โรงเรียนประทาย

พิกัด: 15°33′04″N 102°59′25″E / 15.551010°N 102.990148°E / 15.551010; 102.990148
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนประทาย
Prathai School

Prathai School
ที่ตั้ง
แผนที่
230 หมู่ 13 ถนนเจนจบทิศ ตำบลประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา 30180
ข้อมูล
ชื่ออื่นป.ท.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาลประจำอำเภอ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหวิทยา
คำขวัญทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ.
(ในหมู่มนุษย์ผู้ฝึกดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐ)
สถาปนา7 เมษายน พ.ศ. 2514 (53 ปี 18 วัน)
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31
หน่วยงานกำกับสังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงมหาดไทย
รหัส30101189
ผู้อำนวยการนางกรวรรณ ถมฉิมพลี
พ.ศ. 2559 ถึงปัจจุบัน
จำนวนนักเรียน3,214 คน (1 พฤศจิกายน 2558)
ชั้นเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่โรงเรียนได้จัดสอน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ห้องเรียนม.1: 12 ห้อง
ม.2: 12 ห้อง
ม.3: 11 ห้อง
ม.4: 12 ห้อง
ม.5: 12 ห้อง
ม.6: 13 ห้อง
สี██████ สีแสด-ดำ
เพลงมาร์ชโรงเรียนประทาย
หมายเลขโทรศัพท์0-4447-9270
หมายเลขโทรสาร0-4448-9301
E-mailatprathaischool@gmail.com
ต้นไม้หมากเค็ง (นางดำ)
อัตลักษณ์“แสดงดี ดนตรีเด่น”
ประธานสภานักเรียนนายกฤตภาส ตั้งสัจธรรม
1 ธันวาคม 2559
เว็บไซต์http://www.prathai.ac.th

โรงเรียนประทาย (อังกฤษ: Prathai School) (บ้างเรียก โรงเรียนดงเค็ง) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงมหาดไทย โรงเรียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดย ฝั่งทิศตะวันตก มีเนื้อที่ 44 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา และฝั่งทิศตะวันออก มีเนื้อที่ 20 ไร่ 1 งาน

ประวัติโรงเรียนประทาย[แก้]

โรงเรียนประทาย เป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พุทธศักราช 2514 บนเนื้อที่ 64 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวา

ในช่วงแรกเปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ช่วงชั้นที่ 3) แบบสหศึกษา โดยมีผู้บริหารคนแรก คือ นายจารุ โรจนรังสิมันต์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนประทายได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาคาร สถานที่ และจำนวนนักเรียน จึงได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4) ในปีพุทธศักราช 2521

โรงเรียนประทาย ได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะได้รับความสนใจและสนับสนุนจากประชาชนในท้องถิ่น และใกล้เคียงเป็นอย่างดียิ่ง โดยการส่งบุตรหลานเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก และได้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโรงเรียนทั้งทางด้านทุนทรัพย์และคำแนะนำในการพัฒนาโรงเรียนและด้านต่างๆ และในปี พุทธศักราช 2550 โรงเรียนประทาย ได้รับการถ่ายโอนไปสังกัดยัง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนประทาย[แก้]

  • ตราประจำโรงเรียน เป็นรูปป้อมปราการครอบด้วยเสมา หมายถึง ประทายเจริญได้ด้วยการศึกษา (ประทาย แปลว่า ป้อมปราการ[1])
  • คติธรรมประจำโรงเรียน ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ แปลว่า ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ
  • ปรัชญาประจำโรงเรียน สุขภาพสมบูรณ์ เพิ่มพูนความรู้ เชิดชูคุณธรรม
  • แสด - ดำ คือสีประจำโรงเรียน ที่มีความหมายถึง ความกล้าหาญ ความอดทน นำมาซึ่งความยิ่งใหญ่ชั่วนิจนิรันดร์
  •   สีแสด เป็นสีประจำจังหวัดนครราชสีมา แสดงถึงความกล้าหาญ
  •   สีดำ เป็นสีของป้อมพระกาฬและสีของผลหมากเค็ง (นางดำ) ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เป็นชื่อชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ (ชุมชนหัวดงเค็ง) แสดงถึงความอดทน และความยิ่งใหญ่
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นหมากเค็ง (นางดำ) หมายถึง ความเข้มแข็ง ความอดทนต่ออุปสรรคต่างๆ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

15°33′04″N 102°59′25″E / 15.551010°N 102.990148°E / 15.551010; 102.990148

  1. อำเภอประทาย