ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่แบบปัจจุบัน (หน้าหลัก)
เสนอบทความ
อภิปราย
พื้นที่เตรียมการ
กรุ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่หน้าเสนอรู้ไหมว่า ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่ปรากฏบนหน้าหลักของวิกิพีเดีย ในส่วนรู้ไหมว่า โดยผู้ใช้วิกิพีเดียจะนำเนื้อหาที่เสนอตามรายชื่อด้านล่างนี้ไปแสดงผลเป็นระยะ

ในหน้านี้ผู้ใช้ลงทะเบียนทุกคนมีสิทธิเสนอข้อความและทบทวนได้ เนื้อหาที่นำเสนอต้องเป็นบทความสร้างใหม่หรือบทความปรับปรุงใหม่ที่ขยายบทความเดิมอย่างมีนัยสำคัญ สิ่งที่กล่าวถึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาภายในบทความนั้นเอง บทความเก่าแม้ว่าจะมีความน่าสนใจก็ตามถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์เพราะหน้านี้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงล่าสุดและส่งเสริมให้มีการแก้ไขบทความอย่างต่อเนื่อง

หลักเกณฑ์บทความ

  • ปริมาณเนื้อหา
    • เป็นบทความที่เพิ่งสร้างใหม่ ที่มีเนื้อหา (ไม่นับอักขระที่เป็นรหัสต้นฉบับ แม่แบบ ตาราง ฯลฯ) มากกว่า 400 คำ หรือ มีขนาดที่บันทึกไว้ตั้งแต่ 10,000 ไบต์ขึ้นไป (ดูรายชื่อบทความใหม่และรายชื่อบทความที่ต้องการเพื่อประกอบการพิจารณาเสนอบทความที่มีผู้อื่นสร้างไว้แล้วหรือเขียนขึ้นใหม่เอง) หรือ
    • เป็นบทความที่มีอยู่เดิมแต่ได้รับการเขียนเพิ่มเติมทำให้ขนาดที่บันทึกในระบบเป็นอย่างน้อยสองเท่าของขนาดเดิม
      • ขนาดเดิมหมายถึงขนาดของบทความรุ่นที่เสถียรล่าสุดก่อนการปรับปรุง (การเพิ่มเป็น 2 เท่าที่เกิดขึ้นชั่วคราวทางเทคนิค เช่น การแก้ไขตัดต่อ ย้อนกันไปมาหรือย้อนการก่อนกวน ไม่ควรให้ผ่านเพราะไม่ได้มีเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าอย่างแท้จริง)
      • บทความที่ปรับปรุงแล้วยังต้องมีเนื้อหาไม่น้อยกว่าเงื่อนไขสำหรับบทความใหม่ด้วย (เช่น การเพิ่มจาก 1,000 ไบต์ เป็น 2,000 ไบต์ ไม่ควรให้ผ่านเพราะบทความสุดท้ายก็ยังสั้น เทียบไม่ได้กับบทความใหม่)
  • การเสนอบทความดังกล่าวต้องทำภายใน 14 วันนับแต่
    • เวลาที่สร้างบทความใหม่ครั้งแรก (กรณีได้สร้างไว้ก่อนในกระบะทรายหรือฉบับร่างจะนับจากเวลาที่ย้ายเข้าสู่เนมสเปซบทความเท่านั้น) หรือ
    • เวลาที่เริ่มทำการปรับปรุงบทความให้มีขนาดเพิ่มขึ้นจากรุ่นที่เสถียรล่าสุดก่อนการปรับปรุง
    • โดยส่วนใหญ่แล้วบทความต้องผ่านการแก้ไขหลายครั้ง เวลาข้างต้นสำหรับการนับ 14 วันจึงมักไม่ใช่เวลาที่บทความผ่านเงื่อนไขปริมาณ วัตถุประสงค์ที่นับเช่นนี้เพื่อกระตุ้นให้มีการแก้ไขต่อเนื่องให้ได้ปริมาณและคุณภาพที่สมควรภายในเวลา 14 วัน
  • ไม่จำกัดว่าบทความต้องเขียนให้ผ่านเกณฑ์โดยผู้ใช้คนเดียว สามารถร่วมกันเขียนหรือเสนอโดยผู้ใช้หลายคนทั้งที่มีบัญชีผู้ใช้และไม่ได้ลงทะเบียนอันเป็นหัวใจหลักสำคัญของสารานุกรมเสรี ทั้งนี้ ผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนหรือลงทะเบียนมาใหม่ไม่นานจะไม่สามารถตรวจให้ข้อความผ่านเกณฑ์ได้ แต่มีสิทธิ์ทักท้วงได้

