เฮอร์เบิร์ต สมิธ
เฮอร์เบิร์ต สมิธ | |
---|---|
เกิด | 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1872 เอ็ดจ์บัสตัน, ประเทศอังกฤษ |
เสียชีวิต | 20 เมษายน ค.ศ. 1953 | (80 ปี)
การศึกษา | วิทยาลัยวินเชสเตอร์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด วิทยาเขตนิวคอลเลจ |
มีชื่อเสียงจาก | หินอัญมณี (ค.ศ. 1912) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | นักแร่วิทยา, นักอัญมณีวิทยา |
สถาบันที่ทำงาน | พิพิธภัณฑ์บริติช (ประวัติศาตร์ธรรมชาติ), ลอนดอน |
จอร์จ เฟรดเดอริก เฮอร์เบิร์ต สมิธ (26 พฤษภาคม ค.ศ. 1872 – 20 เมษายน ค.ศ. 1953) เป็นนักแร่วิทยาชาวอังกฤษผู้ซึ่งปฏิบัติงานกับพิพิธภัณฑ์บริติช (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ)[1] เขาค้นพบแร่พาราทาคาไมต์ในปี ค.ศ. 1906 และพัฒนาเครื่องวัดการหักเหของแสงของช่างทำเครื่องประดับเพื่อระบุอัญมณีได้อย่างทันที[2] แร่สมิไทต์และเฮอร์เบิร์ตสมิไทต์ได้รับการตั้งชื่อตามจากเขา[1] เช่นเดียวกับวอลลาบีสีหินเฮอร์เบิร์ต (Herbert's rock-wallaby) หนึ่งในเจ็ดสกุลของสัตว์ชนิดดังกล่าว[3]
ชีวิตช่วงต้นและอาชีพ
[แก้]สมิธเกิดในปี ค.ศ. 1872 เข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยวินเชสเตอร์ จากนั้นจึงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด วิทยาเขตนิวคอลเลจ เขาเรียนวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1891 ถึง 1895 ซึ่งได้รับคะแนนดีเลิศ และสำเร็จการศึกษาในสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1896[4] สมิธได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยในพิพิธภัณฑ์บริติช (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1896[5] เขาทำงานในแผนกแร่วิทยาของพิพิธภัณฑ์จนถึงปี ค.ศ. 1921 เมื่อเขาได้รับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการพิพิธภัณฑ์ สืบต่อจากชาร์ลส์ อี. ฟาแกน[6]
ในอาชีพนักแร่วิทยาของเขา สมิธทำงานในหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการกำหนดองค์ประกอบและโครงสร้างของแร่ เขาเขียนบทความเกี่ยวกับโครงสร้างของแร่ทองคำเทลลูไรด์ คาลาเวอไรต์ (AuTe2);[7] และเขาอธิบายเกี่ยวกับแร่พาราทาคาไมต์ทองแดง–สังกะสีออกซีคลอไรด์ชนิดใหม่[8] สมิธยังพัฒนาเครื่องมือใหม่สำหรับการวัดคุณสมบัติทางผลึกศาสตร์และแสงของแร่กับอัญมณีในทางปฏิบัติ (โกนิโอมิเตอร์ (goniometers) และมาตรดัชนีหักเห (refractometer))[4]และเขียนตำราเรียนเกี่ยวกับอัญมณีและอัญมณีวิทยาซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1912[9][10] และผ่านการตีพิมพ์หลายครั้ง โดยฉบับพิมพ์ที่ 13 ได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1958[11]
ในบทบาทเลขานุการพิพิธภัณฑ์ เขาทำหน้าที่กำกับดูแลการขยายพิพิธภัณฑ์และการสร้างอาคารใหม่สำหรับแผนกกีฏวิทยา และเขารับผิดชอบงานฉลองครบรอบ 50 ปีของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในปี ค.ศ. 1931 นอกจากนี้ เขายังเริ่มต้นการขายโปสการ์ดต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ และก่อตั้งสโมสรกีฬาสำหรับเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์[6] เขาทำหน้าที่เป็นเลขานุการพิพิธภัณฑ์จนถึงปี ค.ศ. 1935[12] ก่อนจะกลับมาที่แผนกแร่วิทยาเป็นเวลาสองปีก่อนจะเกษียณอายุ[4] ซึ่งเกษียณอายุในปี ค.ศ. 1937[13]
ในปี ค.ศ. 1927 ร่วมกับสมาคมข้าราชการพลเรือนสหราชอาณาจักร สมิธได้จัดเตรียมรถไฟพิเศษเพื่อนำข้าราชการไปที่ริชมอนด์, ยอร์กเชอร์ เพื่อชมสุริยุปราคา[14][6] สมิธได้นำเศษกระจกสีควันบุหรี่มาให้ชม และเขียนคู่มือเกี่ยวกับสุริยุปราคา เมืองริชมอนด์ตั้งอยู่ในแนวสุริยุปราคาเต็มดวง และนักท่องเที่ยวหลายพันคนเข้าร่วมขบวนรถไฟท่องเที่ยวพิเศษในวันนั้น รวมถึงเวอร์จิเนีย วูล์ฟ ซึ่งบรรยายเหตุการณ์ดังกล่าวในไดอารี่และเรียงความของเธอเรื่อง เดอะซันแอนดเดอะฟิช (The Sun and the Fish) ในปี ค.ศ. 1928[15][16] ขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ดวงอาทิตย์ถูกเมฆบดบัง[6]
อนุสรณ์
[แก้]ในปี ค.ศ. 1905 อาร์ เฮช ซอลลี นักแร่วิทยา ตั้งชื่อแร่เงินซัลไฟด์อาร์เซนิก (AgAsS2) ว่า แร่สมิธไทต์ตามชื่อของสมิธ แร่ชนิดนี้มาจากเหมืองหินเลนเกนบัคในหุบเขาบินน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเวลานั้น สมิธกำลังศึกษาชนิดกับแร่ชนิดอื่น ๆ จากสถานที่นั้น[17][6] ในปี ค.ศ. 2004 แร่ทองแดง–สังกะสีออกซีคลอไรด์ (ZnCu3(OH)6Cl2) ว่า เฮอร์เบิร์ตสมิธไทต์ ได้ตั้งชื่อตามสมิธ เนื่องจากพบว่ามีคุณสมบัติทางเคมีและโครงสร้างเหมือนกับพาราทาคาไมต์ ซึ่งสมิธค้นพบในปี ค.ศ. 1906[18]
