ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคพลังประชารัฐ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล พรรคการเมือง
{{กล่อง
|logo= [[ไฟล์:พรรคพลังประชารัฐ.png|200px]]
|flag=
|name=พรรคพลังประชารัฐ
|ก่อตั้ง={{start date and age|2018|3|2}}<ref>[https://www.jaymag.it/wp-content/uploads/2015/04/metallica-300x225.jpg สรุปข้อมูลรายชื่อพรรคที่ออกหนังสือเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมือง (ณ วันที่ 21 กันยายน 2561)]</ref>
|country=ไทย
|สี=blue
|colors={{colorbox|blue}} สีน้ำเงิน
|หัวหน้าพรรค=[[อุตตม สาวนายน]]
|เลขาธิการ=[[สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์]]
|slogan= โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง<ref>{{cite web |url=https://www.naewna.com/politic/367119 |title=เปิดสโลแกน‘พลังประชารัฐ’…ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย|website=[[แนวหน้า]]|date=29 กันยายน 2561|access-date=23 กุมภาพันธ์ 2562}}</ref><br>สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน<ref>{{cite web |url=https://www.naewna.com/politic/386884 |title='พปชร.'ไม่สนเลื่อนเลือกตั้ง!‘อุตตม’ดีเดย์6ม.ค.ประกาศนโยบายหาเสียง|website=[[แนวหน้า]]|date=4 มกราคม 2562|access-date=23 กุมภาพันธ์ 2562}}</ref>
|membership_year = 2562
|membership = 21,277 คน<ref>[https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20190318074234.pdf ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 13 มีนาคม 2562]</ref>
|ideology= [[กษัตริย์นิยม]]<ref>{{cite web|url=http://www.cpg-online.de/asia-in-review-sea-thailand/|title=Asia in Review SEA Thailand - German-Southeast Asian Center of Excellence for Public Policy and Good Governance (CPG)|publisher=|accessdate=13 March 2019}}</ref><br>[[อนุรักษนิยม]]<ref>{{cite web|url=https://www.tnnthailand.com/content/7499|title=“พรรคพลังประชารัฐ”เปิดตัวยิ่งใหญ่ “อุตตม”นั่งแท่นหัวหน้าพรรค|website=Tnnthailand.com|accessdate=13 March 2019}}</ref><br />นิยมทหาร<ref>{{cite web|url=http://www.fitchsolutions.com/country-risk-sovereigns/2019-political-preview-emerging-market-elections-focus-13-08-2018|title=2019 Political Preview: Emerging Market Elections In Focus|date=13 August 2018|website=Fitchsolutions.com|accessdate=13 March 2019}}</ref>
|position=[[การเมืองฝ่ายขวา|ขวา]]<ref>{{cite web|url=http://www.nationmultimedia.com/detail/politics/30351962|title=Former Khon Kaen MP Premsak holds hands with Sam Mitr leader|website=The Nation|accessdate=13 March 2019}}</ref>
|สำนักงานใหญ่= 130/1 อาคารปานศรี ซอยรัชดาภิเษก 54 [[ถนนรัชดาภิเษก]] แขวงลาดยาว [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10900
|seats1_title = [[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25|สภาผู้แทนราษฎร]]
|seats1 = {{Composition bar|115|500|hex=#4061a6}}
|website=https://www.pprp.or.th/
}}

'''พรรคพลังประชารัฐ''' ([[อักษรย่อ|ย่อ]]: พปชร.) เป็นพรรคการเมืองทหารนิยม ชาตินิยม และอนุรักษนิยมผสมเสรีนิยม ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งถูกมองว่าเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างความชอบธรรมให้แก่[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]]ในระบอบประชาธิปไตย ภายในพรรคประกอบด้วยอดีตรัฐมนตรีใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61|คณะรัฐมนตรีประยุทธ์]] รวมทั้งมีการรับนักการเมืองหลายกลุ่มเข้าสังกัด ทั้งเครือญาติอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อดีตนักการเมืองท้องถิ่น อดีตแกนนำ[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] อดีต ส.ส. [[พรรคไทยรักไทย]] และอดีต ส.ส. [[พรรคประชาธิปัตย์]] และอดีตแกนนำ [[กปปส.]] ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562]] พรรคเสนอชื่อพลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] หัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] และนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้งให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:53, 27 พฤษภาคม 2562

{{กล่อง

ประวัติ

ชวน ชูจันทร์ ประธานประชาคมตลาดน้ำคลองลัดมะยม และพันเอก สุชาติ จันทรโชติกุล อดีต ส.ส. สงขลา พรรคความหวังใหม่ และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นผู้จดจองชื่อพรรคพลังประชารัฐต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2561[1] ชื่อพรรค "พลังประชารัฐ" เป็นชื่อนโยบายช่วยเหลือคนยากจนที่สำคัญของรัฐบาลประยุทธ์[2]

