สุสานฉือหู
สุสานฉือหู 慈湖陵寢 | |
---|---|
ไฝฟางที่ทางเข้าของสุสานฉือหู | |
ที่ตั้ง | ต้าซี นครเถา-ยฺเหวียน ประเทศไต้หวัน |
พิกัด | 24°50′32″N 121°17′57″E / 24.8422°N 121.2993°E |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 1975 |
สร้างเพื่อ | เจียง ไค-เช็ก |
สถาปนิก | หยาง โจว-เฉิง |
สุสานฉือหู (จีน: 慈湖陵寢; พินอิน: Cíhú Língqǐn) หรือชื่อทางการ สุสานอดีตประธานาธิบดีเจียง (จีน: 先總統 蔣公陵寢; พินอิน: Xiān Zǒngtǒng Jiǎnggōng Língqǐn) หรือ สุสานประธานาธิบดีเจียง ไคเชก เป็นที่ไว้ศพของประธานาธิบดี เจียง ไคเชก ในปัจจุบัน ซึ่งตั้งใจใช้งานเป็นที่ไว้ศพพเพียงชั่วคราวเท่านั้น สุสานนี้ตั้งอยู่ในอำเภอต้าซี นครเถา-ยฺเหวียน ประเทศไต้หวัน เมื่อเจียงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1975 เขาไม่ได้รับการฝังศพตามธรรมเนียมจีน แต่กลับถูกใส่ในโลงศพที่ทำจากหินอ่อนสีดำ เนื่องจากเขาเคยประกาศความจำนงว่าเมื่อเสียชีวิตให้นำร่างไปฝังในบ้านเกิดที่เฝิงหวาในมณฑลเจ้อเจียง เมื่อก๊กมินตั๋ง (KMT) สามารถกอบกู้จีนแผ่นดินใหญ่คืนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้[1]
ที่พักและทะเลสาบ
[แก้]ฉือหู (慈湖) มีความหมายว่า "ทะเลสาบความเมตตากรุณา" เป็นชื่อเรียกของทะเลสาบขนาด 8 เอเคอร์ (32,000 ตารางเมตร) ใกล้กับสุสาน ทะเลสาบนี้แบ่งย่อยออกเป็นอีกสองสระ ขนาดสระละ 5 และ 3 เอเคอร์ (20,000 และ 12,000 ตารางเมตร) โดยมีคลองเชื่อมต่อกัน ชื่อเดิมคือ "สระน้ำเขียว" (จีน: 碧水湖澤; พินอิน: Bìshuǐ Húzé) ก่อนที่เจียงจะเปลี่ยนชื่อเป็น "ฉือหู" ในปี ค.ศ. 1962 เพราะทิวทัศน์นี้ทำให้เขาหวนนึกถึงมารดาของตนซึ่งเปี่ยมเมตตากรุณา และบ้านเกิดของเขาที่เฝิงหวา เขารักทะเลสาบนี้มากจนสั่งให้สร้างบ้านพักทางการสำหรับตนเองขึ้นในลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับบ้านเกิดที่เฝิงหวา และตั้งชื่อบ้านพักนี้ว่าฉือหูเช่นกัน อาคารนี้ต่อมาแปรสภาพเป็นอนุสรณ์ศพหรือสุสานหลังเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1975 ในโถงกลางของบ้านซึ่งออกแบบโดยหยาง โจว-เฉิง
สุสาน
[แก้]
เดิมทีสุสานนี้อยู่ภายใต้กำกับของกระทรวงกลาโหม และมีตำรวจกองทัพเป็นองครักษ์ ก่อนจะส่งมอบแก่รัฐบาลท้องถิ่นของมณฑลเถา-ยฺเหวียนในปี ค.ศ. 2007 และเปลี่ยนมาใช้ทหารจากกองทัพสองนายประจำด้านหน้าทางเข้าแทนที่ตำรวจกองทัพ ตามธรรมเนียมผู้ที่เกินทางมาเยี่ยมชมจะโค้งคำนับก่อน และภายในส่วนที่ไว้ศพห้ามถ่ายภาพ[2]
ฉือหูเปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ 8 ถึง 16 นาฬิกา กระนั้น ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 ถึงพฤษภาคม 2008 ซึ่งเป็นช่วงระยะตกต่ำของรัฐบาลที่นำโดยเฉิง ฉุย-เปี่ยน ในฐานะส่วนหนึ่งของการรณรงค์โดยพรรคก้าวหน้าประชาธิปไตยที่จะล้างหลักฐานของเจียง ไคเชก บุคคลที่หลายคนมองว่าเป็นเผด็จการอำมหิต ไปจากความทรงจำสาธารณะ[3] ในช่วงเดียวกันนี้ รูปปั้นของเจียงตามที่สาธารณะทั่วประเทศได้ถูกรื้อถอนและเคลื่อนย้ายมาตั้งที่สวนสาธารณะเชิงเขาติดกับสุสาน[3]
นักเคลื่อนไหวสนับสนุนเอกราชไต้หวันทำลายทรัพย์สินภายในสุสานเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 วันที่ตรงกับการครบรอบ 71 ปีของเหตุการณ์ 228 หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ได้มีการติดตั้งบานกระจกด้านหน้าบริเวณที่ไว้ศพ ผู้เข้าชมจะสามารถเห็นได้จากเพียงข้างนอกเท่านั้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[4]
ระเบียงภาพ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dominique Auzias; Jean-Paul Labourdette (23 มิถุนายน 2015). Taïwan (ภาษาฝรั่งเศส) (Illustrated ed.). Petit Futé. ISBN 978-2-7469-8621-3.
- ↑ "Cihu". Taiwan.com.au. 25 พฤษภาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มกราคม 2009.
- ↑ 3.0 3.1 "Mysterious side of Cihu to be revealed to public". The China Post. 5 เมษายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2013.
- ↑ "Tomb of Chiang Kai-shek vandalized on 228 Peace Memorial Day". Focus Taiwan. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Cihu Presidential Burial Place", Cultural Affairs Bureau, Taoyuan County Government, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2005
- "Cihu Presidential Mausoleum Pictures", Daily Bubble Tea, 17 ตุลาคม 2008, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 พฤษภาคม 2022
- Chiang Kai-shek ที่ไฟน์อะเกรฟ