ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช

พิกัด: 8°32′24″N 99°56′25.3″E / 8.54000°N 99.940361°E / 8.54000; 99.940361
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช
อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ของท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของรัฐบาลไทย
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการนครศรีธรรมราช
ที่ตั้ง598 หมู่ที่ 1 ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
เหนือระดับน้ำทะเล13 ฟุต / 4 เมตร
พิกัด8°32′24″N 99°56′25.3″E / 8.54000°N 99.940361°E / 8.54000; 99.940361
เว็บไซต์Nakorn Si Thammarat Airport
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
01/19 6,890 2,100 แอสฟัลท์ติกคอนกรีต
สถิติ (2562)
ผู้โดยสาร1,472,120
จำนวนเที่ยวบิน15,426
แหล่งข้อมูล: DAFIF[1][2]
รันเวย์ 01/19
ฐานบินเฮลิคอปเตอร์ของเชฟรอน (กำลังก่อสร้าง)

ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช[3] หรือ สนามบินนครศรีธรรมราช (IATA: NST, ICAO: VTSF) เป็นท่าอากาศยานตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม

ประวัติ

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช เดิมเปิดให้บริการโดยใช้สนามบินชะเอียน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 โดยการผลักดันของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้มีการบริการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ จึงได้อาศัยท่าอากาศยานของกองทัพบกในบริเวณค่ายวชิราวุธ ซึ่งกรมการบินพาณิชย์ได้ปรับปรุงสนามบินเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและปรับปรุงทางวิ่ง แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2527 และใช้เป็นท่าอากาศยานร่วมกันระหว่างการบินทหารและการบินพลเรือน โดยมีขนาดทางวิ่ง 30 x 1,700 เมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ท่าอากาศยานกองทัพภาคที่ 4 ได้เปิดใช้บริการเป็นสนามบินพาณิชย์ชั่วคราว โดยมีบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ให้บริการในเส้นทางการบินสุราษฎร์ธานีมายังจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้เครื่องบินชอร์ต 360 อีกสามปีต่อมาเมื่อมีผู้ใช้บริการจำนวนมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ท่าอากาศยานดังกล่าว มีขนาดไม่เพียงพอในการรองรับผู้โดยสาร จึงได้มีการพิจารณาเลือกพื้นที่ก่อสร้างท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชแห่งใหม่ในบริเวณตำบลปากพูน อำเภอเมือง และดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2541 ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชได้รับการประกาศให้เป็นสนามบินอนุญาต และเปิดให้บริการในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โดยมีบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีบีแอร์ จำกัด ให้บริการเส้นทางโดยตรงจากกรุงเทพมหานคร มายังจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2543 โดยนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี[4]

วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชเป็นสนามบินศุลกากรในลำดับที่ 10/1 ของข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผลให้ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช สามารถรับเที่ยวบินนำเข้าและส่งออกสินค้าจากต่างประเทศได้[5] ต่อมาได้มีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังเดิม ก่อสร้างคันทางพร้อมระบบระบายน้ำท่วม และก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่[6]

อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ของท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช เป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้น 1 เป็นส่วนผู้โดยสารขาเข้า ชั้น 2 เป็นส่วนผู้โดยสารขาออก โดยมีสะพานเทียบเครื่องบิน 2 สะพาน ซึ่งสะพานทิศเหนือสามารถรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศได้ด้วย ส่วนชั้น 3 เป็นร้านค้า ร้านอาหาร และภัตตาคาร ทั้งนี้ อาคารดังกล่าวได้เปิดใช้งานอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 ส่วนอาคารหลังเดิมจะใช้เป็นสำนักงานท่าอากาศยาน สำนักงานสายการบิน และอาคารส่งสินค้า[7]

ข้อมูลทางภายภาพ

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ตั้งอยู่บนทาหลวงแผ่นดินหมายเลข 4103 หมู่ที่ 10 ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 1,814 ไร่[8] ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 14 กิโลเมตร พื้นที่รวมทั้งหมด 1,814 ไร่ หรือ 2,902,400 ตารางเมตร มีลานจอดอากาศยานรวม 34,000 ตารางเมตร (85 x 400 เมตร) แบ่งออกเป็น B737 9 ลาน ATR-72 2 ลาน เฮลิคอปเตอร์ 2 ลาน ขนาดทางวิ่ง 59 x 2,100 เมตร[9] ประกอบด้วยอาคารหลักดังนี้

