ำเซียง
คู่สงคราม
ซุนกวน เล่าปี่
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ซุนกวน
โลซก
ลิบอง
เล่าปี่
กวนอู
กำลัง
อย่างน้อย 10,000 คน ประมาณ 30,000 คน (ตามคำกล่าวอ้างของกวนอู)

กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตซุน-เล่า เป็นความขัดแย้งทางการทหารระหว่างขุนศึกซุนกวนและเล่าปี่ในปี ค.ศ. 215 ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน เริ่มแรกเดิมทีซุนกวนและเล่าปี่ได้เป็นพันธมิตรกันในปี ค.ศ. 208 เพื่อต้านข้าศึกคนเดียวกันคือโจโฉ ขณะเดียวกันทั้งสองฝ่ายก็เกิดข้อพิพาทในเรื่องอาณาเขตของแคว้นเกงจิ๋วทางตอนใต้ (ครอบคลุมพื้นที่มณฑลหูเป่ย์และมณฑลหูหนานในปัจจุบัน) ในช่วงต้นทศวรรษ 210 ข้อพิพาทได้สิ้นสุดลงเมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงแบ่งดินแดนตามแนวตลอดแม่น้ำเซียงระหว่างเขตอิทธิพลของทั้งสองฝ่าย โดยซุนกวนได้พื้นที่ทางตะวันออกของแม่น้ำ ส่วนเล่าปี่ยังคงครองพื้นที่ทางตะวันตกของแม่น้ำ แต่ถึงแม้จะมีข้อตกลงสงบศึกจากกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขต ท้ายที่สุดซุนกวนก็ส่งทัพเข้าโจมตีอาณาเขตของเล่าปี่ในการรุกรานในปี ค.ศ. 219 และยึดครองทั้งแคว้นเกงจิ๋วได้สำเร็จ

ภูมิหลัง[แก้]

ในฤดูหนาว ค.ศ. 208 ขุนศึกเล่าปี่และซุนกวนร่วมมือเป็นพันธมิตรในการต่อต้านขุนศึกโจโฉและเอาชนะได้อย่างเด็ดขาดในยุทธนาวีที่ผาแดง ต่อมาไม่นานหลังจากยุทธนาวีทีผาแดง ทัพพันธมิตรร่วมทำศึกในยุทธการที่กังเหลงและยึดได้อำเภอกังเหลงกับส่วนที่เหลือของเมืองลำกุ๋น (南郡 หนานจวิ้น; ปัจจุบันคือบริเวณเมืองจิงโจว มณฑลหูเป่ย์) จากทัพโจโฉ[2]

หลังยุทธการที่กังเหลง เมืองลำกุ๋นยังอยู่ภายใต้การควบคุมของซุนกวน ซุนกวนตั้งให้ขุนพลจิวยี่เป็นเจ้าเมืองลำกุ๋น ศูนย์การการปกครองของเมืองลำกุ๋นอยู่ที่อำเภอกังเหลง และมีอำนาจปกครองครอบคลุมอำเภอเซี่ยจวิ้น (下雋; ปัจจุบันอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอทงเฉิง มณฑลหูเป่ย์) อำเภอฮั่นชาง (漢昌; ปัจจุบันอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอผิงเจียง มณฑลหูหนาน) อำเภอหลิวหยาง และอำเภอโจวหลิง (州陵; ปัจจุบันอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหงหู มณฑลหูเป่ย์)[3]

