ราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พีระมิดแห่งยูนัสที่ซักกอเราะฮ์ | |||||||||
เมืองหลวง | เมมฟิส | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์ | ||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||
• 7–8 ปี (พระองค์แรก) | ยูเซอร์คาฟ | ||||||||
• 13 ปี | ซาฮูเร | ||||||||
• ป. 10 ปี | เนเฟอร์คาเร คาคาอิ | ||||||||
• ป. 2 ปี | เนเฟอร์เอฟเร | ||||||||
• ไม่กี่เดือน | เซปเซสคาเร | ||||||||
• 24–35 ปี | นิยูเซอร์เร ไอนิ | ||||||||
• 8–9 ปี | เมนคาอูฮอร์ คาอิอู | ||||||||
• 33 - มากกว่า 44 ปี | ดเจดคาเร อิเซซิ | ||||||||
• 15–30 ปี (พระองค์สุดท้าย) | ยูนัส | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ราชอาณาจักรเก่า | ||||||||
|
สมัยและราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ |
---|
ทั้งหมดก่อนคริสต์ศักราช |
ดูเพิ่ม: รายชื่อฟาโรห์ตามช่วงเวลาและราชวงศ์ |
ราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์ เป็นกลุ่มของราชวงศ์รวมกับราชวงศ์ที่สาม, สี่ และหกที่ขึ้นมาปกครองในช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่า ฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ห้าทรงครองราชย์นานประมาณ 150 ปี นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 25 ก่อนคริสตกาล จนถึง กลางศตวรรษที่ 24 ก่อนคริสตกาล
เบื้องหลังของราชวงศ์
[แก้]ราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์เป็นกลุ่มของฟาโรห์จำนวนเก้าพระองค์ที่ทรงปกครองอียิปต์เป็นเวลาประมาณ 150 ปีในช่วงศตวรรษที่ 25 และ 24 ก่อนคริสตกาล[note 1] การสืบราชสันตติวงศ์ของฟาโรห์นั้นยังความคลุมเครืออยู่ เนื่องจากมีความขัดแย้งกันระหว่างแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับรัชสมัยอันคลุมเครือของฟาโรห์เชปเซสคาเร
รายพระนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์
[แก้]ผู้ปกครองที่เป็นที่ทราบกันดีจากราชวงศ์ที่ห้ามีดังต่อไปนี้[7] โดยที่มาเนโธได้กำหนดระยะเวลาของการปกครองของราชวงศ์ที่ห้าไว้ที่ 248 ปี อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ห้าอาจจะทรงปกครองได้เพียงประมาณ 150 ปี[19] ซึ่งการประมาณระยะเวลาจะแตกต่างกันไปตามนักวิชาการและแหล่งข้อมูล พระนามฮอรัส[18] และพระนามของพระราชินีส่วนใหญ่[20] มาจากด็อดสันและฮิลตัน[21]
พระนามประสูติ | พระนามครองราชย์ | รูปภาพ | ระยะเวลารัชกาลโดยประมาณ | พีระมิด | พระมเหสี |
---|---|---|---|---|---|
ยูเซอร์คาฟ | ยูเซอร์คาฟ | 7 ปี | พีระมิดในซักกอเราะฮ์ | เคนท์คาอุสที่ 1? | |
ซาฮูเร | ซาฮูเร | 13 ปี, 5 เดือน กับ 12 วัน | พีระมิดแห่งซาฮูเรในอบูซิร์ | เมอร์เอตเนบติ | |
คาคาอิ | เนเฟอร์อิร์คาเร | 20 ปี | พีระมิดในอบูซิร์ | เคนท์คาอุสที่ 2 | |
ไอซิ | เนเฟอร์เอฟเร | 2 ถึง 3 ปี | พีระมิดแห่งเนเฟอร์เอฟเรที่ยังไม่เสร็จในอบูซิร์ | เคนท์คาอุสที่ 3? | |
เนทเจอร์ยูเซอร์ | เชปเซสคาเร | เหมือนว่าเพียงไม่กี่เดือน | อาจจะในอบูชิร์ | ||
ไอนิ | นิยูเซอร์เร | 24 ถึง 35 ปี | พีระมิดในอบูซิร์ | เรปตินุบ | |
คาอิอู | เมนคาอูฮอร์ | 8 หรือ 9 ปี | "พีระมิดไร้ยอด" ในซักกอเราะฮ์ | เมอร์เอสอังค์ที่ 4? | |
ไอเซซิ | ดเจดคาเร | 33 ถึง มากกว่า 44 ปี | พีระมิดในซักกอเราะฮ์ | เซตอิบฮอร์ | |
ยูนัส | ยูนัส | 15 ถึง 30 ปี | พีระมิดในซักกอเราะฮ์ | เนเบตเคนุต |
