ไมโครดอต
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ไมโครดอต คือข้อความหรือรูปภาพที่นำมาลดขนาด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนทั่วไปสามารถอ่านหรือดูได้ ไมโครดอตโดยทั่วไปจะมีรูปแบบเป็นทรงกลมและมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร (0.039 นิ้ว) แต่ก็อาจมีรูปทรง ขนาด และทำจากวัสดุได้หลากหลาย เช่น ผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ หรือโลหะ เหตุผลที่เรียกว่าไมโครดอตมาจากรูปแบบที่คล้ายกับแต้มจุดที่พบในการพิมพ์ เช่น มหัพภาค หรือแต้มจุดเหนืออักษรตัวเล็ก i หรือ j ไมโครดอตถือเป็นวิธีพื้นฐานของวิทยาการอำพรางข้อมูลเพื่อป้องกันข้อความ
ประวัติ
[แก้]เมื่อ ค.ศ. 1870 ระหว่างสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียเมื่อปารีสถูกโจมตี และมีการส่งข้อความโดยนกพิราบสื่อสาร ช่างถ่ายภาพชาวปารีส René Dagron ใช้ไมโครฟิลม์เพื่อให้นกพิราบแต่ละตัวสามารถเก็บข้อความได้จำนวนมากเพราะนกพิราบแต่ละตัวสามารถรับน้ำหนักได้น้อย[1]
วิวัฒนาการในเทคโนโลยีทำให้ไมโครฟอร์ม เล็กลง การลดขนาดจึงเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น[2]
ในงาน 1925 International Congress of Photography ที่จัดขึ้นในเมืองปารีส Emanuel Goldberg ได้เสนอวิธีใหม่ในการพัฒนาไมโครดอตให้มีขนาดเล็กลงยิ่งกว่าเดิม โดยใช้วิธีการทำสองขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกให้ผลิตเชิงลบก่อน และหลังจากนั้นนำรูปนี้ไปฉายโดยผ่านจุดมุมมองของกล้องจุลทรรศน์ที่ถูกดัดแปลงไปยังอีมัลชันคอลโลเดียม (อังกฤษ: collodium emulsion) ที่อยู่แทนที่สไลด์เดิมของกล้อง การลดขนาดนั้นทำให้กระดาษ 1 หน้าเต็มลดเหลือเพียง 0.01 ตารางมิลลิเมตร ความหนาแน่นนี้เทียบเท่ากับข้อความทั้งหมดที่อยู่ในหนังสือไบเบิล 50 เท่าในพื้นที่หนึ่งตารางนิ้ว มีการตีพิมพ์เรื่อง Mikrat หรือไมโครดอต ของ Goldberg ในวารสารภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันจำนวนมาก[3][4][5]
เทคนิคของไมโครดอตคล้ายกับของที่ใช้ในปัจจุบันเพื่อจุดประสงค์วิทยาการอำพรางข้อมูลใช้ครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมามีการใช้อย่างในหลายประเทศเพื่อส่งข้อความผ่านวิธีการขนส่งที่ไม่ปลอดภัย และในเวลาต่อมาเทคนิคไมโครดอตเปลี่ยนมาใช้กับฟิล์ม Aniline แทนวิธีซิลเวอร์แฮไลด์ที่ทำเป็นชั้น ๆ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ยากยิ่งขึ้น
บทความยอดนิยมเกี่ยวกับการจารกรรมโดยเจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ในนิตยสารรีดเดอร์ส ไดเจสท์ เมื่อ ค.ศ. 1946 ได้กล่าวถึงการคิดค้นไมโครดอตว่าเป็นผลงานของ "ศาสตราจารย์แซปป์ผู้มีชื่อเสียงแห่งมหาวิทยาลัยเทคนิคเดรสเดิน"[6] บทความนี้ได้รับการพิมพ์ซ้ำ แปล และมีการอ้างอิงอย่างแพร่หลาย โดยไม่มีการวิพากษ์วรรณกรรมเกี่ยวกับการจารกรรม แต่ทั้งนี้ไม่เคยมีศาสตราจารย์แซปป์ที่มหาวิทยาลัยนั้น[7] แซปป์ของฮูเวอร์ถูกเข้าใจผิดว่าเป็น วอลเทอร์ แซปป์ ผู้คิดค้นกล้อง Minox ที่ใช้โดยสายลับ แต่ไม่ได้สร้างไมโครดอต แต่ดูเหมือนว่าฮูเวอร์จะสับสนระหว่างเอมมานูเอล โกลด์เบิร์ก ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ในเดรสเดิน กับเคิร์ต แซปป์ ซึ่งในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองอยู่ในเดรสเดินและสอนสายลับวิธีการสร้างไมโครดอต[3] ชุดอุปกรณ์สายลับในสงครามโลกครั้งที่สองสำหรับการผลิตไมโครดอตบางครั้งเรียกว่า "ชุดของแซปป์"[ต้องการอ้างอิง]
ในประเทศเยอรมนีหลังจากการสร้างกำแพงเบอร์ลิน ได้ใช้กล้องพิเศษเพื่อสร้างไมโครดอตเพื่อติดลงบนจดหมายและส่งผ่านไปรษณีย์ปกติ ไมโครดอตเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ถูกสังเกตเห็นโดยเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และผู้รับสามารถอ่านข้อมูลได้โดยใช้กล้องจุลทรรศน์