พรรคได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม "สามมิตร" ซึ่งมีแกนนำเป็นอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ได้แก่ สมศักดิ์ เทพสุทิน, สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจและสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ซึ่งยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอยู่ กลุ่มดังกล่าวพยายามดึงตัวสมาชิกรัฐสภาทั้งจากพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มดังกล่าวสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ขณะที่ยังมีคำสั่ง คสช. ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น

พรรคจัดประชุมสามัญใหญ่ของพรรคเป็นครั้งแรกในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 ปรากฏว่า อุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลประยุทธ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลประยุทธ์เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มีบุคคลกว่า 150 คนเข้าร่วมพรรคพลังประชารัฐ โดยมีทั้งอดีตสมาชิกรัฐสภา อดีตรัฐมนตรีและบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งในจำนวนนี้มีสมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชน สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย และสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา[3] นักการเมืองท้องถิ่น รวมถึงอดีตแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[4]

วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ[5] ในเดือนมกราคม 2562 สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 4 คนที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่งเพื่อมาหาเสียงเต็มเวลา หลังถูกวิจารณ์มาหลายเดือน[6]

การเลือกตั้งทั่วไปปี 2562

พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวตามบัญญัติรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 แม้มีพรรคการเมืองหลายพรรคสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่พรรคพลังประชารัฐถูกมองว่าเป็น "พรรคนิยมประยุทธ์อย่างเป็นทางการ" เพราะแกนนำพรรคหลายคนเป็นรัฐมนตรีและที่ปรึกษาในรัฐบาลประยุทธ์[7][8]

ในการเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้คำมั่นขยายโครงการสวัสดิการ[9] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐเสนอปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 425 บาท ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นนโยบายประชานิยม ทำไม่ได้จริง หรือทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน แต่พรรคยืนยันว่าสามารถทำได้จริง[10]

พรรคพลังประชารัฐถูกร้องเรียนว่าได้รับการสนับสนุนอย่างลำเอียงจากเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐ[11][12] ในเดือนพฤศจิกายน 2561 รัฐบาลประยุทธ์อนุมัติงบประมาณอัดฉีดเงินสด 86,700 ล้านบาท[13] ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นการใช้เงินภาษีซื้อเสียง[14] นอกจากนี้ พรรคพลังประชารัฐยังถูกกล่าวหาว่ามีการให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐเพื่อแลกกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นนโยบายช่วยเหลือคนยากจนของรัฐบาล[15]

พลเอกประยุทธ์ใช้อำนาจเต็มที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 สั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งวาดเขตเลือกตั้งใหม่[16][17][18] นักวิจารณ์ระบุว่า การวาดเขตเลือกตั้งใหม่นี้เอื้อประโยชน์ต่อพรรคพลังประชารัฐ โดยบางคนให้ความเห็นว่า พรรคพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว[19]

วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุนมูลค่า 600 ล้านบาท โดยมีแผนที่ซึ่งมีชื่อหน่วยงานของรัฐ เช่น กระทรวงการคลัง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมด้วย ทำให้มีข้อกังขาว่ามีการใช้เงินภาษีหรือหาผู้บริจาคหรือผู้ซื้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหน่วยงานดังกล่าวซึ่งอาจต้องมีการตอบแทนในอนาคต[20] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 พรรคเปิดเผยชื่อผู้บริจาคในงานดังกล่าวตามระเบียบ 90 ล้านบาท โดยเป็นชื่อผู้ได้รับสัมปทานจากรัฐเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม พรรคไม่ได้เปิดเผยแหล่งที่มาของเงินบริจาคที่เหลือ[21] วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562 กกต. เปิดเผยว่า ไม่พบความผิดที่พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุน เนื่องจากไม่พบบุคคลต่างชาติบริจาคเงิน จึงไม่มีความผิดและไม่ต้องยุบพรรค[22] ทว่าต่อมาสำนักข่าวอิศราพบว่า มีกลุ่มทุนจากประเทศไอซ์แลนด์ถือหุ้นในบริษัทที่บริจาคเงินให้พรรคพลังประชารัฐ[23]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นคำร้องไต่สวนยุบพรรค เนื่องจากเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาซึ่งถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามเพราะดำรงตำแหน่งทางการเมือง[24] ต่อมา ผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ และจะไม่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองต่อ[25] วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นเอาผิดจากกรณีปราศรัยนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาหาเสียง เข้าข่ายความผิดฐานเตรียมทรัพย์สินเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้ง[26]