หลักเกณฑ์ข้อความที่เสนอ

  • เนื้อหาที่เสนอต้องเป็นไปตามนโยบาย ทั้งมุมมองที่เป็นกลาง และไม่ใช่การประกาศ ปราศรัย โฆษณาชวนเชื่อ ตลอดจนไม่ใช่รายงานข่าว
  • ข้อความที่เสนอมีความน่าสนใจ ไม่ควรเป็นเพียงการเสนอคำนิยาม
  • ข้อความที่เสนอต้องมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือกำกับในบทความ และต้องเป็นแหล่งอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (inline citation)
  • รูปแบบการเสนอควรใช้ข้อความที่สั้น กระชับ และได้ใจความ รวมถึงมีลักษณะที่เขียนต่อจากคำว่า รู้ไหมว่า...
  • ในข้อความที่เสนอต้องไม่มีลิงก์แดง

แนวทางการพิจารณาข้อความและจัดลำดับบทความเพื่อแสดงผล

  • ในแต่ละรอบที่นำขึ้นแสดงผลในหน้าหลักควรมีความหลากหลายของเนื้อหาและผู้เขียน (ต้องมีบัญชีผู้ใช้จึงสร้างหน้าใหม่ได้ แต่ผู้ไม่มีบัญชีผู้ใช้เพิ่มขนาดบทความเป็นสองเท่าได้) หลีกเลี่ยงการนำเรื่องในหมวดหมู่เดียวกันหรือผู้เขียนเดียวกันจัดลงในกลุ่มที่จะแสดงผลคราวเดียวกันเป็นจำนวนมาก
  • เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามข้อก่อนหน้า เมื่อพิจารณาข้อความผ่านเกณฑ์แล้ว อาจไม่จัดข้อความนั้นลงในคิวล่าสุดที่ยังไม่เต็มแต่ใส่ลงคิวถัดไปที่เหมาะสมได้แทน คิวถัดไปอาจไม่ใช่คิวที่ติดกันกับคิวที่ล่าสุดที่ยังไม่เต็มหากในคิวถัดไปยังมีความซ้ำซ้อนเกี่ยวกับเนื้อหาหรือผู้เขียน
  • การจัดข้อความลงคิวยังคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ประกอบกัน ไม่ได้เป็นการห้ามมิให้มีสองบทความในหมวดหมู่เดียวกันหรือผู้เขียนเดียวกันในหนึ่งคิวอย่างเคร่งครัด
    • ความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ของ DYK ในการส่งเสริมอาสาสมัครวิกิพีเดียโดยหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย
    • เหตุการณ์ที่เป็นที่สนใจหรือมีความสำคัญแต่ยังไม่ได้แสดงผลในหน้าหลักผ่านช่องทางอื่น
    • ความยาวโดยรวมและความเหมาะสมในการแสดงผลร่วมกับองค์ประกอบอื่นของหน้าหลักในขณะนั้น
  • ข้อความการอภิปราย (ถ้ามี) เมื่อเสร็จสิ้นแล้วเก็บไว้ในหน้าอภิปรายของคิวนั้นหากข้อความผ่านการพิจารณา หรือเก็บไว้ในหน้าอภิปรายของ วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า ตามเดือนที่พิจารณาเสร็จสิ้น

ระยะเวลาการแสดงผลในหน้าหลัก

ณ วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือนให้คำนึงถึง n เป็นจำนวนคิวที่เต็มแล้วของข้อความ DYK ณ 23:59 น. UTC+7 วันก่อนวันสิ้นเดือน (คิวที่เต็มแล้วหมายถึง 6 ชุดข้อความและ 1 รูปภาพที่ผ่านการพิจารณาเป็นรายชิ้นแล้ว รวมถึงผ่านการจัดชุดบทความให้มีความหลากหลายในเชิงเนื้อหาสาระพร้อมนำเสนอในภาพรวมแล้วด้วย วันก่อนวันสิ้นเดือน เช่น เดือนมกราคม หมายถึง 30 มกราคม)