การใช้งานสมัยใหม่
[แก้]การระบุไมโครดอตคือกระบวนการที่แท็กขนาดเล็กมากถูกแกะกร่อน หรือถูกตั้งค่าด้วยรหัสหรือเลขอนุกรม และในกรณีการใช้กับยานพาหนะ จะมีการใส่หมายเลขประจำตัวรถ หรือหมายเลขประจำทรัพย์สิน[8][9][10][11][12] โดยหมายเลขประจำตัวบุคคล หมายเลขประจำทรัพย์สิน หรือข้อมูลลูกค้าเฉพาะที่ปรับแต่งแล้วเป็นพิเศษก็สามารถถูกเข้ารหัสได้เหมือนกัน ไมโครดอตจะถูกทาหรือพ่นลงบนส่วนสำคัญของทรัพย์สินเพื่อจะได้ทำเครื่องหมายแต่ละชิ้นส่วนอย่างครบถ้วน เทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วง ค.ศ. 1990 ก่อนที่จะถูกนำมาจำหน่ายในเชิงพาณิชย์โดยผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายหลายรายรอบโลก[ต้องการอ้างอิง]
ในแอฟริกาใต้ มีกฎหมายบังคับให้ติดตั้งไมโครดอตกับยานพาหนะใหม่ทุกคันที่จำหน่ายตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 2012 เป็นต้นไป และกับยานพาหนะทุกคันที่ต้องผ่านการตรวจสอบจากตำรวจ[13]
เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะพิมพ์จุดสีเหลืองซึ่งมีหมายเลขประจำเครื่องพิมพ์และเวลาประทับไว้ในกระดาษด้วย[14] จุดเหล่านี้ไม่ใช่ไมโครดอตแต่เป็นชุดของจุดที่มองเห็นได้ยากและอยู่ในรูปแบบที่เป็นลวดลาย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kipper, Gregory. Investigator's Guide to Steganography. Boca Raton: Auerbach Publications, 2003. [ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- ↑ Hayhurst, J. D. (1970). The Pigeon Post into Paris 1870–1871. (privately published). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-08. สืบค้นเมื่อ 2024-11-22.
- ↑ 3.0 3.1 Buckland, Michael (2006). Emanuel Goldberg and His Knowledge Machine: Information, Invention, and Political Forces. New Directions in Information Management. Libraries Unlimited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-06. สืบค้นเมื่อ 2024-11-22.
- ↑ Goldberg, Emanuel (13 August 1916). "A new process of micro-photography". British Journal of Photography. 73 (3458): 462–465.
- ↑ Stevens, G. W. W. (1968). Microphotography: Photography and photofabrication at extreme resolution (2 nd ed.). London: Chapman & Hall. p. 46.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- ↑ Hoover, J. Edgar (1946). "The enemy's masterpiece of espionage". Reader's Digest. 48 (April): 1–6.
- ↑ White, William (1992). The microdot: History and application. Williamstown, NJ: Phillips Publications. pp. 49–56. ISBN 0932572197.
- ↑ "High tech anti-theft dots to help South Lake Tahoe Police". South Tahoe Now. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
- ↑ "'Anti-Theft Dots' latest weapon against crime". 12 August 2018. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
- ↑ Powell, Steven. "Alcoa Police using new 'DNA' system for returning stolen property". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-02. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
- ↑ "Can these little stickers help police track down your stolen items?". 26 October 2015. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
- ↑ Fairbanks, Dan Bross, KUAC - (28 November 2015). "North Pole police launch new anti-theft program". สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
- ↑ "Microdot Technology || Security on Dots".
- ↑ "List of Printers Which Do or Do Not Display Tracking Dots". Electronic Frontier Foundation. 19 September 2007. สืบค้นเมื่อ 2018-12-10.