อองซก
อองซก (หวาง ซู่) | |
---|---|
王肅 | |
เสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 256 | |
กษัตริย์ | โจฮอง / โจมอ |
เจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
เจ้าเมืองกว่างผิง (廣平太守 กว่างผิงไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 240 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 195 |
เสียชีวิต | ระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 256 และ 31 มกราคม ค.ศ. 257[a] (61 ปี) |
คู่สมรส | หยางชื่อ (羊氏)[b] เซี่ยโหวชื่อ (夏侯氏)[c] |
บุตร |
|
บุพการี |
|
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | จื่อยง (子雍) |
สมัญญานาม | จิ่งโหว (景侯) |
บรรดาศักดิ์ | หลานหลิงโหว (蘭陵侯) |
อองซก[4][5] หรือ ออกสก[6] (ค.ศ. 195–256)[7] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง ซู่ (จีน: 王肅; พินอิน: Wáng Sù) ชื่อรอง จื่อยง (จีน: 子雍; พินอิน: Zǐyōng) เป็นขุนนางและบัณฑิตลัทธิขงจื๊อของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นบุตรชายของอองลอง เมื่อบู๊ขิวเขียมเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุน อองซกแนะนำสุมาสูให้บั่นทอนขวัญกำลังใจของกลุ่มกบฏโดยการปฏิบัติต่อครอบครัวของกลุ่มกบฏอย่างให้เกียรติ ต่อมาออกซกทูลขอโจมอให้สุมาเจียวเป็นผู้สืบทอดอำนาจถัดจากสุมาสูในฐานะผู้สำเร็จราชการแห่งวุยก๊ก[8]
บุตรสาวของอองซกชื่อหวาง ยฺเหวียนจี (王元姬) สมรสกับสุมาเจียวและให้กำเนิดสุมาเอี๋ยน (จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์จิ้น) ในปี ค.ศ. 236 อองซกจึงเป็นตาของสุมาเอี๋ยน อองซกได้สืบทอดตำแหน่งและบรรดาศักดิ์หลานหลิงโหว (蘭陵侯) จากอองลองผู้บิดา[9]
อองซกรวบรวมขงจื่อเจีย-ยฺหวี่[d] (孔子家語; คำสอนในสำนักของขงจื๊อ) ฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหนังสือรวมคำสอนของขงจื๊อที่ไม่ได้รวมอยู่ในหลุน-ยฺหวี่ (論語) นักวิชาการกังขามาเป็นเวลานานว่าอาจเป็นงานปลอมแปลงโดยอองซก[7] แต่ตำราที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1977 จากสุสานซฺวางกู่ตุย (雙古堆; ปิดผนึกเมื่อ 165 ปีก่อนคริสตกาล) ที่มีชื่อว่า หรูเจียเจ่อเหยียน (儒家者言, คำสอนสำนักหรู) มีเนื้อหาที่คล้ายกับในขงจื่อเจีย-ยฺหวี่[10]
ประวัติ
[แก้]อองซกเป็นชาวอำเภอถาน (郯縣 ถานเซี่ยน) เมืองตองไฮ (東海郡 ตงไห่จฺวิ้น) ซึ่งอยู่บริเวณอำเภอถานเฉิง มณฑลชานตงในปัจจุบัน บิดาของอองซกคืออองลองขุนนางและขุนศึกในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อองซกเกิดในปี ค.ศ. 195 ในเมืองห้อยเข (會稽郡 ไคว่จีจฺวิ้น)[11] ขณะนั้นอองลองผู้บิดาดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองห้อยเข
ในปี ค.ศ. 212 อองซกมีอายุ 18 ปี ได้ศึกษาคัมภัร์ไท่เสฺวียนจิง (太玄經) กับซงต๋ง (宋忠 ซ่ง จง)[12]
ในรัชสมัยของโจผีจักรพรรดิผู้ก่อตั้งรัฐวุยก๊ก อองซกได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานทหารม้ามหาดเล็ก (散騎侍郎 ซ่านฉีชื่อหลาง) และเจ้าพนักงานสำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง) ในราชสำนักวุยก๊ก[13]
ในปี ค.ศ. 228 อองลองเสียชีวิต อองซกสืบทอดบรรดาศักดิ์หลานหลิงโหว (蘭陵侯) ของบิดา[14]
ในปี ค.ศ. 229 อองซกขึ้นมามีตำแหน่งเป็นนายทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซ่านฉีฉางชื่อ)[15] ภายหลังได้รับตำแหน่งเพิ่มเติมเป็นหัวหน้าห้องสมุดหลวง (祕書監 มี่ซูเจียน) และขุนนางผู้ประกอบพิธีบวงสรวงและสังเกตวรรณกรรม (崇文觀祭酒 ฉงเหวินกวานจี้จิ่ว)[16]
