ข้ามไปเนื้อหา

สงครามยูโกสลาเวีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามยูโกสลาเวีย
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1989 และสมัยหลังสงครามเย็น

ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย:
ตำรวจสโลวีเนียคุมตัวทหารยูโกสลาเวียที่ถูกจับได้ในสงครามสิบวัน; รถถังที่เสียหายในยุทธการที่วูคอวาร์; ฐานยิงจรวดต่อสู้รถถังของกองทัพเซิร์บ ระหว่างการล้อมดูบรอฟนีก; การฝังร่างเหยื่อการสังหารหมู่สเรเบรนิตซาใหม่ใน ค.ศ. 2010; ยานเกราะของสหประชาชาติบนถนนในเมืองซาราเยโว
วันที่31 มีนาคม ค.ศ. 1991 – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001
(10 ปี 7 เดือน 1 สัปดาห์ 5 วัน)

สงครามประกาศอิสรภาพสโลวีเนีย:
27 มิถุนายน – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1991
(1 สัปดาห์ 3 วัน)
สงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย:
31 มีนาคม ค.ศ. 1991 – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995[A 1]
(4 ปี 7 เดือน 1 สัปดาห์ 5 วัน)
สงครามบอสเนีย:
6 เมษายน ค.ศ. 1992 – 14 ธันวาคม ค.ศ. 1995
(3 ปี 8 เดือน 1 สัปดาห์ 6 วัน)
การก่อกำเริบในคอซอวอ:
27 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 – 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998
(2 ปี 9 เดือน)
สงครามคอซอวอ:
28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 – 11 มิถุนายน ค.ศ. 1999
(1 ปี 3 เดือน 2 สัปดาห์)
การก่อการกำเริบในหุบเขาเพรเชวอ:
12 มิถุนายน ค.ศ. 1999 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 2001[5]
(1 ปี 11 เดือน 2 สัปดาห์ 6 วัน)
การก่อการกำเริบในมาซิโดเนีย:
22 มกราคม – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001
(9 เดือน 3 สัปดาห์)
สถานที่
ผล การล่มสลายของยูโกสลาเวียและการจัดตั้งรัฐสืบทอดอิสระ
คู่สงคราม
1991
 ยูโกสลาเวีย
1991
 สโลวีเนีย
1991–95
 ยูโกสลาเวีย (จนถึงเมษายน ค.ศ. 1992)
 เซิร์บกรายินา
เรปูบลิกาเซิร์ปสกา (1992–95)
สนับสนุน:
สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (ตั้งแต่เมษายน ค.ศ. 1992)

จังหวัดปกครองตนเองบอสเนียตะวันตก (1993–95)
1992–95
 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (1992–94)
1991–95
 โครเอเชีย
 เฮิร์ตเซก-บอสเนีย (1992–95)
 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (1992, 1994–95)
เนโท เนโท (1995)
1995–2001
สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย
1995–2001
KLA (1995–1999)
UÇPMB
2001
มาซิโดเนียเหนือ สาธารณรัฐมาซิโดเนีย
2001
กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติ
กองทัพแห่งชาติแอลเบเนีย
สนับสนุน:
 แอลเบเนีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย Veljko Kadijević
สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย สลอบอดัน มีลอเชวิช
เรปูบลิกาเซิร์ปสกา ราดอวาน การาจิช
เรปูบลิกาเซิร์ปสกา รัตกอ มลาดิช
สาธารณรัฐเซิร์บกรายินา มิลาน มาร์ติช
สาธารณรัฐเซิร์บกรายินา มิลาน บาบิช
ฟิกเร็ต อับดิช
มาซิโดเนียเหนือ บอริส ไตรกอฟสกี
สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา อาลียา อีเซตเบกอวิช สโลวีเนีย มีลัน กูชัน
โครเอเชีย ฟราโญ ตุจมัน
สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย Mate Boban
สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย Krešimir Zubak
อาเด็ม ยาชารี
Hashim Thaçi
รามุช ฮาราดินัย
Shefket Musliu[6]
Ridvan Qazimi
อาลี อาฮ์เมตี
ฟาดิล นิมานี[7][8]
เนโท เลห์ตัน ดับเบิลยู. สมิธ จูเนียร์
เนโท เวสลีย์ คลาร์ก
เสียชีวิตทั้งหมด: ป. มากกว่า 130,000–140,000 คน[9][10]
พลัดถิ่น: ป. 4,000,000 คน[11]

