ข้ามไปเนื้อหา

อิดลิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิดลิ
ชื่ออื่นอิทลิ, อิดลี, อีดลี, อิตลิ
มื้อมื้อเช้า, มื้อดึก
ภูมิภาคอินเดียใต้
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักเลนทิลดำ, ข้าว

อิดลิ หรือ อิดลี (อักษรโรมัน: Idli หรือ idly) เป็นขนมข้าวประเภทอาหารคาวประเภทหนึ่งที่มีที่มาจากอินเดียใต้ นิยมทานเป็นมื้อเช้า ทำมาจากก้อนแป้งที่ทำมาจากถั่วดำที่กระเทาะเปลือกแล้วกับข้าวที่นำมาหมัก ก่อนนำไปนึ่งไอน้ำ

ประวัติศาสตร์

[แก้]

อิดลิในรูปแบบในอดีตปรากฏกล่าวถึงในเอกสารโบราณของอินเดียมากมาย เช่นในวรรณกรรมภาษากันนาดาจากปี ค.ศ. 920 วัททรธเน โดย ศิวโกฏิจรรย์ กล่าวถึง "อิฑฑาลิเก" (iddalige) ซึ่งทำมาจากแป้งแกรมดำ จวุนทารยะที่สอง (Chavundaraya II) ผู้ประพันธ์สารานุกรมกันนาดาที่เก่าแก่ที่สุด โลโกปกร (Lokopakara; ป. ค.ศ. 1025) บรรยายถึงการเตรียมอาหารนี้ด้วยการจุ่มแป้งแกรมดำในน้ำนมเนย แล้วนำไปบดผสมน้ำใสจากเคิร์ดกับเครื่องเทศ[1] กษัตริย์แห่งจาลุกยะตะวันตกและนักวิชาการ โสเมศวรที่สาม (ครองราชย์ดินแดนที่ปัจจุบันอยู่ในรัฐกรณาฏกะ) กล่าวถึงสูตรการทำอิดลิในสารานุกรมภาษาสันสกฤต มันโสลลสะ โดยเรียกชื่ออาหารนี้ว่า อิฑฑาริกา (iḍḍarikā)[2]

นักประวัติศาสตร์อาหาร เค ที อจยะ ตั้งข้อสังเกตว่าอิดลิแบบที่ทำในปัจจุบันอาจมีที่มาจากบริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นดินแดนที่มีการหมักดองอาหารมายาวนาน เขาตั้งคนครัวหลวงคนหนึ่งที่ถวายให้กษัตริย์ฮินดูในดินแดนอินโดนีเซียน่าจะประดิษฐ์อิดลิแบบนึ่งไอน้ำขึ้นมา ก่อนที่จะนำกลับมาเผยแพร่ในอินเดียระหว่าง ค.ศ. 800-1200[3][4] เขายังกล่าวถึงอาหารอินโดนีเซียชื่อ "เกอดลี" (kedli) ที่เขากล่าวอ้างว่าคล้ายกันกับอิดลิ[5][3] อย่างไรก็ตาม นักเขียน ชานกี เลนิน (Janaki Lenin) ปฏิเสธว่าไม่ปรากฏหลักฐานสูตรอาหารของอาหารอินโดนีเซียจานใด ๆ ที่ใช้ชื่อนี้[6] นักประวัติศาสตร์อาหาร คอลลีน เทย์เลอร์ เสน เสนอว่าขบวนการหมักดองแป้งที่ใช้ทำอิดลินั้นเป็นกระบวนการโดยธรรมชาติที่ค้นพบในอินเดียเอง เนื่องจากแทบทุกวัฒนธรรมล้วนมีการหมักดองอาหารในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง[7]

ในปี 2015 ผู้ผลิตอิดลิจากเจนไน เอนิยวัน (Eniyavan) ประกาศให้วันที่ 30 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันอิดลิโลก" (World Idli Day)[8]

การเตรียม

[แก้]
อิดลิ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 ชิ้น (30 กรัม)
พลังงาน167 กิโลจูล (40 กิโลแคลอรี)
7.89 g
ใยอาหาร1.5 g
0.19 g
อิ่มตัว0.037 g
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว0.035 g
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่0.043 g
1.91 g
แร่ธาตุ
โพแทสเซียม
(1%)
63 มก.
โซเดียม
(14%)
207 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: [9]

อิดลิทำมาจากข้าวดิบสี่ส่วนต่อถั่วดำ (Vigna mungo) หนึ่งส่วน ซึ่งนำไปแช่น้ำแยกกันนานอย่างน้อยสี่ชั่วโมง และหากเป็นไปได้ควรข้ามคืน ในกระบวนการนี้อาจเติมเครื่องเทศลงไปด้วย หลังแช่น้ำเสร็จแล้วจะนำไปบดแยกกันและนำมารวมกันเพื่อนำไปทิ้งไว้ข้ามคืนให้เกิดการหมักดองขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาตรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า หลังจากการหมักเสร็จ บางส่วนอาจเก็บไว้เป็นหัวเชื้อสำหรับทำอิดลิชุดต่อไป ส่วนที่จะนำไปประกอบต่อจะนำมาปั้นเป็นก้อนกลมโดยใช้แม่พิมพ์ จากนั้นจึงนำไปนึ่งไอน้ำบนตระแกรง นาน 10–25 นาในบางสูตรอาหารแบบดั้งเดิมอาจใช้ใบไม้มารองแป้งในกระบวนการนึ่งไอน้ำแทนที่การใช้ตระแกรง[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Edward R. Farnworth 2003, p. 11.
  2. K. T. Achaya 1994, p. 90.
  3. 3.0 3.1 K.T. Achaya (1 November 2003). The Story of Our Food. Universities Press. pp. 80–. ISBN 978-81-7371-293-7.
  4. D. Balasubramanian (2004-10-21). "Changes in the Indian menu over the ages". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-06.
  5. "Idli saga: A study into the origin of the South Indian dish". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2014.
  6. Lenin, Janaki (30 March 2012). "A tale of two sambhars". The Hindu – โดยทาง www.thehindu.com.
  7. Feasts and Fasts: A History of Food in India, page 146, Colleen Taylor Sen (2015)
  8. "World Idli Day 2018: Here's The Intriguing Story Behind This Delicious Day". NDTV. 30 March 2018.
  9. "Calories in Idli and Nutrition Facts". www.fatsecret.co.in.
  10. "Idlis in jackfruit leaves". Aayi's Recipes. 2006. สืบค้นเมื่อ 14 October 2014.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • K. T. Achaya (12 May 1994). Indian Food: A Historical Companion. Oxford University Press, USA. ISBN 978-0-19-563448-8.
  • Devi, Yamuna (1987). Lord Krishna's Cuisine: The Art of Indian Vegetarian Cooking, Dutton. ISBN 0-525-24564-2.
  • Edward R. Farnworth (2003). Handbook of Fermented Functional Foods. CRC Press. ISBN 978-0-8493-1372-1.
  • Jaffrey, Madhur (1988). A Taste of India, Atheneum. ISBN 0-689-70726-6
  • Rau, Santha Rama (1969). The Cooking of India, Time-Life Books.