จักรวรรดิรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิรัสเซีย

Российская империя
ค.ศ. 1721–1917
คำขวัญСъ нами Богъ!
God is with us
"พระเจ้าทรงอยู่กับเรา"
เพลงชาติโบเช ซาร์ยาครานี
Bozhe, Tsarya khrani!
Боже, Царя храни!
"พระเจ้าทรงคุ้มครองซาร์!"
ดินแดนทั้งหมดซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียหรืออยู่ในเขตอิทธิพล
  ดินแดน
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวง
ภาษาทั่วไปราชการ
รัสเซีย
การปกครองอัตตาธิปไตย
สมบูรณาญาสิทธิราชก่อนปี 1906,
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญหลังปี 1906
จักรพรรดิ 
• 1721–1725
จักรพรรดิปีเตอร์มหาราช
(พระองค์แรก)
• 1894–1917
จักรพรรดินีโคลัสที่ 2
(พระองค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• ประกาศตั้งจักรวรรดิ
22 ตุลาคม ค.ศ. 1721
• การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์
2 เมษายน 1917
พื้นที่
186622,800,000 ตารางกิโลเมตร (8,800,000 ตารางไมล์)
191621,799,825 ตารางกิโลเมตร (8,416,959 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1916
181,537,800
สกุลเงินรูเบิลรัสเซีย
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรรัสเซีย
สาธารณรัฐรัสเซีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

จักรวรรดิรัสเซีย (รัสเซีย: Российская империя; อังกฤษ: Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซีย

ประวัติศาสตร์

ธงแห่งจักรวรรดิรัสเซียในวาระแห่งการเฉลิมฉลอง ตั้งแต่ปี 1858 ถึง 1883.[1][2][3][4][5] อย่างไรก็ตาม ธงนี้ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับธงชาติรัสเซียแถบสีขาว-น้ำเงิน-แดง
ตราประจำพระองค์แห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ ถูกใช้ในช่วงปี 1858 - 1917

จักรวรรดิรัสเซีย สถาปนาขึ้นแทนอาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย (tsardom of muskovy) เป็นจักรวรรดิหนึ่งที่โดดเดี่ยวและไม่เป็นที่รู้จักในยุโรป จนกระทั่งจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชทรงปฏิรูปจักรวรรดิให้ทันสมัย และเป็นการเปิดประตูต้อนรับยุโรปอย่างแท้จริง พระองค์ทรงปฏิรูปจักรวรรดิใหม่หมด ทั้งการแต่งกาย การศึกษา ฯลฯ จักรวรรดิรัสเซียหลังรัชสมัยของจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชจึงกลายเป็นจักรวรรดิมหาอำนาจชั้นแนวหน้าของโลกในสมัยนั้น

ศตวรรษที่ 18

จักรพรรดิปีเตอร์มหาราชทรงรวบรวมอำนาจในรัสเซียให้มีความเป็นปึกแผ่นแล้วนำพาจักรวรรดิรัสเซียในขณะนั้นไปสู่ระบบรัฐของยุโรปพระองค์ทรงเปลี่ยนจากอาณาจักรเล็กๆเริ่มแรกในศตวรรษที่ 14 ให้กลายเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกในรัชสมัยของพระองค์ ทรงขยายดินแดนเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ยูเรเซีย ตั้งแต่ทะเลบอลติกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก และได้ขยายออกไปมากในช่วงศตวรรษที่ 17 อย่างไรก็ตามนี้คือแผ่นดินที่กว้างใหญ่ไพศาล และมีประชากรเพียง 14 ล้านคน ส่วนใหญ่ที่อยู่ตามชนบทและทำกสิกรรมทางตะวันตกของประเทศ ส่วนน้อยที่อยู่ในเมือง ปีเตอร์ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การปกครอง และการทำศึกสงครามเสียใหม่ เพื่อให้เจริญก้าวหน้าโดยรับแนวคิดมาจากตะวันตกมาโดยทั้งสิ้น พระองค์ทรงเรียนรู้กลยุทธ์และการป้องกันมากมายจากตะวันตก แล้วยังสร้างกองทัพที่เข้มแข็ง ซึ่งมาจากการเกณฑ์ทหาร พระองค์ยังเป็นจักรพรรดิซาร์พระองค์แรกที่เสด็จประพาสยุโรปด้วย พระองค์ทรงทำสงครามกับสวีเดนเพื่อชิงแผ่นดินส่วนที่ติดกับทะเลบอลติกให้มีทางออกสู่ทะเลอีกทั้งยังให้เป็นประตูสู่ยุโรปด้วย และสร้างเมืองหลวงใหม่ชื่อว่า เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเมื่อนโปเลียนบุกรัสเซีย รัสเซียก็มีชัยเหนือกองทัพของเขา นั้นเป็นการแสดงให้โลกรู้ว่าจักรวรรดิรัสเซียนั้นยังคงเป็นมหาอำนาจที่ไม่อาจโค่นล้มได้ง่าย ๆ

