ข้ามไปเนื้อหา

การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2024

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประกวดเพลงยูโรวิชัน 2024
รวมใจกันด้วยเสียงดนตรี
(United by Music)
วันและเวลา
รอบรองชนะเลิศรอบที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2024
รอบรองชนะเลิศรอบที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2024
รอบชิงชนะเลิศ11 พฤษภาคม ค.ศ. 2024
เจ้าภาพ
สถานที่จัดงานมัลเมออะเรนา มัลเมอ สวีเดน
พิธีกร
ผู้กำกับ
  • โรบิน ฮอฟวันเดอร์
  • ดาเนียล เจลิเน็ค
  • เฟรดริก แบ็คลันด์
ผู้บริหารระดับสูงมาร์ติน เอิสเตอดาห์ล
ผู้อำนวยการสร้าง
  • เอ็บบา อเดียลส์สัน
  • คริสเทล โธลเซ วิลเลอร์ส
สถานีโทรทัศน์เจ้าภาพสถานีโทรทัศน์แห่งชาติสวีเดน (เอสเวียเทีย)
ประเทศที่เข้าร่วม
จำนวนประเทศที่เข้าร่วม37
จำนวนประเทศที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ25[a]
ประเทศที่กลับมาเข้าร่วมอีกครั้ง
ประเทศที่ถูกตัดสิทธิ
ประเทศที่ถอนตัว/ไม่กลับมาเข้าร่วม
แผนที่ประเทศที่เข้าร่วม
  •   ประเทศที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ
  •   ประเทศที่ตกรอบรองชนะเลิศ
  •   ประเทศที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ แต่ถูกตัดสิทธิในภายหลัง
  •   ประเทศที่เคยเข้าร่วมในอดีตแต่ไม่เข้าร่วมในปี 2024
การลงคะแนน
ระบบการลงคะแนนแต่ละประเทศจะให้คะแนนหนึ่งครั้งในรอบรองชนะเลิศและสองครั้งในรอบชิงชนะเลิศ โดยจะให้ 12 10 และ 8–1 คะแนนต่อเพลงสิบเพลง ในทั้งสามรายการจะมีการนับคะแนนโหวตออนไลน์จากผู้ชมในประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วมและนับรวมเป็นคะแนนชุดเดียวกัน
เพลงชนะเลิศ สวิตเซอร์แลนด์
เดอะโค้ด
2023 ← การประกวดเพลงยูโรวิชัน → 2025
ด้านนอกมัลเมออะเรนาระหว่างสัปดาห์การจัดประกวด
เวทีภายในมัลเมออะเรนา

การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2024 (อังกฤษ: Eurovision Song Contest 2024, ฝรั่งเศส: Concours Eurovision de la chanson 2024) เป็นการประกวดเพลงซึ่งจัดขึ้นที่เมืองมัลเมอ ประเทศสวีเดน ดำเนินการโดยสหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป และมีสถานีโทรทัศน์แห่งชาติสวีเดนเป็นเจ้าภาพ โดยมีประเทศที่เข้าร่วมทั้งหมด 37 ประเทศ แข่งขันรอบคัดเลือกในวันที่ 7 และ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 และรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 โดยเป็นการจัดประกวดครั้งที่เจ็ดของสวีเดน และเป็นการจัดประกวดครั้งที่สามในเมืองมัลเมอต่อจากการประกวดในปี 1992 และ 2013[1][2]

