ข้ามไปเนื้อหา

มีอา มอตต์ลีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มีอา มอตต์ลีย์
มอตต์ลีย์ใน ค.ศ.2021
นายกรัฐมนตรีบาร์เบโดสคนที่ 8
เริ่มดำรงตำแหน่ง
25 พฤษภาคม ค.ศ. 2018
กษัตริย์เอลิซาเบธที่ 2 (จนถึง ค.ศ. 2021)
ประธานาธิบดีซานดรา เมสัน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2021)
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซานดรา เมสัน (จนถึง ค.ศ. 2021)
รองแซนเทีย แบรดชอว์ (ตั้งแต่ ค.ศ. 2022)
ก่อนหน้าFreundel Stuart
รองนายกรัฐมนตรีบาร์เบโดสคนที่ 7
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤษภาคม 2003 – 15 มกราคม ค.ศ. 2008
นายกรัฐมนตรีโอเวน อาร์เทอร์
ก่อนหน้าบิลลี มิลเลอร์
ถัดไปFreundel Stuart
ผู้นำฝ่ายค้าน
ดำรงตำแหน่ง
26 หุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2018
นายกรัฐมนตรีFreundel Stuart
ก่อนหน้าโอเวน อาร์เทอร์
ถัดไปโจเซฟ แอเธอร์ลีย์[1]
ดำรงตำแหน่ง
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 – 18 ตุลาคม ค.ศ. 2010
นายกรัฐมนตรีเดวิด ทอมป์สัน
ก่อนหน้าเดวิด ทอมป์สัน
ถัดไปโอเวน อาร์เทอร์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จากเซนต์ไมเคิลตะวันออกเฉียงเหนือ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 กันยายน ค.ศ. 1994
ก่อนหน้าLeroy Brathwaite
คะแนนเสียง3,243 (62.1%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1965-10-01) 1 ตุลาคม ค.ศ. 1965 (59 ปี)
ประเทศบาร์เบโดส
พรรคการเมืองพรรคแรงงานบาร์เบโดส
ญาติอีวา มอตต์ลีย์ (ลูกพี่ลูกน้อง)
ที่อยู่อาศัยอิลาโรคอร์ต (2018–ปัจจุบัน)
การศึกษาMerrivale Preparatory School; United Nations International School; Queen's College (Barbados)
ศิษย์เก่าวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (LLB)

มีอา อาเมอร์ มอตต์ลีย์, SC, MP[2] (อังกฤษ: Mia Amor Mottley; เกิดวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1965) เป็นนักการเมืองและทนายความชาวบาร์เบโดสที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบาร์เบโดสคนที่ 8 ตั้งแต่ ค.ศ. 2018 และหัวหน้าพรรคแรงงานบาร์เบโดส (BLP) ตั้งแต่ ค.ศ. 2008 ในตำแหน่งทั้งสองแต่ละอย่างนั้น มอตต์ลีย์เป็นสตรีคนแรกที่ได้ เธอยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศในระบบสาธารณรัฐนิยมหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่เธอเสนอแนะให้ยุบเลิกราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศ

มอตต์ลีย์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากเขตเลือกตั้งเซนต์ไมเคิลตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่ ค.ศ. 1994 โดยใน ค.ศ. 1994 ถึง 2008 เธอดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง รวมถึงตำแหน่งอัยการสูงสุดบาร์เบโดส กลายเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้ง เธอยังเป็นสมาชิก Inter-American Dialogue[3]

มอตต์ลีย์เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายค้านสองครั้งในสภาผู้แทนราษฎรบาร์เบโดส ครั้งแรกใน ค.ศ. 2008 ถึง 2010 และอีกครั้งใน ค.ศ. 2013 ถึง 2018 โดยใน ค.ศ. 2018 พรรคที่มอตต์ลีย์เป็นหัวหน้าชนะการการเลือกตั้ง 24 พฤษภาคมแบบแลนด์สไลด์ครั้งประวัติศาสตร์ด้วยการได้ที่นั่งในสภา 30 ที่นั่งทั้งหมด ทำให้เป็นพรรคแรกที่ทำสิ่งนี้ได้ นอกจากนี้ยังชนะคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึงร้อยละ 72.8[4] ถือเป็นส่วนแบ่งคะแนนเสียงสูงสุดที่พรรคการเมืองหนึ่งเคยทำได้ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป

มอตต์ลีย์ได้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สองในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2022 ด้วยการกวาดที่นั่งทั้งหมด 30 ที่ในสภานิติบัญญัติ[5] ซึ่งเธอเรียกเป็น การเลือกตั้งฉับพลัน[6] เธอยังคงเป็นผู้นำประเทศเพศหญิงที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด

เธอถูกมองเป็นผู้สมัครชั้นนำในการสืบทอดตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติต่อจากอังตอนียู กูแตรึช[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Bishop Atherley now Leader of the Opposition". Barbados Advocate (ภาษาอังกฤษ). 2 June 2018. สืบค้นเมื่อ 9 October 2018 – โดยทาง barbadosadvocate.com.
  2. "The Honourable Mia Amor Mottley, SC, MP". pmo.gov.bb. 24 October 2018. สืบค้นเมื่อ 28 November 2022.
  3. "Inter-American Dialogue | Mia Amor Mottely". thedialogue.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2017. สืบค้นเมื่อ 12 April 2017.
  4. "Barbados General Election Results 2018". caribbeanelections.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2019. สืบค้นเมื่อ 29 October 2021.
  5. Wyss, Jim (2022-01-20). "Barbados Leader Mia Mottley Re-Elected in Another Landslide". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
  6. "Mottley Calls Snap Barbados General Election for January 2022". The St Kitts Nevis Observer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-12-28. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.
  7. Fillion, Stephanie (2023-09-29). "Analysis: Who could lead the United Nations next? This Caribbean climate leader makes diplomats 'jump' with excitement". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-22.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]