สงครามยูโกสลาเวีย (อังกฤษ: Yugoslav Wars) สื่อถึงชุดความขัดแย้งทางชาติพันธ์ สงครามประกาศเอกราช และการก่อกำเริบที่แตกต่างแต่มีความเกี่ยวข้องกัน[12][13][14]ที่เกิดขึ้นในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียใน ค.ศ. 1991 ถึง 2001[A 2] ความขัดแย้งนำไปสู่การล่มสลายของยูโกสลาเวีย ซึ่งเกิดขึ้นกลาง ค.ศ. 1991 ก่อให้เกิด 6 ประเทศเอกราชใหม่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย คือ: สโลวีเนีย, โครเอเชีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, มอนเตเนโกร, เซอร์เบีย และมาซิโดเนียเหนือ (อดีตมีชื่อว่า มาซิโดเนีย) สงครามยุติลงด้วยผลที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วส่งผลให้นานาชาติรับรองรัฐอธิปไตยใหม่หลายรัฐอย่างสมบูรณ์ แต่ก็ด้วยการขัดขวางทางเศรษฐกิจขนานใหญ่ในประเทศเกิดใหม่เหล่านี้

ในช่วงแรกของการล่มสลายของยูโกสลาเวีย กองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย (JNA) ต่อสู้เพื่อรักษาความเป็นเอกภาพของชาติยูโกสลาฟด้วยการทำลายรัฐบาลแบ่งแยกดินแดนอย่างไรก็ตาม กองทัพนี้เริ่มอยู่ภายใต้อิทธิพลของสลอบอดัน มีลอเชวิชที่ใช้แนวคิดชาตินิยมเซิร์บเป็นอุดมการณ์แทนที่ระบบคอมมิวนิสต์ที่กำลังอ่อนแอ ทำให้ JNA เริ่มสูญเสียชาวสโลวีน, ชาวโครแอต, ชาวแอลเบเนียเชื้อสายคอซอวอ, ชาวบอสนีแอก และชาวมาซิโดเนีย กลายเป็ยกองทัพที่สู้เพื่อชาวเซิร์บเท่านั้น[16] ตามรายงานของสหประชาชาติใน ค.ศ. 1994 ฝ่ายเซิร์บไม่ได้มุ่งหวังถึงการฟื้นฟูยูโกสลาเวีย แต่มุ่งหวังที่จะสร้าง "เกรตเตอร์เซอร์เบีย" จากส่วนของโครเอเชียและบอสเนีย[17] ขบวนการอื่น ๆ ก็มีส่วนเชื่อมโยงกับสงครามยูโกสลาเวียด้วย เช่น "เกรตเตอร์แอลเบเนีย" (จากคอซอวอ ยกเลิกด้วยการทูตระหว่างประเทศ)[18][19][20][21][22] และ"เกรตเตอร์โครเอเชีย" (จากบางส่วนของเฮอร์เซโกวีนา ยกเลิกใน ค.ศ. 1994 ด้วยข้อตกลงวอชิงตัน)[23][24][25][26][27]

