จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยินดีต้อนรับเข้าสู่หน้าเสนอรู้ไหมว่า ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่ปรากฏบนหน้าหลักของวิกิพีเดีย ในส่วนรู้ไหมว่า โดยผู้ใช้วิกิพีเดียจะนำเนื้อหาที่เสนอตามรายชื่อด้านล่างนี้ไปแสดงผลเป็นระยะ
ในหน้านี้ผู้ใช้ลงทะเบียนทุกคนมีสิทธิเสนอข้อความและทบทวนได้ เนื้อหาที่นำเสนอต้องเป็นบทความสร้างใหม่หรือบทความปรับปรุงใหม่ที่ขยายบทความเดิมอย่างมีนัยสำคัญ สิ่งที่กล่าวถึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาภายในบทความนั้นเอง บทความเก่าแม้ว่าจะมีความน่าสนใจก็ตามถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์เพราะหน้านี้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงล่าสุดและส่งเสริมให้มีการแก้ไขบทความอย่างต่อเนื่อง
หลักเกณฑ์บทความ
- ปริมาณเนื้อหา
- เป็นบทความที่เพิ่งสร้างใหม่ ที่มีเนื้อหา (ไม่นับอักขระที่เป็นรหัสต้นฉบับ แม่แบบ ตาราง ฯลฯ) มากกว่า 400 คำ หรือ มีขนาดที่บันทึกไว้ตั้งแต่ 10,000 ไบต์ขึ้นไป (ดูรายชื่อบทความใหม่และรายชื่อบทความที่ต้องการเพื่อประกอบการพิจารณาเสนอบทความที่มีผู้อื่นสร้างไว้แล้วหรือเขียนขึ้นใหม่เอง) หรือ
- เป็นบทความที่มีอยู่เดิมแต่ได้รับการเขียนเพิ่มเติมทำให้ขนาดที่บันทึกในระบบเป็นอย่างน้อยสองเท่าของขนาดเดิม
- ขนาดเดิมหมายถึงขนาดของบทความรุ่นที่เสถียรล่าสุดก่อนการปรับปรุง (การเพิ่มเป็น 2 เท่าที่เกิดขึ้นชั่วคราวทางเทคนิค เช่น การแก้ไขตัดต่อ ย้อนกันไปมาหรือย้อนการก่อนกวน ไม่ควรให้ผ่านเพราะไม่ได้มีเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าอย่างแท้จริง)
- บทความที่ปรับปรุงแล้วยังต้องมีเนื้อหาไม่น้อยกว่าเงื่อนไขสำหรับบทความใหม่ด้วย (เช่น การเพิ่มจาก 1,000 ไบต์ เป็น 2,000 ไบต์ ไม่ควรให้ผ่านเพราะบทความสุดท้ายก็ยังสั้น เทียบไม่ได้กับบทความใหม่)
- การเสนอบทความดังกล่าวต้องทำภายใน 14 วันนับแต่
- เวลาที่สร้างบทความใหม่ครั้งแรก (กรณีได้สร้างไว้ก่อนในกระบะทรายหรือฉบับร่างจะนับจากเวลาที่ย้ายเข้าสู่เนมสเปซบทความเท่านั้น) หรือ
- เวลาที่เริ่มทำการปรับปรุงบทความให้มีขนาดเพิ่มขึ้นจากรุ่นที่เสถียรล่าสุดก่อนการปรับปรุง
- โดยส่วนใหญ่แล้วบทความต้องผ่านการแก้ไขหลายครั้ง เวลาข้างต้นสำหรับการนับ 14 วันจึงมักไม่ใช่เวลาที่บทความผ่านเงื่อนไขปริมาณ วัตถุประสงค์ที่นับเช่นนี้เพื่อกระตุ้นให้มีการแก้ไขต่อเนื่องให้ได้ปริมาณและคุณภาพที่สมควรภายในเวลา 14 วัน
- ไม่จำกัดว่าบทความต้องเขียนให้ผ่านเกณฑ์โดยคนเดียว สามารถร่วมกันเขียนหรือเสนอโดยอาสาสมัครหลายคนทั้งที่มีบัญชีผู้ใช้และไม่ได้ลงทะเบียนอันเป็นหัวใจหลักสำคัญของสารานุกรมเสรี ทั้งนี้ ผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนหรือลงทะเบียนมาใหม่ไม่นานจะไม่สามารถตรวจให้ข้อความผ่านเกณฑ์ได้ แต่มีสิทธิ์ทักท้วงได้
