ข้ามไปเนื้อหา

ธีบส์ (กรีซ)

พิกัด: 38°19′N 23°19′E / 38.317°N 23.317°E / 38.317; 23.317
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธีบส์

Θήβα
ซากปรักหักพังของแคดเมีย ป้อมปราการกลางของเมืองธีบส์โบราณ ซึ่งตั้งชื่อตามแคดมอส ผู้ก่อตั้งธีบส์ตามตำนานและกษัตริย์พระองค์แรกของธีบส์
ซากปรักหักพังของแคดเมีย ป้อมปราการกลางของเมืองธีบส์โบราณ ซึ่งตั้งชื่อตามแคดมอส ผู้ก่อตั้งธีบส์ตามตำนานและกษัตริย์พระองค์แรกของธีบส์
ธีบส์ตั้งอยู่ในประเทศกรีซ
ธีบส์
ธีบส์
Location within the region
พิกัด: 38°19′N 23°19′E / 38.317°N 23.317°E / 38.317; 23.317
ประเทศ กรีซ
แคว้นตอนกลางประเทศกรีซ
หน่วยภูมิภาคบีโอเชีย
พื้นที่
 • เทศบาล830.112 ตร.กม. (320.508 ตร.ไมล์)
 • หน่วยเทศบาล321.015 ตร.กม. (123.945 ตร.ไมล์)
ความสูง215 เมตร (705 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[1]
 • Municipality36,477
 • ความหนาแน่นMunicipality44 คน/ตร.กม. (110 คน/ตร.ไมล์)
 • Municipal unit25,845
 • ความหนาแน่นMunicipal unit81 คน/ตร.กม. (210 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมTheban
ชุมชุน[1]
 • ประชากร22,883 (2011)
 • พื้นที่ (ตร.กม.)143.889
เขตเวลาUTC+2 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (EEST)
รหัสไปรษณีย์32200
รหัสพื้นที่22620
เว็บไซต์www.thiva.gr

ธีบส์ (อังกฤษ: Thebes; กรีกโบราณ: Θῆβαι,Thēbai, เสียงอ่านภาษากรีก: [tʰɛ̂ːbai̯]: (แธไบ)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใน บีโอเชีย (Boeotia) ตอนกลางของกรีซ ธีบส์เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในเทพปกรณัมกรีก โดยเป็นสถานที่ของตำนานเกี่ยวกับวีรบุรุษและเทพเจ้าสำคัญ ๆ ของกรีซ เช่น แคดมอส อีดิปัส ไดโอไนซัส ฯลฯ การขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่รอบ ๆ ธีบส์ เผยให้เห็นการตั้งรกรากของอารยธรรมไมซีนี และการขุดค้นยังพบอาวุธ ศิลปะงาช้าง รวมทั้งแผ่นจารึกดินเหนียวไลเนียร์บี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่นี้ในยุคสำริด

ธีบส์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในท้องที่บีโอเชียสมัยโบราณ และเป็นผู้นำของสหพันธรัฐบีโอเชีย (Boeotian confederacy) ในสมัยอาร์เคอิก และสมัยคลาสสิคของกรีซ ธีบส์เคยเป็นเมืองคู่แข่งที่สำคัญของเอเธนส์โบราณ และเคยเข้าเป็นพันธมิตรกับเปอร์เซีย ในตอนที่เปอร์เซียภายใต้กษัตริย์เซิร์กซีสยกทัพเข้ารุกรานกรีซ ช่วงปีที่ 480 ก่อนค.ศ. กองกำลังของธีบส์ภายใต้บัญชาการของอีพามินอนดัส (กรีกโบราณ: Ἐπαμεινώνδας) นำจุดจบมาสู่อำนาจทางทหารของสปาร์ตายุทธการลิวค์ตรา ในปีที่ 371 ก่อน ค.ศ. ต่อมาในปีที่ 338 ก่อนค.ศ. กองพันศักดิ์สิทธิ์แห่งธีบส์ - หน่วยรบหัวกระเด็น (elite) ของธีบส์ที่เคยเป็นที่หวาดกลัวไปทั่วกรีซ - ได้ล้มลงในสมรภูมิที่ไคเรอนีอา (Battle of Chaeronea) อย่างอาจหาญต่อพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาเกโดเนียฯ ต่อมาอเล็กซานเดอร์เผาทำลายเมืองธีบส์ลงอย่างราบคาบ เพราเห็นว่าไม่ยอมศิโรราบแก่พระองค์ จึงเผาเมืองเสียให้เป็นเยี่ยงอย่างในปีที่ 335 ก่อน ค.ศ. แล้วขายชาวเมืองที่รอดชีวิตไปเป็นทาส ปิดฉากความเป็นนครรัฐที่มีอำนาจโดดเด่นในกรีซของธีบส์ลง