สงครามครั้งนี้มักถูกเรียกว่าเป็นความขัดแย้งอันนองเลือดที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติ ความขัดแย้งดังกล่าวกลายเป็นสิ่งเลวทรามเนื่องจากมีอาชญากรรมสงครามเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ, การกวาดล้างชาติพันธุ์ และการข่มขืนหมู่ในช่วงสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์บอสเนียเป็นเหตุการณ์ในช่วงสงครามของยุโรปครั้งแรกที่จัดเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่การทัพของนาซีเยอรมัน และบุคคลสำคัญจำนวนมากของอดีตยูโกสลาฟที่เกี่ยวข้องถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมสงครามในเวลาต่อมา[28] คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (ICTY) ที่สหประชาชาติจัดตั้งขึ้นในเดอะเฮก เนเธอร์แลนด์ เพื่อดำเนินคดีกับทุกคนที่ก่ออาชญากรรมสงครามในช่วงความขัดแย้ง[29] ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านรายงานว่า สงครามยูโกสลาเวียคร่าชีวิตผู้คนไป 140,000 ศพ[9] ส่วนศูนย์กฎหมายมนุษยธรรมประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 130,000 ศพ[10] ความขัดแย้งในช่วงทศวรรษกว่าก่อให้เกิดวิกฤตผู้อพยพและมนุษยธรรมครั้งใหญ่[30][31][32]

ชื่อ

[แก้]

มีการเรียกชื่อสงครามยูโกสลาเวียหลายแบบ เช่น:

  • "สงครามในคาบสมุทรบอลข่าน"
  • "สงคราม/ความขัดแย้งในอดีตยูโกสลาเวีย"[9][33]
  • "สงครามการแยกตัว/การสืบทอดยูโกสลาฟ"
  • "สงครามบอลข่านครั้งที่สาม": มาจากหนังสือที่เขียนโดยมิชา เกลนนี นักข่าวชาวอังกฤษ ชื่อหนังสือนี้พาดพิงถึงสงครามบอลข่านสองครั้งก่อนหน้าที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1912–1913[34] นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่บางส่วนใช้ชื่อนี้สื่อถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เนื่องจากเชื่อว่าสงครามนี้เป็นสงครามที่อยู่ถัดจากสงครามบอลข่านใน ค.ศ. 1912–1913[35]
  • "สงครามกลางเมืองยูโกสลาเวีย"/"สงครามกลางเมืองยูโกสลาฟ"/"สงครามกลางเมืองในยูโกสลาเวีย"

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ไม่มีการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ การปะทะกันด้วยอาวุธครั้งแรกคือกรปะทะที่ Pakrac ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1991[1] ตามมาด้วยวิกฤตการณ์ทะเลสาบ Plitvice ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1991 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตครั้งแรก[2] ปฏิบัติการโจมตีครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายคือปฏิบัติการสตรอมในวันที่ 5–8 สิงหาคม ค.ศ. 1995[3] การทำสงครามสิ้นสุดลงหลังลงนามในข้อตกลงเอร์ดูตในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995[4]
  2. นักประวัติศาสตร์บางส่วนจำกัดแค่ความขัดแย้งของสโลวีเนีย, โครเอเชีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และคอซอวอในคริสต์ทศวรรษ 1990[15] บางส่วนรวมการก่อการกำเริบในหุบเขาเพรเชวอและการก่อการกำเริบในมาซิโดเนีย พ.ศ. 2544

