ข้ามไปเนื้อหา

อิบน์ บัฏฏูเฏาะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อิบน์ บัฏฏูเฏาะฮ์
ابن بطوطة
ภาพวาดใน ค.ศ. 1878 โดย Léon Benett แสดงอิบน์ บัฏฏูเฏาะฮ์ (กลาง) กับมัคคุเทศก์ของเขา (ซ้าย) ที่อียิปต์
เกิด24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1304
แทนเจียร์ รัฐสุลต่านมะรีนิด
เสียชีวิตค.ศ. 1369 (64–65 ปี)
มาร์ราเคช รัฐสุลต่านมะรีนิด[2]
ชื่ออื่น
  • มาร์โก โปโลของอิสลาม
อาชีพนักเดินทาง, นักภูมิศาสตร์, นักสำรวจ, นักวิชาการ, ผู้พิพากษา
ยุคสมัยประวัติศาสตร์หลังคลาสสิก
ผลงานเด่นริห์ละฮ์

อิบน์ บัฏฏูเฏาะฮ์ (อาหรับ: ابن بَطُّوطة; 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1304 – ค.ศ.1368/1369)[a] เป็นนักเดินทาง นักสำรวจ และนักวิชาการจากอัลมัฆริบ[7] ตลอดช่วงระยะเวลาสามสิบปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1325 ถึง 1354 อิบน์ บัฏฏูเฏาะฮ์เดินทางไปยังแอฟริกาส่วนใหญ่ ตะวันออกกลาง เอเชีย และคาบสมุทรไอบีเรีย ในช่วงใกล้วาระสุดท้าย เขาเขียนบันทึกเรื่องราวการเดินทางของตนเองที่มีชื่อว่า "ของขวัญสำหรับผู้ที่ใคร่ครวญถึงความมหัศจรรย์ของตัวเมืองและความพิศวงของการเดินทาง" แต่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "อัรริห์ละฮ์"

อิบน์ บัฏฏุเฏาะฮ์เดินทางไกลกว่านักเดินทางคนอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ก่อนสมัยใหม่ ด้วยระยะทางรวมประมาณ 117,000 km (73,000 mi) แซงหน้าเจิ้งเหอที่ประมาณ 50,000 km (31,000 mi) และมาร์โก โปโลที่ 24,000 km (15,000 mi)[8][9][10]

ชื่อ

[แก้]

"อิบน์ บัฏฏูเฏาะฮ์" เป็นชื่อสกุลของบิดาหรือบรรพบุรุษที่มีความหมายตรงตัวว่า 'บุตรของลูกเป็ด'[11] ชื่อเต็มที่พบมากที่สุดของเขาคือ อะบู อับดุลลอฮ์ มุฮัมมัด อิบน์ บัฏฏูเฏาะฮ์[12] ส่วนในบันทึกการเดินทาง อัรริห์ละฮ์ เขาระบุชื่อเต็มของตนเองว่า "ชัมซุดดีน อะบู อับดุลลอฮ์ มุฮัมมัด อิบน์ อับดุลลอฮ์ อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ อิมรอฮีม อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ ยูซุฟ ละวาตี อัฏฏ็อนญี อิบน์ บัฏฏูเฏาะฮ์"[13][14][15]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]
จุลจิตรกรรมจากมะกอมาตอัลฮะรีรีของอัลวาซิฏี แสดงผู้แสวงบุญเดินทางไปทำฮัจญ์

ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับชีวิตของอิบน์ บัฏฏูเฏาะฮ์เท่าที่ทราบมาจากข้อมูลอัตชีวประวัติที่รวมอยู่ในเรื่องราวการเดินทางของเขา ซึ่งบันทึกว่าเขามีเชื้อสายเบอร์เบอร์[9] เขาเกิดในครอบครัวนักวิชาการด้านกฎหมายอิสลาม (กอฎีตามธรรมเนียมมุสลิมที่โมร็อกโก) ที่แทนเจียร์ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1304 เมื่อสมัยราชวงศ์มะรีนิด[16] ครอบครัวของเขาอยู่ในชนเผ่าเบอร์เบอร์ที่รู้จักกันในชื่อ ละวาตะฮ์[17] ตอนวัยหนุ่ม เขาอาจศึกษาในสำนักซุนนีมัซฮับมาลิกี ซึ่งเป็นรูปแบบการศึกษาที่โดดเด่นในแอฟริกาเหนือในขณะนั้น[18] ชาวมุสลิมมัซฮับมาลิกีได้ขอให้อิบน์ บัฏฏูเฏาะฮ์ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาทางศาสนาของตน เนื่องจากเขาเป็นคนจากพื้นที่ที่มีการใช้กฎหมายอิสลาม[19]