ศตวรรษที่ 19

เมื่อล่วงเข้าศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิอยู่ภายใต้การนำของจักรพรรดินีโคลัสที่ 1 ซึ่งทรงทำสงครามพิชิตแหลมไครเมียกับจักรวรรดิออตโตมันเมื่อล่วงเข้ารัชสมัยของ จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย รัสเซียก็พิชิตแหลมไครเมียได้สำเร็จซึ่งในขณะนั้นเองจักรวรรดิก็ก้าวเข้าสูการปฏิรูปประเทศอีกครั้ง ทาสเริ่มได้รับสิทธิมากขึ้น เริ่มมีการเผยแพร่ความรู้ และเริ่มมีแผนที่จะร่างรัฐธรรมนูญขึ้นด้วย แต่พระองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์เสียก่อน

สิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย

ภาพวาดการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905

เมื่อเริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ก็เริ่มมีกระแสการปฏิวัติไปทั่วโลก ในขณะนั้นเองจักรวรรดิรัสเซียก็เริ่มเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนอดยากทั่วรัสเซีย ฤดูหนาวที่โหดร้าย และการพ่ายแพ้สงคราม ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิซาร์นีโคลัสที่ 2 เริ่มมีชนกลุ่มเล็กภายในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเริ่มคิดก่อการปฏิวัติ เมื่อเหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น ในปี 1905 ประชาชนได้รวมตัวกันชุมนุมกัน ณ จัตุรัสแดง ที่พระราชวังฤดูหนาว ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อจักรพรรดิซาร์ และเมื่อจักรพรรดิซาร์เสด็จออกมา ปืนและปืนใหญ่ของทหารม้ารัสเซียก็ระดมยิงใส่ผู้ชุมนุมประท้วง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เหตุการณ์นี้รู้จักกันดีในชื่อว่า bloody sunday หรือ อาทิตย์ทมิฬ ต่อมาเมื่อรัสเซียแพ้สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และ สงครามโลกครั้งที่ 1 ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1917 เกิดการปฏิวัติขึ้นชื่อว่า (การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์) นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน ซึ่งจักรพรรดิซาร์นีโคลัสที่ 2 ก็ต้องทรงสละราชบัลลังก์และถูกกักกันตัวไว้ หลังจากการปฏิวัติไม่นาน ราชวงศ์ก็ทรงประทับอยู่ ณ พระราชวังอเล็กซานเดอร์ และระหว่างเมษายน และ พฤษภาคมปี 1918 ก็ทรงถูกย้ายจากพระราชวังอเล็กซานเดอร์มาประทับ ณ เมืองเยคาเทียรินเบิร์ก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม เวลา 1:30 นีโคลัส อเล็กซานดร้า โอรสและธิดา ถูกหลอกให้ลงมาชั้นใต้ดิน แต่เมื่อทั้งหมดลงมา ก็ถูกขังไว้ในห้องพร้อมกับทหารกลุ่มบอลเชวิค โดยทั้งหมดสิ้นพระชนม์จากการถูกยิงเป้าหมู่ ภายหลังได้มีการฝังพระศพทั้งหมดร่วมกัน เป็นการปิดฉากราชวงศ์โรมานอฟและจักรวรรดิรัสเซีย

อ้างอิง

เชิงอรรถ

อ้างอิง

  1. Bonnell, p. 92
  2. Condee, p. 49
  3. Saunders, p. 129
  4. National Museum of Science and Technology (Canada). Material history review. Canada Science and Technology Museum, 2000, p46
  5. CRWflags.com. K. Ivanov argues, that Russia has changed her official flag in 1858

หนังสืออ่านเพิ่ม

การสำรวจ

  • Ascher, Abraham. Russia: A Short History (2011) excerpt and text search
  • Bushkovitch, Paul. A Concise History of Russia (2011) excerpt and text search
  • Freeze, George (2002). Russia: A History (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 556. ISBN 978-0-19-860511-9.
  • Hosking, Geoffrey. Russia and the Russians: A History (2nd ed. 2011)
  • Hughes, Lindsey (2000). Russia in the Age of Peter the Great. New Haven, CT: Yale University Press. p. 640. ISBN 978-0-300-08266-1.
  • Lincoln, W. Bruce. The Romanovs: Autocrats of All the Russias (1983) excerpt and text search, sweeping narrative history
  • Longley, David (2000). The Longman Companion to Imperial Russia, 1689–1917. New York, NY: Longman Publishing Group. p. 496. ISBN 978-0-582-31990-5.
  • McKenzie, David & Michael W. Curran. A History of Russia, the Soviet Union, and Beyond. 6th ed. Belmont, CA: Wadsworth Publishing, 2001. ISBN 0-534-58698-8.
  • Moss, Walter G. A History of Russia. Vol. 1: To 1917. 2d ed. Anthem Press, 2002.
  • Perrie, Maureen, et al. The Cambridge History of Russia. (3 vol. Cambridge University Press, 2006). excerpt and text search
  • Riasanovsky, Nicholas V. and Mark D. Steinberg. A History of Russia. 7th ed. New York: Oxford University Press, 2004, 800 pages. ISBN 0-19-515394-4
  • Ziegler; Charles E. The History of Russia (Greenwood Press, 1999) online edition

