รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งคุช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เป็นบทความที่ยังไม่สมบูรณ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับรายพระนามผู้ปกครอง หรือที่เรียกว่า กอเร (กษัตริย์) หรือ คันดาเค (ราชินี) แห่งอาณาจักรคุช (นิวเบีย) เวลาการครองราชย์บางพระองค์ก็ยังคงเป็นช้อสันนิษฐานอยู่ และมีน้อยพระองค์เท่านั้นที่มีลำดับและระยะการครองราชย์ที่แน่นอน รวมถึงผู้ปกครองที่ได้ปกครองอาณาจักรอียิปต์โบราณ (ในช่วงสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า) และผู้ที่ปกครองที่มีชื่อเสียงในการทำสงครามหรือการเดินทางทางการค้า ซึ่งจัดลำดับโดยพริตซ์ ฮินต์เซ่ โดยการคำนวณระยะเวลาครองราชย์ของผู้ปกครองแต่ละพระองค์ว่าปกครองเป็นเวลาสั้นหรือยาวก็ขึ้นอยู่กับการตกแต่ง ความสวยงามและขนาดของหลุมฝังพระศพ เนื่องจากการสันนิษฐานว่าหากผู้ปกครองผู้ที่ปกครองในเวลาที่นานก็จะมีเวลาที่จะเพิ่มเติมส่วนประกอบของหลุมฝังพระศพด้วยการตกแต่ง และสิ่งของเครื่องใช้ แต่ก็มีปัญหาถกเถียงว่าหลุมฝังพระศพนั้นเป็นของผู้ปกครองพระองค์ใด

ระยะเวลาการปกครองที่ชัดเจนและถูกต้อง ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ปกครองที่ได้ยึดอำนาจของอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า และเมื่ออียิปต์ได้พ้นจากอำนาจของอาณาจักรคุช ก็จะมีผู้ปกครองดังนี้ที่ทราบถึงการครองราชย์ที่แน่นอนคือ กษัตริย์แอสเพลตา, อราคามานิ, นาสตาเซน และมีพระราชินีดังนี้ พระนางซานัคดาเคเต, อมานิเรนาส, อมานิซาเคโต, อมานิโตเร และ อมานิคาตาซาน

ในช่วงต้นของอาณาจักรคุชก็ยังคงคลุมเครืออยู่ บริเวณหลุมฝังพระศพและปิรามิดในซูดานมีอย่างน้อยสิบสี่แห่ง[1] และมีหลุมฝังพระศพที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดที่สร้างเมื่อประมาณ 1020 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนสมัยการปกครองของผู้ปกครองนามว่า ปิเย สองหลุมฝังพระศพในทั้งหมดทราบว่าเป็นของกษัตริย์อลาราและคาซตา นอกจากนี้ยังอาจเป็นไปได้ว่าหลุมฝังพระศพหนึ่งในสิบสี่แห่งอาจจะเป็นของกษัตริย์อาเซอร์คามานิ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลา 950 ปีก่อนคริสตกาล และดำเนินการเดินทางในอียิปต์และตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในแอฟริกาเหนือ

กษัตริย์และพระราชินีนิวเบียแห่งเคอร์มา[แก้]

กษัตริย์และพระราชินีนิวเบียแห่งเคอร์มา[2]
ลำดับ พระนาม การครองราชย์ ที่ฝังพระศพ พระมเหสี
// คาอา 1900 ปีก่อนคริสตกาล
// เตริอาฮิ 1880 ปีก่อนคริสตกาล
// อวาวา 1870 ปีก่อนคริสตกาล
// อูตาเตรเออร์เซส 1850 ปีก่อนคริสตกาล
// เนดเจ
// คันดาเค มาเคดา 1005–950 ปีก่อนคริสตกาล
// อาเซอร์คามานิ 950 ปีก่อนคริสตกาล
// เซบ
// พระราชินี คาริมาลา (จากภาพสลักในแซมนา)

เมืองหลวงย้ายไปที่ นาปาตา

ช่วงนาปาตา[แก้]

ในช่วงระยะเวลาช่วงนาปาตานั้น มีจุดเริ่มต้นในรัชสมัยของกษัตริย์คาซตา จนถึงรัชสมัยของกษัตริย์มาโลนาเกน ซึ่งจะมีศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองนาปาตา และเมืองเมโรอี กษัตริย์และพระราชินีจะมีหลุมฝังพระศพที่นูริ และ เอล-เคอร์รู[3]

กษัตริย์แห่งนิวเบีย[4]ปกครองในช่วงก่อนของราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์
ลำดับ พระนาม การครองราชย์ ที่ฝังพระศพ พระมเหสี
// อลารา 795 - 752 ปีก่อนคริสตกาล เคอร์รู 9? พระนาง คาซากา (เคอร์รู 23)
1 คาซตา 765 – 752 ปีก่อนคริสตกาล เคอร์รู 8 พระนาง เปบาทจ์มา (เคอร์รู 7?)

ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์[แก้]

ในช่วงที่กษัตริย์ปิเยได้เข้าไปยึดอำนาจและปกครองอียิปต์

กษัตริย์แห่งนิวเบียและฟาโรห์แห่งอียิปต์
ลำดับ พระนาม การครองราชย์ ที่ฝังพระศพ พระมเหสี
2 ปิเย (พิอังค์อิ) 752–721 ปีก่อนคริสตกาล เคอร์รู 17 พระนาง ทาบิริ (เคอร์รู 53)
พระนาง อาบาร์ (นูริ 53?)
พระนาง เคนซา (เคอร์รู 4)
พระนาง เพปซาเตอร์ (เคอร์รู 54)
พระนาง เนฟรูเคคาซตา (เคอร์รู 52)
3 ซาบาคา 721–707/706 ปีก่อนคริสตกาล เคอร์รู 15 พระนาง กัลฮาตา (เคอร์รู 5)
พระนาง เมสบาต
พระนาง ทาเบเคนอามุน?
4 เชบอิทกู 707/706–690 ปีก่อนคริสตกาล เคอร์รู 18 พระนาง อาร์ติ (เคอร์รู 6)
5 ทาฮาร์กา 690–664 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 1 พระนาง ทาคาฮาเตนอามุน (นูริ 21?)
พระนาง อาตาเคบาสเคน (นูริ 36)
พระนาง นาปาราเย (เคอร์รู 3)
พระนาง ทาเบเคนอามุน?
6 ทันทามานิ 664–653 ปีก่อนคริสตกาล เคอร์รู 16 พระนาง พิอังค์คาติ
พระนาง [..]ซัลคา
พระนาง มาลากาเย? (นูริ 59)

ช่วงที่สอง[แก้]

กษัตริย์นิวเบียไม่มีอำนาจควบคุมในอียิปต์อีกต่อไป มีศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองนาปาตา และเมืองเมโรอี

กษัตริย์แห่งนิวเบีย (นาปาตา)
ลำดับ พระนาม การครองราชย์ ที่ฝังพระศพ พระมเหสี
7 อัตลาเนอร์ซา 653–640 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 20? พระนาง คาลิเซต
พระนาง มาโลตารัล (นูริ 41)
พระนาง เยทูรอ (นูริ 53)
พระนาง เพลตาเซน
พระนาง ทาบา[..]
8 เซนคามานิสเคน 640–620 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 3 พระนาง นาซัลซา (นูริ 24)
พระนาง อมานิมาเอล? (นูริ 22?)
9 อันลามานิ 620–600 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 6 พระนาง เมดิเคน ? (นูริ 27)
10 แอสเพลตา 600–580 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 8 พระนาง เมดิเคน? (นูริ 27)
พระนาง เฮนุตตาเคบอิต (นูริ 28)
พระนาง อซาตา (นูริ 42)
พระนาง อาร์ตาอา (นูริ 58)
11 อรามัตเล-โก 568–555 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 9 พระนาง อัตมาตาคา (นูริ 55)
พระนาง พิอังค์-เฮอร์
พระนาง มาเลตาเซน(นูริ 39)
พระนาง อมานิตาคาเย (นูริ 26)
พระนาง อาเค(กา)? (นูริ 38)
12 มาโลนาเกน 555–542 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 5 พระนาง ทักทัล (นูริ 45)

ช่วงเมโรอี[แก้]

ช่วงที่หนึ่ง[แก้]

กษัตริย์ปกครองเหนือเมืองนาปาตาและเมืองเมโรอี โดยอำนาจการปกครองและพระราชวังอยู่ในเมืองเมโรอี วัดหลักของเทพอามุนตั้งอยู่ในเมืองนาปาตา แต่วัดที่เมืองเมโรอีอยู่ระหว่างการก่อสร้าง กษัตริย์และพระราชินีจำนวนมากถูกฝังอยู่ในนูริ และมีพระราชินีบางพระองค์ถูกฝังอยู่ที่เมืองเมโรอีในสุสานทางทิศตะวันตก

