การรวมประเทศจีน
การรวมประเทศจีน | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 中國統一 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 中国统一 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | การรวมชาติจีน | ||||||
| |||||||
Cross-Strait (Re)unification | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 海峽兩岸統一 | ||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 海峡两岸统一 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | Two shores of strait unification | ||||||
|
การรวมประเทศจีน, การรวมจีน หรือ การรวมอาณาเขตจีน หมายถึงการรวมศักยภาพทางการเมืองเข้าด้วยกันระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐจีนสู่การเป็นรัฐเอกภาพ
ประวัติศาสตร์
[แก้]สาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1912 เพื่อปกครองจีนแผ่นดินใหญ่หลังจากการโค่นล้มราชวงศ์ชิงลง ในปี 1945 กองกำลังญี่ปุ่นในไต้หวันยอมแพ้ต่อเจียง ไคเชก ผู้นำของสาธารณรัฐจีน ในฐานะตัวแทนของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองและไต้หวันขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน ในระหว่างปีสุดท้ายของสงครามกลางเมืองจีน (1946-1949) สาธารณรัฐจีนสูญเสียแผ่นดินใหญ่ให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) และย้ายรัฐบาลไปอยู่ที่ไต้หวัน และพรรคคอมมิวนิสต์จีน(เหมา เจ๋อตุง)ได้ก่อตั้งประเทศใหม่ ใช้ชื่อว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" ขึ้นในปี 1949 ส่วนรัฐบาลของสาธารณรัฐจีน (เจียง ไคเชก) ได้ย้ายไปที่เกาะไต้หวันซึ่งฐานที่มั่นของพรรคก๊กมินตั๋งและกลายเป็นไต้หวันปัจจุบันในที่สุด
รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนอ้างว่าไต้หวันคือ"เขตกบฏ"ต่อสาธารณรัฐประชาชนจีนและยังได้รับเกาะที่มีความสำคัญมาก จึงเกิดการก่อตั้งนโยบบายจีนเดียวเพื่อความชัดเจน สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ขู่ว่าจะบุกรุกไต้หวันหากพิจารณาว่าเกิดความไม่สงบหรือไม่ให้ความร่วมมือกับตน
ชาวไต้หวันส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลจีนด้วยหลายเหตุผลรวมถึงความกลัวที่จะสูญเสียประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในไต้หวัน รัฐบาลจีนก็เช่นกันที่ต้องรักษาสถานะของไต้หวันไว้รวมถึงการไล่ตามติดพันการเป็นอิสระของไต้หวัน รัฐธรรมนูญของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนมีสถานะอาณาเขตรวมจีนแผ่นดินใหญ่ด้วยแต่นโยบายทางการของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนขึ้นอยู่กับการผสมอำนาจในปัจจุบัน
การอ้างสิทธิเรียกร้องของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่)
[แก้]พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะใช้คำขวัญว่า "การกลับมารวมชาติอีกครั้ง" แทน "การรวมชาติ" เพื่อเน้นการยืนยันว่าไต้หวันเป็นของจีนเสมอมาโดยตลอดหรือไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณและปัจจุบันไต้หวันเป็นของจีน (แต่ปัจจุบันถูกแบ่งแยกเป็นระยะโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ถูกกล่าวหาซึ่งสนับสนุนความเป็นอิสระของไต้หวัน)
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ตามที่ร่างข้อเสนอ 1995 โดย CPC เลขาธิการและประธานาธิบดี เจียง เจ๋อหมิน ไต้หวันจะสูญเสียอำนาจอธิปไตยและสิทธิ์ในการตัดสินใจด้วยตัวเองแต่จะยังคงมีกำลังอาวุธและส่งตัวแทนที่จะเป็น "ผู้นำหมายเลขสอง" ในรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีนตามระบบหนึ่งประเทศสองระบบที่ได้ปรับใช้สำหรับฮ่องกงและมาเก๊า ดังนั้นภายใต้การขอเสนอนี้สาธารณรัฐจีนจะล่มสลายได้
ชาวไต้หวันบางคนยังสนับสนุน "หนึ่งประเทศสองระบบ" ในขณะที่ผู้สนับสนุนางส่วนโต้แย้งเพื่อรักษาสถานะภาพปัจจุบันจนกว่าจีนแผ่นดินใหญ่จะกลายเป็นประชาธิปไตยและประเทศอุตสาหกรรมในระดับเดียวกับไต้หวัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2000 เจมส์ ซุง ผู้สมัครอิสระเสนอรูปแบบความสัมพันธ์ของสหภาพยุโรปกับจีนแผ่นดินใหญ่พร้อมกับการไม่ใช่ความก้าวร้าวในการตกลงกัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2004 เหลียน ชาน เสนอรูปแบบความสัมพันธ์แบบสมาพันธรัฐ รัฐบาลปักกิ่งได้คัดค้านแผนนั้นและอ้างว่าไต้หวันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนแล้วและไม่ใช่รัฐดังนั้นจึงไม่สามารถตั้งสมาพันธรัฐได้
ข้อเสนอในการรวมกันไม่ถูกละทิ้งในไต้หวันและปัญหายังคงถกเถียงกันในสมัยประธานาธิบดี Chenเฉิน ฉุ่ยเปี่ยน ผู้ปฏิเสธที่จะยอมรับการพูดคุยที่เงื่อนไขปักกิ่งภายใต้คณะบริหารสาธารณรัฐประชาชนจีนของหู จิ่นเทา การรวมไต้หวันสูญเสียความสำคัญท่ามกลางความเป็นจริงที่พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) จะครองตำแหน่งประธานนาธิบดีในไต้หวันจะถูกพักโดยประธานาธิบดี Chen Shui-bian ที่เป็นนักเสรีนิยมจนถึงปี 2008 และความสำคัญย้ายไปยังการประชุมกับนักการเมืองที่ต่อต้านเสรีนิยมแทน
สถานการณ์ปัจจุบัน
[แก้]เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงกล่าวเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี สารที่ทางการจีนส่งไปยังไต้หวันในปี 2522 เพื่อเรียกร้องให้ไต้หวันยอมจำนนและเป็นส่วนหนึ่งของจีนว่า "ประเทศจีนจะต้องเป็นปึกแผ่น ถือเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นเพราะสำคัญต่อการก้าวไปสู่ความยิ่งใหญ่ของชนชาติจีน” และ “ทางการจีนไม่ขอสัญญาว่าจะตัดทางเลือกการใช้แสนยานุภาพเข้าบังคับบีบคั้นไต้หวัน และจีนขอสงวนสิทธิ์ทั้งปวงในการผนึกรวมไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน” นอกจากนี้ ผู้นำจีนยังยืนยันถึงการปกครองแบบ “หนึ่งชาติ สองระบอบ” เพราะไต้หวันนั้นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย[1] ด้านประธานาธิบดีไช่ ของไต้หวันกล่าวว่า "(จีนควร)เคารพการยึดมั่นในเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชน 23 ล้านคน และต้องใช้วิธีการที่สันติและมีความเสมอภาคในการจัดการกับความแตกต่างของเรา"[2]
แม้ไต้หวันมีรัฐบาลปกครองตัวเองและมีเอกราชในทางพฤตินัย แต่ไต้หวันก็ไม่เคยประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการจากจีนแผ่นดินใหญ่ รัฐบาลจีนถือว่าเกาะไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งที่แยกออกจากแผ่นดินใหญ่ และการแสดงความเห็นของนายสีก็สอดคล้องกับนโยบายรวมชาติที่จีนยึดถือมาช้านาน[2]