มาเนโธได้เขียนไว้ว่าฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ห้าทรงปกครองจากเกาะเอเลแฟนไทน์ แต่นักโบราณคดีได้พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระราชวังของพระองค์ยังคงตั้งอยู่ที่อิเนบ-เฮดจ์ ("กำแพงสีขาว")
ก่อนหน้านี้ คณะสำรวจถูกส่งไปยังวาดิ มะคาเรฮ์และวาดิ คาริตในคาบสมุทรไซนายเพื่อขุดแร่เทอร์ควอยซ์และทองแดง และไปยังเหมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของอาบู ซิมเบล เพื่อขุดหินไนส์ การเดินทางการค้าถูกส่งลงใต้ไปยังดินแดนแห่งพุนต์เพื่อหาแร่มาลาไคต์ มดยอบ และอิเล็กตรัม และการค้นพบทางโบราณคดีที่ไบบลอส ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการเดินทางทางการทูตที่ส่งไปยังเมืองของชาวฟินิเชียแห่งนั้น การค้นพบที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ห้าหลายพระองค์ที่พื้นที่โดรัก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับทะเลมาร์มารา อาจจะเป็นหลักฐานการค้าแต่ยังคงคลุมเครืออยู่
ฟาโรห์ยูเซอร์คาฟ
[แก้]ฟาโรห์ยูเซอร์คาฟทรงสถาปนาราชวงศ์นี้ที่ห้าได้อย่างไรนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ในบันทึกปาปิรุสเวสต์คาร์ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยราชอาณาจักรกลาง ได้บอกเล่าเรื่องราวว่าฟาโรห์คูฟูแห่งราชวงศ์ที่สี่ทรงได้รับคำทำนายว่าแฝดสามที่เกิดกับภรรยาของนักบวชแห่งเทพราในซัคบูจะโค่นล้มพระองค์และทายาทได้อย่างไร และพยายามอย่างไร เพื่อสังหารทายาทเหล่านี้ ซึ่งมีนามว่า ยูเซอร์คาฟม ซาฮูเร และเนเฟอร์อิร์คาเร อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิชาการต่างยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นตำนานที่ดีที่สุด และยอมรับว่าที่ว่าไม่ทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจากราชวงศ์หนึ่งไปสู่อีกราชวงศ์หนึ่งเกิดขึ้นได้อย่างไร
ในช่วงราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์ ศาสนาอียิปต์โบราณได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการ เช่น บทสวดในพิธีศพที่เก่าแก่ที่สุดที่ทราบ ซึ่งจารึกไว้บนสุสานหลวง (เรียกว่า ข้อความพีระมิด) ได้เริ่มปรากฏขึ้น ลัทธิของเทพเจ้ารามีความสำคัญมากขึ้น และฟาโรห์นับตั้งแต่ฟาโรห์ยูเซอร์คาฟจนถึงฟาโรห์เมนเคาฮอร์ คาอิอู ทรงโปรดให้สร้างวัดวิหารที่อุทิศให้กับเทพราที่หรือใกล้กับอบูซิร์ ซึ่งต่อมาในช่วงปลายราชวงศ์ที่ห้า ลัทธิของเทพโอซิริสถือว่ามีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจารึกที่พบในหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ยูนัส
ฟาโรห์ดเจดคาเร อิเซซิ
[แก้]ในบรรดาชาวอียิปต์ที่ไม่ใช่เชื้อราชวงศ์ในช่วงเวลาดังกล่าว เช่น พทาห์โฮเทป ซึ่งมีตำแหน่งราชมนตรีในรัชสมัยของฟาโรห์ดเจดคาเร อิเซซิ ได้รับชื่อเสียงจากภูมิปัญญาของเขา คติพจน์แห่งพทาห์โฮเทป ถูกระบุว่าเป็นของพทาห์โฮเทปโดยผู้ลอกเลียนหนังสือในภายหลัง นอกจากนี้ สุสานที่ไม่ใช่ของราชวงศ์ยังได้รับการตกแต่งด้วยคำจารึกเช่นเดียวกับของราชวงศ์ แต่แทนที่จะเป็นบทสวดหรือคาถา แต่กลับเป็นชีวประวัติของผู้ตายที่ถูกเขียนบนผนังแทน
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Verner 2001b, pp. 588–590.
- ↑ Altenmüller 2001, pp. 597–600.
- ↑ Verner 2001d, p. 473.
- ↑ Grimal 1992, p. 390.
- ↑ 5.0 5.1 von Beckerath 1997, p. 188.
- ↑ Clayton 1994, p. 60.
- ↑ 7.0 7.1 Shaw 2000, p. 482.
