ข้ามไปเนื้อหา

เยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Deutsches Reich
(ดอยท์เชสไรช์)
ค.ศ. 1945–1949
ธงชาติเยอรมนี
แผนที่แสดงอาณาเขตของเยอรมนีหลังสงคราม (สีเขียวคือเขตสหราชอาณาจักร สีเหลืองเข้มคือเขตสหรัฐอเมริกา สีฟ้าคือเขตฝรั่งเศส สีแดงคือเขตสหภาพโซเวียต ส่วนสีเหลืองอ่อนคือดินแดนที่เสียไป)
แผนที่แสดงอาณาเขตของเยอรมนีหลังสงคราม (สีเขียวคือเขตสหราชอาณาจักร สีเหลืองเข้มคือเขตสหรัฐอเมริกา สีฟ้าคือเขตฝรั่งเศส สีแดงคือเขตสหภาพโซเวียต ส่วนสีเหลืองอ่อนคือดินแดนที่เสียไป)
สถานะการยึดครองทางทหาร
เมืองหลวง
ผู้ว่าการ (ค.ศ. 1945) 
• เขตสหราชอาณาจักร
เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
• เขตฝรั่งเศส
ฌ็อง เดอ ลัทร์ เดอ ตาซีญี
• เขตสหรัฐอเมริกา
ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
• เขตสหภาพโซเวียต
เกออร์กี จูคอฟ
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
• คณะมนตรีปกครองของฝ่ายสัมพันธมิตร
5 กรกฎาคม ค.ศ. 1945
• รัฐใต้อารักขาแห่งซาร์
15 ธันวาคม ค.ศ. 1947
23 พฤษภาคม ค.ศ. 1949
7 ตุลาคม ค.ศ. 1949
12 กันยายน ค.ศ. 1990
สกุลเงิน
  • ไรชส์มาร์ค (1945–48)
  • เรนเตินมาร์ค (1945–48)
  • มาร์คเยอรมัน (ตะวันตก: 1948–49)
  • มาร์คเยอรมันตะวันออก (ตะวันออก: 1948–49)
  • มาร์คซาร์ (ซาร์: 1947–48)
  • ฟรังก์ซาร์ (ซาร์: 1948–59)
รหัส ISO 3166DE
ก่อนหน้า
ถัดไป
นาซีเยอรมนี
เยอรมนีตะวันตก
เยอรมนีตะวันออก
รัฐใต้อารักขาซาร์
เบอร์ลินตะวันตก
  1. รวมเข้ากับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก)
    ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1957
  2. รวมเข้ากับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก)
    ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990
  3. เยอรมนีรวมประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990
  4. เขตใต้ปกครองของสัมพันธมิตรฝั่งตะวันตก (ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) และเขตเบอร์ลินตะวันตก
  5. เขตใต้ปกครองของสหภาพโซเวียตและเขตเบอร์ลินตะวันออก
Map of occupied Berlin
เขตปกครองกรุงเบอร์ลินของฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งสี่เขตและดินแดนส่วนแยก (exclaves) ของเขตเบอร์ลินตะวันตก
4 occupation zones in Germany and the Saarland, 1947–1949