ในปี ค.ศ. 240 อองซกดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองกว่างผิง (廣平郡 กว่างผิงจฺวิ้น)[17] ภายหลังราชสำนักเรียกตัวอองซกกลับมาด้วยราชการใหญ่ และแต่งตั้งให้อองซกเป็นขุนนางที่ปรึกษา (議郎 อี้หลาง)[18] หลังจากนั้นไม่นานอองซกก็ได้ขึ้นเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) และเลื่อนขึ้นเป็นเสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง)[19] เวลานั้นโจซองขึ้นมามีอำนาจในราชสำนัก อองซกมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านพิธีกรรมที่ศาลบรรพชนจึงถูกปลดจากตำแหน่ง[20] ต่อมาไม่นานได้รับราชการในตำแหน่งเจ้าเมือง (尹 อิ่น) ของเมืองโห้หล้ำ (河南郡 เหอหนานจฺวิ้น)[21]
ในปี ค.ศ. 254 โจฮองจักรพรรดิลำดับที่ 3 ของรัฐวุยก๊กถูกปลดจากตำแหน่งจักรพรรดิ อองซกได้ถืออาญาสิทธิ์ในตำแหน่งเสนาบดีพิธีการ และเดินทางไปยังงวนเสีย (元城 ยฺเหวียนเฉิง) เพื่อเชิญเสด็จโจมอมาขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ใหม่[22]
ในปี ค.ศ. 255 บู๊ขิวเขียมและบุนขิมก่อกบฏ อองซกเสนอให้สุมาสูยกทัพไปปราบกบฏทันที[23] ภายหลังจากที่กบฏถูกปราบปราม อองซกได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารกลาง (中領軍 จงลิ่งจฺวิน) ควบตำแหน่งนายทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซ่านฉีฉางชื่อ)[24]
ในปี ค.ศ.256 อองซกเสียชีวิตและได้รับสมัญญานามว่าจิ่งโหว (景侯)[25] บุตรชายอองซกชื่อหวาง ยฺวิ่น (王惲) ได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ แต่ต่อมาหวาง ยฺวิ่นเสียชีวิตโดยไม่มีบุตรชาย เขตศักดินาที่ไม่มีผู้สืบทอดจึงถูกยกเลิกไป[26]
ในปี ค.ศ. 263 หวาง สฺวิน (王恂) บุตรชายอีกคนของอองซกได้รับบรรดาศักดิ์หลานหลิงโหวซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์แต่เดิมขอองอองซกอีกครั้ง[27]
ในปี ค.ศ. 264 เมื่อมีการก่อตั้งระบบบรรดาศักดิ์ 5 ขั้น หวาง สฺวินได้รับการตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เจิ๋งจื่อ (氶子) ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์ขั้นที่ 4 เนื่องด้วยคุณงามความดีของอองซกผู้บิดา[28]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ บทชีวประวัติอองซกในสามก๊กจี่บันทึกว่าอองซกเสียชีวิตในศักราชกำลอ (甘露 กานลู่; ค.ศ. 256-260) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของโจมอ[1] ในบทพระราชประวัติโจมอยังบันทึกว่าจักรพรรดิโจมอทรงเสด็จเยี่ยมสำนักศึกษาไท่เสฺว (太学) ในวันปิ่งเฉิน (丙辰) ของเดือน 4 ในปีนั้น ระหว่างการเสด็จเยือน อองซกได้ทูลตอบข้อซักถามของโจมอ อองซกจึงต้องเสียชีวิตหลังวันที่โจมอเสด็จเยือนซึ่งเทียบได้กับวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 256 ในปฏิทินจูเลียน ศักราชกำลอปีที่ 1 สิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 257 ในปฏิทินจูเลียน
- ↑ หยางชื่อเป็นมารดาของหวาง ยฺเหวียนจี ในปี ค.ศ. 267 หวางชื่อได้รับตำแหน่งหลังมรณกรรมเป็นเซี่ยนจฺวิน (县君) และได้รับสมัญญานามว่าจิ้ง (靖) สมัญญานามเต็มเป็น "ผิงหยางจิ้งจฺวิน" (平阳靖君)[2] ไม่ทราบแน่ชัดว่าหยางชื่อมีความเกี่ยวข้องกับเอียวเก๋า (羊祜 หยาง ฮู่) และหยาง ฮุย-ยฺหวี (羊徽瑜) หรือไม่
- ↑ เซี่ยโหวชื่อเป็นมารดาเลี้ยงของหวาง ยฺเหวียนจี ในปี ค.ศ. 286 เซี่ยโหวชื่อได้รับตำแหน่งหลังมรณกรรมเป็น"เซี่ยงจฺวินแห่งเอ๊งหยง" (荥阳乡君 สิงหยางเซี่ยงจฺวิน)[3]
- ↑ ขงจื่อเจีย-ยฺหวี่มีการแปลเป็นภาษาไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกแปลในชื่อภาษาไทยว่า ขงจื๊อ ฉบับปราชญ์ชาวบ้าน แปลโดยอธิคม สวัสดิญาณ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ครั้งที่สองแปลในชื่อภาษาไทยว่า ขงจื่อเจียอี่ว์ ปกิณกคดีขงจื่อ แปลโดยชัชชล ไทยเขียว ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2567
อ้างอิง
[แก้]- ↑ (甘露元年薨, ...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (帝以后母羊氏未崇谥号,泰始三年下诏曰:“...其封夫人为县君,依德纪谥,主者详如旧典。”于是使使持节谒者何融追谥为平阳靖君。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (太康七年,追赠继祖母夏侯氏为荥阳乡君。) จิ้นชู เล่มที่ 31