  • n = 0 ไม่มีการปรับปรุง DYK ในเดือนถัดไปตลอดทั้งเดือน มีข้อความเชิญชวนให้เสนอบทความ DYK และช่วยกันพิจารณา DYK ตามหลักเกณฑ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะแสดงผลเมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลง DYK เกิน 30 วัน (เหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นได้จากขาดอาสาสมัครพิจารณาข้อเสนอ DYK ไปจัดลงคิวก็ได้ ไม่ใช่เพียงขาดแคลนการเสนอบทความเข้าสู่ DYK) แม้จะมี DYK เข้าคิวสำหรับเดือนใหม่แล้วข้อความเชิญชวนจะแสดงข้ามเดือนต่อไปจนกว่าจะถึงวันที่กำหนดให้แสดงผลครั้งแรก
  • 1 ≤ n ≤ 9 ดึงออกมาใช้งานตามจำนวนครั้งด้านล่าง โดยตัดออกจากคิวปัจจุบันออกไปเพื่อทำเป็นแม่แบบรอขึ้นหน้าหลักทันที
    • n = 1, 2, 3 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK ครั้งเดียว ในวันที่ 15 เท่านั้น
    • n = 4, 5 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สองครั้ง ในวันที่ 8 และ 22 เท่านั้น
    • n = 6, 7 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สามครั้ง ในวันที่ 5 15 และ 25 เท่านั้น
    • n = 8, 9 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สี่ครั้ง ในวันที่ 4 11 19 และ 26 เท่านั้น
    • หลักคิดคือต้องสำรองเนื้อหาไว้ประมาณหนึ่งเท่าตัว เลี่ยงการปรับปรุงในวันที่ 1 เพราะเป็นวันเปลี่ยนบทความคัดสรรประจำเดือน แต่ยังยึดหลักการพิจารณาคราวเดียวในวันสุดท้ายของเดือนเพื่อให้เกิดความแน่นอนว่าเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าหลักในเดือนถัดไปคืออะไร หลักคิดนี้คล้ายกับการจัดการ DYK ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษรวมถึงบทความคัดสรรในวิกิพีเดียภาษาไทย แต่การดำเนินการปรับให้เหมาะกับชุมชนที่มีแรงงานน้อยและมีระยะเวลาการสื่อสารระหว่างกันที่ต้องรอฟังความเห็นกันนานกว่า เดือนหนึ่งมี 28-31 วัน ได้พยายามกระจายวันให้เท่ากันมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แต่จะไม่เท่ากันเสียทีเดียว

วิธีดำเนินการมาตรฐานทุกวันสิ้นเดือน

วิธีดำเนินการมาตรฐาน (standard operating procedure หรือ SOP) เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้สามารถปฏิบัติการได้ครบถ้วนถูกต้องโดยไม่สับสน ไม่ว่าอาสาสมัครท่านใดมารับหน้าที่ดำเนินการ

  1. จำนวนและวันที่จะแสดงผลเป็นไปตามกติกาข้างต้น (กรณี 10 ≤ n ≤ สองเท่าของจำนวนวันในเดือนถัดไป ดูหน้าพูดคุยเพิ่มเติม) ซึ่งเมื่อได้จำนวนและวันที่แล้วจะตัดคิวด้านล่างออกไปโดยการเปลี่ยนชื่อคิวให้อยู่ในรูปแบบดังนี้ {{รู้ไหมว่า/yyyy-mm-dd}} ซึ่ง mm และ dd เป็นตัวเลขของเดือนในรูปแบบเลขอารบิกที่มีศูนย์นำหน้า
  2. แก้ไขหน้าเปลี่ยนทางที่เกิดจากการเปลี่ยนชื่อให้เป็นคิวว่างและลบออกจากรายการชั่วคราว (คิวจะเดินไปข้างหน้าเสมอยกเว้นว่าถึงเลขปลายทาง คือ 63 จึงวนกลับมาที่ 1 ใหม่ซ้ำซึ่งได้ทำคิวว่างรอไว้แล้วจากรอบก่อน)
  3. เก็บประวัติของเดือนก่อนลงในกรุ
  4. สรุปลิงก์คิวบทความและรายชื่อผู้เขียนบทความของเดือนล่าสุด และใส่ {{บทความรู้ไหมว่า}} ในหน้าอภิปรายของทุกบทความ
  5. ส่งข้อความแจ้งทุกท่านที่เขียนบทความที่ได้รับกำหนดแสดงผลแล้วด้วยข้อความมาตรฐานที่หน้าพูดคุยดังนี้