- ↑ Bard 1999, p. xlv, Chronology of Ancient Egypt.
- ↑ Málek 2000, pp. 98 & 100.
- ↑ Rice 1999, p. xlix, Chronoloy.
- ↑ Lehner 2008, p. 8.
- ↑ Allen et al. 1999, p. xx.
- ↑ Verner 2001a, p. 418.
- ↑ Krauss 1998, p. 56.
- ↑ Arnold 2003, p. 267.
- ↑ Hornung 2012, p. 491.
- ↑ Bárta 2017, p. 3.
- ↑ 18.0 18.1 Dodson & Hilton 2004, p. 288.
- ↑ Altenmüller 2001, p. 597.
- ↑ Dodson & Hilton 2004, p. 65.
- ↑ Dodson & Hilton 2004, pp. 65 & 288.
บรรณานุกรม
[แก้]- Allen, James; Allen, Susan; Anderson, Julie; Arnold, Arnold; Arnold, Dorothea; Cherpion, Nadine; David, Élisabeth; Grimal, Nicolas; Grzymski, Krzysztof; Hawass, Zahi; Hill, Marsha; Jánosi, Peter; Labée-Toutée, Sophie; Labrousse, Audran; Lauer, Jean-Phillippe; Leclant, Jean; Der Manuelian, Peter; Millet, N. B.; Oppenheim, Adela; Craig Patch, Diana; Pischikova, Elena; Rigault, Patricia; Roehrig, Catharine H.; Wildung, Dietrich; Ziegler, Christiane (1999). Egyptian Art in the Age of the Pyramids. New York: The Metropolitan Museum of Art. OCLC 41431623.
- Altenmüller, Hartwig (2001). "Old Kingdom: Fifth Dynasty". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 2. Oxford: Oxford University Press. pp. 597–601. ISBN 978-0-19-510234-5.
- Arnold, Dieter (2003). The Encyclopaedia of Ancient Egyptian Architecture. London: I.B Tauris & Co Ltd. ISBN 1860644651.
- Bard, Kathryn, บ.ก. (1999). Encyclopedia of the Archaeology of Ancient Egypt. London; New York: Routledge. ISBN 978-0-203-98283-9.
- Bárta, Miroslav (2017). "Radjedef to the Eighth Dynasty". UCLA Encyclopedia of Egyptology. San Diego: The University of California. 1 (1). ISBN 978-0-615-21403-0.
- Clayton, Peter (1994). Chronicle of the Pharaohs. New York: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-05074-3.
- Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-05128-3.
- Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8.
- Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David, บ.ก. (2012). Ancient Egyptian Chronology. Handbook of Oriental Studies. Leiden, Boston: Brill. ISBN 978-90-04-11385-5. ISSN 0169-9423.
- Krauss, Rolf (1998). "Wenn und aber: Das Wag-Fest und die Chronologie des Alten Reiches". Göttinger Miszellen (ภาษาเยอรมัน). Göttingen: Universität der Göttingen. Seminar für Agyptologie und Koptologie. 162: 53–64. ISSN 0344-385X.
- Lehner, Mark (2008). The Complete Pyramids. London: Thames & Hudson Ltd. ISBN 978-0-500-05084-2.
- Málek, Jaromir (2000). "The Old Kingdom (c.2160-2055 BC)". ใน Shaw, Ian (บ.ก.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. pp. 83–107. ISBN 978-0-19-815034-3.
- Rice, Michael (1999). Who is who in Ancient Egypt. Routledge London & New York. ISBN 978-0-203-44328-6.
- Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-815034-2.
- Verner, Miroslav (2001a). "Archaeological Remarks on the 4th and 5th Dynasty Chronology" (PDF). Archiv Orientální. 69 (3): 363–418. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2023-06-04.
- Verner, Miroslav (2001b). "Old Kingdom: An Overview". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 2. Oxford: Oxford University Press. pp. 585–591. ISBN 978-0-19-510234-5.
- Verner, Miroslav (2001d). The Pyramids. The Mystery, Culture, and Science of Egypt's Great Monuments. Translated by Steven Rendall. New York: Grove Press. ISBN 978-0-8021-3935-1.
- von Beckerath, Jürgen (1997). Chronologie des pharaonischen Ägypten : die Zeitbestimmung der ägyptischen Geschichte von der Vorzeit bis 332 v. Chr. Münchner ägyptologische Studien (ภาษาเยอรมัน). Vol. 46. Mainz am Rhein: Philipp von Zabern. ISBN 978-3-8053-2310-9.
ก่อนหน้า | ราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์ที่สี่ | ราชวงศ์แห่งอียิปต์ (ประมาณ 2,494 - 2,345 ปีก่อนคริสตกาล) |
ราชวงศ์ที่หก |