กษัตริย์แห่งนิวเบีย (เมโรอี)
ลำดับ พระนาม การครองราชย์ ที่ฝังพระศพ พระมเหสี
13 อานัลมาเย 542–538 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 18
14 อมานินาตาคิเลบเต 538–519 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 10
15 คาร์คามานิ 519–510 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 7
16 อมานิแอสตาบากา 510–487 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 2
17 ซิแอสพิกา 487–468 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 4 พระนาง พิอังค์เก-กา? (นูริ 28)
18 นาสอังค์มา 468–463 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 8 พระนาง ซาคา'อาเย? (นูริ 31)
19 มาเลวิเอบามานิ 463–435 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 11
20 ตาลาคามานิ 435–431 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 16
21 อมานิเนเตเยริเค 431–405 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 12 พระนาง อตาซามาเล?
22 บาสคาเคเรน 405–404 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 17
23 ฮาร์ซิโอเทฟ 404–369 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 13 พระนาง บาตาฮาลิเย
พระนาง เพลคา?
24 ไม่ทราบ 369–350 ปีก่อนคริสตกาล เคอร์รู 1
25 อังค์ราเตน 350–335 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 14
26 อมานิบาคิ ประมาณศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ??
27 นาสตาเซน 335–315 ปีก่อนคริสตกาล นูริ 15 พระนาง ซาคมัค (นูริ 56?)

ช่วงที่สอง[แก้]

อำนาจการปกครองและพระราชวังอยู่ในเมืองเมโรอี ส่วนใหญ่กษัตริย์และพระราชินีจะถูกฝังอยู่ที่เมโรอี ในสุสานทางทิศใต้ จึงทำให้ความสำคัญของเมืองนาปาตาเหลือเพียงแค่วัดของเทพอามุนที่เป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนา

กษัตริย์แห่งนิวเบีย (เมโรอี)
ลำดับ พระนาม การครองราชย์ ที่ฝังพระศพ พระมเหสี
28 อัคติซาเนส Early 3rd century BCE บาร์กาล 11 หรือ 14 คันดาเค อลาเคบาสเคน
29 อาร์ยามานิ first half 3rd century BCE บาร์กาล 11 หรือ 14
30 คาซ(...) first half 3rd century BCE บาร์กาล 15?
31 พิอังค์อิ-เยริเค-กา first half 3rd century BCE ??
32 ซาบราคามานิ first half 3rd century BCE บาร์กาล 7

ช่วงที่สาม[แก้]

อำนาจการปกครองและพระราชวังอยู่ในเมืองเมโรอี ส่วนใหญ่กษัตริย์และพระราชินีจะถูกฝังอยู่ที่เมโรอี โดยกษัตริย์จะถูกฝังที่สุสานทางทิศเหนือ และพระราชินีจะถูกฝังที่สุสานทางทิศตะวันตก และในเมืองหลวงเก่าเมืองนาปาตาเป็นศูนย์กลางของลัทธิเทพอามุน และในช่วงที่สามเมืองเมโรอีนั้นมีความเจริญรุ่งและมีการสร้างอาคารบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก

กษัตริย์แห่งนิวเบีย (เมโรอี)
ลำดับ พระนาม การครองราชย์ ที่ฝังพระศพ พระมเหสี
33 อาราคามานิ 270–260 ปีก่อนคริสตกาล Beg. S 6
34 อมานิสโล 260–250 ปีก่อนคริสตกาล Beg. S 6
35 อมานเตคา กลางศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล Beg. S 4
36 เซเซป-อังค์-เอน-อามุน-เซเตเพนเร กลางถึงปลายศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ??
37 อาร์เนคามานิ กลางถึงปลายศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล Beg. N 53
38 อากามานิ ศตวรรษที่ 2 หรือ 3 ก่อนคริสตกาล Beg. N 7
39 อดิคาลามานิ ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล Beg. N 9
40 [...]มร[...]ต ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล Beg. N 8
41 ไม่ทราบ ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล Beg. N 10
42 ซานาคดาเคเต ปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล Beg. N 11
43 ทันยิดามานิ ปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล/ต้นศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล Beg. N 12?
44 นากิรินซาน ต้นศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล Beg. N 13
45 ไม่ทราบ ต้นศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล Beg. N 20
46 ไม่ทราบ กลางศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล Barkal 1 ?
47 อัคราคามานิ 29–25 ปีก่อนคริสตกาล ??
48 เตริเตกาซ 29–25 ปีก่อนคริสตกาล Barkal 2
49 อมานิเรนาส ปลายศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล Barkal 4
50 อมานิซาเคโต ปลายศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล Beg. N 6
51 นาวิเดมัค ต้นคริสตศตวรรษที่ 1 Barkal 6?
52 อมานิคาบาเล กลางคริสตศตวรรษที่ 1 Beg. N 2?
53a นาตาคามานิ กลางถึงปลายคริสตศตวรรษที่ 1 Beg. N 22 พระนาง อมานิโตเร (ปกครองร่วมกัน)
53b อมานิโตเร กลางถึงปลายคริสตศตวรรษที่ 1 Beg. N 1

