ข้ามไปเนื้อหา

ศรีภูมิ ศุขเนตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศรีภูมิ ศุขเนตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (92 ปี)
คู่สมรสม.ร.ว.วรรณาภรณ์ ศุขเนตร

ศรีภูมิ ศุขเนตร เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ราชรัฐโมนาโกประจำกรุงเทพมหานคร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และอดีตอธิบดีกรมการบินพาณิชย์

ประวัติ

[แก้]

ศรีภูมิ ศุขเนตร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ ประกาศนียบัตรการปกครองและการคลัง มหาวิทยาลัยปารีส ระดับปริญญาโท ดิโพลม่าเทียบปริญญาโท โดย กพ. สถาบันไปรษณีย์โทรคมนาคมขั้นสูงแห่งชาติ และโรงเรียนการปกครองแห่งชาติปารีส และได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ระดับปริญญาเอก จากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งจบการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร[1]

ศรีภูมิ ศุขเนตร สมรสกับหม่อมราชวงศ์วรรณาภรณ์ ศุขเนตร มีบุตร 3 คน คือ สันธาน ศิรเวท และศิรนันท์ ศุขเนตร[2]

การทำงาน

[แก้]

ศรีภูมิ ศุขเนตร เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคม เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และกรมการบินพาณิชย์ และดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ ปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (มนตรี พงษ์พานิช) ได้ลงนามในสัญญาสัมปทานระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับใน กทม. และการใช้ประโยชน์จากที่ดินของ รฟท. หรือ โครงการโฮปเวลล์ และนายศรีภูมิ ได้ร่วมลงนามในฐานะพยาน[3] ต่อมาถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4] โดยคณะรัฐประหาร (คณะ รสช.) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534

ศรีภูมิ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการนำระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมาใช้ในประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาระบบการสื่อสารโทรคมนาคม และยังเคยเป็นประธานบริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2516[5] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2517[6] จนถึงปี พ.ศ. 2518 และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2531[7] และเป็นประธานคณะกรรมาธิการโทรคมนาคม จนถึงวันที่มีการรัฐประหารเมื่อ กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะ รสช.

ศรีภูมิ เคยเป็นนายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2534 ถึงปี พ.ศ. 2542 รวม 4 สมัย

ศรีภูมิ ศุขเนตร เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ของราชรัฐโมนาโกประจำประเทศไทย และเป็นประธานคณะกงสุลกิตติมศักดิ์แห่งประเทศไทย[8] อยู่ 15 ปี จากปี พ.ศ.2546 ถึงปี พ.ศ. 2561

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ศรีภูมิ ศุขเนตร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

ประสบการณ์การทำงาน

[แก้]

ศรีภูมิ เป็นนายกสมาคมคนแรกของสมาคมอุตสาหกรรมการบินแห่งประเทศไทย

ศรีภูมิ เป็นประธานคนแรกของสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย

ศรีภูมิ เป็นนายกสมาคมคนแรกของสมาคมนักเรียนเก่าฝรั่งเศส

ศรีภูมิ เป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าภาคพื้นยุโรปในพระบรมราชูปถัมภ์

ศรีภูมิ เป็นกรรมการบริหารรุ่นก่อตั้งของ International Satellite Organization (INTELSAT) ณ กรุงวอชิงตันดีซี

ศรีภูมิ เป็นกรรมการบริหารของบริษัทดาวเทียม IRADIUM ซึ่งจดทะเบียน ณ มลรัฐ Delaware, U.S.A.

ศรีภูมิ เป็นประธานคนแรกของสมาคมคณะกงสุลกิตติมศักดิ์ (ประเทศไทย) HCAT ซึ่งจดทะเบียนสมาคมเมื่อ พ.ศ. 2554

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติย่อกรรมการอาชีพในทำเนียบ IOD[ลิงก์เสีย]
  2. เว็บไซต์ข่าวแนวหน้า
  3. 'อาคม' ข้องใจ! ผู้บริหารคมนาคมร่วมเซ็นสัญญาโฮปเวลล์
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (พลตรี กมล ทัพพะรังสี, นายศรีภูมิ ศุขเนตร, นายอนันต์ อนันตกูล)
  5. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-10-20.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (พลโท สพรั่ง นุตสถิตย์ พลเอก อัธยา แผ้วพาลชน นายบรรจง ชูสกุลชาติ นายชาตรี โสภณพนิช นายศรีภูมิ ศุขเนตร)
  8. กงสุลกิตติมศักดิ์...ดีกรีใหม่มหาเศรษฐีเมืองไทย
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๗๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๐, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๘๙, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
  14. ดร.ศรีภูมิ ศุขเนตร รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์