หลักเกณฑ์ข้อความที่เสนอ
- เนื้อหาที่เสนอต้องเป็นไปตามนโยบาย ทั้งมุมมองที่เป็นกลาง และไม่ใช่การประกาศ ปราศรัย โฆษณาชวนเชื่อ เขียนในรูปประโยคที่แสดงแสดงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้วหรือเป็นจริงอยู่ทั่วไป
- สำหรับข่าว เรื่องที่เป็นปัจจุบัน หรือ เรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง เรื่องที่คาดหมายว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โปรดดูที่ {{เรื่องจากข่าว}} ในส่วนรู้ไหมว่ามีการพิจารณาที่นานและระยะเวลาแสดงผลที่ยืดหยุ่นน้อยกว่าเรื่องจากข่าว และไม่สามารถแก้ไขวิธีการให้รองรับกับเนื้อหาลักษณะดังกล่าวได้
- เรื่องเดียวกันอาจะนำเสนอในทั้งส่วนรู้ไหมว่าและเรื่องจากข่าว โดยมีลักษณะการเขียนและจุดเน้นการนำเสนอที่ต่างกันก็ได้ เช่น มีพายุก่อตัวขึ้นแล้วได้รับการตั้งชื่อเป็นทางการ (มีที่มาของชื่อน่าสนใจ) แม้จะยังไม่ขึ้นฝั่งอยู่ในส่วนรู้ไหมว่า รายงานความเสียหายรายวันที่ยังต่อเนื่องไม่สิ้นสุด (และมีความสำคัญยิ่งที่จะต้องรายงานในหน้าหลัก) อยู่ในส่วนเรื่องจากข่าว
- ข้อความที่เสนอมีความน่าสนใจ ไม่ควรเป็นเพียงการเสนอคำนิยาม
- ข้อความที่เสนอต้องมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือกำกับในบทความ และต้องเป็นแหล่งอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (inline citation)
- รูปแบบการเสนอควรใช้ข้อความที่สั้น กระชับ และได้ใจความ รวมถึงมีลักษณะที่เขียนต่อจากคำว่า รู้ไหมว่า...
- ในข้อความที่เสนอ
- ทำลิงก์บทความที่เสนอเป็นตัวหน้า จะอยู่ส่วนต้น ส่วนกลาง หรือส่วนท้ายของข้อความก็ได้ตามความเหมาะสม
- อาจทำลิงก์ในส่วนอื่นของข้อความประกอบกันได้ แต่ต้องไม่มีลิงก์แดง (ไม่ควรมีลิงก์ไปบทความอื่นมากเกินไป)
- หากจะเสนอให้มีภาพประกอบ ให้ใส่ข้อความ (ในภาพ) ในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย และจะได้รับพิจารณาอยู่ในลำดับแรกของแต่ละคิวเสมอ (แต่ละคิวมีบทความที่มีรูปได้ไม่เกิน 1 บทความเท่านั้น)
- ภาพที่เสนอประกอบข้อความจะต้องเป็นภาพเสรีเท่านั้น เนื่องจากนโยบายเนื้อหาไม่เสรีบนวิกิพีเดียภาษาไทยไม่อนุญาตให้หน้าหลักประกอบด้วยเนื้อหาไม่เสรี
แนวทางการพิจารณาข้อความและจัดลำดับบทความเพื่อแสดงผล
- ในแต่ละรอบที่นำขึ้นแสดงผลในหน้าหลักควรมีความหลากหลายของเนื้อหาและผู้เขียน (ต้องมีบัญชีผู้ใช้จึงสร้างหน้าใหม่ได้ แต่ผู้ไม่มีบัญชีผู้ใช้เพิ่มขนาดบทความเป็นสองเท่าได้) หลีกเลี่ยงการนำเรื่องในหมวดหมู่เดียวกันหรือผู้เขียนเดียวกันจัดลงในกลุ่มที่จะแสดงผลคราวเดียวกันเป็นจำนวนมาก
- เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามข้อก่อนหน้า เมื่อพิจารณาข้อความผ่านเกณฑ์แล้ว อาจไม่จัดข้อความนั้นลงในคิวล่าสุดที่ยังไม่เต็มแต่ใส่ลงคิวถัดไปที่เหมาะสมได้แทน คิวถัดไปอาจไม่ใช่คิวที่ติดกันกับคิวที่ล่าสุดที่ยังไม่เต็มหากในคิวถัดไปยังมีความซ้ำซ้อนเกี่ยวกับเนื้อหาหรือผู้เขียน
- การจัดข้อความลงคิวยังคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ประกอบกัน ไม่ได้เป็นการห้ามมิให้มีสองบทความในหมวดหมู่เดียวกันหรือผู้เขียนเดียวกันในหนึ่งคิวอย่างเคร่งครัด
- ความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ของ DYK ในการส่งเสริมอาสาสมัครวิกิพีเดียโดยหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย
- เหตุการณ์ที่เป็นที่สนใจหรือมีความสำคัญแต่ยังไม่ได้แสดงผลในหน้าหลักผ่านช่องทางอื่น
- ความยาวโดยรวม
และความเหมาะสมในการแสดงผลร่วมกับองค์ประกอบอื่นของหน้าหลักในขณะนั้น (ปัจจุบันแม่แบบมีขนาดที่บันทึกรหัสต้นฉบับระหว่าง 2,200 ถึง 4,200 ไบต์ หรือ 55-105% ของ 4,000 ไบต์) 1,000 อักขระ ±5% (ระหว่าง 950 ถึง 1,050 อักขระ)
- มีการเก็บประวัติการเสนอและพิจารณาข้อความอย่างเป็นระบบ ดังนั้นขอความร่วมมือทุกท่าน ลงชื่อด้วย --~~~~ ท้ายข้อความที่เสนอและการอภิปราย และช่วยกันรวบรวมประวัติไว้มิให้ตกหล่นเมื่อมีการย้ายข้อความไปสู่คิว (และหน้าอภิปรายของคิว) รวมถึงการเก็บข้อเสนอที่ตกไปในหน้าคุยเรื่องวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่าโดยแบ่งหัวข้อตามเดือนที่พิจารณาเสร็จสิ้น
- อาจระบุเหตุผล แรงบันดาลใจ หรือผลประโยชน์ทับซ้อน ประกอบการเสนอข้อความอย่างย่อเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ระยะเวลาการแสดงผลในหน้าหลัก
ณ วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือนให้คำนึงถึง n เป็นจำนวนคิวที่เต็มแล้วของข้อความ DYK ณ 23:59 น. UTC+7 วันก่อนวันสิ้นเดือน
(คิวที่เต็มแล้วหมายถึงชุดข้อความและ 1 รูปภาพที่ผ่านการพิจารณาเป็นรายชิ้น รวมถึงผ่านการจัดชุดบทความให้มีความหลากหลายในเชิงเนื้อหาสาระพร้อมนำเสนอในภาพรวมและผ่านเกณฑ์ควบคุมความยาวของเนื้อหาแล้ว วันก่อนวันสิ้นเดือน เช่น เดือนมกราคม หมายถึง 30 มกราคม)
- n = 0 ไม่มีการปรับปรุง DYK ในเดือนถัดไปตลอดทั้งเดือน มีข้อความเชิญชวนให้เสนอบทความ DYK และช่วยกันพิจารณา DYK ตามหลักเกณฑ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะแสดงผลเมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลง DYK เกิน 30 วัน (เหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นได้จากขาดอาสาสมัครพิจารณาข้อเสนอ DYK ไปจัดลงคิวก็ได้ ไม่ใช่เพียงขาดแคลนการเสนอบทความเข้าสู่ DYK) แม้จะมี DYK เข้าคิวสำหรับเดือนใหม่แล้วข้อความเชิญชวนจะแสดงข้ามเดือนต่อไปจนกว่าจะถึงวันที่กำหนดให้แสดงผลครั้งแรก
