ระบบหายใจ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ โดยนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย[1][2]
สัตว์ประเภทอื่น ๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็ก ๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใบ
ระบบทางเดินหายใจแบ่งตามโครงสร้าง
[แก้]- ทางเดินหายใจส่วนบน (upper respiratory tract, URI) : ประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเหนือกล่องเสียงขึ้นไป ได้แก่ จมูก, คอหอย เป็นต้น โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจส่วนบนเช่น URI infection หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
- ทางเดินหายใจส่วนล่าง (lower respiratory tract, LRI) : ประกอบด้วย กะบังลม, หลอดลม, ซี่โครง และปอด
ระบบทางเดินหายใจแบ่งตามหน้าที่
[แก้]- หลอดลมทำหน้าที่เป็นการลำเลียงอากาศ : มีหน้าที่นำอากาศจากภายนอกเข้าสู่ปอด เป็นทางผ่านเข้าออกของอากาศเท่านั้น ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนแก๊ส ได้แก่ จมูก, คอหอย, กล่องเสียง, หลอดคอ, หลอดลมใหญ่, หลอดลมฝอย และปลายหลอดลมฝอย
- หน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส : เป็นบริเวณที่แลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจนกับเนื้อเยื่อ ได้แก่ หลอดลมฝอยแลกเปลี่ยนแก๊ส, ท่อลม, ถุงลม, ถุงลมเล็ก
กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ
[แก้]กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจของมนุษย์ เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่รอบผนังทรวงอก โดยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากตามปกติแล้วปอดไม่ให้สามารถขยายขนาดเพื่อรับอากาศจากการหายใจได้เอง แต่จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยแรงของกล้ามเนื้อเหล่านี้เพื่อขยายผนังของทรวงอกให้กว้างมากขึ้น และเกิดการลดลงของความดันภายในทรวงอกมากพอจนทำให้อากาศจากภายนอกไหลเข้าสู่ปอดได้ โครงสร้างหลักของผนังทรวงอกได้แก่
- ซี่โครง
- กล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง (intercostal muscles) ซึ่งมี 3 ชั้นคือ ชั้นนอก (External) ชั้นใน (Internal) และชั้นในสุด (innermost)
- กล้ามเนื้อกะบังลม และปอด กับ ถุงลม
- เนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มด้านในของผนังทรวงอก เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด (Pleura) ซึ่งมีอยู่ 2 ชั้นคือ ชั้นนอก (Parietal pleura) และชั้นใน (Visceral pleura) กล้ามเนื้ออื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อท้อง กล้ามเนื้อรอบกระดูกหน้าอก กล้ามเนื้อบริเวณไหปลาร้าและต้นคอ (Sternocleidomastoid และ Scalenus)
กล้ามเนื้อยึดระหว่างซี่โครงชั้นนอก (External intercostal muscles) มีทั้งหมด 11 คู่ ซึ่งกล้ามเนื้อแต่ละมัด มีขอบเขตเริ่มจากบริเวณปุ่มกระดูกของซี่โครงจากทางด้านหลัง และสิ้นสุดที่รอยต่อระหว่างกระดูกซี่โครงกับกระดูกอ่อนของซี่โครงทางด้านหน้าโดยที่จุดสิ้นสุดส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนเป็นเยื่อหนา ๆ แทน ใยของกล้ามเนื้อมัดนี้จะมีลักษณะเฉียงจากทางด้านหลังมาด้านหน้า และจากบนลงล่าง โดยกล้ามเนื้อมีจุดยึดเกาะเริ่มต้นที่บริเวณขอบล่างของกระดูกซี่โครงชิ้นบน และเฉียงลงทางด้านหน้ามาเกาะยึดสิ้นสุดที่บริเวณขอบบนของกระดูกซี่โครงชั้นล่าง สำหรับกล้ามเนื้อมัดล่าง ๆ ของทรวงอก ซึ่งอยู่ติดกับผนังช่องท้อง กล้ามเนื้อนี้จะเชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวกับกล้ามเนื้อผนังช่องท้องชั้นนอก (External oblique) กล้ามเนื้อนี้จะทำงานโดยการหดตัวในระยะที่มีการหายใจเข้า
กล้ามเนื้อยึดระหว่างซี่โครงชั้นใน (Internal intercostal muscles) มีทั้งหมด 11 คู่เช่นกัน กล้ามเนื้อกลุ่มนี้อยู่ชั้นลึกใต้กล้ามเนื้อชั้นนอก และมีแนวกล้ามเนื้อตั้งฉากกับกล้ามเนื้อชั้นนอก โดยมีแนวการเกาะยึดจากร่องของกระดูกซี่โครงชิ้นบน เฉียงลงทางด้านหลังมาเกาะยึดอยู่ที่บริเวณขอบบนของกระดูกซี่โครงชิ้นล่าง
ระบบการหายใจของมนุษย์
[แก้]มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ โดยอากาศผ่านอวัยวะส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[3]
โดยความจุอากาศของปอดจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://ngthai.com/science/17617/respirstorysystem/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-13. สืบค้นเมื่อ 2019-05-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-06. สืบค้นเมื่อ 2019-05-13.