การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
Industrial Estate Authority of Thailand
ตราสัญลักษณ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี)
เขตอำนาจกำกับดูแลนิคมอุตสาหกรรม
สำนักงานใหญ่618 ถนนนิคมมักกะสัน แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณประจำปี21 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ยุทธศักดิ์ สุภสร, ประธานกรรมการ
  • วีริศ อัมระปาล, ผู้ว่าการ
  • อัฐพล จิรวัฒน์จรรยา, รองผู้ว่าการ
  • ปนัดดา รุ่งเรืองศรี, รองผู้ว่าการ
  • พรเทพ ภูริพัฒน์, รองผู้ว่าการ
  • ประทีป เอ่งฉ้วน, รองผู้ว่าการ
  • ธาดา สุนทรพันธุ์, รองผู้ว่าการ
ต้นสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
เว็บไซต์http://www.ieat.go.th

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Industrial Estate Authority of Thailand ชื่อย่อ IEAT ; กนอ.) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ก่อตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515[2] เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม จัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้ารวมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบ และเป็นกลไกของภาครัฐในการกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมออกไปสู่ภูมิภาค

ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 ได้มีประกาศใช้ พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 แทน ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ที่ถูกยกเลิกไป [3]

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2516 คือ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ครอบคลุมเขตมีนบุรี และเขตบางกะปิ[4]ในปี พ.ศ. 2567 พลเอก กนิษฐ์ ชาญปรีชญา และ เสกสกล อัตถาวงศ์ เป็นกรรมการ[5]

อำนาจหน้าที่[แก้]

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

  1. จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมส่งเสริมและสนับสนุนเอกชนหรือองค์กรของรัฐจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
  2. จัดให้มีและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนลงทุนและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
  4. จัดให้มีระบบและการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรม
  5. อนุญาต อนุมัติ การประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมและจัดให้ได้เพิ่มเติมซึ่งสิทธิประโยชน์ สิ่งจูงใจ และการอำนวยความสะดวกแก่การประกอบอุตสาหกรรม

นิคมอุตสาหกรรม[แก้]

นิคมอุตสาหกรรม หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ นอกจากนั้นยังประกอบด้วย บริการอื่นที่จำเป็น อาทิ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น

รายชื่อนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย[แก้]

ปัจจุบัน กนอ. มีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 62 นิคม กระจายอยู่ใน 18 จังหวัด ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง จำนวน 15 นิคม และนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินงานกับผู้พัฒนา จำนวน 48 นิคม[6] (ตัวหนา คือ นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. ดำเนินการเอง และ ตัวเอียง คือ นิคมอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนา)

ภาคเหนือ[แก้]

ภาคกลางและภาคตะวันออก[แก้]

  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    • นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า ไฮเทค
    • นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน
    • นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ
    • นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง
  • จังหวัดสมุทรสาคร
    • นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร
    • นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร
    • นิคมอุตสาหกรรมมหาราชนคร
  • จังหวัดฉะเชิงเทรา
    • นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์
    • นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้
    • นิคมอุตสาหกรรมที เอฟ ดี
    • นิคมอุตสาหกรรมที เอฟ ดี 2
    • นิคมอุตสาหกรรม 304 ฉะเชิงเทรา
    • นิคมอุตสาหกรรมเอเพ๊กซ์กรีน ฉะเชิงเทรา
  • จังหวัดสมุทรปราการ
    • นิคมอุตสาหกรรมบางปู
    • นิคมอุตสาหกรรมบางพลี
    • นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย (สุวรรณภูมิ)
    • นิคมอุตสาหกรรมบางปู (เหนือ)
  • จังหวัดชลบุรี
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1
    • นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี)
    • นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี) (โครงการ 2)
    • นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง
    • นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)
    • นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3)
    • นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 4)
    • นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
    • นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)
    • นิคมอุตสาหกรรมบ้านบึง
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 2
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 2
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3
    • นิคมอุตสาหกรรมยามาโตะ อินดัสตรีส์
    • นิคมอุตสาหกรรมเอเชียคลีนชลบุรี
  • จังหวัดระยอง
    • นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด)
    • นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
    • นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
    • นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง)
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1
    • นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย
    • นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล
    • นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย)
    • นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]

ภาคใต้[แก้]

นอกจากนี้ กนอ. ยังมีหน้าที่กำกับดู ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง อีกด้วย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91 ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ให้จัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอน 190 ก หน้า 214 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515
  3. พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอน 41 ก พิเศษ หน้า 10 24 มีนาคม พ.ศ. 2522
  4. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบางชันเป็นนิคมอุตสาหกรรมทั่วไป
  5. ‘ครม.’ แต่งตั้ง ’เสธ.อ้น-เสกสกล‘ นั่งบอร์ดการนิคมอุตสาหกรรมฯ
  6. บทบาทและหน้าที่หลักขององค์กร การนิคมอุตสาหกรรม