ในปี ค.ศ. 1926 วอลลาบีสีหินเฮอร์เบิร์ตซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Petrogale herberti ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่สมิธ เพื่อสะท้อนถึงความช่วยเหลือที่เขาให้แก่ฮิวเบิร์ต วิลกินส์ ซึ่งค้นพบวอลลาบีตัวนี้ในระหว่างการเดินทางของเขา[3]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1949 สมิธได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช ชั้นตติยาภรณ์ สำหรับ "การให้บริการทางวิชาการเรื่องพืชและสัตว์ในหมู่เกาะอังกฤษ"[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Herbertsmithite: Mineral information, data and localities".
- ↑ Hurlbut Jr., C.S. (1984). "The jewelers refractometer as a mineralogical tool" (PDF). American Mineralogist. 69: 391–398.
- ↑ 3.0 3.1 Thomas, Oldfield (1926). "On various mammals obtained during Capt. Wilkin's expedition in Australia. Petrogale herberti". The Annals and Magazine of Natural History. Ninth Series. xvii: 626–7.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Dr. Herbert Smith". Nature. 135 (3423): 948. 1 June 1935. Bibcode:1935Natur.135R.948.. doi:10.1038/135948b0 – โดยทาง www.nature.com.
- ↑ "Page 7324 | Issue 26802, 11 December 1896 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Smith, W. Campbell (25 June 1953). "Dr. G. F. Herbert Smith, C.B.E." Nature. 171 (4364): 1093–1094. Bibcode:1953Natur.171.1093S. doi:10.1038/1711093a0 – โดยทาง www.nature.com.
- ↑ Smith, G. F. Herbert; Prior, G. T. (26 May 1902). "On the remarkable problem presented by the crystalline development of Calaverite". Mineralogical Magazine and Journal of the Mineralogical Society. 13 (60): 122–150. Bibcode:1902MinM...13..122S. doi:10.1180/minmag.1902.13.60.03 – โดยทาง Cambridge University Press.
- ↑ Smith, G.F.H.; Prior, G.T. (1906). "Paratacamite, a new oxychloride of copper". Mineralogical Magazine. 14 (65): 170–177. Bibcode:1906MinM...14..170S. doi:10.1180/minmag.1906.014.65.09.
- ↑ Smith, G. F. Herbert (1912). Gem-stones and their distinctive characters. Methuen.
- ↑ J., J. W. (26 May 1912). "Gem-stones and their Distinctive Characters". Nature. 89 (2221): 294. Bibcode:1912Natur..89..294J. doi:10.1038/089294b0 – โดยทาง www.nature.com.
- ↑ Stuart, Alan (1959). "Reviewed Work: Gemstones. Thirteenth edition by G. F. Herbert Smith, F. C. Phillips". Science Progress. 47: 169–170. JSTOR 43417006.
- ↑ "Records of Central Administration of the Natural History Museum" – โดยทาง The National Archives.
- ↑ "Dr. G. F. Herbert Smith". Nature. 139 (3525): 873. 1 May 1937. Bibcode:1937Natur.139Q.873.. doi:10.1038/139873a0 – โดยทาง www.nature.com.
- ↑ "Total eclipse of the sun, 28 June 1927: printed papers relating to the Civil Service excursion led by George Frederick Herbert Smith". 25 October 1927 – โดยทาง UK National Archives.
- ↑ "The day the sun went out in the dales, and uncovering the Skeeby hoard". The Northern Echo. 7 April 2024.
- ↑ "Close-Up | Disembodied Intercourse: Reflections on Virginia Woolf's 'The Sun and the Fish'". www.closeupfilmcentre.com.
- ↑ Solly, RH (1905). "Some new minerals from the Binnenthal, Switzerland" (PDF). Mineralogical Magazine. 14 (64): 72–82. Bibcode:1905MinM...14...72S. doi:10.1180/minmag.1905.014.64.03.
- ↑ Braithwaite, RSW; Mereiter, K; Paar, WH; Clark, AM (1004). "Herbertsmithite, Cu3Zn(OH)6Cl2, a new species, and the definition of paratacamite" (PDF). Mineralogical Magazine. 68 (3): 527–539. doi:10.1180/0026461046830204.
- ↑ "Page 2803 | Supplement 38628, 3 June 1949 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.