ข้ามไปเนื้อหา

ญะร็อช

พิกัด: 32°16′50″N 35°53′50″E / 32.28056°N 35.89722°E / 32.28056; 35.89722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ญะร็อช

เกราซา
นคร
ซากนครเกราซาสมัยกรีกโรมัน และนครญะร็อชสมัยใหม่ในพื้นหลัง
ซากนครเกราซาสมัยกรีกโรมัน และนครญะร็อชสมัยใหม่ในพื้นหลัง
สมญา: 
  • ปอมเปอีตะวันออก
  • นครพันเสา
ญะร็อชตั้งอยู่ในจอร์แดน
ญะร็อช
ญะร็อช
พิกัด: 32°16′50″N 35°53′50″E / 32.28056°N 35.89722°E / 32.28056; 35.89722
Grid position234/187
ประเทศ จอร์แดน
เขตผู้ว่าราชการญะร็อช
สถาปนา7,500–5,500 ปีก่อน ค.ศ.
ตั้งเทศบาลนคร1910
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
ความสูง600 เมตร (1,968 ฟุต)
ประชากร
 (2015)
 • ทั้งหมดนคร (50,745 คน) เทศบาลนคร (~237,000 คน) คน
เขตเวลาGMT +2
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)+3
รหัสพื้นที่+(962)2
เว็บไซต์http://www.jerash.gov.jo

ญะร็อช (อาหรับ: جرش) หรือ เกราซา (กรีกโบราณ: Γέρασα, เสียงอ่านภาษากรีกแอตติก: [gérasa], เสียงอ่านภาษากรีกคอยนี: [ˈgerasa]) เป็นนครในภาคเหนือของประเทศจอร์แดน ศูนย์กลางการปกครองของเขตผู้ว่าราชการญะร็อช มีประชากร 50,745 คน ณ ปี 2015

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของการตั้งรกรากในญะร็อชสามารถย้อนไปถึงยุคหินใหม่ ดังที่พบในแหล่งตัลอะบูซอวัน (Tal Abu Sowan) ซึ่งมีการค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์ที่อายุ 7500 ปีก่อนคริสต์กาล[1] ญะร็อชเฟื่องฟูมากในสมัยกรีก เฮลเลนนิสติก โรมัน และไบแซนไทน์ จนถึงกลางศตวรรษที่ 8 เมื่อเกิดแผ่นดินไหวกาลิลีในปี 749 และแผ่นดินไหวตามอีกจำนวนหนึ่งทำลายนครไปมาก กระนั้น ในปี 1120 ซะฮีร์ อัดดีน ตอฆเตคิน แห่งดามัสกัส ได้สั่งให้กองพลขนาด 40 คนสร้างป้อมปราการขึ้นในญะร็อช ปัจจุบันไม่ทราบแน่ชัดว่าป้อมนี้อยู่ที่ใดของเมือง แต่เข้าใจว่าเป็นจุดสูงสุดทางตะวันออกเฉียงเหนือของประตูเมือง ก่อนจะถูกครอบครองและทำลายทิ้งจนหมดในปี 1121 โดยบอลด์วินที่สอง กษัตริย์แห่งเยรูซาเลม[2][3] หลังจากนั้นมา บรรดานักรบครูเสดพากันทิ้งร้างนครญะร็อชและถอยทัพไปตั้งอยู่ที่ซะกิบทางตะวันออกแทน[4][5]

ญะร็อชถูกทิ้งร้างกระทั่งปรากฏอีกครั้งในบันทึกทางประวัติศาสตร์เมื่อต้นสมัยปกครองของออตโตมันในต้นศตวรรษที่ 16 ในบันทึกสำมะโนประชากรปี 1596 ระบุว่ามี 12 ครัวเรือนที่เป็นมุสลิมอยู่ในญะร็อช[6] กระนั้น นักโบราณคดีพบหลักฐานของหมู่บ้านมัมลุกขนาดเล็กตั้งอยู่ที่เขตเหนือของเมือง[7] ซึ่งบ่งบอกว่ามีการกลับมาตั้งรกรากในญะร็อชแล้วก่อนสมัยออตโตมัน การขุดค้นทางโบราณคดีตั้งแต่ปี 2011 แสดงให้เห็นว่าญะร็อชในสมัยยุคกลางอิสลามมีหลักฐานสิ่งปลูกสร้างและเครื่องปั้นดินเปาจากสมัยยุคกลางอิสลาม/มัมลุก[8] ซากของนครโบราณนี้เริ่มค่อย ๆ ปรากฏตัวอีกครั้งจากการขุดค้นหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 1925 และยังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน[9]

ปัจจุบัน ญะร็อชเป็นที่ตั้งของหนึ่งในซากนครกรีกโรมันที่อนุรักษ์สภาพไว้ดีที่สุด จนได้รับสมญาว่าเป็นปอมเปอีแห่งตะวันออกกลาง[10][11] รวมถึงเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวหนึ่งของจอร์แดนเหนือ ด้วยยอดเข้าชม 330,000 คนในปี 2018 ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดในประเทศ[12] ทุก ๆ ปี นครจะจัดเทศกาลญะร็อช ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมวัฒนธรรมแนวหน้าของตะวันออกกลางที่มีผู้เข้าร่วมชมหลายพันคนต่อป[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bell, Brian (1994). Jordan. APA Publications (HK) Limited. p. 184. OCLC 30858851.
  2. Boulanger, Robert (1965). The Middle East: Lebanon, Syria, Jordan, Iraq, Iran (ภาษาอังกฤษ). Paris: Hachette. pp. 541, 542. OCLC 1601668.
  3. Heath, Ian (1980). A wargamers' guide to the Crusades (ภาษาอังกฤษ). p. 133. OCLC 641902238.
  4. Brooker, Colin H.; Knauf, Ernst Axel (1988). "Review of Crusader Institutions". Zeitschrift des Deutschen Palästina-Vereins. 104: 184–188. JSTOR 27931345.
  5. Schryver, James G (2010). Studies in the archaeology of the medieval Mediterranean (ภาษาอังกฤษ). Leiden [Netherlands]; Boston: Brill. pp. 86. ISBN 9789004181755. OCLC 643081873.
  6. Hütteroth and Abdulfattah, 1977, p. 164
  7. "Archaeologists studying a post-quake gap in Jerash history". Jordan Times. 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 2017-06-07.
  8. Peterson, Alex (February 2017). "Medieval Pottery from Jerash: The Middle Islamic Settlement". Gerasa/Jerash: From the Urban Periphery (ภาษาอังกฤษ).
  9. "Touristic Sites – Jerash". www.kinghussein.gov.jo.
  10. Pompeii of the Middle East: Roman Jerash (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2023-09-06
  11. Meyer, Norma (16 February 2018). "Exploring Petra and other archaeological wonders of Jordan". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ 13 August 2022.
  12. "Statistics". mota. 1 January 2018. สืบค้นเมื่อ 5 November 2019.
  13. "32nd Jerash festival begins". The Jordan Times. 21 July 2017. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.