ฟาโรห์เนเฟอร์คาเร เนบิ
ฟาโรห์เนเฟอร์คาเร เนบิ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เนเฟอร์คาเรที่ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คาร์ทูธของฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | ไม่ทราบ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เนเฟอร์คาเรที่ 2? | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ดเจดคาเร เซไม? | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | เปปิที่ 2 หรือ เมเรนเร เนมติเอมซาฟที่ 2 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชมารดา | พระนางอังค์เอสเอนเปปิที่ 2? | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | พีระมิดที่ซัคคารา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์? |
เนเฟอร์คาเร เนบิ (หรือ เนเฟอร์คาเรที่ 3) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่เจ็ดหรือแปดในสมัยต้นช่วงระหว่างกลางที่ 1 (2181 - 2055 ปีก่อนคริสตกาล)[1] ตามนักไอยคุปต์วิทยาอย่าง เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท และดาร์เรล เบเกอร์ พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์ที่เจ็ดแห่งอียิปต์ เนื่องจากพระองค์ปรากฏเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สี่จากบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอสที่ระบุว่าพระองค์อยู่ในราชวงศ์นี้[2][1]
ในบันทึกพระนามฯ (หมายเลขที่ 43) พระนามของฟาโรห์เนเฟอร์คาเร เนบิ สามารถอ่านได้อย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากพระนามของฟาโรห์หลายพระองค์ที่พระนามเสียหาย และหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยอีกสองชิ้นมายืนยันได้ มี่จริงแล้วพระนามของพระองค์ปรากฏอยู่บนประตูหลอกที่หลุมฝังพระศพของพระนางอังค์เอสเอนเปปิที่ 2 และยังถูกสลักไว้บนโลงพระศพของพระนางด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าฟาโรห์เนเฟอร์คาเร เนบิ อาจเป็นพระโอรสของพระนางอังค์เอสเอนเปปิที่ 2 กับฟาโรห์เมอร์เอนเร เนมติเอมซาฟที่ 1[1] ในจารึกของพระนางอังค์เอสเอนเปปิที่ 2 นั้นได้บันทึกไว้ว่าฟาโรห์เนเฟอร์คาเร เนบิ ทรงโปรดให้เริ่มสร้างพีระมิด ซึ่งอาจจะตั้งอยู่ที่ซีคคารา และพระราชทานนามพีระมิดว่า Ḏd-ˁnḫ Nfr-k3-rˁ nbjj (ดเจดอังค์ เนเฟอร์คาเร เนบิ) ซึ่งมีความหมายว่า "เนเฟอร์คาเร เนบิ เป็นผู้คงอยู่แห่งชีวิต" [2] ไม่ทราบตำแหน่งที่ตั้งของพีระมิดและน่าจะไม่เคยเข้าสู่ขั้นตอนการก่อสร้างอย่างมีนัยสำคัญ[1]
พระนามของพระองค์ไม่ปรากฏในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินเช่นเดียวกับฟาโรห์หลายพระองค์ในราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ เนื่องจากความเสียหายขนาดใหญ่ในบันทึกดังกล่าว ซึ่งส่งผลแก่การระบุตำแหนงพระนามของพระองค์ที่ได้ระบุไว้[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Darrell D. Baker, The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I – Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 267-268.
- ↑ 2.0 2.1 Jürgen von Beckerath, Handbuch der ägyptischen Königsnamen (Münchner Ägyptologische Studien 20), 1984.
- ↑ Kim Ryholt, “The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris”, Zeitschrift for ägyptische Sprache 127, 2000, p. 99.