เมื่อนาซีเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะจึงได้แสดงสิทธิ์การปกครองเหนือดินแดนของรัฐเยอรมัน (เยอรมันไรช์) ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแนวโอเดอร์-ไนเซอ (Oder–Neisse line) และล้มล้างรัฐบาลภายใต้การปกครองของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ลง (ดูที่ปฏิญญาเบอร์ลิน ค.ศ. 1945) จากนั้นมหาอำนาจทั้ง 4 ของฝ่ายสัมพันธมิตรจึงได้แบ่งแยกเยอรมนีออกเป็น เขตยึดครอง จำนวนสี่เขตเพื่อเป้าหมายด้านการปกครอง โดยให้ฝรั่งเศสปกครองดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ สหราชอาณาจักรปกครองดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ สหรัฐปกครองดินแดนตอนใต้ และสหภาพโซเวียตปกครองภาคตะวันออก และบริเวณนี้เป็นที่รู้จักโดยรวมภายใต้ชื่อ เยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร (เยอรมัน: Alliierten-besetztes Deutschland) การแบ่งแยกนี้เป็นที่ยอมรับและให้สัตยาบัน ณ การประชุมพ็อทซ์ดัม ระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม ค.ศ. 1945[ต้องการอ้างอิง] โดยในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1944 สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต ได้ตกลงการแบ่งเขตแดนของเยอรมนีไว้ในพิธีสารลอนดอน ซึ่งทั้งหมดได้เห็นชอบให้สละดินแดนทางฝั่งตะวันออกของแนวโอเดอร์-ไนเซอ ออกจากการเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีเมื่อสิ้นสุดสงคราม และให้สนธิสัญญาสันติภาพเยอรมันฉบับสุดท้ายที่ผ่านการพิจารณาแล้ว เป็นตัวกำหนดแนวพรมแดนระหว่างโปแลนด์-เยอรมนีและสหภาพโซเวียต-โปแลนด์ (สำหรับบริเวณที่เป็นดินแดนของเยอรมนีในอดีตซึ่งถูกสละทิ้ง) เท่ากับว่าสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว "ผลักเส้นเขตแดนของโปแลนด์ไปทางทิศตะวันตก" ส่งผลให้อาณาเขตโดยประมาณกลับไปมีขนาดเท่าเดิมเมื่อปี ค.ศ. 1722

ในช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ ของการสู้รบบนภาคพื้นทวีปยุโรป กองกำลังของสหรัฐอเมริกาได้ต่อสู้จนล่วงเลยเข้าไปในอาณาบริเวณซึ่งเกินกว่าแนวยึดครองในอนาคตที่ตกลงกันไว้ บางช่วงล่วงล้ำเข้าไปเป็นระยะทางกว่า 320 กิโลเมตร (200 ไมล์) ส่งผลให้แนวบรรจบ (line of contact) ในช่วงสิ้นสุดสงครามระหว่างกองกำลังของสหรัฐอเมริกาและกองกำลังของสหภาพโซเวียต กลายเป็นเส้นเขตแดนชั่วคราวของเยอรมนีฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเลยจากเส้นเขตแดนซึ่งตกลงกันไว้แต่เดิม สองเดือนต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 ฝ่ายสหรัฐอเมริกาจึงได้ถอนกำลังออกจากอาณาบริเวณที่ตนยึดครองอยู่และคืนให้แก่สหภาพโซเวียตดังที่ได้แบ่งกันเอาไว้[1] เส้นเขตแดนชั่วคราวดังกล่าวจึงขยับเลื่อนกลับมาทางทิศตะวันตกและกลายเป็นเส้นเขตแดนที่แบ่งเยอรมนีออกเป็นสองประเทศนับแต่นั้นมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1990 นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่าการถอนกำลังดังกล่าวเป็นท่าทีสำคัญที่ช่วยโน้มน้าวให้สหภาพโซเวียตยินยอมให้สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสได้ส่วนแบ่งเขตปกครองทางฝั่งตะวันตกของกรุงเบอร์ลิน (แต่เดิมยกให้สหภาพโซเวียตปกครองกรุงเบอร์ลินทั้งหมด) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันคือเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 แม้ว่าอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญก็คือต้องการให้หน่วยราชการลับได้มีโอกาสรวมตัวกัน (ดูที่ปฏิบัติการคลิปหนีบกระดาษ)[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. What Is to Be Done? เก็บถาวร 2013-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Time, July 9, 1945
  2. Knowles, Chris (29 January 2014). "Germany 1945-1949: a case study in post-conflict reconstruction". History & Policy. History & Policy. สืบค้นเมื่อ 19 July 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]