การเดินทาง

[แก้]

ความเป็นประวัติศาสตร์

[แก้]

Ralph Elger นักวิชาการอิสลามศึกษาชาวเยอรมัน มองบันทึกการเดินทางของบัฏฏูเฏาะฮ์เป็นงานวรรณกรรมที่สำคัญ แต่สงสัยเกี่ยวกับความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ของเนื้อหาส่วนใหญ่ในนั้น ซึ่งเขาสงสัยว่าน่าจะเป็นผลงานนิยายที่รวบรวมและได้รับแรงบันดาลใจจากรายงานการเดินทางร่วมสมัยอื่น ๆ[20] นักวิชาการคนอื่น ๆ หลายคนก็ตั้งข้อสงสัยที่คล้ายกัน[21]

ใน ค.ศ. 1987 รอสส์ อี. ดันน์แสดงความสงสัยในทำนองเดียวกันว่ามีหลักฐานใดที่จะมาสนับสนุนเรื่องเล่าของ อัรริห์ละฮ์ หรือไม่ แต่ใน ค.ศ. 2010 ทิม แมคอินทัช-สมิธได้ทำการศึกษาภาคสนามหลายครั้งในสถานที่หลายสิบแห่งที่กล่าวถึงใน อัรริห์ละฮ์ โดยรายงานเกี่ยวกับเอกสารตัวเขียนกฎหมายอิสลามที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน ซึ่งเก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุที่มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรในไคโร ซึ่งอิบน์ บัฏฏูเกาะฮ์ทำการคัดลอกไว้ที่ดามัสกัสใน ค.ศ. 1326 ยืนยันวันพักแรมที่ซีเรียของเขาในอัรริห์ละฮ์[22]

การอ้างอิงเชิงวัฒนธรรมในปัจจุบัน

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชื่อเต็ม: ชัมซุดดีน อะบู อับดุลลอฮ์ มุฮัมมัด อิบน์ อับดุลลอฮ์ อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ อิบรอฮีม อิบน์ ยูซุฟ อัลละวาตี อัฏฏ็อนญี; อาหรับ: شمس الدين أبو عبد الله محمد بن عبد الله بن محمد بن إبراهيم بن يوسف اللواتي الطنجي