  • อาคารผู้โดยสารหลัก พื้นที่รวม 30,600 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 1,600 คนต่อชั่วโมง หลุมจอดประชิดอาคาร 4 หลุม สะพานเทียบเครื่องบิน 2 สะพาน มีพื้นที่ใช้สอยดังนี้[10]
    • ชั้น 1 ส่วนผู้โดยสารขาเข้า ประกอบด้วยโถงผู้โดยสารขาเข้า, จุดตรวจหนังสือเดินทางสำหรับผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ, สายพานรับกระเป๋า 3 สายพาน (ระหว่างประเทศ 1 สายพาน และภายในประเทศ 2 สายพาน), พร้อมส่วนบริการผู้โดยสาร
    • ชั้น 2 ส่วนผู้โดยสารขาออก ประกอบด้วยโถงผู้โดยสารขาออก, เคาท์เตอร์ตรวจบัตรโดยสาร จำนวน 22 เคาท์เตอร์, เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ, ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร, จุดตรวจค้นสัมภาระ, จุดตรวจหนังสือเดินทางสำหรับผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ, โถงพักคอยผู้โดยสารขาออกซึ่งเชื่อมต่อกับทางออกขึ้นเครื่อง 4 ช่องทาง (ระหว่างประเทศ 1 ช่องทาง ภายในประเทศ 3 ช่องทาง), ห้องรับรองสายการบิน, ร้านค้า และร้านอาหาร
    • ชั้น 3 พื้นที่ร้านค้า, ภัตตาคาร, สกายเลาจน์ และสำนักงาน
  • อาคารผู้โดยสารหลังเดิม พื้นที่รวม 5,400 ตารางเมตร ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2541–2566 ประกอบด้วย พื้นที่อาคารผู้โดยสารส่วนขาเข้า 470 ตารางเมตร พื้นที่อาคารผู้โดยสารส่วนขาออก 470 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารขาเข้าจำนวน 225 คนต่อชั่วโมง และผู้โดยสารขาออก 225 คนต่อชั่วโมง รวม 450 คนต่อชั่วโมง จำนวนเครื่องบินที่รองรับได้สูงสุด 32 เที่ยวบินต่อวัน ทั้งนี้ เมื่ออาคารใหม่เปิดใช้งาน อาคารดังกล่าวได้รับการปรับปรุงเป็นสำนักงานท่าอากาศยาน, สำนักงานสายการบิน, ห้องประชุม และอาคารส่งสินค้า

สายการบิน

[แก้]
ไทยแอร์เอเชียเตรียม taxi

สายการบินที่เปิดให้บริการ

[แก้]

ปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช มีสายการบินที่เปิดให้บริการเส้นทางการบินภายในประเทศ ดังนี้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ


ไทยแอร์เอเชีย จอด ณ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
ไทยแอร์เอเชีย Landing

สายการบินที่เคยทำการบิน

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
การบินไทย (TG) กรุงเทพฯ-ดอนเมือง,กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ
ไทยสมายล์ (WE) เชียงใหม่, อุดรธานี,กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ
เดินอากาศไทย (TH) สุราษฎร์ธานี
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ (VZ) เชียงใหม่,กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ
นกแอร์ (DD) ระยอง-อู่ตะเภา
พีบีแอร์ (9Q) กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
วัน-ทู-โก (OG) กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ
แอร์อันดามัน (2Y) ภูเก็ต
โอเรียนต์ไทยแอร์ไลน์ (OX) กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
แฮปปี้แอร์ (HP) ภูเก็ต
ไทยแอร์เอเชีย (FD) กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]

รถโดยสารสาธารณะ

[แก้]

สำหรับรถโดยสารสาธารณะภายในท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราชปัจจุบันเปิดให้บริการดังนี้

  • รถมินิบัส จอดให้บริการอยู่บริเวณลานจอดรถด้านหน้าอาคารโดยมีรถคอยให้บริการรองรับทุกเที่ยวบิน

สาย 7​ สนามบิน - สถานีขนส่งผู้สารหัวอิฐ - สนามหน้าเมือง สาย 8​ สนามบิน - สี่แยกนาหลวง

  • รถบริการอื่น ๆ ได้แก่ แท็กซี่, ลิมูซีน, และรถตู้

ลานจอดรถ

[แก้]
  • สามารถจอดรถได้ประมาณ 150 คัน[11]

ร้านค้าและร้านอาหาร

[แก้]

ในอาคารผู้โดยสารหลังเดิมมีร้านค้าและร้านอาหารให้บริการ

บริการรถเช่า

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช มีบริการบริษัทเอกชนให้บริการภายในอาคารท่าอากาศยาน