1801–1917

  • Jelavich, Barbara. St. Petersburg and Moscow: Tsarist and Soviet Foreign Policy, 1814–1974 (1974)
  • Manning, Roberta. The Crisis of the Old Order in Russia: Gentry and Government. Princeton University Press, 1982.
  • Pipes, Richard. Russia under the Old Regime (2nd ed. 1997)
  • Seton-Watson, Hugh. The Russian Empire 1801–1917 (Oxford History of Modern Europe) excerpt and text search
  • Waldron, Peter (1997). The End of Imperial Russia, 1855–1917. New York, NY: St. Martin's Press. p. 189. ISBN 978-0-312-16536-9.
  • Westwood, J. N. (2002). Endurance and Endeavour: Russian History 1812–2001 (5th ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 656. ISBN 978-0-19-924617-5.

การทหาร และ การต่างประะเทศ

  • Englund, Peter (2002). The Battle That Shook Europe: Poltava and the Birth of the Russian Empire. New York, NY: I. B. Tauris. p. 288. ISBN 978-1-86064-847-2.
  • Fuller, William C. Strategy and Power in Russia 1600–1914 (1998) excerpts; military strategy
  • Jelavich, Barbara. St. Petersburg and Moscow: Tsarist and Soviet Foreign Policy, 1814–1974 (1974)
  • Saul, Norman E. Historical Dictionary of Russian and Soviet Foreign Policy (2014)excerpt and text search
  • Stone, David. A Military History of Russia: From Ivan the Terrible to the War in Chechnya excerpts

เศรษฐกิจ สังคม และ ความเชื่อ

  • Christian, David. A History of Russia, Central Asia and Mongolia. Vol. 1: Inner Eurasia from Prehistory to the Mongol Empire. (Blackwell, 1998). ISBN 0-631-20814-3.
  • Dixon, Simon (1999). The Modernisation of Russia, 1676–1825. Cambridge: Cambridge University Press. p. 288. ISBN 978-0-521-37100-1.
  • Etkind, Alexander. Internal Colonization: Russia's Imperial Experience (Polity Press, 2011) 289 pages; discussion of serfdom, the peasant commune, etc.
  • Freeze, Gregory L. From Supplication to Revolution: A Documentary Social History of Imperial Russia (1988)
  • Kappeler, Andreas (2001). The Russian Empire: A Multi-Ethnic History. New York, NY: Longman Publishing Group. p. 480. ISBN 978-0-582-23415-4.
  • Milward, Alan S. and S. B. Saul. The Development of the Economies of Continental Europe: 1850–1914 (1977) pp 365–425
  • Milward, Alan S. and S. B. Saul. The Economic Development of Continental Europe 1780–1870 (2nd ed. 1979), 552pp
  • Mironov, Boris N., and Ben Eklof. The Social History of Imperial Russia, 1700–1917 (2 vol Westview Press, 2000) vol 1 online; vol 2 online
  • Mironov, Boris N. (2012) The Standard of Living and Revolutions in Imperial Russia, 1700–1917 (2012) excerpt and text search
  • Mironov, Boris N. (2010) "Wages and Prices in Imperial Russia, 1703–1913," Russian Review (Jan 2010) 69#1 pp 47–72, with 13 tables and 3 charts online
  • Moon, David (1999). The Russian Peasantry 1600–1930: The World the Peasants Made. Boston, MA: Addison-Wesley. p. 396. ISBN 978-0-582-09508-3.
  • Stolberg, Eva-Maria. (2004) "The Siberian Frontier and Russia's Position in World History," Review: A Journal of the Fernand Braudel Center 27#3 pp 243–267
  • Wirtschafter, Elise Kimerling. Russia's age of serfdom 1649–1861 (2008)

ประวัติศาสตร์ และ ความทรงจำ

  • Burbank, Jane, and David L. Ransel, eds. Imperial Russia: new histories for the Empire (Indiana University Press, 1998)
  • Cracraft, James. ed. Major Problems in the History of Imperial Russia (1993)
  • Kuzio, Taras. "Historiography and national identity among the Eastern Slavs: towards a new framework." National Identities (2001) 3#2 pp: 109–132.
  • Olson, Gust, and Aleksei I. Miller. "Between Local and Inter-Imperial: Russian Imperial History in Search of Scope and Paradigm." Kritika: Explorations in Russian and Eurasian History (2004) 5#1 pp: 7–26.
  • Sanders, Thomas, ed. Historiography of imperial Russia: The profession and writing of history in a multinational state (ME Sharpe, 1999)
  • Smith, Steve. "Writing the History of the Russian Revolution after the Fall of Communism." Europe‐Asia Studies (1994) 46#4 pp: 563–578.
  • Suny, Ronald Grigor. "The empire strikes out: Imperial Russia,‘national’identity, and theories of empire." in A state of nations: Empire and nation-making in the age of Lenin and Stalin ed. by Peter Holquist, Ronald Grigor Suny, and Terry Martin. (2001) pp: 23–66.

แหล่งข้อมูลอื่น