ประวัติศาสตร์ศรีลังกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์ศรีลังกา เริ่มต้นเมื่อ 30,000 ปีที่แล้ว พงศาวดารกล่าวไว้ว่ากษัตริย์สิงหลนั้นมีในศตวรรษที่6 และบางคนกล่าวว่ามีเรื่องรามายนะ มหาภารตะ พระพุทธศาสนานั้นเข้ามาในศตวรรษที่3 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จนศตวรรษที่16 ดินแดนชายทะเลบางส่วนตกเป็นของโปรตุเกส อังกฤษ และดัชช์ ในเวลาต่อมาจึงตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จนกระทั่งปีค.ศ. 1948 ศรีลังกาได้รับเอกราชแต่ยังอยู่ในการปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ จนกระทั่งปีค.ศ. 1972กลายเป็นสาธารณรัฐจนกระทั่งหกปีต่อมาได้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ ทำให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่ต่อมาก็เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างชาวสิงหลกับชาวทมิฬ นานถึง25ปี โดยยุติลงด้วยชัยชนะของรัฐบาลศรีลังกา ภายใต้การนำของมหินทะ ราชปักษา

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของศรีลังกา[แก้]

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของศรีลังกานั้นมีอายุประมาณ 34,000 ปีมาแล้ว โดยระบุว่าอาศัยอยู่ในถ้ำที่ชื่อ Fa-Hien rock มีสิ่งประดิษฐ์มากมายจึงทำให้คนรู้ว่าเกาะนี้เคยมีคนอาศัยอยู่ ต่อมาได้ค้นพบข้าวโอ๊ตและข้าวบาเลย์ในที่ราบ นอกจากนี้นั้นยังค้นพบเครื่องเคลือบดินเผาเศษไม้ย่าง ศรีลังกาเป็นถิ่นกำเนิดของอบเชยเพราะมีการค้นพบในอียิปต์โบราณและคัมภีร์ไบเบิลเคยกล่าวไว้ด้วย ในยุคเหล็กค้นพบในเมืองอนุธาธปุระ โดยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของเมืองขนาดใหญ่ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ศรีลังกาพัฒนาอารยธรรมไฮโดรลิคได้ดีทั้งสร้างอ่างเก็บน้ำใหญ่และเขื่อนขนาดใหญ่ระดับโลกเช่นเดียวกับพีระมิด และเจดีย์ในศรีลังกาเยอะเป็นจำนวนมาก

ยุคโบราณของศรีลังกา[แก้]

ในสมัยนั้นเคยมีบันทึกของพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่ง ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นทรงขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ218ปีที่แล้ว หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานลงและเขายังได้เก็บดังที่ตำนานของชาวสิงหลว่าเกิดจาการคาดคะเนกันระหว่างตำนานสิงโตกับเจ้าหญิงมนุษย์ ศรีลังกานั้นยังเคยปรากฏชื่อแผนที่ในยุคโบราณของปโตเลมี โดยในสมัยนั้นมีชาวกรีกและชาวจีนเข้าร่วมค้าขายกับลังกา โดยใช้ท่าเรือ Mahathitha เป็นท่าเรือที่เชื่อมโยงไปยังอินเดียและเปอร์เซีย

อาณาจักรอนุธาธปุระ[แก้]

ในยุคแรกอาณาจักรนั้นเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมเป็นหลัก ถิ่นฐานช่วงแรกอยู่ทางแม่น้ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือต่อมาลูกชายของพระเจ้าอโศกมหาราชได้นำต้นโพธิ์ผ่านเมืองJambukola ทำให้ในสมัยนี้มีความเจริญทางด้านพระพุทธศาสนา ต่อมาทมิฬเข้าโจมตีทางภาคใต้ของศรีลังกา ทมิฬเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการรุกครั้งนี้ เมื่อโรมัน เข้ามาค้าขายทมิฬกับศรีลังกาแต่เศรษฐกิจปกครองไม่นานเพราะจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง จนมีสมัยหนึ่งที่เถรวาทเสื่อมลงและกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้ง

ยุคศรีลังกา[แก้]

ราชอาณาจักรRohana นั้นได้สร้างขึ้นมาและชนะทมิฬ กษัตริย์มีดังนี้

  1. พระเจ้ามาฮานากา
  2. พระเจ้ายาทาลาทิสสา
  3. พระเจ้าโกทาบายา
  4. พระเจ้าคาวานดิสซา