- 1 ≤ n ≤ 9 ดึงออกมาใช้งานตามจำนวนครั้งด้านล่าง โดยตัดออกจากคิวปัจจุบันออกไปเพื่อทำเป็นแม่แบบรอขึ้นหน้าหลักทันที
- n = 1, 2, 3 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK ครั้งเดียว ในวันที่ 15 เท่านั้น
- n = 4, 5 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สองครั้ง ในวันที่ 8 และ 22 เท่านั้น
- n = 6, 7 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สามครั้ง ในวันที่ 5 15 และ 25 เท่านั้น
- n = 8, 9 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สี่ครั้ง ในวันที่ 4 11 19 และ 26 เท่านั้น
- หลักคิดคือต้องสำรองเนื้อหาไว้ประมาณหนึ่งเท่าตัว เลี่ยงการปรับปรุงในวันที่ 1 เพราะเป็นวันเปลี่ยนบทความคัดสรรประจำเดือน แต่ยังยึดหลักการพิจารณาคราวเดียวในวันสุดท้ายของเดือนเพื่อให้เกิดความแน่นอนว่าเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าหลักในเดือนถัดไปคืออะไร หลักคิดนี้คล้ายกับการจัดการ DYK ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษรวมถึงบทความคัดสรรในวิกิพีเดียภาษาไทย แต่การดำเนินการปรับให้เหมาะกับชุมชนที่มีแรงงานน้อยและมีระยะเวลาการสื่อสารระหว่างกันที่ต้องรอฟังความเห็นกันนานกว่า เดือนหนึ่งมี 28-31 วัน ได้พยายามกระจายวันให้เท่ากันมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แต่จะไม่เท่ากันเสียทีเดียว
- n ≥ 10 ดูที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า/กรุ 1#10 ≤ n ≤ สองเท่าของจำนวนวันในเดือนถัดไป
วิธีดำเนินการมาตรฐานทุกวันสิ้นเดือน
วิธีดำเนินการมาตรฐาน (standard operating procedure หรือ SOP) เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้สามารถปฏิบัติการได้ครบถ้วนถูกต้องโดยไม่สับสน ไม่ว่าอาสาสมัครท่านใดมารับหน้าที่ดำเนินการ
- จำนวนและวันที่จะแสดงผลเป็นไปตามกติกาข้างต้น (กรณี 10 ≤ n ≤ สองเท่าของจำนวนวันในเดือนถัดไป ดูหน้าพูดคุยเพิ่มเติม) ซึ่งเมื่อได้จำนวนและวันที่แล้วจะตัดคิวด้านล่างออกไปโดยการเปลี่ยนชื่อคิวให้อยู่ในรูปแบบดังนี้ {{รู้ไหมว่า/yyyy-mm-dd}} ซึ่ง mm และ dd เป็นตัวเลขของเดือนในรูปแบบเลขอารบิกที่มีศูนย์นำหน้า
- แก้ไขหน้าเปลี่ยนทางที่เกิดจากการเปลี่ยนชื่อให้เป็นคิวว่างและลบออกจากรายการชั่วคราว (คิวจะเดินไปข้างหน้าเสมอยกเว้นว่าถึงเลขปลายทาง คือ 63 จึงวนกลับมาที่ 1 ใหม่ซ้ำซึ่งได้ทำคิวว่างรอไว้แล้วจากรอบก่อน)
- สรุปรายการคิวบทความและอาสาสมัครผู้เขียนบทความของเดือนล่าสุด พร้อมลงชื่อผู้ดำเนินการ ลงในหน้าเสนอชื่อ (และบันทึกข้อความเดียวกันลงในหน้ากรุด้วย)
- การดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ของกิจกรรม
- ใส่ {{บทความรู้ไหมว่า}} ในหน้าอภิปรายของทุกบทความ
- ส่งข้อความแจ้งผู้เขียนตามข้อ 3 ด้วยข้อความมาตรฐานดังนี้
