กรวัฒน์ เจียรวนนท์
กรวัฒน์ เจียรวนนท์ | |
---|---|
การศึกษา | โรงเรียนลอว์เรนซ์วิลล์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย |
อาชีพ | ผู้ประกอบการธุรกิจทางอินเทอร์เน็ต |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ก่อตั้งอะมิตี้ โซลูชั่นส์ (ชื่อเดิม: เอโค่ คอมมิวนิเคชั่นส์) |
ตำแหน่ง | ประธานกรรมการบริหาร บจก. อะมิตี้ โซลูชั่นส์ คอร์ปอเรชั่น |
คู่สมรส | แอนนา คาลิเนนโควา (สมรส พ.ศ. 2566) |
ญาติ | ศุภชัย เจียรวนนท์ (บิดา) บุษดี เจียรวนนท์ (มารดา) ธนินท์ เจียรวนนท์ (ปู่) |
ครอบครัว | ตระกูลเจียรวนนท์ |
กรวัฒน์ เจียรวนนท์ (ชื่อเล่น: ภู[1]) เป็นนักธุรกิจชาวไทย ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารของอะมิตี้ โซลูชั่นส์ ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย บริษัทมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร[2]
ประวัติ
[แก้]กรวัฒน์เป็นบุตรชายของ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กับบุษดี (สกุลเดิม: มหพันธ์) เขายังมีน้องอีกสองคนคือกมลนันท์กับแซนเดอร์[1][3] กรวัฒน์ยังเป็นหลานปู่ของธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์และดำรงตำแหน่งประธานอาวุโสของบริษัทดังกล่าวในปัจจุบัน เขาศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนลอว์เรนซ์วิลล์ และระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย โดยสถาบันหลังนี้เขาศึกษาในวิชาเอกประวัติศาสตร์เป็นเวลาสองปี ก่อนที่จะลาออกจากมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นผู้ประกอบการอย่างเต็มตัว[4]
อะมิตี้ โซลูชั่นส์
[แก้]ในปี พ.ศ. 2555 กรวัฒน์ในเวลานั้นที่มีอายุ 15 ปี ได้ก่อตั้งเอโค่คอมมิวนิเคชั่นส์ ซึ่งเป็นแอปแชทบนมือถือ[5] เขาหยุดเรียนที่โรงเรียนประจำเป็นเวลาหนึ่งปีเพื่อพัฒนาแอปนี้[2][6] หลังจากใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ และต้องการมุ่งเน้นไปที่กิจการนี้ กรวัฒน์จึงตกลงกับครอบครัวว่าหากเขาระดมทุนให้บริษัทนี้ได้อย่างน้อย 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะลาออกจากมหาวิทยาลัย ซึ่งเขาสามารถทำได้หลังจากระดมทุนรอบเริ่มต้นจากไทเกอร์แล็ปส์เวนเจอส์ ตามมาด้วยการระดมทุนซีรีส์ เอ ผ่านนักลงทุน เช่น 500 สตาร์ตอัพส์, โกบิเวนเจอส์ และ อิโตชูในปี พ.ศ. 2558[6][7][8] และระดมทุนซีรีส์ บี ได้ 28.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2562 โดยเงินส่วนใหญ่จำนวน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจากซินามาสดิจิทัลเวนเจอส์ ตามด้วยกองทุนการลงทุนดิจิทัลของแอร์เอเชีย และอีวีโกรวธ์[9]
กรวัฒน์กล่าวว่าตลาดการทำงานร่วมกันขององค์กร "เปิดกว้างมากในขณะนี้" เมื่อหารือกับคู่แข่งหลายราย เช่น สแลก, ไมโครซอฟท์ และเฟซบุ๊ก[6]
ลูกค้าที่มีชื่อเสียงของบริษัท เช่น ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารธนชาต, บีอีซี-เทโร, ทรู คอร์ปอเรชั่น, ซีพี ออลล์, นกแอร์, ปตท. และเทเลคอมมาเลเซีย ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอยู่ประมาณห้าล้านคนทั่วเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ[6][10]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เอโค่ได้เข้าซื้อคอนโวแล็ปซึ่งเป็นบริษัทแชทบอทด้านเอไอ และก่อตั้งบริษัทแม่แห่งใหม่โดยเปลี่ยนชื่อจากเอโค่เป็นอะมิตี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายกิจการ[11][12] สี่ปีต่อมาบริษัทระดมทุนในซีรีส์ ซี ได้ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมเข้าซื้อกิจการโทลล์ริง บริษัทผู้ให้บริการวิเคราะห์การโทรศัพท์ในสหราชอาณาจักร อีกทั้งยังมุ่งหมายที่จะสร้างรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง[13] และวางแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2568[10]