การตัดสินผู้ชนะในปีนี้ ใช้คะแนนโหวตจากผู้ชมทั้งหมดในรอบคัดเลือก และคะแนนโหวตจากคณะกรรมการกับจากผู้ชมในรอบชิงชนะเลิศ อีกทั้งผู้ชมจากประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วมประกวดสามารถโหวตได้ทางออนไลน์ในทุกรอบ โดยคะแนนจะรวมเข้าในกลุ่ม "ส่วนอื่นของโลก" เช่นเดียวกับการประกวดในปีก่อนหน้า[3] แต่มีข้อแตกต่างคือ ผู้ชมจาก "ส่วนอื่นของโลก" จะสามารถโหวตได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมงก่อนการแข่งขันจนถึง 25 นาที หลังการแสดงของผู้เข้าประกวดประเทศสุดท้ายเสร็จสิ้น และในรอบชิงชนะเลิศ ประเทศที่เข้าร่วมประกวดจะสามารถโหวตได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มการแสดงของประเทศแรก ซึ่งต่างจากปีก่อนหน้าที่จะโหวตได้ก็ต่อเมื่อการแสดงของผู้เข้าประกวดประเทศสุดท้ายเสร็จสิ้น แต่ระยะเวลาการโหวตอย่างหลังนี้ยังใช้ในรอบคัดเลือกเช่นเดิม[4] นอกจากนี้ แม้ประเทศเจ้าภาพและบิ๊กไฟว์ (สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สเปน และ อิตาลี) จะได้เข้ารอบชิงชนะเลิศโดยอัตโนมัติก็ตาม แต่ก็ต้องทำการแสดงสดในรอบคัดเลือกด้วย[4]

การรักษาความปลอดภัยในการประกวดครั้งนี้เป็นไปอย่างเข้มงวด อันเนื่องมาจากผลกระทบของสงครามอิสราเอล–ฮะมาส ซึ่งอิสราเอลก็เข้าร่วมประกวดครั้งนี้[5] มีการชุมนุมทั้งเพื่อสนับสนุนและประท้วงการเข้าร่วมของอิสราเอล[6][7][8] อนึ่ง ในเดือนสิงหาคมปีก่อนหน้า ทางการสวีเดนได้ยกระดับการรักษาความปลอดภัยจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 จากทั้งหมด 5 ระดับ เพื่อตอบสนองเหตุการณ์สงครามอิสราเอล–ฮะมาส และเหตุเผาคัมภีร์อัลกุรอานในประเทศ[9] และเทศบาลเมืองมัลเมอได้เตรียมพื้นที่โรงเรียนและศูนย์กีฬาไว้สำหรับรองรับเหตุฉุกเฉินด้วย[10][11]

ผู้ชนะในการประกวดครั้งนี้คือ เนโม เมทแทลร์ จากสวิตเซอร์แลนด์ โดยเป็นการคว้าแชมป์ครั้งแรกของประเทศในรอบ 36 ปี นับตั้งแต่เซลีน ดิออน ในปี 1988 โดยก่อนการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ โยสต์ ไคลน์ ตัวแทนจากเนเธอร์แลนด์ถูกตัดสิทธิ์จากการประกวด อีบียูประกาศว่าการตัดสิทธิ์นี้เนื่องจากพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อช่างภาพหญิงซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานโปรดักชันของประเทศเจ้าภาพ ทั้งนี้ ผู้เสียหายได้มีการแจ้งความกับตำรวจสวีเดนแล้ว และอยู่ระหว่างการสอบสวน[12] แต่สถานีโทรทัศน์สาธารณะของเนเธอร์แลนด์ผู้ส่งตัวแทนเข้าประกวด ซึ่งได้หารือกับทางอีบียูก่อนการตัดสิทธิ์นั้น[13] แถลงในภายหลังว่าการลงโทษดังกล่าว "ไม่เหมาะสม" และ "เป็นเรื่องน่าตกใจ"[14] ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ยูโรวิชันที่ผู้เข้าประกวดซึ่งผ่านรอบคัดเลือก ถูกตัดสิทธิ์ก่อนการประกวดรอบชิงชนะเลิศ[15]