ในช่วงเวลานั้นนั้น เล่าปี่ตั้งให้เล่ากี๋ บุตรชายคนโตของเล่าเปียวเจ้ามณฑลคนก่อนของมณฑลเกงจิ๋ว ให้ขึ้นสืบทอดตำแหน่งเจ้ามณฑลต่อจากบิดา ในขณะเดียวกันก็ส่งทัพเข้าโจมตีและยึดเมืองสี่เมืองทางใต้ของมณฑลเกงจิ๋ว ได้แก่ บุเหลง (武陵 อู่หลิง; ปัจจุบันคือบริเวณเมืองฉางเต๋อ มณฑลหูหนาน) เตียงสา ฮุยเอี๋ยง (桂陽 กุ้ยหยาง; ปัจจุบันคือบริเวณเมืองเชินโจว มณฑลหูหนาน) และเลงเหลง (零陵 หลิงหลิง; ปัจจุบันอยู่บริเวณเมืองหย่งโจว มณฑลหูหนาน)[2]

หลังจากเล่ากี๋เสียชีวิตเมื่อปลายปี ค.ศ. 209 ซุนกวนตั้งให้เล่าปี่ขึ้นเป็นเจ้ามณฑลเกงจิ๋วคนใหม่แทนที่เล่ากี๋ เล่าปี่ให้อำเภอกังอั๋นเป็นศูนย์กลางการปกครองของดินแดนตน เล่าปี่ยังได้แต่งงานกับซุนฮูหยินน้องสาวของซุนกวนเพื่อเสริมความมั่นคงของพันธมิตรซุน-เล่า[2]

ซุนกวนให้เล่าปี่ "ยืม" มณฑลเกงจิ๋ว[แก้]

ในปี ค.ศ. 210 เล่าปี่เดินทางไปจิง (京; ปัจจุบันคือเมืองเจิ้งเจียง มณฑลเจียงซู) เพื่อพบซุนกวนและขอปกครองเมืองลำกุ๋น เวลานั้นจิวยี่ลอบเขียนหนังสือถึงซุนกวน เสนอให้ลวงเล่าปี่มายังเมืองง่อกุ๋น (ปัจจุบันคือบริเวณเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู) ปรนเปรอเล่าปี่ด้วยทรัพย์สินและสตรีเพื่อแยกตัวเล่าปี่จากขุนพลกวนอูและเตียวหุย[4] แต่ซุนกวนปฏิเสธแผนของจิวยี่ เพราะเห็นว่าโจโฉยังเป็นภัยคุกคามต่อตนมากกว่าเล่าปี่ จึงเป็นการดีกว่าที่จะคงความเป็นพันธมิตรกับเล่าปี่[5]

ความขัดแย้ง[แก้]

ลิบองยึดสามเมือง[แก้]

การคุมเชิงกันที่อี้หยางระหว่างกวนอูและกำเหลง[แก้]

การเจรจาต่อรองระหว่างโลซกและกวนอู[แก้]

ตกลงสงบศึก[แก้]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

ในนิยายสามก๊ก[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. จือจื้อทงเจี้ยนบันทึกว่าความขัดแย้งเกิดขึ้นในเดือนหก ปีที่ยี่สิบของรัชศักเจี้ยนอัน รัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้[1] เดือนนี้ตรงกับช่วงระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคมถึง 12 สิงหาคม ค.ศ. 215 ตามปฏิทินเกรโกเรียน

อ้างอิง[แก้]

  1. Sima (1084), vol. 67.
  2. 2.0 2.1 2.2 Sima (1084), vol. 65.
  3. (權拜瑜偏將軍,領南郡太守。以下雋、漢昌、瀏陽、州陵為奉邑,屯據江陵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 54.
  4. (... 瑜上疏曰:「劉備以梟雄之姿,而有關羽、張飛熊虎之將,必非乆屈為人用者。愚謂大計宜徙備置吳,盛為築宮室,多其美女玩好,以娛其耳目,分此二人,各置一方,使如瑜者得挾與攻戰,大事可定也。今猥割土地以資業之,聚此三人,俱在疆場,恐蛟龍得雲雨,終非池中物也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 54.
  5. (權以曹公在北方,當廣擥英雄,又恐備難卒制,故不納。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 54.
  • ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
  • ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
  • เผยซงจือ (ศตวรรษที่ 2). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก.
  • ซือหม่ากวง (1084). จือจื้อทงเจียน