ผลการเลือกตั้งเบื้องต้นพบว่าพรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. มากเกินคาด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครสามารถแย่งที่นั่งจากพรรคประชาธิปัตย์ได้ทั้งหมด ทำให้ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์ข่าวหุ้น เขียนว่า คนชั้นกลางเก่าอนุรักษนิยมที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์หันไปเลือกพรรคพลังประชารัฐแทน แสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์เพราะเกลียดทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ใบตองแห้งยังเขียนว่า พรรคพลังประชารัฐใช้ปัจจัยในการเมืองแบบเก่าเพื่อเอาชนะ คือ นโยบายประชานิยม ส.ส.ที่ดูดจากพรรคอื่น ประกอบกับอำนาจรัฐราชการ นอกเหนือจากฐานเสียงอนุรักษนิยมในต่างจังหวัด องค์ประกอบของรัฐบาลที่อาจเกิดจากพรรคพลังประชารัฐตั้งจะมีองค์ประกอบจะเป็นนักการเมืองทุนท้องถิ่น ย้อนกลับไปเหมือนสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ[27]

อ้างอิง

  1. จดพรรคใหม่คึก มารอแต่เช้ามืด ไทยรัฐ 2 มีนาคม 2561
  2. "PM allows ministers to back parties". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-27.
  3. "150+ Politicos Defect to New Pro-Junta Party". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-11-27. สืบค้นเมื่อ 2018-11-27.
  4. "นับคะแนน 112 อดีต ส.ส./ผู้สมัคร ส.ส. ซบพลังประชารัฐลุยเลือกตั้ง 62". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐ
  6. "Palang Pracharath ministers resign from cabinet". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.
  7. "'Three Friends' Join Pro-Junta Party, Say Charter Favors Them". Khaosod English. 19 November 2018.
  8. "Parties propose poll date". Bangkok Post. 30 June 2018.
  9. Asaree Thaitrakulpanich (February 27, 2019). "Thai Election for Dummies: Guide to the Parties". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 3-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. "รุมถล่มยับค่าจ้าง 425 บาท พรรคพลังประชารัฐฟุ้ง เป็นรัฐบาลทำได้จริง". ไทยรัฐ. 17 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 17-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  11. Mongkol Bangprapa (2 July 2018). "EC asked to nip Palang Pracharat in the bud". Bangkok Post.
  12. "'No special treatment for pro-Prayut group'". The Nation. 3 July 2018.
  13. "EC to investigate cash handout spree". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  14. "PPRP 'not shaken' by EC's cash handout investigation". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  15. "ชาวบ้าน "เลิงนกทา" แฉ ต้องสมัครสมาชิก พปชร. ถึงได้บัตรคนจน แถมเงินกลับบ้านอีก 100 บาท". Pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  16. "New EC boundary ruling under fire". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-28.
  17. "EC under microscope for gerrymandering over designing of boundaries - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-28.
  18. "EC completes redrawing of constituencies - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-28.
  19. "Election has already been won, so what now? - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  20. "Sontirat: Dinner table map doesn't belong to party". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  21. "ต้องโชว์ทุกเดือน! กาง กม.เงินบริจาคพรรค-ลุ้นก้อน 532 ล.งานโต๊ะจีน พปชร.ใครทุนใหญ่?". Isranews.org. 2019-01-28. สืบค้นเมื่อ 2019-02-03.
  22. "เลือกตั้ง 2562 : "พลังประชารัฐ" รอดยุบพรรค ระดมทุนโต๊ะจีนไร้เงินต่างชาติ". ไทยพีบีเอส. 12 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-13.
  23. "'สำนักข่าวอิศรา' แกะรอยทุนไอซ์แลนด์ถือหุ้นบริษัทบริจาคโต๊ะจีน พปชร. พบใช้ที่อยู่เดียวกับนิติบุคคลในเอกสาร Offshore Leaks". ประชาไท. 2019-03-16. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
  24. "ร้อง กกต.ยุบพลังประชารัฐคัดค้าน "ตู่" แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี". ไทยรัฐ. 16 ก.พ. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
  25. ""ประยุทธ์"รอด!ผู้ตรวจฯชี้ ไม่มีสถานะ"จนท.อื่นของรัฐ"". เดลินิวส์. 14 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
  26. "เพื่อไทยยื่นเอาผิด พลังประชารัฐ ปราศรัยหาเสียงสัญญาว่าจะให้ "บัตรคนจน"". ไทยรัฐ. 14 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
  27. "การเมืองยุคตู่ Vs ธนาธร". ข่าวหุ้น. 25 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.

แหล่งข้อมูลอื่น