อนึ่ง เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการประกวดรอบชิงชนะเลิศด้วยพระองค์เอง อีกทั้งทรงกล่าวต้อนรับผู้เข้าประกวดและผู้ชมทั่วโลกผ่านวิดีโอที่บันทึกไว้ล่วงหน้าในช่วงแรกของการถ่ายทอดสดดังกล่าวด้วย[16]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เดิมมี 26 ประเทศที่เข้ารอบ แต่ตัวแทนจากเนเธอร์แลนด์ถูกตัดสิทธิก่อนการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ อย่างไรก็ตามเนเธอร์แลนด์ยังคงมีสิทธิในการให้คะแนนตามเดิม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Malmö to host Eurovision Song Contest 2013!". eurovision.tv. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2014. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
  2. Månsson, Annie; Ek, Torbjörn (7 July 2023). "Malmö får Eurovision 2024" [Malmö gets Eurovision 2024]. Aftonbladet (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 7 July 2023.
  3. "Ingen endring av jurysystemet i Eurovision-finalen" [No change to the jury system in the Eurovision final]. Dagsavisen (ภาษานอร์เวย์บุคมอล). 4 March 2024. สืบค้นเมื่อ 5 March 2024.
  4. 4.0 4.1 "Major changes for Malmö: Big Five & Sweden perform LIVE in Semi-Finals and you can vote for longer". Eurovision.tv. EBU. 11 March 2024. สืบค้นเมื่อ 11 March 2024.
  5. Andersson, Rafaell (6 November 2023). "Eurovision 2024: The Safety Of The Contest Under Discussion". Eurovoix (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 23 December 2023.
  6. Razak Tuma, Firas (15 April 2024). "Stora protester mot Israels deltagande i Eurovision väntas i Malmö" [Large protests against Israel's participation in Eurovision are expected in Malmö]. SVT Nyheter (ภาษาสวีเดน). SVT. สืบค้นเมื่อ 15 April 2024.
  7. Fritze, Gunilla (3 May 2024). "Stora demonstrationståg under Eurovision – 40 000 kan ge sig ut på Malmös gator" [Large demonstration train during Eurovision – 40,000 could take to the streets of Malmö]. SVT Nyheter (ภาษาสวีเดน). SVT. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024.
  8. "Han leder manifestation för Israels deltagande i ESC" [He leads a demonstration for Israel's participation in ESC]. SVT Nyheter (ภาษาสวีเดน). SVT. 22 March 2024. สืบค้นเมื่อ 31 March 2024.
  9. Vickhoff, Alexander; Hansson, Anders (21 March 2024). "Trots höjd terrorhotnivå och protester – ingen riktad hotbild mot Eurovision" [Despite the high terror threat level and protests, no directed threat against Eurovision appears]. Dagens Nyheter (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 26 March 2024.
  10. Fritze, Gunilla (4 May 2024). "Malmö aktiverar sitt krisstöd under Eurovision" [Malmö activates its crisis support during Eurovision]. SVT Nyheter (ภาษาสวีเดน). SVT. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024.
  11. Andersson, Rafaell (6 May 2024). "Eurovision 2024: The City of Malmö Discusses Support Plan". Eurovoix. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024.
  12. "Joost Klein: Dutch contestant disqualified from Eurovision Song Contest". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-05-11. สืบค้นเมื่อ 2024-05-11.
  13. Granger, Anthony (2024-05-11). "Netherlands: NPO, AVROTROS & EBU Meeting This Morning Regarding Joost Klein Incident". Eurovoix. สืบค้นเมื่อ 2024-05-11.
  14. "AVROTROS: Joost Klein was boos omdat hij gefilmd werd • Zanger maakte dreigende beweging". nos.nl (ภาษาดัตช์). 2024-05-11. สืบค้นเมื่อ 2024-05-11.
  15. "Dutch contestant disqualified from Eurovision just hours before final over 'backstage incident'". 9News. 2024-05-12. สืบค้นเมื่อ 2024-05-11.
  16. "Crown Princess Victoria of Sweden follows in Kate Middleton's footsteps with surprise 2024 Eurovision appearance". HELLO! (ภาษาอังกฤษ). 2024-05-11.