=={{tl|รู้ไหมว่า/yyyy-mm-dd}}==
บทความที่ท่านเขียนจะได้แสดงผลในหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาไทยตามวันที่ระบุไว้ในแม่แบบ {{tl|รู้ไหมว่า}} ข้างต้น ขอขอบคุณที่ท่านร่วมกันแบ่งปันความรู้และหวังว่าท่านจะเป็นส่วนสำคัญในโครงการ [[WP:DYK]] อย่างต่อเนื่องสืบไป --~~~~
สรุป
- กระบวนการเขียนบทความ เสนอข้อความและพิจารณาข้อความขึ้นสู่หน้าหลักในปัจจุบันใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 2-3 เดือน บทความจะได้แสดงผลในหน้าหลักประมาณ 1 สัปดาห์โดยมีการกดอ่านบทความผ่านหน้าหลักประมาณ 500-1000 ครั้ง ระหว่างช่วงเวลาที่แสดงผล (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2567 หลังจัดให้มีระบบที่ชัดเจนเพื่อการบริหารงานและเริ่มอภิปรายเกี่ยวกับกิจกรรมสนับสนุน)
- ชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยมีกระบวนการสนับสนุนกิจกรรมรู้ไหมว่าเพื่อสนับสนุนให้อาสาสมัครเขียนบทความใหม่ที่มีคุณภาพและเกิดความสามัคคีนำไปสู่การประสานงานที่ดีในชุมชนดังนี้
สำหรับบทความที่จะแสดงผลในเดือนพฤษภาคม 2568
มีกำหนดพิจารณาในวันที่ 30 เมษายน 2568 (วันสิ้นเดือน) ตั้งแต่เวลา 00:01 น. เป็นต้นไป จากจำนวนคิวที่เต็มแล้วของข้อความ DYK ณ วันที่ 29 เมษายน 2568 (วันก่อนวันสิ้นเดือน) ณ เวลา 23:59 น. UTC+7
- บทความที่ได้รับกำหนดแสดงผลในเดือนเมษายน 2568 มีดังนี้
[ส่วนนี้ยังรอกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ] ความถี่การปรับปรุง 5 ครั้ง (วันที่ 4, 10, 16, 22 และ 28)
- {{รู้ไหมว่า/2025-04-04}} ความยาวข้อความรวม 975 อักขระ @Chainwit., Waniosa Amedestir, Tikmok, Siam2019, และ Waniosa Amedestir:
- {{รู้ไหมว่า/2025-04-10}} ความยาวข้อความรวม 1020 อักขระ @Chainwit., Waniosa Amedestir, Adrich, และ Waniosa Amedestir:
- {{รู้ไหมว่า/2025-04-16}} ความยาวข้อความรวม 1004 อักขระ @MarkYay, Chainwit., Waniosa Amedestir, Waniosa Amedestir, Tvcccp, และ Mia Kato:
--Wutkh (คุย) 03:59, 31 มีนาคม 2568 (+07)[ตอบกลับ]
- รายการคิวที่เต็มแล้วและความยาวของข้อความที่แสดงผล
- {{รู้ไหมว่า/คิว 50}} ความยาวข้อความรวม 959 อักขระ
- {{รู้ไหมว่า/คิว 51}} ความยาวข้อความรวม 1016 อักขระ
- {{รู้ไหมว่า/คิว 52}} ความยาวข้อความรวม 993 อักขระ
- {{รู้ไหมว่า/คิว 53}} ความยาวข้อความรวม 1042 อักขระ
- {{รู้ไหมว่า/คิว 54}} ความยาวข้อความรวม 968 อักขระ
- {{รู้ไหมว่า/คิว 55}} ความยาวข้อความรวม 1020 อักขระ
- {{รู้ไหมว่า/คิว 56}} ความยาวข้อความรวม 1009 อักขระ
- {{รู้ไหมว่า/คิว 57}} ความยาวข้อความรวม 993 อักขระ
- {{รู้ไหมว่า/คิว 58}} ความยาวข้อความรวม 958 อักขระ
- {{รู้ไหมว่า/คิว 59}} ความยาวข้อความรวม 1008 อักขระ
