ข้ามไปเนื้อหา

อารัด (ประเทศโรมาเนีย)

พิกัด: 46°10′30″N 21°18′45″E / 46.17500°N 21.31250°E / 46.17500; 21.31250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อารัด
ธงของอารัด
ธง
ตราราชการของอารัด
ตราอาร์ม
ที่ตั้งในเทศมณฑลอารัด
ที่ตั้งในเทศมณฑลอารัด
อารัดตั้งอยู่ในโรมาเนีย
อารัด
อารัด
ที่ตั้งในประเทศโรมาเนีย
พิกัด: 46°10′30″N 21°18′45″E / 46.17500°N 21.31250°E / 46.17500; 21.31250
ประเทศโรมาเนีย
เทศมณฑลอารัด
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2020–2024) Călin Bibarț[1] (PNL)
พื้นที่46.18 ตร.กม. (17.83 ตร.ไมล์)
ความสูง117 เมตร (384 ฟุต)
ประชากร
 (2011-10-31)[2]
159,074 คน
 • ความหนาแน่น3,400 คน/ตร.กม. (8,900 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาEET/EEST (UTC+2/+3)
Postal code31xxx
Area code(+40) 02 57
เว็บไซต์www.primariaarad.ro

อารัด (โรมาเนีย: Arad; ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: aˈrad) เป็นศูนย์กลางการปกครองของเทศมณฑลอารัด ในภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ระหว่างกรีชานากับบานัต เทศบาลนครนี้ไม่มีหมู่บ้านในปกครอง อารัดเป็นนครที่ใหญ่ที่สุดอันดับสามในโรมาเนียตะวันตก รองจากตีมีชออาราและออราเดอา และถือว่าใหญ่ที่สุดอันดับที่ 12 ของประเทศ ด้วยประชากร 145,078 คน

อารัดเป็นศูนย์กลางการขนส่งเดินทางบนฝั่งแม่น้ำมูเรช และมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมหนึ่งของภูมิภาค รวมถึงยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนดนตรีแห่งแรก ๆ ของยุโรป[3][4] โรงเรียนธรรมดาแห่งแรก ๆ ของยุโรป[5] และโรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกในฮังการี และโรมาเนียในปัจจุบัน[6]

นครอารัดมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย อันเนื่องมาจากสถานะของนครที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฮังการี, ราชอาณาจักรฮังการีตะวันออก, เตเมชวาร์เอลาเยตในปกครองของออตโตมัน, รัฐทรานซิลวาเนีย, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และโรมาเนียตั้งแต่ปี 1920 จนถึงปัจจุบัน อารัดมีประชากรชาวฮังการี, เยอรมัน, ยิว, เซอร์บ, บัลกาเรีย[7] และ เช็กเกีย[8] อยู่อย่างมีนัยสำคัญตลอดช่วงต่าง ๆ ของประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 นครอารัดได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด พร้อมด้วยการก่อสร้างอาคารสถาปัตยกรรมมากมายที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน เช่น สถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิกของโรงละครโยอัน ซลาวีชี, สถาปัตยกรรมเอ็กเล็กติกของศาลาว่าการนคร และสถาปัตยกรรมนีโอกอธิกของโบสถ์แดง ล้วนแล้วแต่สร้างในสมัยดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันอารัดยังได้รับการขึ้นชื่อให้เป็นเวียนนาน้อย ด้วยงานสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่วิจิตรตระการตา

ชื่อ

[แก้]

ชื่อของอารัดมีที่มาจาก ispán แรก ซึ่งเรียกอารัดว่า Arad มาจากภาษาฮังการี úr แปลว่า 'ลอร์ด'[9] ในสมัยขบวนการคอมมิวนิสต์แห่งชาติและขบวนการดาเกีย ชื่อ ซีรีดาวา จากชื่อของป้อมปราการเก่าแก่ ได้ถูกเสนอให้นำมาใส่ต่อท้ายชื่อเมืองเป็น "อารัด-ซีรีดาวา" (Arad-Ziridava) แบบเดียวกับที่เติมชื่อของป้อมปราการนาปอกาเข้ากับนครกลุฌ เป็นชื่อกลุฌ-นาปอกา กระนั้นข้อเสนอนี้ไม่ได้นำไปใช้[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Results of the 2020 local elections". Central Electoral Bureau. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2021.
  2. "Populaţia stabilă pe judeţe, municipii, oraşe şi localităti componenete la RPL_2011" (XLS). National Institute of Statistics.
  3. Dorin Frandeș, Spații arădene care au găzduit muzică – Pitești : Nomina 2011 ISBN 978-606-535-327-5;
  4. www.sysadmins.ro, SysAdmins :: 2015. "Consiliul Judetean Arad". www.cjarad.ro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-16. สืบค้นเมื่อ 11 June 2017.
  5. "Preparandia Română". AradCityGuide (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.
  6. "Prima fabrică de automobile din ţară a fost construită la Arad". adevarul.ro (ภาษาอังกฤษ). 31 March 2011. สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.
  7. Marco, Gabriela Adina. "Realități demografice de pe Valea Mureșului Inferior în a doua jumătate a secolului al XIX-lea și la începutul secolului al XX-lea" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-09. สืบค้นเมื่อ 23 February 2019.
  8. "Volumul II: Populația stabilă (rezidentă) – structura etnică și confesională". Recensământul populației și al locuințelor 2011. INSSE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2021. สืบค้นเมื่อ 23 February 2019.
  9. Kiss, Lajos (1988). Földrajzi nevek etimológiai szótára (ภาษาฮังการี). Akadémiai Kiadó. p. 108. ISBN 978-963-05-4568-6.
  10. Morar (2019). "Cîteva litere dintr-un dicționar sentimental". Dilema Veche (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 2022-10-02.