มิชลินไกด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าปกมิชลินไกด์ฉบับปี ค.ศ. 1929
สัญลักษณ์ดาวหนึ่งดวง
สัญลักษณ์ดาวสองดวง
สัญลักษณ์ดาวสามดวง

มิชลินไกด์ (อังกฤษ: Michelin Guide) หรือ กีดมิชแล็ง (ฝรั่งเศส: Guide Michelin) เป็นหนังสือคู่มือที่บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลการเดินทาง แผนที่ สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักแรม รวมถึงร้านอาหารขึ้นชื่อของสถานที่หรือประเทศต่าง ๆ โดยบริษัทมิชลิน บริษัทยางรถยนต์รายใหญ่ของโลกสัญชาติฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1888 จุดประสงค์ของมิชลินไกด์ คือ การกระตุ้นให้ผู้คนออกมาใช้การเดินทางโดยรถยนต์มากขึ้น เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายยางรถยนต์[1]

ประวัติและรางวัล[แก้]

แรกเริ่มมิชลินไกด์ใช้ชื่อว่า "กีดรูฌ" (Guide rouge) เนื่องจากเล่มหนังสือเป็นสีแดง แรกเริ่มเป็นหนังสือแจกฟรีมานานถึง 20 ปี แต่ต่อมาได้ถูกใช้เป็นกระดาษรองแก้วน้ำ จึงเริ่มจัดจำหน่ายในราคา 7 ฟรังก์ ในปี ค.ศ. 1920 และมีการใส่รายชื่อโรงแรมและร้านอาหารแบ่งตามประเภทเป็นครั้งแรกด้วย ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มิชลินไกด์ได้กลายเป็นหนังสือขายดี ปัจจุบันมิชลินจัดอันดับร้านอาหารและโรงแรมกว่า 40,000 แห่งในกว่า 24 ประเทศและดินแดน[2]

ได้มีการมอบรางวัลต่าง ๆ ให้ เรียกว่า "ดาวมิชลิน" โดยการมอบดาวหรือรางวัลให้แก่ร้านอาหารต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1926 โดยมีการแบ่งขั้นของดาว ตั้งแต่หนึ่งดาวจนถึงสามดาว โดยร้านอาหารที่ได้รับดาวนี้จะผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหลายคน ในหลากหลายอาชีพ เพื่อให้ได้รับมุมมองที่มากที่สุด บางครั้งคณะกรรมการจะเข้าไปรับประทานโดยที่ไม่แจ้งให้กับทางร้านทราบล่วงหน้า และอาจต้องใช้เวลาในการชิมมากกว่าหนึ่งปี เพื่อให้ได้รับรู้มาตรฐานของร้านนั้น ๆ อย่างแท้จริง

  • หนึ่งดาว : ร้านอาหารที่ดีมากในกลุ่มร้านอาหารประเภทเดียวกัน (Une très bonne table dans sa catégorie)
  • สองดาว : อาหารอร่อยเลิศ คุ้มค่าแก่การขับออกนอกเส้นทางเพื่อแวะชิม (Table excellente, mérite un détour)
  • สามดาว : หนึ่งในบรรดาร้านอาหารยอดเยี่ยม ควรค่าแก่การเดินทางไปกิน (Une des meilleures tables, vaut le voyage)[3]

นอกจากนี้แล้วยังมีร้านอาหารประเภท "บีบกูร์ม็อง" (Bib Gourmand) คือ ร้านอาหารที่ดีเป็นพิเศษในราคาย่อมเยา

ในส่วนของประเทศไทย มิชลินไกด์ได้เริ่มมอบรางวัลเป็นครั้งแรกในปลายปี ค.ศ. 2017 สำหรับร้านอาหารในปีเดียวกัน นับเป็นประเทศที่ห้าในทวีปเอเชียที่มีการจัดอันดับ และเป็นลำดับที่สองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ ในระยะแรกดำเนินการเฉพาะร้านอาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ในครั้งแรกของการมอบรางวัล มีร้านที่ได้มิชลินสตาร์ทั้งหมด 17 ร้าน โดยบางร้านยังเป็นร้านอาหารริมทาง ทั้งนี้เนื่องจากมิชลินได้รับการวิจารณ์ว่าให้รางวัลแต่เฉพาะร้านอาหารที่หรูหราและโน้มเอียงไปทางอาหารฝรั่งเศส[4] และมีอีก 35 ร้านที่ได้บีบกูร์ม็อง[5] [1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "'มิชลินสตาร์' ที่ 'เจ๊ไฝ' ได้ เกี่ยวอะไรกับ 'ยางรถมิชลิน'?". บีบีซีไทย. 2017-12-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-14.
  2. Fairburn, Carolyn. "Fading stars – Michelin Red Guide" เก็บถาวร 10 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Times, 29 February 1992; Beale, Victoria and James Boxell "Falling stars" เก็บถาวร 10 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Financial Times, 16 July 2011
  3. "Michelin Guide History" เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Provence and Beyond, accessed 19 May 2013.
  4. "มิชลิน ไกด์ กรุงเทพ". มิชลิน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-10. สืบค้นเมื่อ 2018-01-14.
  5. naNutt (2017-12-06). "มิชลินสตาร์มาแล้ว! เผยรายชื่อ 17 ร้านอาหารในกรุงเทพฯ รับรางวัล "ดาวมิชลิน"". dplusguide. สืบค้นเมื่อ 2018-01-14.

เอกสารเพิ่มเติม[แก้]

สิ่งพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20[แก้]

สิ่งพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21[แก้]

  • Trois étoiles au Michelin: Une histoire de la haute gastronomie française et européenne, by Jean-François Mesplède and Alain Ducasse, 2004. ISBN 2-7000-2468-0. Follows the 60-odd chefs who have been awarded three stars.
  • The Perfectionist: Life and Death in Haute Cuisine, by Rudolph Chelminski, 2006. ISBN 978-0-14-102193-5. The story of Bernard Loiseau.
  • From behind the wall: Danish Newspaper Berlingske Employee 'Awards'

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]