ศาลเจ้าเด็กหญิงเยอรมัน
ศาลเจ้าเด็กหญิงชาวเยอรมัน (อังกฤษ: German Girl Shrine) เป็นศาลเจ้าบนเกาะปูลาวูอูบิน ประเทศสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนจุดที่ฝังศพเด็กหญิงวัย 18 ปีที่เสียชีวิตบนเกาะในปร 1914 จากการร่วงจากหน้าผาขณะหลบหนีกองทัพอังกฤษที่ตามไล่ล่าพลเมืองเยอรมันบนเกาะในเวลานั้น คนงานชาวจีนบนเกาะย้ายร่างเธอมาฝังและตั้งศาลขึ้น ศาลนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักพนันซึ่งเชื่อว่าดวงวิญญาณของเธอจะช่วยนำพาความโชคดีมาให้ ศาลเจ้าเป็นอาคารสร้างขึ้นในปี 1974 โดยบริษัทที่เข้ามาทำการขุดเหมืองบนเกาะ ปัจจุบันศาลตั้งอยู่ในสวนจักรยานภูเขาเกอตัม ผู้ที่เดินทางมายังศาลแห่งนี้นิยมถวายของบูชาเป็นเครื่องสำอางและตุ๊กตาบาร์บี
ภูมิหลัง
[แก้]ในทศวรรษ 1910 เกาะปูลาวูอูบินเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมสิงคโปร์ของอังกฤษ บนเกาะมีชาวเยอรมันสองครอบครัวอาศัยอยู่ คือตระกูลบรันท์ (Brandt) และตระกูลมูลิงงัน (Muhlingan) ซึ่งบริหารสวนกาแฟบนเกาะ[1] บนเกาะนี้ยังเป็นแหล่งที่มาของหินกรนิตและเหมืองหินที่นำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้าในสิงคโปร์[2] หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งเยอรมนีอยู่ฝั่งตรงข้ามกับอังกฤษ ในเดือนกรกฎาคม 1914 ทหารอังกฤษทำการจับกุมพลเมืองเยอรมันในสิงคโปร์ด้วยเหตุผลความมั่นคง เด็กหญิงชาวเยอรมันวัย 18 ปี ลูกสาวของบ้านหนึ่งในสองบนเกาะ วิ่งหนีการจับกุมเ้ขาไปในป่า หลายวันต่อมาคนงานในสวนชาวโบยามาพบกับศพของเธอซึ่งเต็มไปด้วยมด เข้าใจว่าเธอร่วงลงมาจากหน้าผาใกล้กับเหมืองและเสียชีวิต คนงานนำร่างเธอฝังในทราย วางดอกไม้และจุดธูปก่อนถวายเครื่องบูชาให้แก่เธอ ทั้งนี้ ไม่เป็นที่ทราบถึงชื่อของเธอ[1]
ศาลเจ้า
[แก้]ต่อมาคนงานชาวจีนได้ขุดเอาร่างของเธอออกมาและนำไปฝังบนเขาเหนือเหมือง[1] ร่างของเธอถูกฝังในโกฐพร้อมไม้กางเขนและเหรียญจำนวนหนึ่ง[3][4] A จากนั้นจึงสร้างศาลเจ้าชั่วคราวขึ้นเหนือหลุมศพของเธอซึ่งต่อมามีชื่อด้านการให้พรให้โชคดี นักพนันจากสิงคโปร์และมลายูเดินทางมาที่ศาลและถวายของ เชื่อว่าเธอจะช่วยอวยพรให้โชคดี[4] ในปี 1974 บริษัทเหมืองบนเกาะทำการสร้างศาลเจ้าขึ้นเป็นอาคารถาวรขึ้น มีลักษณะเป็นศาลเจ้าจีนสีเหลือขนาดเล็ก[4][5] เข้าใจว่าร่างของเธอถูกนำออกมาจากจุดที่ฝังและนำมาตั้งไว้ในศาลที่สร้างขึ้นใหม่[6]
อุตสาหกรรมเหมืองบนเกาะเริ่มเสื่อมถอยลงในทศวรรษ 1970 และเหมืองสุดท้ายบนเกาะปิดทำการในปี 1999[2] จำนวนผู้อยู่อาศัยลดลงจาก 2,000 คนเป็นไม่ถึง 100 และในปัจจุบันเกาะเป็นแหล่งสัตว์และป่าไม้[2] ศาลเข้านี้ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของเกาะ ปัจจุบันอยู่ในเขตสวนจักรยานภูเขาเกอตัม[3]
จนถึงปัจจุบัน ผู้คนยังคงเดินทางมาถวายของบูชา เช่น เครื่องสำอาง น้ำยาทาเล็บ น้ำหอม และตุ๊กตาบาร์บี[4][2] ตัวศาลเจ้าสร้างและประดับแบบจีน[2] และมีผู้เดินทางมาเยี่ยมชมประมาณ 4-5 คนต่อสัปดาห์[6]
ข้อเท็จจริงเชิงประวัติศาสตร์
