ฟาโรห์เซธ-เพอร์อิบเซน
เซธ-เพอร์อิบเซน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เพอร์อิบเซน, อัช-เพอร์อิบเซน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แจกันหินของฟาโรห์เซธ-เพอร์อิบเซน พร้อมคำจารึก "คำสรรเสริญแห่งราษฎรของเซธโรวี", พิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติ, ฝรั่งเศส | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | ไม่ทราบระยะเวลาครองราชย์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ไม่แน่ชัด; วัดจ์เอนเส, เซเนดจ์ หรือ เซคเอมอิบ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ไม่แน่ชัด; เซเนดจ์, เซคเอมอิบ หรือ คาเซคเอมวี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | เซปเซต-อิเพต ? | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | สุสาน 'P' ที่อไบดอส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สอง ราว 2740 ปีก่อนคริสตกาล |
เซธ-เพอร์อิบเซน (หรือที่รู้จักในพระนาม อัช-เพอร์อิบเซน, เพอร์อิบเซน และ เพอร์อับเซน) เป็นพระนามของผู้ปกครองในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้น (ฟาโรห์) ซึ่งทรงปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ (ประมาณ 2890 – ประมาณ 2686 ปีก่อนคริสตกาล)[1] ยังไม่ทราบเกี่ยวกับลำดับเหตุการณ์ของพระองค์ในราชวงศ์ และเป็นที่ถกเถียงกันว่าฟาโรห์พระองค์ใดจะทรงขึ้นปกครองทั้งก่อนและหลังรัชสมัยพระองค์ นอกจากนี้ ยังไม่ทราบระยะเวลาแห่งการครองราชย์ของพระองค์เช่นกัน[2]
พระนามของฟาโรห์เพอร์อิบเซนนั้นเป็นพระนามที่ไม่ค่อยนิยมและแปลกในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะเนื่องจากพระองค์ทรงพระนามที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทพฮอรัสเป็นที่เป็นเทพอุปถัมภ์ของพระองค์ แต่เป็นเทพเซธแทน ซึ่งขัดกับประเพณีของอียิปต์ที่ฟาโรห์ทรงเลือกเทพฮอรัสที่มีรูปร่างเป็นเหยี่ยวเป็นเทพเจ้าผู้อุปถัมภ์
หลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์เพอร์อิบเซน ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1898 ที่อไบดอส ซึ่งหลงเหลืออยู่ในสภาพที่ดีและแสดงให้เห็นร่องรอยของการบูรณะที่ดำเนินการในช่วงราชวงศ์ต่อมา[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kathryn A. Bard: The Emergence of the Egyptian State, page 86, in: Ian Shaw (editor): The Oxford History of Ancient Egypt, Oxford University Press (2000), ISBN 0-19-815034-2.
- ↑ Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 195.
- ↑ Laurel Bestock: The Early Dynastic Funerary Enclosures of Abydos. In: Archéo-Nil. Vol. 18, 2008, ISSN 1161-0492, p. 42–59.