กบฎโซลาในศรีลังกา[แก้]

ระยะเวลาในการปกครองศรีลังกาของโชลาเริ่มขึ้นเมื่อค.ศ. 993 เมื่อราชาโซลาทรงทัพใหญ่ที่เอาชนะกองทัพอนุธาธปุระ และได้สถาปนาให้เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่

ราชอาณาจักรPolonnaruwa[แก้]

เป็นอาณาจักรที่2ที่สำคัญของศรีลังกา อาณาจักรแห่งนี้ถูกเข้าหลังอาณาจักรอนุธาธปุระถูกโซลายึดครอง

ราชอาณาจักรDambadeniya[แก้]

พระเจ้าพาราคามาบาฮู จัดตั้งอาณาจักรใน Dambadeniya เขายังได้สร้างวัดศักดิ์สิทธ์ในเมืองแห่งนี้

ราชอาณาจักรSitawaka[แก้]

เป็นอาณาจักรสั้นๆในสมัยโปรตุเกส

ราชอาณาจักรแคนดี[แก้]

ราชอาณาจักรแคนดีนั้นอยู่ทางตอนกลางและทางตะวันออกของเกาะ ได้ก่อสร้างช่วงต้นศตวรรษที่15ถึงช่วงปลายศตวรรษที่19 จนต่อมาต้องยอมจำนนต่ออังกฤษเมื่อค.ศ. 1818 จึงตกเป็นของอังกฤษ

โคโลเนียลศรีลังกา[แก้]

ยุคของโปรตุเกส เป็นประเทศแรกที่ไปเยือนศรีลังกา จนโปรตุเกสกดดันจนชาวสิงหลต้องย้ายไปยังเมืองแคนดี้ สิงหลส่วนใหญ่ถูกโปรตุเกสให้นับถือศาสนาคริสต์โดยเฉพาะแถบชายฝั่งทะเล จนกษัตริย์แคนดี้ต้องขอความช่วยเหลือของเนเธอร์แลนด์ ยุคของเนเธอร์แลนด์ ศรีลังกาทำสนธิสัญญากับเนเธอร์แลนด์ในค.ศ. 1638 เนเธอร์แลนด์นั้นผูกขาดการค้ากับศรีลังกากำจัดโปรตุเกสและคาทอลิก ยกเว้นอาณาจักรแคนดี้ ในค.ศ. 1659 กัปตันอังกฤษชื่อ โรเบริ์ด น๊อกซ์ ถูกจับโดยกษัตริย์แคนดี้พร้อมลูกเรืออีก16คน เขาหนีเมื่อ19ปีต่อมา เขียนในบัญชีของเขา ทำให้อังกฤษเริ่มสนใจเกาะนี้มากขึ้น ยุคอังกฤษ เยอรมนีเขียนแผนที่ของประเทศศรีลังกาในระหว่างสงครามสหราชอาณาจักรเกรงว่าอังกฤษจะได้ครอบครองฝรั่งเศส ต่อมาชาวเนเธอร์แลนด์ในศรีลังกาได้สร้างอาณานิคมเล็กๆขึ้นมา เมื่ออังกฤษยึดศรีลังกาได้เขาได้ทราบว่ามีชาและกาแฟมากมายในศตวรรษที่19 ชาซีลอนไก้กลายเป็นชาที่มีชื่อเสียง แต่แรงงานเหล่านี้นั้นถูกใช้งานอย่างกับทาส เนื่องจากชาวสิงหลยังน้อยไปนั้นจึงได้นำชาวทมิฬจากทางใต้ของอินเดีย เข้ามาทำงานจนศรีลังกาเศรษฐกิจเริ่มค่อนข้างเจริญเติบโต

การเคลื่อนไหวอย่างอิสระในศรีลังกา[แก้]