[แก้]ในผลการค้นคว้าโดย อ. วิลเลียม แอล กิบซัน (William L. Gibson) นักเชียนและนักวิจัยด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขสพบว่าลนเกาะปูลาวูอูบินไม่มีสวนหรือการเพาะปลูกกาแฟในระหว่างปี 1914 หรือในระหว่างสวครามโลกครั้งที่หนึ่ง รวมถึงไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกว่ามีครอบครัวชาวเยอรมันอาศัยบนเกาะในช่วงเดียวกัน กิบซันเสนอว่าศาลเจ้านี้อาจมีที่มาจากการปฏิบัติดาตุเกอรามัต ซึ่งเป็นความเชื่อพื้นถิ่นมลายูเกี่ววข้องกับการบูชาบรรพชนที่ถูกนำมาปฏิบัติผสมผสานโดยคติชนพื้นเมืองจีนและการบูชาธรรมชาติโอยผู้อพยพชาวจีน กลาบมาเป็นกนาตุกง ตำนานซึ่งบอกเล่าถึงมดบนศพของเด็กหญิงชาวเยอรมันน่าจะมาจากตำนานของศาลที่เกี่ยวกับรังมดหรือจอมปลวก ซึ่งกลายมาเป็นจุดที่ทำการบูชาดาตุเกอรามัตซึ่งการบูชาจอมปลวกหรือรังมดไม่ใช่เรื่องแปลก และอาจมีที่มาเช่นนี้ก่อนจะแปรสภาพมาเป็นตำนานเรื่องเด็กหญิงชาวเยอรมัน[7]
กิบซันยังทำการค้นคว้าประวัติของศาลเจ้าในรายงานของสื่อ หลักฐานภาพถ่ายที่เก่าแก่ที่สุดของอาคารศาลเจ้ามาจากบทความบนหนังสือพิมพ์มลายู เบอรีตามิงงู (Berita Minggu; ปัจจุลันคือ เบอรีตาฮารียัน) ลงวันที่ 27 ตุลาคม 1985[8] ซึ่งเขียนถึงศาลเจ้าบูชาหลุมศพของเจ้าหญิงจากชวาบนเขาในเกาะปูลาวูอูบิน และจากบทความทำให้พอบอกได้ว่าเรื่องราวเบื้องหลังว่าด้วยเด็กหญิงชาวเยอรมันนั้นไม่น่าเป็นเรื่องที่มาของศาลเจ้านี้ ในปี 1987 เรื่องเล่าของเด็กหญิงเยอรมันปรากฏบนสื่อในบทสัมภาษณ์ของชาวเกาะอูบิน ชื่อ เชีย เยิง เกิง (Chia Yeng Keng) ก่อนจะถูกทำให้ได้รับความนิยมในบทความบนสื่อต่าง ๆ และหนังสือมากมาย[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "German Girl Shrine". National Parks (ภาษาอังกฤษ). Singapore Government. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Ford, Peter (14 June 2018). "Singapore's Granite Island". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
- ↑ 3.0 3.1 "17 tourist attractions Singaporeans never go to". Time Out Singapore (ภาษาอังกฤษ). 15 October 2019. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Koon, Wee Kek (28 March 2019). "Personality cults: how folk religions take root". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
- ↑ Andrews, Joseph; Ubin, Pulau (11 December 2015). "Tales from a boomerang-shaped island". The Hindu (ภาษาIndian English). สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
- ↑ 6.0 6.1 How, Mandy; Lay, Belmont (6 November 2016). "Mysterious Pulau Ubin German girl shrine still sees visitors after 100 years in existence". Mothership Singapore (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 September 2020.
- ↑ 7.0 7.1 Gibson, William (October 2021). "Unravelling the Mystery of Ubin's German Girl Shrine". bibloasia. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ Ismail, Oleh (27 October 1985). "Cerita Puteri Jawa di 'Bukit Puaka'". Berita Minggu. Singapore. สืบค้นเมื่อ 16 Mar 2022.