- {{รู้ไหมว่า/คิว 60}} ความยาวข้อความรวม 1046 อักขระ
- คิวเก่าสุดอยู่ด้านบน ใช้หมายเลข 1 ถึง 63 ไปตามลำดับ เมื่อครบแล้วก็วนซ้ำใหม่จาก 1 อีกครั้ง
- จำเป็นต้องไปถึงเลข 63 ก่อนที่จะวนกลับมาเลข 1 ใหม่ได้เพื่อป้องกันความสับสน (63/2=31 เป็นจำนวนมากที่สุดที่ยังใช้กติกาเพิ่มเติมได้ตามหน้าพูดคุย)
- ไม่จำเป็นต้องแสดง 63 คิวพร้อมกัน แต่ต้องมีคิวว่างเผื่อไว้อย่างน้อย 1 คิวเสมอสำหรับกรณีที่ผู้ตรวจประสงค์จะกระจายบทความออกไม่ให้ซ้ำหมวดและผู้เขียน
 มัตติน เอิสเตอดอล ใน ค.ศ. 2016
|
 เฟรเดริก อาร์โน ใน ค.ศ. 2022
|
 ยุน ซ็อก-ย็อล ใน ค.ศ. 2022
|
 อุชา แวนซ์ใน ค.ศ. 2025
|
- ...อาจารย์ด้านปรัชญาอินเดีย คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (ในภาพ) ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในยูทูบเบอร์ยุคบุกเบิกของประเทศไทย
- ...กลุ่มเคลื่อนไหวประชาธิปไตย ฮ่องกง 47 ถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกง ซึ่งมีการดำเนินคดีที่ล่าช้า ตรงกันข้ามกับข้อกล่าวหาที่เร่งรัดอย่างรวดเร็ว ลักษณะดังกล่าวถูกมองว่าเป็นกลยุทธ์สร้างความหวาดกลัว
- ...
- ...
- ...
- ...
|
 มารียา ซูคาโนวา
|
- ...บนเกาะปูเลาอูบินของสิงคโปร์ มีศาลเจ้าเด็กหญิงเยอรมัน (ในภาพ) ที่ตำนานบอกว่าสร้างขึ้นบูชาดวงวิญญาณของเด็กหญิงจากครอบครัวชาวเยอรมันเจ้าของไร่กาแฟบนเกาะ กระนั้นการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ไม่พบว่ามีทั้งครอบครัวชาวเยอรมันหรือไร่กาแฟบนเกาะในช่วงเวลาที่ตำนานบอกเล่าไว้
- ...
- ...
- ...
- ...
- ...
|
 แผ่นท้องฟ้าเนบรา
- ...แผ่นท้องฟ้าเนบรา (ในภาพ) เป็นวัตถุที่แสดงภาพปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบ
- ...ซาอุดีอะแรมโค บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย เป็นบริษัทปล่อยแก๊สคาร์บอนเป็นปริมาณมากที่สุดในโลกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1965
- ...
- ...
- ...
- ...
|
- ...ก่อนจันทระ พหาทุร ฑางคี (ในภาพ) จะได้รับการยืนยันว่าเป็นมนุษย์ที่ตัวเตี้ยที่สุดในบันทึกโลกเมื่ออายุ 72 ปี เขาไม่เคยเดินทางออกจากหมู่บ้านของเขาในพื้นที่ห่างไกลของเนปาลเลย
- ...
- ...
- ...
- ...
- ...
|
 เคิร์สตี โคเวนทรี
|
- ...(ในภาพ)
- ...
- ...
- ...
- ...
- ...
|
- ...(ในภาพ)
- ...
- ...
- ...
- ...
- ...
|
- ...(ในภาพ)
- ...
- ...
- ...
- ...
- ...
|
- ...(ในภาพ)
- ...
- ...
- ...
- ...
- ...
|
- ... (ในภาพ)
- ...
- ...
- ...
- ...
- ...
|
- ...(ในภาพ)
- ...
- ...
- ...
- ...
- ...
|
- ... (ในภาพ)
- ...
- ...
- ...
- ...
- ...
|
- ... (ในภาพ)
- ...
- ...
- ...
- ...
- ...
|
- ... (ในภาพ)
- ...
- ...
- ...
- ...