สถิติ

[แก้]
ปี เที่ยวบิน โดยสาร สินค้า
2538 2,858 Steady 0.00 30,079 Steady 0.00 93,656 Steady 0.00
2539 4,043 เพิ่มขึ้น 41.46 39,805 เพิ่มขึ้น 32.33 75,228 ลดลง 19.68
2540 5,017 เพิ่มขึ้น 24.09 62,755 เพิ่มขึ้น 57.66 134,265 เพิ่มขึ้น 78.48
2541 3,187 ลดลง 36.48 69,979 เพิ่มขึ้น 11.51 140,177 เพิ่มขึ้น 4.40
2542 1,139 ลดลง 64.26 74,712 เพิ่มขึ้น 6.76 271,891 เพิ่มขึ้น 93.96
2543 788 ลดลง 30.82 82,687 เพิ่มขึ้น 10.67 373,451 เพิ่มขึ้น 37.35
2544 1,352 เพิ่มขึ้น 71.57 92,583 เพิ่มขึ้น 11.97 425,723 เพิ่มขึ้น 14.00
2545 1,262 ลดลง 6.66 90,921 ลดลง 1.80 546,462 เพิ่มขึ้น 28.36
2546 1,705 เพิ่มขึ้น 35.10 104,340 เพิ่มขึ้น 14.76 820,998 เพิ่มขึ้น 50.24
2547 2,048 เพิ่มขึ้น 20.12 131,957 เพิ่มขึ้น 26.47 1,105,237 เพิ่มขึ้น 34.62
2548 2,160 เพิ่มขึ้น 5.47 146,435 เพิ่มขึ้น 10.97 1,369,876 เพิ่มขึ้น 23.94
2549 2,275 เพิ่มขึ้น 5.32 193,231 เพิ่มขึ้น 31.96 983,837 ลดลง 28.18
2550 3,488 เพิ่มขึ้น 53.32 396,737 เพิ่มขึ้น 105.32 1,587,848 เพิ่มขึ้น 61.39
2551 2,636 ลดลง 24.43 299,075 ลดลง 24.62 1,025,442 ลดลง 35.42
2552 2,458 ลดลง 6.75 297,257 ลดลง 0.61 1,108,671 เพิ่มขึ้น 8.12
2553 3,365 เพิ่มขึ้น 36.90 406,792 เพิ่มขึ้น 36.85 811,372 ลดลง 26.82
2554 14,313 เพิ่มขึ้น 325.35 654,956 เพิ่มขึ้น 61.01 684,214 ลดลง 15.67
2555 15,513 เพิ่มขึ้น 8.38 725,858 เพิ่มขึ้น 10.83 688,210 เพิ่มขึ้น 0.58
2556 16,934 เพิ่มขึ้น 9.16 950,133 เพิ่มขึ้น 30.90 825,426 เพิ่มขึ้น 19.94
2557 18,822 เพิ่มขึ้น 11.15 1,112,849 เพิ่มขึ้น 17.13 1,223,114 เพิ่มขึ้น 48.18
2558 19,294 เพิ่มขึ้น 2.50 1,243,179 เพิ่มขึ้น 11.71 914,404 ลดลง 25.24
2559 18,854 ลดลง 2.28 1,503,463 เพิ่มขึ้น 20.94 1,109,695 เพิ่มขึ้น 21.36
2560 18,082 ลดลง 4.09 1,496,218 ลดลง 0.48 822,731 ลดลง 25.86
2561 17,004 ลดลง 5.96 1,490,773 ลดลง 0.36 633,643 ลดลง 22.98
2562 15,426 ลดลง 9.28 1,472,120 ลดลง 1.25 589,457 ลดลง 6.97
2563 15,201 ลดลง 1.45 1,340,398 ลดลง 8.94 500,047 ลดลง 15.16
ที่มา: กรมท่าอากาศยาน, กระทรวงคมนาคม[12]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
นกแอร์กำลัง take off บนรันเวย์ของท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
นกแอร์รับผู้โดยสาร
หอบังคับการบิน ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
  • 6 เมษายน 2554 เปิดสนามบินนครศรีธรรมราชโดยเที่ยวบินแรก ออก 15.30น.
  • 13 สิงหาคม 2555 [20]มีคำสั่งปิดการใช้ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ไปจนถึงเวลา 24.00 น. หลังจากที่มีการลักลอบจุดเผาป่าพรุใกล้กับรันเวย์จนไฟได้ลุกลามเป็นวงกว้าง โดยแนวไฟได้ประชิดรันเวย์ฝั่งทิศใต้เป็นระยะทางกว่า 1,000 เมตร จนมาถึงแนวแท็กซี่เวย์ ส่งผลให้หมอกควันลอยสูงขึ้นไปบนท้องฟ้าหลายร้อยเมตร ขณะเดียวกันเถ้าจากใบไม้และใบหญ้าได้ฟุ้งสูงขึ้นกระจายเป็นวงกว้างจนอาจเกิดอันตรายกับอากาศยานในขณะทำการบิน[21]
  • 8 มิถุนายน 2556 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช[22]
  • 6 มกราคม 2560 กรมท่าอากาศยาน แจ้งปิดท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับผลกระทบของจากกรณีฝนตกหนักทำให้น้ำท่วม Runway จนต้องยกเลิกเที่ยวบิน 100% กำหนดการปิดแรกคือวันที่ 6-7 มกราคม 2560 แต่เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลายเลยต้องทำการปิดจนถึงวันที่ 11 มกราคม 2560 และขยายวันปิดเพิ่มเติมอีก 2 วัน โดยปิดจนถึง 13 มกราคม 2560 แทน เพราะว่าวิศวกรท่าอากาศยานไม่สามารถตรวจสอบความแข็งแรงของพื้น Runway ได้ จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ผู้โดยสารตกค้างและต้องทำการเปลี่ยนเที่ยวบินหรือเดินทางไปใช้บริการท่าอาศยานใกล้เคียงได้แก่ ท่าอาศยานสุราษฏร์ธานี และท่าอากาศยานตรัง [23]