=={{tl|รู้ไหมว่า/2024-07-15}}==
บทความที่ท่านเขียนจะได้แสดงผลในหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาไทยตามวันที่ระบุไว้ในแม่แบบ {{tl|รู้ไหมว่า}} ข้างต้น ขอขอบคุณที่ท่านร่วมกันแบ่งปันความรู้และหวังว่าท่านจะเป็นส่วนสำคัญในโครงการ [[WP:DYK]] อย่างต่อเนื่องสืบไป --~~~~

เหรียญรางวัล DYK

สำหรับอาสาสมัครที่มีผลงานสม่ำเสมออาจะได้รับ {{เหรียญรางวัล DYK}} ต่อไป

ชุดบทความได้รับกำหนดวันแสดงผลแล้ว

[แก้]

สำหรับบทความที่จะแสดงผลในเดือนกันยายน 2567 มีกำหนดพิจารณาในวันที่ 31 สิงหาคม 2567 (วันสิ้นเดือน) ตั้งแต่เวลา 00:01 น. เป็นต้นไป จากจำนวนคิวที่เต็มแล้วของข้อความ DYK ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2567 (วันก่อนวันสิ้นเดือน) ณ เวลา 23:59 น. UTC+7

บทความที่ได้รับกำหนดแสดงผลในเดือนสิงหาคมมีดังนี้

ความถี่การปรับปรุง 5 ครั้ง (วันที่ 4 10 16 22 และ 28)

ชุดบทความได้รับการตรวจสอบและจัดชุดแล้ว

[แก้]
  • คิวเก่าสุดอยู่ด้านบน ใช้หมายเลข 1 ถึง 63 ไปตามลำดับ เมื่อครบแล้วก็วนซ้ำใหม่จาก 1 อีกครั้ง
  • จำเป็นต้องไปถึงเลข 63 ก่อนที่จะวนกลับมาเลข 1 ใหม่ได้เพื่อป้องกันความสับสน (63/2=31 เป็นจำนวนมากที่สุดที่ยังใช้กติกาเพิ่มเติมได้ตามหน้าพูดคุย)
  • ไม่จำเป็นต้องแสดง 63 คิวพร้อมกัน แต่ต้องมีคิวว่างเผื่อไว้ 1 คิวเสมอสำหรับกรณีที่ผู้ตรวจประสงค์จะกระจายบทความออกไม่ให้ซ้ำหมวดและผู้เขียน
ลามินระหว่างลงเล่นให้ทีมเยาวชนบาร์เซโลนาในปี ค.ศ. 2023
ลามินระหว่างลงเล่นให้ทีมเยาวชนบาร์เซโลนาในปี ค.ศ. 2023
โตโยต้า ทาโคมา TRD Off-Road รุ่นปี พ.ศ. 2563
โตโยต้า ทาโคมา TRD Off-Road รุ่นปี พ.ศ. 2563
เซ็มเบกวาง
เซ็มเบกวาง
ปืนเล็กยาวเออาร์-15
ปืนเล็กยาวเออาร์-15
โจ ไบเดิน
โจ ไบเดิน
[[File:|140px | ]]