- ...
|
- เสนอข้อความใหม่
- เพื่อให้มีลิงก์ Subscribe ต้องมีลายเซ็นอย่างน้อย 1 ราย --Tikmok (คุย) 04:15, 25 ธันวาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]
- เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามกรุณาลงชื่อ --~~~~ หลังข้อความที่เสนอด้วย รวมถึงระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้แก้ไขหลักไว้ท้ายข้อความที่เสนอและในประวัติการแก้ไข
- กรุณากลับเข้ามาติดตามความเคลื่อนไหวการพิจารณาเป็นระยะข้อความที่เสนอใหม่อาจได้รับการพิจารณาขึ้นสู่คิวทันทีหรือเข้าสู่การอภิปรายด้านล่างภายใต้หัวข้อ รอปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
- รหัสต้นฉบับของภาพให้ใส่แยกไว้บนสุดเนื่องจากไม่สามารถใส่ประกอบในแต่ละข้อได้โดยไม่เสียลำดับ
- ...พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ไม่ได้รับการรับรองในแหล่งข้อมูลเปอร์เซียใด ๆ และแทบทราบพระนามพระองค์เพียงจากรายงานของนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกเท่านั้น ซึ่งพรรณาพระองค์เป็นขั้วตรงข้ามของอเล็กซานเดอร์มหาราชผู้ประสบความสำเร็จ (บทความโดยผู้ใช้ไม่ระบุตัวตน 110.169.223.69 / เพิ่มสองเท่าโดยผู้เสนอ)--Waniosa Amedestir (คุย) 13:48, 16 เมษายน 2568 (+07)[ตอบกลับ]
- ...ไม่มีใครรู้ว่าต้นไอวี่สวีเดนในห้องทำงานรูปไข่มาจากไหน (บทความโดยผู้เสนอเอง) --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 11:58, 24 เมษายน 2568 (+07)[ตอบกลับ]
- ...การลักพาตัวเม้ยมะนิกของเจ้าชายพญาน้อย เป็นจุดเริ่มต้นความบาดหมางของพระองค์ต่อตะละแม่ท้าว พระมเหสีองค์แรก แล้วรุนแรงมากขึ้น จนท้ายที่สุดตะละแม่ท้าวจึงทำการอัตวินิบาตกรรมด้วยความขมขื่นและอกหัก (บทความโดยผู้ใช้ไม่ระบุตัวตน 58.8.159.186 / เพิ่มสองเท่าโดยผู้เสนอ)--Waniosa Amedestir (คุย) 13:53, 24 เมษายน 2568 (+07)[ตอบกลับ]
- ...การหลีกเลี่ยงถั่วและเมล็ดพืชเพื่อป้องกันไม่ให้กระเปาะลำไส้อักเสบไม่แนะนำอีกต่อไป เพราะไม่มีหลักฐานว่ามีส่วนกระตุ้นให้เกิด -- (บทความโดย ผู้ใช้:Chainwit. ทำให้เป็นสองเท่าโดยผู้เสนอ) --Tikmok (คุย) 12:13, 26 เมษายน 2568 (+07)[ตอบกลับ]
- ...สิ่งของในห้องสมุดวิชาการทั่วไปแคว้นลูฮันสก์ถูกทำลายเกือบหมด รวมถึงหนังสือเสียหายกว่า 120,000 เล่ม ในช่วงที่นาซีเยอรมันเข้ายึดครองลูฮันสก์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (บทความโดยผู้เสนอเอง) --Siam2019 (คุย) 18:18, 26 เมษายน 2568 (+07)[ตอบกลับ]
- ...
- รอปรับปรุงตามข้อเสนอแนะนำ
- เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามกรุณาลงชื่อ --~~~~ หลังข้อความที่อภิปราย และไม่แก้ไขข้อความที่ได้เขียนไว้ก่อนแล้วของตนเองหรือผู้อื่น
- หากไม่ได้รับการปรับปรุงจากผู้เสนอภายใน 7 วันจะถือว่าการเสนอนั้นตกไป และเก็บรวบรวมไว้ในหน้าอภิปรายที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า
- ผู้เสนอข้อความสามารถถอนข้อเสนอได้โดยย้ายข้อความไปก่อนครบกำหนด 7 วันหรือก่อนจะมีผู้อื่นมาย้ายให้ก็ได้