ละฏีฟะฮ์ บินต์ มุฮัมมัด อาล มักตูม
ละฏีฟะฮ์ บินต์ มุฮัมมัด อาล มักตูม | |||||
---|---|---|---|---|---|
ชีกะอ์ | |||||
ละฏีฟะฮ์ บินต์ มุฮัมมัด อาล มักตูม เมื่อเดือนมกราคา 2018 | |||||
ประสูติ | ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 5 ธันวาคม ค.ศ. 1985||||
| |||||
ราชวงศ์ | อัลฟะละซี | ||||
พระราชบิดา | มุฮัมมัด บิน รอชิด อาล มักตูม | ||||
พระราชมารดา | ฮูรียะฮ์ อะฮ์เมด อัลมะอาช | ||||
ลายพระอภิไธย | [[ไฟล์:|125px|alt=|ลายพระอภิไธยของละฏีฟะฮ์ บินต์ มุฮัมมัด อาล มักตูม]] |
ชีกะอ์ ละฏีฟะฮ์ บินต์ มุฮัมมัด อาล มักตูม (อาหรับ: لطيفة بنت محمد بن راشد آل مكتوم, อักษรโรมัน: Laṭīfa bint Muḥammad bin Rāshid Āl Maktūm; เกิด 5 ธันาคม 1985) เป็นชีคาชาวเอมิเรต สมาชิกของราชวงศ์ที่ปกครองดูไบ ลูกสาวของมุฮัมมัด บิน รอชิด อาล มักตูม นายกรัฐมนตรีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กับสตรีชาวแอลจีเรียที่ชื่อ ฮูรียะฮ์ อะฮ์เมด อัลมะอาช (Huriah Ahmed al M'aash)[1][2]
เธอมีพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดาอีกสองคนที่มีชื่อเดียวกัน[3] เธอมีน้องสาวร่วมบิดามารดาด้วยกันคือ มัยตะอ์ (เกิดปี 1980), ชัมซา (เกิดปี 1981)[4][5] และ มาญิด (เกิดปี 1987)[6]
เธอหลบหนีออกจากดูไบในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2018 และถูกบีบบังคับให้เดินทางกลับมายังบ้านเกิดจากน่านน้ำนานาชาติใกล้กับชายฝั่งอินเดียในปฏิบัติการร่วมระหว่างอินเดียกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในเดือนมีนาคม 2018[7] ในเดือนธันวาคม 2018 ราชสำนักระบุว่าเธอได้เดินทางกลับเข้าดูไบแล้ว[8][9] เป็นที่เข้าใจว่าเธอถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวโดยขัดกับความต้องการของเธอภายใต้คำสั่งของบิดา[10][11] ในเดือนมิถุนายน 2021 มีการออกแถลงการณ์สั้นในนามของเธอโดยสำนักงานกฎหมาย เทย์เลอร์ วิสซิง ระบุว่าเธอมีอิสระในการเดินทางอยู่และต้องการความเป็นส่วนตัว[12][13] ในเดือนสิงหาคม 2021 หลังมีผู้ถ่ายภาพเธอได้บนท้องถนนของดูไบ, สเปน และไอซ์แลนด์ จึงถือเป็นการสิ้นสุดการรณรงค์ #FreeLatifa (ปล่อยละฏีฟะฮ์) ซึ่งดำเนินการมานานสามปีครึ่ง[14] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มีแชล บาเชเล ระบุว่าตนได้พบกับละฏีฟะฮ์เป็นการส่วนตัวในปารีสแล้ว ซึ่งเธอสบายดีและต้องการความเป็นส่วนตัว[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Michael Holden and Andrew MacAskill (2020-03-05). "Findings in UK court battle between Dubai's sheikh and former wife". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
- ↑ "Re Al M, Approved Judgment (The High Court of Justice, Family Division)" (PDF). Courts and Tribunal Judiciary. 11 December 2019. สืบค้นเมื่อ 19 February 2021.
- ↑ Escape from Dubai (11 March 2018), Latifa Al Maktoum – Escape from Dubai – Hervé Jaubert (video), สืบค้นเมื่อ 9 May 2018
- ↑ Wilson, Jamie; Millar, Stuart (10 December 2001). "Strange case of the sheikh's daughter". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2018. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
- ↑ Wilson, Jamie; Millar, Stuart (15 December 2001). "Sheikh's daughter escaped family's UK home before 'kidnap'". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2018. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
- ↑ Escape from Dubai (11 March 2018), Latifa Al Maktoum – Escape from Dubai – Hervé Jaubert (video), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2018, สืบค้นเมื่อ 22 March 2018
- ↑ "The Sean Hannity Show: The Plight of Princess Latifa". player.fm (ภาษาอังกฤษ). The Sean Hannity Show. 27 April 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2019. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.
Relevant quote at 54 min. 5 sec. time mark in audio.
- ↑ Burgess, Sanya (6 December 2018). "How missing Dubai princess practised her escape". สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
- ↑ "Missing princess is 'safe in Dubai,' say Emirate's rulers". สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
- ↑ Dubai royal insider breaks silence on escaped princesses. 60 Minutes Australia. 22 July 2019.
- ↑ "Princess Latifa: The Dubai ruler's daughter who vanished". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 16 February 2021. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
- ↑ Sabbagh, Dan (22 June 2021). "Statement released on behalf of Dubai's Princess Latifa says she is free to travel". The Guardian (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Barrington, Lisa (2021-06-23). "Dubai's Latifa is free to travel, statement issued through lawyers says". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-16.
"I recently visited 3 European countries on holiday with my friend. I asked her to post a few photos online to prove to campaigners that I can travel where I want," said the statement. Law firm Taylor Wessing said the statement was issued under Latifa's instructions in response to queries from Reuters. "I hope now that I can live my life in peace without further media scrutiny. And I thank everyone for their kind wishes."
Reuters could not independently verify whether Latifa has freedom of movement or the circumstances under which the Taylor Wessing statement was issued. Taylor Wessing is a global law firm with 28 offices worldwide, including one in Dubai, its website says. - ↑ "Princess Latifa campaigners disband after cousin says she is 'happy and well'". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-08-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
- ↑ Presse, Agnes France (February 19, 2022). "Princess Latifa: Dubai ruler's daughter is 'well', says UN human rights chief". The Guardian. p. 1. สืบค้นเมื่อ February 20, 2022.