ขงจื่อเจีย-ยฺหวี่
หน้าปกของขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ฉบับตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1895 | |
ผู้ประพันธ์ | ข่ง อานกั๋ว (ถือเป็นผู้เขียน) อองซก (เรียบเรียง) |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | 孔子家語 |
ประเทศ | ประเทศจีนยุคราชวงศ์ฮั่น |
ภาษา | ภาษาจีนโบราณ |
หัวเรื่อง | คำสอนในลัทธิขงจื๊อ |
ขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 孔子家語 | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 孔子家语 | ||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | คำสอนในสำนักของขงจื๊อ | ||||||||||||||
|
ขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ (จีน: 孔子家語) แปลว่า คำสอนในสำนักของขงจื๊อ[1] หรือ คำสอนในครอบครัวของขงจื๊อ[2] เป็นหนังสือรวมคำสอนของขงจื๊อ เขียนขึ้นในฐานะภาคผนวกของหลุน-ยฺหวี่[3]
หนังสือชื่อขงจื่อเจีย-ยฺหวี่มีมาตั้งแต่ช่วงต้นยุคราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) เป็๋นอย่างน้อย และปรากฏในอี้เหวินจื้อ (藝文志) บรรณานุกรมหลวงในศตวรรษที่ 1 โดยมี 27 ม้วนหนังสือ อย่างไรก็ตามก็มีขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นฉบับที่รวบรวมโดยอองซก (ค.ศ. 195-256) ขุนนางและบัณฑิตของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก และประกอบด้วย 10 ม้วนหนังสือและ 44 บรรพ[4]
นักวิชาการชาวจีนได้สรุปมาเป็นเวลานานว่าขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นงานปลอมแปลงในศตวรรษที่ 3 โดยอองซก โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ต้นฉบับที่มีชื่อเหมือนกัน[3] แต่ข้อสรุปนี้ถูกล้มล้างด้วยการค้นพบทางโบราณคดีของสุสานสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่ติ้งโจว (55 ปีก่อนคริสตกาล) และซฺวางกู่ตุย (165 ปีก่อนคริสตกาล)[4]
ขงจื่อเจีย-ยฺหวี่มีการแปลเป็นภาษาไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกแปลในชื่อภาษาไทยว่า ขงจื๊อ ฉบับปราชญ์ชาวบ้าน แปลโดยอธิคม สวัสดิญาณ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ครั้งที่สองแปลในชื่อภาษาไทยว่า ขงจื่อเจียอี่ว์ ปกิณกคดีขงจื่อ แปลโดยชัชชล ไทยเขียว ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2567
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kramers 1950.
- ↑ Shen 2013, p. 87.
- ↑ 3.0 3.1 Kramers 1950, p. 2.
- ↑ 4.0 4.1 中國歷代對《孔子家語》的研究. Culture China (ภาษาChinese). 2010-04-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-23. สืบค้นเมื่อ 2017-03-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
บรรณานุกรม
[แก้]- Goldin, Paul Rakita (1999). Rituals of the Way: The Philosophy of Xunzi. Open Court Publishing. ISBN 978-0-8126-9400-0.
- Kramers, Robert Paul (1950). K'ung Tzu Chia Yü: The School Sayings of Confucius. Brill Archive.
- Mair, Victor H. (ed.) (2001). The Columbia History of Chinese Literature. New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-10984-9. (Amazon Kindle edition.)
- Shaughnessy, Edward L. (2014). Unearthing the Changes: Recently Discovered Manuscripts of the Yi Jing ( I Ching) and Related Texts. Columbia University Press. p. 190. ISBN 978-0-231-16184-8.
- Shen, Vincent (2013). Dao Companion to Classical Confucian Philosophy. Springer Science & Business Media. ISBN 978-90-481-2936-2.
- Van Els, Paul (2009). "Dingzhou: The Story of an Unfortunate Tomb" (PDF). Asiatische Studien/Études Asiatiques. 63 (4): 909–941. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-19. สืบค้นเมื่อ 2024-08-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ ที่ Chinese Text Project (ในภาษาจีน)