ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์นี-ฮอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ของสถานที่ที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวข้องกับฟาโรห์นี-ฮอร์

นี-ฮอร์ เป็นฟาโรห์ที่อาจจะทรงตัวตนอยู่จริงจากสมัยยุคก่อนราชวงศ์ พระนามของพระองค์มีความหมายว่า "นักล่า" ตามคำกล่าวของนักอียิปต์วิทยา แวร์เนอร์ ไคเซอร์[1] พระองค์อาจจะทรงปกครองในช่วงศตวรรษที่ 31 ก่อนคริสต์ศักราช[2]

พระนาม

[แก้]

ถึงแม้ว่าจะมีการตีความพระนามที่ไม่เหมือนกัน แต่เชื่อกันว่าพระนามของพระองค์นามว่า Ḥr-nj / Ḥr-nw หมายความว่า พระองค์ทรงเป็นของเทพฮอรัส/นักล่าแห่งฮอรัส[3]

อย่างไรก็ตาม พระนามเซเรคของพระองค์นั้นไม่เหมือนกับพระนามของฟาโรห์ในช่วงเวลาหลังตรงที่พระนามของพระองค์ไม่ปรากฏสัญลักษณ์รูปเหยี่ยวฮอรัสรวมอยู่ด้วย ซึ่งไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด แต่อาจเป็นเพราะพระองค์อาจจะทรงมีพระชนม์ชีพมาก่อนประเพณีการตั้งพระนามรูปแบบดังกล่าว หรือพระองค์ทรงไม่ถือว่าเป็นกษัตริย์ตามที่เข้าใจกันในภายหลัง พระนามรูปแบบต่างๆ ของพระองค์ ได้แก่ นี-ฮอร์ และฮอร์-นิ

หลักฐานที่ปรากฏที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

พระนามของฟาโรห์นี-ฮอร์ปรากฏอยู่บนภาชนะดินเผาและหินที่พบในสุสานใกล้กับทาร์คัน และในทูรา[4] และทาร์จัน[5] และนะกอดะฮ์ หลักฐานเกี่ยวกับการปกครองของพระองค์ปรากฏน้อยมากและการมีอยู่ของพระองค์ยังถูกเป็นที่สงสัยโดยงานวิจัยบางส่วน และความคิดเห็นเกี่ยวกับการอ่านและการตีความพระนามี่แท้จริงนั้นถูกแบ่งออก ได้แก่

  • นักไอยคุปต์วิทยาบางคนเชื่อว่า นี-ฮอร์ เป็นอีกหนึ่งพระนามของฟาโรห์นาร์เมอร์[6]
  • ในทางกลับกัน โทมัส ชไนเดอร์, กุนเตอร์ เดรเยอร์ และแวร์เนอร์ ไคเซอร์ คิดว่า ฟาโรห์นี-ฮอร์ ไม่ได้เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์นาร์เมอร์ เนื่องจากกระดูกที่ค้นพบในหลุมฝังศพในทาร์คันน่าจะมีอายุก่อนช่วงเวลาที่ฟาโรห์นาร์เมอร์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่[8]
  • ในทางกลับกัน ลุดวิก ดี. โมเรนซ์ นักไอยคุปต์วิทยา ยังไม่สามารถระบุฟาโรห์พระองค์ได้ เนื่องจากหลักฐานยังน้อยเกินไปในเวลานี้

พระราชประวัติ

[แก้]
พระนามเซเรคของฟาโรห์นี-ฮอร์

ไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับการปกครองของพระองค์ และการมีตัวตนอยู่ของพระองค์ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

ฟาโรห์ฮอรัส นิ (นี-ฮอร์) ทรงเป็นผู้ปกครอง (ที่เป็นไปได้) ของอียิปต์ล่างในช่วงสมัยยุคก่อนราชวงศ์ ซึ่งทรงมีพระชนม์ชีพอยู่และทรงปกครองประมาณ 3200–3175 ปีก่อนคริสตกาล คำจารึกพระนามของพระองค์มาจากทาร์คัน, ทูรา และนะกอดะฮ์

สันนิษฐานว่าพระองค์น่าจะมาจากราชวงศ์ที่เป็นคู่แข่งทางการปกครองกับผู้ปกครองจากไทนิส เมื่อ 150 ปีก่อนที่ฟาโรห์แห่งไทนิสจะทรงเข้ามายึดครองดินแดนของพระองค์และทรงสถาปนาราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Ancient Egypt - Dynasty 0". www.narmer.pl. สืบค้นเมื่อ 2019-10-06.
  2. "Egypt - Protodynastic Period - 3200 to 3100 BCE". www.soaringweb.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-06. สืบค้นเมื่อ 2019-10-06.
  3. Ludwig David Morenz: Bild-Buchstaben und symbolische Zeichen. Die Herausbildung der Schrift der hohen Kultur Altägyptens (= Orbis Biblicus et Orientalis 205). Fribourg 2004, ISBN 3-7278-1486-1. page 31-32.
  4. Werner Kaiser & Günter Dreyer: Umm el-Qaab - Nachuntersuchungen im frühzeitlichen Königsfriedhof. page. 211–269.
  5. W. Kayser, G. Dreyer: Umm el-Qaab. Nachuntersuchungen im frühzeitlichen Königsfriedhof. 2. Vorbericht, Mitteilungen des deutschen archäologischen Instituts Kairo 38 (1982), p.p. 211-269
  6. Toby: A. H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt, London 1999, S. 54, ISBN 0415186331
  7. Toby A. H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt - Strategy, Security and Society. Routledge, London 1999, ISBN 0-415-18633-1. page 54.
  8. Werner Kaiser, Günter Dreyer: Umm el-Qaab. Nachuntersuchungen im frühzeitlichen Königsfriedhof. 2. Vorbericht. In: Mitteilungen des deutschen archäologischen Instituts, Abteilung Kairo. (MDAIK) Nr. 38, von Zabern, Mainz 1982. page 211–269.