ฟาโรห์ปิเย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปิเย หรืออาจจะเรียกว่า พิอังค์อิ[2] เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรคุชโบราณและได้ก่อตั้งราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า เป็นผู้ปกครองแห่งอียิปต์ระหว่าง 744-714 ปีก่อนคริสตกาล[3] พระองค์ปกครองอยู่ที่เมืองนาปาตา ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณนิวเบีย หรืออยู่ในประเทศซูดานในปัจจุบัน

พระนาม[แก้]

พระองค์มีพระนามตอนขึ้นครองราชย์สองพระนามคือ อูซิมาเร และ สเนเฟอร์รู[4] พระองค์ได้ศรัทธาและได้บูชาเทพอามุนเช่นเดียวกับกษัตริย์นิวเบียหลายพระองค์ พระองค์ทรงบูรณะวิหารอันยิ่งใหญ่ของอามุนที่เจเบล บาร์กัล ซึ่งถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อรัชสมัยของฟาโรห์ทุตโมสที่สามแห่งราชอาณาจักรใหม่ โดยทำการว่าจ้างช่างแกะสลักหินจากอียิปต์มากมาย และเคยสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะพระนามตอนขึ้นครองราชย์ว่า 'เมนเคปเปอร์เร' แต่ปัจจุบันได้เชื่อพระนามนี้อาจจะเป็นของผู้ปกครองท้องถิ่นของเมืองธีบส์นามว่า ไอนิ ซึ่งเป็นผู้ปกครองในเวลาไล่เลี่ยกับรัชสมัยของฟาโรห์ปิเย[5]

ด้านครอบครัว[แก้]

พระองค์เป็นพระราชโอรสของกษัตริย์คาซตาและพระราชินีเปบาทจ์มา พระองค์อาจจะมีพระมเหสีสามถึงสี่พระองค์ โดยพระมเหสีนามว่า อาบาร์ เป็นพระราชมารดาของฟาโรห์ทาฮาร์กา พระมเหสีอีกสามพระองค์คือ ทาบิริ, เพกซาเตอร์ และเคนซา[6]

พระนามของพระโอรสและธิดาของฟาโรห์ปิเย:

  • ฟาโรห์เชบอิทกู. กล่าวกันว่าเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ปิเย หรือพระอนุชาของฟาโรห์ปิเย
  • ฟาโรห์ทาฮาร์กา. พระโอรสของพระราชินีอาบาร์ พระอาจจะขึ้นครองราชย์หลังรัชสมัยของฟาโรห์ซาบาคา ซึ่งเป็นพระปิตุลา และพระญาติองค์อื่นคือฟาโรห์เชบอิทกู
  • พระมเหสีแห่งอามุนนามว่าเซเพนเวเพตที่ 2. อยู่ที่เมืองธีบส์ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์ทาฮาร์กา ซึ่งเป็นพระเชษฐา
  • กัลฮาตา, พระมเหสีของฟาโรห์ซาบาคา, พระองค์เป็นพระมารดาของฟาโรห์ทันทามานิ และอาจจะฟาโรห์เชบอิทกูอีกด้วย
  • ทาเบเคนอามุน ทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทาฮาร์กา ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์
  • นาปาราเย ทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทาฮาร์กา
  • ทาคาฮาเตนอามุน ทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทาฮาร์กา
  • อาร์ติ, ทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์เชบอิทกู
  • ฮาร์. เป็นที่รู้จักจากโต๊ะถวายของบูชาของบุตรสาวของพระองค์นามว่า วัดจ์เรเนส ในเมืองธีบส์ (ทีที 34)
  • คาลิอุต, ผู้ปกครองแห่งเมืองคานัด ซึ่งมาจากหินสลักที่ค้นพบที่บาร์กัล
  • เจ้าหญิงมูติดิส, หัวหน้านักบวชหญิงของเทพีฮาเธอร์และเทพีมัตในเมืองธีบส์

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.digitalegypt.ucl.ac.uk/chronology/piy.html Piy (Piankhi)
  2. Karola Zibelius-Chen. 2006. "Zur Problematik der Lesung des Königsnamens Pi(anch)i." Der Antike Sudan 17:127-133.
  3. F. Payraudeau, Retour sur la succession Shabaqo-Shabataqo, Nehet 1, 2014, p. 115-127 online here
  4. Jürgen von Beckerath, Handbuch der Ägyptischen Königsnamen, Verlag Philipp von Zabern, MÄS 49, 1999. pp. 206-207
  5. Jean Yoyotte, 'Pharaon Iny, un Roi mystèrieux du VIIIe siècle avant J.-C.', CRIPEL 11(1989), pp.113-131
  6. Dodson, Aidan and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. 2004. ISBN 0-500-05128-3