ฟาโรห์โซเบคโฮเตปที่ 8

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟาโรห์เซเคมเร เซอูเซร์ตาวี โซเบคโฮเทป (อักษรโรมัน: Sekhemre Seusertawy Sobekhotep VIII) หรือเรียกว่า โซเบคโฮเทปที่ 8 อาจจะเป็นฟาโรห์องค์ที่สามในราชวงศ์ที่ 16 ผู้ครองราชย์เหนือทีบส์ในอียิปต์ตอนเหนือช่วงช่วงต่อระยะที่สอง[1][2] อีกทางเลือกหนึ่ง พระองค์อาจเป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 13 หรือ 17 ถ้าพระองค์เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 16 นั่นจะทำให้ฟาโรห์โซเบคโฮเทปครองราชย์ (ตามข้อมูลจากบันทึกพระนามแห่งตูริน) เป็นระยะเวลา 16 ปี เมื่อ 1650 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงเวลาของการบุกรุกของชาวฮิกซอสในอียิปต์

ตำแหน่งตามลำดับเวลา[แก้]

พบพระนามของฟาโรห์ในบรรทัดที่ 2 ของคอลัมน์ที่ 11 ของบันทึกพระนามแห่งตูรินอ่านว่า เซคเอม[...]เร และอ้างอิงตามที่นักอียิปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ พระนามดังกล่าวน่าจะสื่อเป็นพระนาม เซคเอมเร เซอูเซร์ทาวี ซึ่งเป็นพระนามของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 8 หากการระบุนี้ถูกต้องจะทำให้พระองค์จะทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 16 ปีในฐานะฟาโรห์พระองค์ที่สามของราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ และสิ่งนี้จะทำให้พระองค์เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของฟาโรห์ดเจฮูติ และเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 ถึงแม้ว่ายังไม่ทราบความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับฟาโรห์ทั้งสองพระองค์ก็ตาม[1][2] ในการสร้างลำดับเหตุการณ์ของสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สองขึ้นใหม่นั้น รีฮอล์ตได้เสนอว่า ฟาโณห์โซเบคโฮเทปที่ 8 ทรงครองราชย์ตั้งแต่ 1645 ปีก่อนคริสตกาล จนถึง 1629 ปีก่อนคริสตกาล ไม่นานหลังจากที่ราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ ซึ่งเป็นชนชาวฮิกซอสได้เข้ายึดครองบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์และเมืองเมมฟิส ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ล่มสลายลง

ในการศึกษาที่เก่ากว่าโดยนักอียิปต์วิทยา เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธ และลาบิบ ฮาบาชิ ระบุว่า ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 8 เป็นฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[3][4]

หลักฐานยืนยัน[แก้]

หลักฐานยืนยันร่วมสมัยเพียงชิ้นเดียวของฟาโรห์โซเบคที่ 8 คือจารึกศิลาที่พบในประตูที่สามที่คาร์นัก จารึกดังกล่าวนี้ถูกใช้เป็นวัสดุก่อสร้างเพื่อเติมประตูเสาระหว่างการทำงานขยายศาสนสถานแห่งคาร์นักในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 โดยในจารึกศิลาดังกล่าวได้ลงวันที่ในช่วงวันที่อยู่นอกเหนือเดือนปกติตามปฏิทินสุริยคติอียิปต์โบราณหรือห้าวันสุดท้ายของปีในปีที่สี่ของรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 8 และอธิบายถึงทัศนคติของพระองค์ที่วิหาร ซึ่งอาจจะเป็นศาสนสถานแห่งคาร์นัก ในช่วงน้ำท่วมใหญ่ของแม่น้ำไนล์:[5]

ตามที่นักอียิปต์วิทยา จอห์น เบนส์ ผู้ซึ่งศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับจารึกศิลาดังกล่าว ได้กล่าวว่า การเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระศาสนวิหารขณะที่น้ำท่วมนั้น กษัตริย์ได้จำลองตำนานปรัมปราอียิปต์โบราณเกี่ยวกับการสร้างโลกอีกครั้ง โดยเลียนแบบการกระทำของเทพเจ้าผู้สร้าง พระนามว่า อามุน-รา ซึ่งรูปสัญลักษณ์ของจารึกศิลานั้นเชื่อมโยงกับฟาโรห์ โดยทรงสั่งน้ำให้ลดระดับลงจากภูเขาในยุคแรกเริ่ม[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Kim Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period c.1800-1550 B.C, Museum Tusculanum Press, (1997)
  2. 2.0 2.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 454
  3. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Augustin, Glückstadt 1964, pp. 66, 259-260 (XIII K)
  4. Labib Habachi: A high inundation in the temple of Amenre at Karnak in the thirteenth dynasty, in: Studien zur Altägyptischen Kultur. 1 (1974), p. 207–214 and 296.
  5. 5.0 5.1 Translation by John Baines in: The Inundation Stela of Sobekhotep VIII, Acta Orientalia (1974), pp. 36, 39-54, Available online