ข้ามไปเนื้อหา

การประชุมใหญ่เพื่อวิจารณ์และกล่าวโทษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประชุมใหญ่เพื่อวิจารณ์และกล่าวโทษ
องค์แป็นเช็นลามะที่ 10 แห่งทิเบต ขณะถูกวิจารณ์และกล่าวโทษเมื่อปี 1964 หลังเขียนเอกสารวิพากษ์นโยบายของโจว เอินไหลในทิเบต
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ批斗大会
อักษรจีนตัวเต็ม批鬥大會
ชื่อภาษาทิเบต
อักษรทิเบต འཐབ་འཛིང

การประณามต่อหน้าสาธารณะ หรือ การประชุมใหญ่สำหรับวิจารณ์และกล่าวโทษ (จีน: 批斗大会; พินอิน: pīdòu dàhuì) หรือที่นิยมแปลเป็น การประชุมดูความดิ้นรน (อังกฤษ: struggle sessions หรือ struggle meetings) หรือ ขบวนประณาม (อังกฤษ: denunciation rallies)[1] เป็นการแสดงความรุนแรงต่อหน้าสาธารณชนในสาธารณรัฐประชาชนจีนสมัยเหมา เจ๋อตง ที่ซึ่งคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" จะถูกนำมาถูกทำให้อับอายต่อหน้าสาธารณะ, กล่าวหา, ทุบตี และทรมาณร่างกาย บางครั้งจนถึงแก่ชีวิต และหลายครั้งโดยคนที่เคยใกล้ชิด[2][3][4][1] การประจานต่อหน้าสาธารณะเป็นการรณรงค์ใหญ่ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด ตั้งแต่ก่อนและหลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในสมัยการปฏิวัติทางวัฒนธรรม (1966–1976) ซึ่งถูกนำมาใช้ปลูกฝังจิตวิญญาณแห่งการรณรงค์ให้ฝูงชนส่งเสริมการปฏิรูปความคิดเหมา[2][3][5][6]

การประชุมเช่นนี้มักทำตามที่ทำงาน ห้องเรียน หอประชุม ที่ซึ่ง "นักเรียนต่อต้านครูอาจารย์ มิตรสหายและคนรักถูกกดดันให้ทรยศกันและกัน เด็ก ๆ ถูกชักจูงให้เปิดโปงพ่อแม่ของตนเอง" นำไปสู่การล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความเชื่อถือกันในสังคม[1][7][8]

การประณามและประจาน "ศัตรูทางชนชั้น" มักนิยมทำตามจัตุรัสสาธารณะ เต็มไปด้วยฝูงชนที่เข้ามายืนชม เหยื่อจะถูกจับนั่งคุกเข่า ยกมือขึ้นชูกำปั้น และตะโกนข้อกล่าวหาที่ตนได้รับ[4][7][8][9] วิธีเฉพาะที่ใช้ตามการประชุมเหล่านี้ อาจรวมถึงการจับกล้อนผม (阴阳头), หมวกคนโง่, "จับหย่อนลงจากที่สูงบนเชือก" (喷气式) และการโจมตีทั้งด้วยถ้อยคำหรือด้วยกำลัง[4][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Lu, Xing (2004). "Denunciation rallies". Rhetoric of the Chinese Cultural Revolution: The Impact on Chinese Thought, Culture, and Communication. pp. 140–141.
  2. 2.0 2.1 Song, Yongyi (August 25, 2011). "Chronology of Mass Killings during the Chinese Cultural Revolution (1966–1976)". Sciences Po (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-14. สืบค้นเมื่อ December 27, 2019.
  3. 3.0 3.1 Wang, Youqin (2001). "Student Attacks Against Teachers: The Revolution of 1966" (PDF). The University of Chicago. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-17.
  4. 4.0 4.1 4.2 Sullivan, Lawrence R. (2011). "Struggle sessions". Historical Dictionary of the Chinese Communist Party. p. 390.
  5. Meeting, Association for Asian Studies (1990-01-01). Violence in China: Essays in Culture and Counterculture (ภาษาอังกฤษ). SUNY Press. ISBN 978-0-7914-0113-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.
  6. Fang, Jucheng; Jiang, Guinong. "第九章 颠倒乾坤的"文化大革命"" [Chapter 9 The "Cultural Revolution" that turned everything upside down]. People's Net (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-21. สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
  7. 7.0 7.1 7.2 Wang, Youqin. "文革"斗争会"(上)" ["Struggle sessions" in the Cultural Revolution (Part 1)] (PDF). Leaders (ภาษาจีน): 128–143. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-13 – โดยทาง The University of Chicago.
  8. 8.0 8.1 Wang, Youqin. "文革"斗争会"(下)" ["Struggle sessions" in the Cultural Revolution (Part 2)] (PDF). Leaders (ภาษาจีน): 110–127. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-05 – โดยทาง The University of Chicago.
  9. Lipman, Jonathan Neaman; Harrell, Stevan (1990). Violence in China: Essays in Culture and Counterculture. SUNY Press. pp. 154–157. ISBN 9780791401156. OCLC 18950000.