เมืองธีบส์ในปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์ทางโบราณคดี ซากหลงเหลือของป้อมยุคสำริด แคดเมีย และซากปรักหักพังโบราณยังปรากฎให้เป็นอยู่ทั่วไป เมืองธีบส์สมัยใหม่ยังคงเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตปกครองบีโอเชีย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ยุคอาร์เคอิก และยุคคลาสสิค

[แก้]
แผนที่ของเมืองธีบส์โบราณ.

ธีบส์ มีฉายาเรียกขานมาแต่โบราณว่า "เมืองที่มีเจ็ดประตู" (กรีกโบราณ: Θῆβαι ἑπτάπυλοι, Thebai heptapyloi; "seven-gated Thebes") ซึ่งปรากฎในมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์ เพื่อไม่ให้สับสนกับเมืองธีบส์ของอียิปต์

ธีบส์เริ่มมีความขัดแย้งกับเอเธนส์ เป็นครั้งแรกราวปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนค.ศ. เนื่องจากเอเธนส์ช่วยให้พลาทีอา (Plataea) ซึ่งตอนนั้นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ให้สามารถคงความเป็นอิสระของตนจากธีบส์ไว้ได้ และเอเธนส์ยังขับทัพของธีบส์ไม่ให้รุกเข้ามาในแอตติกาได้ ความขัดแย้งกับเอเธนส์ทำให้ธีบส์ตัดสินใจไปเข้ากับฝ่ายเปอร์เชีย ซึ่งยกทัพมารุกรานกรีซในปีที่ 480-479 ก่อน ค.ศ. โดยแม้ตอนแรกธีบส์จะส่งกำลังหนุนจำนวน 400 นาย ไปร่วมรบกับทัพของสปาร์ตาที่เทอร์มอพิลี แต่หลังจากนั้นชนชั้นปกครองของธีบส์ก็หันมาเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าเซิร์กซีสอย่างขมีขมัน และร่วมกับทัพเปอร์เซียต่อสู้กับฝ่ายกรีกอย่างดุเดือดในยุทธการที่พลาตีอา ครั้นเมื่อฝ่ายกรีกได้ชัยต่อเปอร์เซีย ธีบส์ก็ถูกลงโทษโดยถูกปลดจากตำแหน่งประธานของสันนิบาตบีโอเชีย (Boeotian) และยังเกือบถูกขับออกจากสันนิบาตแอมฟิกทีโอนี แห่งเดลฟี (Delphic Amphictyonic) อันเป็นสมาชิกภาพที่สำคัญของศาสนากรีกโบราณ

เหรียญโบราณแสดงรูปโล่แบบที่ชาวบีโอเชียใช้ (Boeotian shield)

ตำนานก่อตั้งในเทพปกรณัม

[แก้]