เจ้าชายที่ได้รับตำแหน่งเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งในรัชสมัยของกษัตริย์นาตาคามานิ และสมเด็จพระราชินีนาถอมานิโตเร

ช่วงที่สี่[แก้]

ในช่วงที่สี่เมืองเมโรอีได้เสื่อมอำนาจลง ส่วนใหญ่กษัตริย์และพระราชินีจะถูกฝังอยู่ที่เมโรอี โดยกษัตริย์จะถูกฝังที่สุสานทางทิศเหนือ และพระราชินีจะถูกฝังที่สุสานทางทิศตะวันตก ต่อมาในปี ค.ศ.350 เมืองเมโรอีได้ถูกทำลายลงโดยอาณาจักรอาซัม

กษัตริย์แห่งนิวเบีย (เมโรอี)
พระนาม การครองราชย์ ที่ฝังพระศพ
ซอร์คารอร์ คริสตศตวรรษที่ 1 Beg. N 10
พิซาคาร์ คริสตศตวรรษที่ 1 Beg. N 15
อมานิตารากิเด คริสตศตวรรษที่ 1 Beg. N 16
อมานิเตยเมมิเด คริสตศตวรรษที่ 1 Beg. N 17
อมานิคาตาซาน คริสตศตวรรษที่ 1 Beg. N 18
เตริตนิเด คริสตศตวรรษที่ 1 Beg. N 40
เตเกริเดอมานิที่ 1 คริสตศตวรรษที่ 1-2 Beg. N 28
ตาเมเลอร์เดอมานิ คริสตศตวรรษที่ 2 Beg. N 34 or 27
อาเดกาตาลิ คริสตศตวรรษที่ 2 Beg. N 41
ตาคิเดอมานิ คริสตศตวรรษที่ 2 Beg. N 29
เตเรเคนิวัล คริสตศตวรรษที่ 2 Beg. N 19
อมานิคาลิคา คริสตศตวรรษที่ 2 Beg. N 32
อาริเตนเยสโบเค คริสตศตวรรษที่ 2 Beg. N 30
อมานิคาเรเกเรม คริสตศตวรรษที่ 2 Beg. N 37
เตริเตดาคาเต ต้นคริสตศตวรรษที่ 3 Beg. N 38
อาร์เยสโบเค ต้นคริสตศตวรรษที่ 3 Beg. N 36
เตเกริเดอมานิที่ 2 คริสตศตวรรษที่ 3 ??
มาเลกอรอบาร์? คริสตศตวรรษที่ 3 Beg. N 27
เยสโบเคอมานิ? คริสตศตวรรษที่ 3 Beg. N 24
ลาคิเดอมานิ? คริสตศตวรรษที่ 4 Beg. N 26

(ไม่ทราบถึงพระนามของกษัตริย์หลังจากนี้)

อ้างอิง[แก้]

  1. Kushite Kingdom เก็บถาวร 2008-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Brian Yare (14)
  2. William J. Hamblin (2006). Warfare in the Ancient Near East to 1600 BC. pp. PT384. ISBN 978-1-134-52062-6.
  3. Dows Dunham, Notes on the History of Kush 850 B. C.-A. D. 350, American Journal of Archaeology, Vol. 50, No. 3 (July - September , 1946), pp. 378-388
  4. William J. Hamblin (2006). Warfare in the Ancient Near East to 1600 BC. pp. PT384. ISBN 978-1-134-52062-6.