รัฐบาลซีลอนออกมารณรงค์การปกครองตนเองและยังปฏิเสธชาวทมิฬในศรีลังกา ทำให้เกิดเหตุการณ์คนหัวรุนแรง ขณะเดียวกันซีลอนเริ่มปฏิรูปประเทศ พวกเขาต้องการให้ใช้ภาษาสิงหลและทมิฬแทนภาษาอังกฤษ ทำให้คนงานบางส่วนออกมาประท้วงและนองเลือดเพียงเล็กน้อย จนทมิฬออกมาบอกว่า ความภาคภูมิใจทมิฬ และประกาศตัวเป็นทมิฬและสนับสนุนระบบวรรณะและอ้างว่าคุ้มครองสิทธิของชนกลุ่มน้อยซึ่งมีเพียง35เปอร์เซนต์ และยังกล่าวหาอังกฤษว่ายึดดินแดนทมิฬเดิมไปแต่ชาวพุทธไปสนับสนุนอังกฤษ จนต้องเปิดเส้นทางรถไฟจาฟ-โคลัมโบ ทำให้ชาวทมิฬเพิ่มมากขึ้น

ศรีลังกาในสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

ศรีลังกาเป็นฐานทัพอังกฤษในเอเชียใต้เพื่อเข้าสู้กับกองกำลังจักรวรรดิญี่ปุ่น ช่วงนั้นได้เกิดเหตุการณ์ผู้นำฝ่ายค้านที่สนับสนุนลัทธิมาร์กซ์ เจ้าอาณานิคมได้จับกุมจนกระทั่งบางส่วนได้หลบหนีไปยังอินเดีย จนกระทั่งค.ศ.1944 ได้รับอิสระในการปกครองตนเอง

หลังสงคราม[แก้]

ผู้นำศรีลังกานายดอนสตีเฟ่น เสนานายาเก ในเรื่องของความเป็นอิสระพยายามแก้ไขได้จุดมุ่งหมายของเสรีภาพ ต่อมาสุญญากาศทางด้านการเมืองในทมิฬเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยทมิฬเริ่มมีอำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น

อิสรภาพ[แก้]

วันที่4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1948ทำสนธิสัญญาการทหารกับอังกฤษ ศรีลังกาโดยนายเสนานายาเก เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของศรีลังกา โดยชาวทมิฬเริ่มกดดันนายเสนานายาเก ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ที่จ่ายให้ชาวทมิฬนั้นเป็นของชาวสิงหลเป็นส่วนใหญ่ โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เรียกร้องทำชา

ค.ศ.1956-1972[แก้]

ในปี1956 ศรีลังกาได้บัญญัติให้ภาษาทมิฬเป็นภาษาที่สอง สี่ปีต่อมาสิงหลได้ยอมรับภาษาสิงหล เป็นภาษาแรกทำให้คนส่วนใหญ่เลือกไปอยู่ต่างประเทศมากกว่าอยู่ประเทศตัวเอง สองปีต่อมาได้มีการขัดแย้งระหว่างชาวสิงหลกับทมิฬเรื่องภาษา

สาธารณสังคมนิยมศรีลังกา[แก้]

วันที่22 พฤษภาคม 1972

รัฐธรรมนูญ 1978[แก้]

เมื่อศรีลังกาเริ่มเป็นรูปร่างมากขึ้น รัฐธรรมนูญได้เขียนการกำกับดูแลประเทศศรีลังกา ให้สัมปทานแก่ทมิฬ และได้เพิ่มทมิฬเป็นภาษาประจำชาติควบคู่กับสิงหล แต่นโยบายการเข้ามหาวิทยาลัย ยากขึ้นนอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้กับข้าราชการทมิฬ รัฐบาลวางแผนป้องกันการก่อการร้ายที่เป็นแค่มาตรการชั่วคราว จนผู้ก่อการร้ายเพิ่มขึ้นและนายหหารตำรวจเริ่มตอบโต้เพื่อยั่วรัฐบาล จนกองโจรเล็กๆกลายเป็นขนาดใหญ่เช่นพยัคฆ์ทมิฬ(LTTE)

สงครามกลางเมือง[แก้]

เกิดขึ้นหลังจากการฆ่าทหาร13 นายของศรีลังกา เกิดการจลาจลทางตอนเหนือและทางตะวันออกของศรีลังกา ยอดผู้เสียชีวิตประมาณ21,000คน บ้านถูกทำลาย5,000หลัง จนเกิดทมิฬพลัดถิ่น ในปี2005 นายมหินทะ ราชปักษาเปิดฉาเผด็จศึกกับทมิฬจนปี 2009 ทมิฬเป็นฝ่าพ่ายแพ้ หลังทำสงครามมา26 ปี ปัจจุบันประธานาธิบดีชื่อไมตรีพาลา ศิริเสนา