อ้างอิง

[แก้]
  1. Stephen Engelberg (3 March 1991). "Belgrade Sends Troops to Croatia Town". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 11 December 2010.
  2. Chuck Sudetic (1 April 1991). "Deadly Clash in a Yugoslav Republic". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 11 December 2010.
  3. Dean E. Murphy (8 August 1995). "Croats Declare Victory, End Blitz". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 18 December 2010.
  4. Chris Hedges (12 November 1995). "Serbs in Croatia Resolve Key Issue by Giving up Land". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 December 2010.
  5. "Mine kills Serb police". BBC News. 14 October 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2014.
  6. "Rebel Albanian chief surrenders". BBC News. 26 May 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2014.
  7. "Komandantët e UÇK-së, disa të vrarë, disa në arrati, shumica në poste"[ลิงก์เสีย]. Lajm Maqedoni. 13 August 2010
  8. "Убиен Фадил Лимани, командант на терористите за Куманово" เก็บถาวร 2 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Вест. 28 May 2001
  9. 9.0 9.1 9.2 "Transitional Justice in the Former Yugoslavia". International Center for Transitional Justice. 1 January 2009. สืบค้นเมื่อ 8 September 2009.
  10. 10.0 10.1 "About us". Humanitarian Law Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2011. สืบค้นเมื่อ 17 November 2010.
  11. "Transitional Justice in the Former Yugoslavia". ICJT.org. International Center for Transitional Justice. 1 January 2009.
  12. Judah, Tim (17 February 2011). "Yugoslavia: 1918–2003". BBC. สืบค้นเมื่อ 1 April 2012.
  13. Finlan (2004), p.  8.
  14. Naimark (2003), p. xvii.
  15. Shaw 2013, p. 132.
  16. Armatta, Judith (2010), Twilight of Impunity: The War Crimes Trial of Slobodan Milosević, Duke University Press, p. 121
  17. Annex IV – II. The politics of creating a Greater Serbia: nationalism, fear and repression
  18. Janssens, Jelle (5 February 2015). State-building in Kosovo. A plural policing perspective. Maklu. p. 53. ISBN 978-90-466-0749-7.
  19. Totten, Samuel; Bartrop, Paul R. (2008). Dictionary of Genocide. with contributions by Steven Leonard Jacobs. Greenwood Publishing Group. p. 249. ISBN 978-0-313-32967-8.
  20. Sullivan, Colleen (14 September 2014). "Kosovo Liberation Army (KLA)". Encyclopædia Britannica.
  21. Karon, Tony (9 March 2001). "Albanian Insurgents Keep NATO Forces Busy". TIME.
  22. Phillips, David L. (2012). Liberating Kosovo: Coercive Diplomacy and U.S. Intervention. in cooperation with the Future of Diplomacy Project, Belfer Center for Science and International Affairs. The MIT Press. p. 69. ISBN 978-0-262-30512-9.
  23. International Criminal Tribunal for the former Yugoslavia (29 May 2013). "Prlic et al. judgement vol.6 2013" (PDF). United Nations. p. 383.
  24. Gow, James (2003). The Serbian Project and Its Adversaries: A Strategy of War Crimes. C. Hurst & Co. p. 229. ISBN 978-1-85065-499-5.
  25. van Meurs, Wim, บ.ก. (11 November 2013). Prospects and Risks Beyond EU Enlargement: Southeastern Europe: Weak States and Strong International Support. Springer Science & Business Media. p. 168. ISBN 978-3-663-11183-2.
  26. Thomas, Raju G. C., บ.ก. (2003). Yugoslavia Unraveled: Sovereignty, Self-Determination, Intervention. Lexington Books. p. 10. ISBN 978-0-7391-0757-7.
  27. Mahmutćehajić, Rusmir (1 February 2012). Sarajevo Essays: Politics, Ideology, and Tradition. State University of New York Press. p. 120. ISBN 978-0-7914-8730-3.
  28. Bosnia Genocide, United Human Rights Council, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2009, สืบค้นเมื่อ 13 April 2015
  29. Resolution 827 S-RES-827(1993) on 25 May 1993
  30. "The Balkan Refugee Crisis". Crisis Group. June 1999. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  31. "Crisis in the Balkans". Chomsky.info. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  32. "Bosnia and Herzegovina: The Fall of Srebrenica and the Failure of UN Peacekeeping". Human Rights Watch. 1995-10-15. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  33. Tabeau, Ewa (15 January 2009). "Casualties of the 1990s wars in the former Yugoslavia (1991–1999)" (PDF). Helsinki Committee for Human Rights in Serbia.
  34. Glenny (1996), p. 250
  35. Bideleux & Jeffries (2007), p. 429

ข้อมูลทั่วไปและอ้างอิง

[แก้]

หนังสือ

[แก้]

บทความวารสารวิชาการ

[แก้]

ข้อมูลอื่น ๆ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]