  • 7 ธันวาคม 2560 กรมท่าอากาศยาน แจ้งปิดท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช เนื่องจากมีน้ำท่วมบริเวณลานกลับเครื่องบินที่หัวรันเวย์ [24] และได้เปิดบริการอีกครั้งในวันที่ 10 ธันวาคม 2560 [25]
  • 4 มกราคม 2562 กรมท่าอากาศยาน แจ้งปิดท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2562 เวลา 00.01 น. ถึงวันที่ 5 มกราคม 2562 ทั้งนี้ทุกสายการบินสามารถทำการบินขึ้นและลงได้ตามปกติตั้งแต่เวลา 12.00 นาฬิกา เป็นต้นไป [26]
  • 6 สิงหาคม 2563 สายการบินไทยเวียตเจ็ท เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) - นครศรีธรรมราช โดยเครื่องบินแอร์บัส A320 เที่ยวบิน VZ330 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 11.11 น. โดยในเที่ยวบินนี้​มี​ผู้ว่าราชการจังหวัด​นครศรี​ธรรมราช​ และผู้อำนวยการท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช​ให้เกียรติ​ร่วมเดิน​ทางกับนักท่องเที่ยว​ในเที่ยวบินนี้​ด้วย เมื่อถึงท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช เวลา 12.20 น.​ ได้มีซุ้มอุโมงค์ฉีดน้ำต้อนรับพร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมต้อนรับเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของสายการบินไทยเวียตเจ็ท โดยมีการมอบของที่ระลึก และสตอ สร้างความประทับใจแก่ผู้โดยสาร [27]
  • 10 กันยายน 2563 สายการบินไทยสมายล์ เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) - นครศรีธรรมราช โดยเครื่องบินแอร์บัส A320-232 (WL) เที่ยวบินปฐมฤกษ์ WE233 ออกเดินทางถึงท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชใน เวลา 08.25 น. [28]
  • 25 กันยายน 2563 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีการศึกษา 2562 โดยประทับเครื่องบินที่นั่งถึงท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
  • 18 พฤศจิกายน 2563 สายการบินไทยสมายล์ เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง เชียงใหม่ – นครศรีธรรมราช เที่ยวบิน WE173[29]
  • 21 พฤศจิกายน 2563 สายการบินไทยสมายล์ เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง อุดรธานี - นครศรีธรรมราช เที่ยวบินที่ WE175[30]
  • 30 พฤศจิกายน 2563 สายการบินไทยเวียตเจ็ท เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง เชียงใหม่ - นครศรีธรรมราช[31]
  • 2-4 ธันวาคม 2563 จังหวัดนครศรีธรรมราชมีฝนตกครอบคลุมในทุกพื้นที่ทำให้ทั้งจังหวัดประสบอุทกภัยมีน้ำท่วมขังบริเวณโดยรอบท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช แต่สามารถเปิดบินได้ตามปกติ พร้อมเร่งเดินเครื่องสูบน้ำตลอดเพื่อระบายน้ำ ผู้โดยสารที่จะเดินทางมายังท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชไม่สามารถเดินทางมาได้ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลเนื่องจากน้ำท่วมสูงต้องเดินทางเข้าและออกสนามบินโดยรถGMC ของกองทัพบก [32]
  • 21-22 ตุลาคม พ.ศ. 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงนำคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทัศนศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยประทับเครื่องบินที่นั่งถึงท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช[33]