เสนอรู้ไหมว่า

[แก้]
ส่วนเสนอข้อความใหม่
[[File:|140px | ]]
ส่วนรอปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
  • หัวข้อต่อไปนี้มีลักษณะเป็นการเสนอคำนิยาม อาจยังไม่เข้าข่าย WP:DYK หากอาสาสมัครท่านอื่นเห็นต่างอย่างใดสามารถแสดงความเห็นหรือนำขึ้นคิวได้ตามความเหมาะสม --Wutkh (คุย) 16:32, 10 กรกฎาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]
  • ทั้งสี่รายการข้างต้นผมเป็นผู้เสนอ ขอน้อมรับข้อเสนอแนะไว้ครับ แต่อย่างไรก็ดีผมไม่ใช่ผู้เขียนของทั้งสี่รายการ เสนอว่าให้ผู้เขียนบทความทั้งสี่ @วณิพก, ไอด้า, Phyblas, และ PP2014: ท่านผู้ตรวจเอง @Wutkh: หรือผู้ใช้ท่านอื่นที่สนใจ @Mr.GentleCN, Chainwit., และ Tvcccp: ช่วยร่วมปรับปรุงข้อความภายใน 14 วันได้เลย หากพ้นกำหนดนี้ สามารถถือว่าตกไปโดยผมไม่ติดใจเป็นประเด็นและจะปรับปรุงการเสนอบทความอื่นในอนาคตให้มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากการให้คำนิยามเพียงอย่างเดียว --Taweethaも (คุย) 16:33, 12 กรกฎาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]
  • ...รัฐธรรมนูญแห่งปรัสเซีย (พ.ศ. 2463) เป็นรากฐานในการวางกรอบทางกฎหมายให้แก่เสรีรัฐปรัสเซีย ซึ่งมีหลักการประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
  • ...สมัยวิกตอเรีย เป็นช่วงเวลาที่เป็นจุดสูงสุดของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมาย แต่ไม่เท่าเทียม เกิดเป็นวิกฤตความยากจนในไอร์แลนด์
    ขออภัยครับ การเสนอคำนิยาม หมายถึงยังไงครับผม แล้วก็ควรแก้ไขอย่างไรดี มีคำแนะนำให้มือใหม่ไหมครับ Kittipan.w (คุย) 12:14, 24 กรกฎาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]
    สวัสดีครับ เรื่องการเสนอคำนิยาม จริง ๆ ไม่ได้เคร่งครัดมากนักครับ แต่โดยส่วนตัวที่เสนอให้ปรับปรุงเพราะเห็นว่าบทความนั้นมีจุดที่น่าสนใจมากกว่าการอธิบายสิ่งนั้นว่าเป็นอะไร ที่ไหน อย่างไรครับ แต่บางบทความก็ผ่อนปรนข้อนี้ได้ เช่น อุบัติการณ์คราวด์สไตรก์ พ.ศ. 2567 ที่ผมพิจารณาให้สาเหตุการเกิดอุบัติการณ์ดังกล่าวผ่านได้เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในวงกว้าง อยู่ในความสนใจ และมีความชวนรู้ ในขั้นนี้ผมยินดีพิจารณาให้ทั้งสองข้อเสนอนี้ผ่านได้หากมีการอ้างอิงในบรรทัด (in-line reference) ครับ เพียงแต่ได้เขียนการเสนอคำนิยามไว้เพื่อการเสนอข้อความในครั้งต่อ ๆ ไปนะครับ
    ทั้งนี้ ตอนนี้เราต้องการทั้งผู้เสนอและผู้ตรวจ ถ้าสะดวกสามารถเสนอเพิ่มเติมและตรวจข้อความที่เสนอมาเพื่อจัดขึ้นคิวได้ทุกเมื่อนะครับ --Wutkh (คุย) 18:43, 24 กรกฎาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]
    เสริมในสองประเด็นนะครับ
    [1] ในอดีตของ DYK ที่ผ่านมานานแล้วของวิกิพีเดียภาษาไทย จะใช้เหตุผลว่าข้อเสนอยังไม่น่าสนใจ (นั่นคืออ่านแล้วไม่ Wow) ตรงนี้ค่อยข้าง subjective และอาจจะไม่เป็นมิตรต่อผู้เสนอสักเท่าไหร่ เมื่อใช้เหตุผลว่าเป็นการเสนอนิยาม ผมเห็นว่า objective & friendly กว่าเดิม และทำให้ผู้เสนอต้องแสวงข้อความที่มีเนื้อหาลึกซึ้งหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านกว่าเดิม (ถ้ามี) ในบทความนั้นขึ้นมาเสนอ อย่างไรก็ดี ผมได้ร่วมกิจกรรม DYK ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษด้วยพักหนึ่ง ในช่วงที่ผมเช้าไปร่วมนั้นเขาอาจจะมีแนวโน้มเปลี่ยนข้อความไปทางที่เสนอนิยามมากกว่า เดาว่าเขาเลือกแนวคิดนี้เพราะว่าเนื้อหาจะตรวจสอบความถูกต้องได้ง่ายกว่า และมีเสถียรภาพที่จะคงอยู่เช่นนั้นเมื่อเวลาผ่านไปได้มากกว่า