ตามตำนานกรีก มหาเทพซุสไดตกหลุมรักนางยูโรปา บุตรีของกษัตริย์ฟีนิเชียน อะเกนอร์ (Agenor) กับราชินีเทเลแฟซซา (Telephassa) เพื่อหนีความริษยาของเฮรามเหสีของพระองค์ ซุสจึงแปลงกลายเป็นโคตัวผู้มีสีขาวตลอดทั้งกาย แล้วก็ลักพานางยูโรปาไปจนถึงเกาะครีต อเกนอร์สั่งให้เหล่าบุตรชายของตนออกตามหายูโรปา โดยมีเทเลแฟซซาผู้เป็นแม่ติดตามไปด้วย คณะติดตามเดินทางผ่านทั้งโรดส์ และเทรเซีย (Thrace) แต่ก็ยังไม่ได้อะไร แคดมอสหนึ่งในกลุ่มพี่น้องก็เดินทางมาถึงเมืองโฟซิส (Phocis) แล้วขึ้นไปยังเดลฟีเพื่อขอคำแนะนำจากพิเธีย (Pythia) ผู้นำนักบวชหญิงแห่งวิหารอะพอลโล พิเธียบอกให้แคดมอสเลิกค้นหา แล้วให้ตามวัวตัวแรกที่ตนพบไปเรื่อย ๆจนกระทั่งมันหยุด แล้วให้ตั้งเมืองขึ้น ณ ที่นั้น แคดมอสปฏิบัติตามคำแนะนำ แล้วติดตามวัวตัวหนึ่งไปจนถึงบีโอเชีย จากนั้นก็ตั้งใจจะสังเวยวัวให้เป็นของขวัญแด่อะธีน่า แต่ไม่อาจหาน้ำมาทำการหลั่งทักษิโณทกได้ เพราะมีมังกรตัวหนึ่งขวางทางไปเอาน้ำไว้ แคดมอสจึงสู้กับมังกรนั้นอย่างดุเดือดแล้วฆ่ามังกรเสีย ทันใดนั้นอะธีนาก็ปรากฎตัวขึ้นและแนะนำเอาเขี้ยวมังกรไปฝังดินไว้ เมื่อแคดมอสปฏิบัติตามก็ปรากฎมีมนุษย์ที่ติดอาวุธผุดขึ้นมากลุ่มหนึ่ง แคดมอสจึงเรียกคนพวกนั้นว่า "สปาร์ตอย" (กรีกโบราณ: Σπαρτοί,; ละติน: Spartes) เพราะความที่เป็น "คนที่หว่านเพาะลง( ในดิน)" จากนั้นคนกลุ่มนั้นก็เริ่มฆ่าฟันกันเองจนเหลื่อ ๕ คน คือ Echion, Udeos, Chthonios, Hyperenor, และ Peloros แคดมอสจึงร่วมกับพวกนี้ตั้งเมืองขึ้น ชื่ว่า แคดเมีย (Cadmea)[2]

แอมฟิออนตั้งเมืองธีบส์

[แก้]

หลายปีผ่านไปแอมฟิออน (Amphion) และซีธัส (Zethus) บุตรของซุสกับนางมนุษย์ชื่อแอนไทโอปี (Antiope) เติบโตขึ้น โดยแอมฟิออนกลายเป็นนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ เพราะได้วิชาดนตรีที่เทพเฮอร์มีสสอนให้ และสามารถเคลื่อนก้อนหินหรือของหนัก ๆ ได้ด้วยเสียงดนตรี ในขณะที่ซีธัสกลายเป็นพรานล่าสัตว์ ทั้งสองสร้างกำแพงหินรอบเมืองแคดเมีย แล้วตั้งชื่อเมืองนั้นว่า ธีบส์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ ธีบ (Thebe) ภรรยาของซีธัส ผู้เป็นอัปสรนิมฟ์ลูกสาวของแม่น้ำอะโซปัส (Asopus) แม่น้ำสายหนึ่งในบีโอเชีย


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Απογραφή Πληθυσμού - Κατοικιών 2011. ΜΟΝΙΜΟΣ Πληθυσμός" (ภาษากรีก). Hellenic Statistical Authority.
  2. "Mythologie grecque : Cadmos". mythologica.fr. สืบค้นเมื่อ October 9, 2016.