อุบัติเหตุ

[แก้]
  • 2 กุมภาพันธ์ 2550 สายการบิน นกแอร์ พร้อมผู้โดยสาร 150 คน ได้ประสบอุบัติเหตุ ยางระเบิดขณะลงจอด ณ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช นักบินสามารถประคองเครื่องให้ลงจอดได้อย่างปลอดภัยไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ในครั้งนี้[34]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Airport information for VTSF at World Aero Data. Data current as of October 2006.. Source: DAFIF.
  2. Airport information for NST at Great Circle Mapper. Source: DAFIF (effective Oct. 2006).
  3. "กรมการบินพลเรือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  4. นายชวน หลีกภัย เดินทางมาทำพิธีเปิดท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชเป็นสนามบินศุลกากร
  6. "โครงการพัฒนาท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ข้อมูล 2562". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-17. สืบค้นเมื่อ 2019-06-17.
  7. "ส่องความว้าว! เทอร์มินอลใหม่ "สนามบินนครศรีฯ" ก่อสร้างคืบแล้ว 97%". เดลินิวส์.
  8. "ข้อมูลท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน ข้อมูล 2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-17. สืบค้นเมื่อ 2019-06-17.
  9. "ข้อมูลแสดงลักษณะทางภายภาพของท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-17. สืบค้นเมื่อ 2019-06-17.
  10. "อาคารผู้โดยสารใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช". Realist Blog รีวิวบ้าน คอนโด อัพเดทข่าวอสังหาฯ รถไฟฟ้า ทางด่วน.
  11. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  12. ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศของท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
  13. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี[ลิงก์เสีย]
  14. "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-29. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.
  15. "สายการบินแอร์เอเชียเปิดเส้นทางการบินใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-09. สืบค้นเมื่อ 2009-09-24.
  16. "ผู้โดยสารมีความต้องการใช้สนามบินนครศรีธรรมราชเพิ่มขึ้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-09-24.
  17. "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปทรงวางศิลาฤกษ์อุโบสถ ณ วัดเกาะนางแก้วพัฒนาราม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  18. ขอเชิญเฝ้ารับเสด็จพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์[ลิงก์เสีย]
  19. "พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสร็จประกอบพระกรณียกิจในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.
  20. ผอ.ท่าอากาศยานนครศรีฯ สั่งปิดสนามบินหลังมือป่วนลอบเผาป่าพรุข้างรันเวย์[ลิงก์เสีย]
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-08-13.
  22. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด[ลิงก์เสีย]
  23. แจ้งปิดสนามบินนครศรีธรรมราชถึง 13 ม.ค.
  24. ปิดสนามบินนครศรีธรรมราช น้ำท่วมระบบไฟฟ้าใช้ไม่ได้
  25. "สนามบินนครศรีฯเปิดบริการปกติแล้วหลังหยุด3วันหลบน้ำท่วม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 2018-10-29.
  26. ข่าวปิดสนามบินเนื่องจากพายุปาบึก
  27. สายการบินไทยเวียตเจ็ท เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) - นครศรีธรรมราช โดยเครื่องบินแอร์บัส A320 เที่ยวบิน VZ330
  28. สายการบินไทยสมายล์ เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) - นครศรีธรรมราช โดยเครื่องบินแอร์บัส A320-232 (WL)
  29. สายการบินไทยสมายล์ เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง เชียงใหม่ – นครศรีธรรมราช เที่ยวบิน WE173
  30. สายการบินไทยสมายล์ เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง อุดรธานี - นครศรีธรรมราช เที่ยวบินที่ WE175
  31. สายการบินไทยเวียตเจ็ท เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง เชียงใหม่ - นครศรีธรรมราช โดยมีพิธีการ Water salute
  32. จังหวัดนครศรีธรรมราชมีฝนตกครอบคลุมในทุกพื้นที่ทำให้ทั้งจังหวัดประสบอุทกภัยมีน้ำท่วมขัง
  33. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จ ฯ ทรงนำคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทัศนศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 21-22 ตุลาคม 2567
  34. ระทึก! นกแอร์ ยางระเบิดขณะลงจอด เมืองคอน[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]