    [2] อุบัติการณ์คราวด์สไตรก์ พ.ศ. 2567 หรือเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันอื่นอาจจะได้ขึ้นหน้าหลักผ่านคอลัมน์ {{เรื่องจากข่าว}} ด้านขวาบนของหน้าหลักอยู่แล้ว ผมเข้าใจว่าตรงนั้นทำได้รวดเร็วกว่าในเวลาไม่เกิน 48-72 ชั่วโมง และทำได้ดีมากขนาดผมไม่เคยตามไปดูว่าอาสาสมัครท่านไหนช่วยดูแลเลย ในขณะที่ฝั่งซ้ายของหน้าหลัก เรามี FA มีระยะเวลารอคอย 6-12 เดือน DYK มีระยะเวลารอคอย 1-2 เดือน เรายังขาดคนและระบบ ตอนนี้ระบบเหมือนจะลงตัวไปบางส่วน ซึ่งระบบนี้น่าจะเป็นมิตรกับชุมชนและเป็นตัวดึงดูดเชิญชวนคนเข้ามาได้ในที่สุด อย่างในเดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นที่ได้รับการชี้ชวนและได้รับความสนใจหลังจากที่ทักเข้าไปพอสมควรครับ
    ป.ล. ความเห็นส่วนนี้เสร็จแล้วอาจจะนำไปเก็บในหน้าพูดคุยเป็นกรุต่อไปครับ
    --Taweethaも (คุย) 08:26, 28 กรกฎาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]
การตกในบาปเป็นภาพของอาดัมกับเอวาโดย เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์, ค.ศ. 1628–29
การตกในบาปเป็นภาพของอาดัมกับเอวาโดย เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์, ค.ศ. 1628–29
  • ...เรื่องราวของ อาดัมกับเอวา (ในรูป) เป็นหัวใจสำคัญของความเชื่อที่ว่ามนุษยชาติล้วนสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษคู่แรกดั้งเดิมในกลุ่มศาสนาอับราฮัม (ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม)
  • ...นครนากาโนะเป็นแหล่งผลิตเห็ดเอโนกิตาเกะรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น
    • ในฐานะผู้สร้างบทความ นากาโนะ (จังหวัดนางาโนะ) ผมมีข้อสงสัย 2 ประเด็นครับ (1) ผมไม่ทราบว่าควรใช้คำว่า "เห็ดเข็มทอง" ไปเลยหรือไม่ เพราะลิงก์เปลี่ยนทางไปยังหน้าเห็ดเข็มทอง (2) แหล่งอ้างอิงนี้เป็นสารานุกรมที่ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1993 ไม่สามารถเข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ต จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าข้อความนี้เชื่อถือได้หรือไม่ และไม่แน่ใจว่าข้อความนี้ปัจจุบันจะยังเป็นจริงอยู่หรือไม่ครับ --𝑩𝒆𝒄𝒌𝑵𝒐𝑫𝒂 (คุย) 17:53, 25 กรกฎาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]
      • @BeckNoDa: เสนอเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้เลยครับ หรือ จะปรับปรุงอ้างอิงในบทความให้เป็นปัจจุบัน ทั้งบทความภาษาไทยและบทความต้นฉบับที่แปลมาก็ได้เหมือนกันครับ --Taweethaも (คุย) 18:11, 26 กรกฎาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]
      • @BeckNoDa: ขอบคุณในเรื่องข้อสังเกตนะครับ (1) ถ้าหมายถึงสิ่งเดียวกัน สามารถเปลี่ยนชื่อไปใช้ชื่อไทยได้เลยครับ (2)b เรื่องแหล่งอ้างอิงที่เป็นหนังสือผมค้นเบื้องต้นพบว่ามีหนังสือเล่มนี้อยู่จริง โดยพบสำเนาหนังสือใน Internet Archive มีการกล่าวว่า "...Nakano is Japan's leading producer of enokidake, a kind of mushroom. ..." ประกอบกับเรื่องความล้าสมัยของข้อมูล จึงขอถอนจากคิวเพื่อพิจารณาปรับปรุงตามที่คุณ Taweethaも เสนอนะครับ --Wutkh (คุย) 15:27, 27 กรกฎาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]
        ขอบคุณมากครับ เดี๋ยวในบทความอาจจะต้องเปลี่ยนข้อความเป็น "เป็นแหล่งผลิตเห็ตเอโนกิตาเกะชั้นนำของญี่ปุ่น" รวมถึงผมก็มีความเห็นให้ถอนออกจากคิวด้วยเช่นกันครับ -- 𝑩𝒆𝒄𝒌𝑵𝒐𝑫𝒂 (คุย) 16:01, 27 กรกฎาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]