อ้างอิง

[แก้]
  1. Norris, H. T. (1959). "Ibn Baṭṭūṭah's Andalusian Journey". The Geographical Journal. 125 (2): 185–196. ISSN 0016-7398. JSTOR 1790500.
  2. Roynard, Romy (22 November 2018). "Sur les traces d'Ibn Battuta: le Maroc". National Geographic (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2022. สืบค้นเมื่อ 7 December 2022.
  3. Meri, Yousef (2 July 2019). "Ibn Baṭṭūṭa". Oxford Bibliographies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2022. สืบค้นเมื่อ 20 June 2022.
  4. Starkey, Paul (2013). "Ibn Battuta". ใน Netton, Ian Richard (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam. Routledge. p. 253. ISBN 978-1-135-17960-1.
  5. Pryor, John H. (3 April 2013). "The adventures of Ibn Battuta: a Muslim traveler of the 14th century (review)". Parergon. 10 (2): 252–253. doi:10.1353/pgn.1992.0050. ISSN 1832-8334. S2CID 144835824. สืบค้นเมื่อ 20 June 2022.
  6. Chism, Christine (2013). "Between Islam and Christendom: Ibn Battuta's Travels in Asia Minor and the North". Cosmopolitanism and the Middle Ages. New York: Palgrave Macmillan. pp. 59–78. doi:10.1057/9781137045096_4. ISBN 978-1-349-34108-5.
  7. [3][4][5][6]
  8. Parker, John (2004). "Marco Polo". The World Book Encyclopedia. Vol. 15 (Illustrated ed.). World Book. ISBN 978-0-7166-0104-3.
  9. 9.0 9.1 Dunn 2005, p. 20.
  10. Nehru, Jawaharlal (1989). Glimpses of World History. Oxford University Press. p. 752. ISBN 978-0-19-561323-0. After outlining the extensive route of Ibn Battuta's Journey, Nehru notes: "This is a record of travel which is rare enough today with our many conveniences. ... In any event, Ibn Battuta must be amongst the great travelers of all time."
  11. Gearon, Eamonn (2011). The Sahara: A Cultural History. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-986195-8.
  12. "Ibn Battuta". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2020. สืบค้นเมื่อ 1 November 2020.
  13. Mark, Joshua J. "Ibn Battuta". World History Encyclopedia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2023. สืบค้นเมื่อ 7 February 2023. His full name, as given in the Rihla, was Shams al-Din Abu’Abdallah Muhammad ibn’Abdallah ibn Muhammad ibn Ibrahim ibn Muhammad ibn Yusuf al-Lawati al-Tanji ibn Battuta and all that is known of his family comes from the Rihla which records references to his education and provides his lineage.
  14. "Ibn Battuta (1304–1368)". Encyclopedia.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2020. สืบค้นเมื่อ 1 November 2020.
  15. "Ibn Battuta". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2022. สืบค้นเมื่อ 7 February 2023. Ibn Battuta, also spelled Ibn Baṭṭūṭah, in full Abū ʿAbd Allāh Muḥammad ibn ʿAbd Allāh al-Lawātī al-Ṭanjī ibn Baṭṭūṭah, (born February 24, 1304, Tangier, Morocco—died 1368/69 or 1377, Morocco), the greatest medieval Muslim traveler and the author of one of the most famous travel books, the Riḥlah (Travels).
  16. Dunn 2005, p. 19
  17. Defrémery & Sanguinetti 1853, p. 1 Vol. 1; Dunn 2005, p. 19
  18. Dunn 2005, p. 22
  19. Goitein, Shelomo Dov (1967). A Mediterranean Society. Vol. I: Economic Foundations. University of California Press. p. 67.
  20. Gropp, Lewis (17 September 2010). "Zeitzeuge oder Fälscher?". Deutschlandfunk (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 7 February 2023.
  21. Euben, Roxanne L. (2008). Journeys to the Other Shore: Muslim and Western Travelers in Search of Knowledge. Princeton University Press. p. 220. ISBN 978-1-4008-2749-7. สืบค้นเมื่อ 7 February 2023.
  22. Dunn, Ross E. (2012). The Adventures of Ibn Battuta: A Muslim Traveler of the 14th Century. University of California Press.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Defrémery, C.; Sanguinetti, B. R., บ.ก. (1853), Voyages d'Ibn Batoutah (ภาษาฝรั่งเศส และ อาหรับ), vol. 1, Paris: Société Asiatic. The text of these volumes has been used as the source for translations into other languages.
  • Defrémery, C.; Sanguinetti, B. R., บ.ก. (1854), Voyages d'Ibn Batoutah (ภาษาฝรั่งเศส และ อาหรับ), vol. 2, Paris: Société Asiatic.
  • Defrémery, C.; Sanguinetti, B. R., บ.ก. (1855), Voyages d'Ibn Batoutah (ภาษาฝรั่งเศส และ อาหรับ), vol. 3, Paris: Société Asiatic.
  • Defrémery, C.; Sanguinetti, B. R., บ.ก. (1858), Voyages d'Ibn Batoutah (ภาษาฝรั่งเศส และ อาหรับ), vol. 4, Paris: Société Asiatic.
  • Dunn, Ross E. (2005), The Adventures of Ibn Battuta, University of California Press, ISBN 978-0-520-24385-9. First published in 1986, ISBN 0-520-05771-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]