เกียรติประวัติ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2559 กรวัฒน์ได้รับการจัดให้อยู่ในรายชื่อ "Forbes 30 Under 30 Asia" หรือชาวเอเชียอายุต่ำกว่า 30 ปี ที่ได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ ในหมวดผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี[14]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]กรวัฒน์สมรสกับแอนนา คาลิเนนโควา ซึ่งทั้งสองพบกันครั้งแรกที่ประเทศรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2562 ก่อนจะคบหาดูใจและตกลงใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน โดยมีพิธีฉลองสมรสพระราชทานเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ทั้งนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นประธานในงานดังกล่าว[15]
กรวัฒน์เคยให้สัมภาษณ์ว่าแม้เขาจะเป็นทายาทรุ่นที่สามของเครือเจริญโภคภัณฑ์ แต่ทางครอบครัวมีนโยบายชัดเจนแต่แรกว่าลูกหลานรุ่นต่อไปจะต้องสร้างธุรกิจของตัวเอง ทำให้มีแรงผลักดันที่จะต้องมีธุรกิจของตัวเองให้ได้ โดยมีบิดาคอยผลักดันให้ออกไปหาเงินและหานักลงทุนด้วยตนเอง[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ลูกชาย "ศุภชัย เจียรวนนท์" เตรียมสละโสดกับสาวรัสเซีย 30 มี.ค.นี้". posttoday. 2023-03-01.
- ↑ 2.0 2.1 Nam, Suzy. "Thailand Billionaire Heir's Tech Startup Closes $20M Fundraising Led By Indonesia's 2nd Wealthiest Family". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ Weerachokesathit, Tamonwan (2022-11-18). "งานใหญ่! คนดังร่วมยินดีเพียบ สมรสพระราชทาน 'กมลนันท์ เจียรวนนท์ – ชานันท์ โสภณพนิช'". HELLO! Magazine Thailand.
- ↑ Srisamorn, Phoosuphanusorn (26 October 2015). "Welcome to the real world". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ "สัมภาษณ์พิเศษ "กรวัฒน์ เจียรวนนท์" CEO แห่ง Eko กับก้าวต่อไปหลังจากได้ Series A". Techsauce.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Koyanagi, Ken (19 July 2019). "Thai tycoon's grandson takes on Slack and Facebook in work chat". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ Ono, Yukako. "Itochu invests in Eko, brainchild of CP Group heir". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ Phoosuphanusorn, Srisamorn (28 August 2015). "Office chat app developer Eko gets $5.7m funding". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ Ellis, Jack (27 November 2018). "Workplace app Eko nets $20m funding from SMDV, AirAsia, and others". www.techinasia.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ 10.0 10.1 Pattarat (2024-07-17). "เทคสตาร์ทอัพ "Amity" ฝีมือทายาทตระกูล "เจียรวนนท์" ระดมเงินลงทุนเพิ่มได้อีก 60 ล้านเหรียญ". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Yu, Doris (30 June 2020). "Thai billionaire heir's Eko announces acquisition, new parent firm". www.techinasia.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ Setboonsarng, Chayut (2020-06-30). "Thai billionaire heir's startup Amity flourishes amid pandemic". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ “กรวัฒน์ เจียรวนนท์” สยายปีก “Amity Solutions” สู่ AI Champion
- ↑ "Korawad Chearavanont". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ "จากรักแรกพบ กรวัฒน์ เจียรวนนท์-แอนนา คาลิเนนโควา กับงานวิวาห์สุดหวาน". www.thairath.co.th. 2023-03-31.
- ↑ "เปิดใจ "กรวัฒน์ เจียรวนนท์" ทายาทซีพีรุ่นที่ 3 ไม่ใช่ใบเบิกทางสู่ความสำเร็จ". www.thairath.co.th. 2023-03-09.