- ↑ ("ฝ่ายสุมาสูป่วยจักษุเปนต้อให้หมอมาตัดแล้วใส่ยารักษาอยู่หลายวัน พอม้าใช้มาแจ้งว่ากองทัพเมืองห้วยหลำยกมา จึงให้เชิญอองซกขุนนางผู้ใหญ่เข้ามาปรึกษาว่า กองทัพบู๊ขิวเขียมยกมาเราจะคิดอ่านประการใด อองชกจึงว่า แต่ครั้งกวนอูทหารเอกฝีมือปรากฎทั้งแผ่นดิน ลิบองคิดอ่านเกลี้ยกล่อมครอบครัวทหาร ซึ่งอยู่ในเมืองเกงจิ๋วได้แล้วก็มีชัยชนะแก่กวนอู ครั้งนี้ข้าพเจ้าคิดว่าจะให้ไปเกลี้ยกล่อมครอบครัวทหารเมืองห้วยหลำซึ่งอยู่ในแดนเมืองวุยก๊กได้แล้ว เราจึงยกกองทัพไปตั้งสกัดไว้ที่ทางบู๊ขิวเขียมจะกลับไป เห็นจะมีชัยชนะเปนมั่นคง") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 19, 2024.
- ↑ ("ขุนนางผู้ใหญ่ชื่อว่าอองซกจึงทูลว่า ขอให้พระองค์ตั้งให้สุมาเจียวเปนมหาอุปราช ว่าราชการแทนที่พี่ชายให้มีน้ำใจ พระเจ้าโจมอเห็นชอบด้วยก็ใช้ให้อองซกถือหนังสือไปหาสุมาเจียวมา จะตั้งให้เปนที่มหาอุปราช") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 19, 2024.
- ↑ ("ฝ่ายโจมอมาถึงประตูทิศเหนีอ สุมาสูก็ให้ขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยออกไปรับ ขุนนางไปถึงกระทำคำนับ โจมอก็ลงจากเกวียนกระทำคำนับขุนนางทั้งปวง ออกสกขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่งจึงว่า พระองค์อย่ากระทำคำนับข้าพเจ้าเลย โจมอจึงตอบว่าตัวข้าพเจ้านี้ก็เปนข้าแผ่นดิน จะมิคำนับท่านนั้นไม่ควร") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 19, 2024.
- ↑ 7.0 7.1 Goldin, Paul Rakita (1999). Rituals of the Way: The Philosophy of Xunzi. Open Court Publishing. p. 135. ISBN 978-0-8126-9400-0.
- ↑ สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ Shaughnessy, Edward L. (2014). Unearthing the Changes: Recently Discovered Manuscripts of the Yi Jing ( I Ching) and Related Texts. Columbia University Press. p. 190. ISBN 978-0-231-16184-8.
- ↑ (肅父朗與許靖書云:肅生於會稽。) อรรถาธิบายของเผย์ ซงจือในสามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (年十八,從宋忠讀太玄,而更爲之解。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (黃初中,爲散騎黃門侍郎。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (太和二年薨,謚曰成侯。子肅嗣。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (太和三年,拜散騎常侍。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (後肅以常侍領祕書監,兼崇文觀祭酒。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (正始元年,出爲廣平太守。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (公事徵還,拜議郎。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (頃之,爲侍中,遷太常。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (坐宗廟事免。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (徙爲河南尹。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (嘉平六年,持節兼太常,奉法駕,迎高貴鄉公于元城。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (明年春,鎮東將軍毌丘儉、揚州刺史文欽反,景王謂肅曰:「霍光感夏侯勝之言,始重儒學之士,良有以也。安國寧主,其術焉在?」肅曰:「昔關羽率荊州之衆,降于禁於漢濵,遂有北向爭天下之志。後孫權襲取其將士家屬,羽士衆一旦瓦解。今淮南將士父母妻子皆在內州,但急往禦衞,使不得前,必有關羽土崩之勢矣。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (景王從之,遂破儉、欽。後遷中領軍,加散騎常侍) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (甘露元年薨,門生縗絰者以百數。追贈衞將軍,謚曰景侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (子惲嗣。惲薨,無子,國絕。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (景元四年,封肅子恂爲蘭陵侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (咸熈中,開建五等,以肅著勳前朝,改封恂爲氶子。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.