โรงเรียนสีดาวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสีดาวิทยา
Sida Wittaya School
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ประเภทสหวิทยา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้อำนวยการปรีชา ไค่นุ่นสิงห์
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา

[1]โรงเรียนสีดาวิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่เลขที่ 112 หมู่ 1 ถนนทางหลวง 202 สีดา-ชัยภูมิ ตำบลโพนทอง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนสีดาวิทยาเดิมชื่อโรงเรียนโพนทองวิทยาผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนคือนายเท็งเตียประพงษ์อดีตกำนันตำบลโพนทอง นายบุญ บุญวีรบุตร อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านโนนสัง และนายปิ่น ดวงเพชรแสง อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านงิ้วมีแรงบันดาลใจ คือ ชุมชนเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของบุตรหลานในระดับที่สูงขึ้น การเดินทางของบุตรหลานที่ไปเรียนต่อยากลำบากและระยะทางไกลและเกิดอุบัติเหตุในการเดินทางของบุตรหลานที่ไปเรียนบ่อยครั้ง

ในปี พ.ศ. 2517 นายเท็ง เตียประพงษ์กำนันตำบลโพนทองในขณะนั้นร่วมกับคณะกรรมการท้องถิ่นประชุมชี้แจงชุมชนเพื่อขอความร่วมมือและรับบริจาคจากชุมชมผู้ปกครองและหน่วยงานต่างๆ ได้เงินรวมทั้งสิ้น 45,000 บาท ซึ่งได้นำไปซื้อที่ดินในการก่อสร้างโรงเรียนจำนวน 30 ไร่ต่อมาคณะผู้ก่อตั้งโรงเรียนและชุมชนได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างเป็นอาคารชั่วคราวจำนวน 1 หลังในปลายปี พ.ศ. 2517และได้ทำหนังสือขอจัดตั้งโรงเรียนกรมสามัญศึกษาแต่ไม่ได้รับการอนุมัติในปี พ.ศ. 2522 คณะผู้ก่อตั้งชุดเดิมได้ดำเนินการขอจัดตั้งโรงเรียนอีกครั้งซึ่งมีการเตรียมรายละเอียดและความพร้อมด้านต่างๆ เป็นอย่างดีโดยมีนายยศ อินทรโกมาลสุต อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาให้การสนับสนุน

กระทรวงศึกษาธิการมีมติเห็นชอบให้ก่อตั้งโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ประจำตำบลที่ตำบลโพนทองอำเภอบัวใหญ่ จ.นครราชสีมาโดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนโพนทองวิทยา ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2522 เป็นต้นมาแต่ในปีดังกล่าวยังไม่สามารถรับนักเรียนได้ทันจึงเลื่อนไปเปิดรับนักเรียนในปีการศึกษา 2523 มีนายธวัชชัย สีสิมมา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2523 และเปิดสอนในระดับชั้น ม.ปลายเมื่อ พ.ศ. 2534

ต่อมาชุมชนที่ตั้งโรงเรียนได้ขยายความเจริญมากขึ้นจนได้ยกฐานะของตำบลสีดา ตำบลโพนทองตำบลโนนประดู่ ฃตำบลสามเมืองและตำบลหนองตาดใหญ่เป็นกิ่งอำเภอสีดาแยกออกจากอำเภอบัวใหญ่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีมติเห็นชอบที่จะให้เปลี่ยนชื่อของโรงเรียนให้สอดคล้องกับชื่ออำเภอเป็นโรงเรียนสีดาวิทยาตั้งแต่ 14 ธันวาคม 2543 จนถึงปัจจุบัน

อักษรย่อของโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนสีดาวิทยามีอักษรย่อคือ ส.ว. และชื่อในภาษาอังกฤษ Sida Wittaya School อักษรย่อภาษาอังกฤษคือ S.W.

สีประจำโรงเรียน[แก้]

สีประจำโรงเรียนคือ "เหลือง-แดง"

  • สีเหลือง หมายถึง ความสง่างามมีเชาว์ปัญญาไวและมีศีลธรรม
  • สีแดง หมายถึง ความพร้อมเพรียง ความสามัคคี และเสียสละ

คติธรรมของโรงเรียน[แก้]

"สุวิชาโน ภวํ โหติ" หมายความว่า ผู้รู้ย่อมเป็นผู้เจริญ

คำขวัญประจำโรงเรียน[แก้]

"สามัคคี มีวินัย น้ำใจอดทน หมั่นฝึกฝนวิชา"

  • สามัคคี หมายถึง ความร่วมมือร่วมใจที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ให้บรรลุผลสำเร็จและเกิดประสิทธิผล
  • มีวินัย หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบ ประเภณีอันดีงามของสังคม ยับยั้งใจให้ประพฤติตนไปในทางชั่วร้ายหรือเสื่อมเสีย
  • น้ำใจอดทน หมายถึง ความอดทนที่จะต่อสู้อุปสรรคนานับประการ
  • หมั่นฝึกฝนวิชา หมายถึง การกระทำข่มใจตนเองให้ตั่งมั่นอย่างแน่วแน่ในการเรียนอย่างสม่ำเสมอไม่มีบกพร่อง

การศึกษา[แก้]

โรงเรียนสีดาวิทยาเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

ที่ตั้งสถานศึกษา[แก้]

     โรงเรียนสีดาวิทยาตั้งอยู่เลขที่ 112 หมู่ 1 ถนนทางหลวง 202 สีดา-ชัยภูมิ ตำบลโพนทอง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์และโทรสาร 044-329-034  มีพื้นที่ 31 ไร่ 3 งาน 19 ตารางวา

  • ทิศเหนือ             ติดกับเขตพื้นที่อำเภอบัวลาย และอำเภอประทายบางส่วน

ลักษระของชุมชน[แก้]

  อำเภอสีดา อยู่ห่างจากจังหวัดนครราชสีมาไปทางทิศเหนือ ระยะทางประมาณ 87 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 157.06 ตารางกิโลเมตร (98,100 ไร่) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นราบและมีความลาดเอียงไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรรวม 24,144 คน เป็นชาย 12,058 คน เป็นหญิง 12,086 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร คือ ทำนา รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จำนวน 44,163 บาท (ข้อมูล จปฐ.ปี 2551) ผลผลิตที่สำคัญและมีชื่อเสียง ผ้าไหม เสื่อกก ขนมไทยโบราณ  เช่น ขนมดอกจอก ข้าวแตนสมุนไพร ข้าวเกรียบ 3 รส ทองม้วน กล้วยฉาบและมะยมเชื่อม สถานที่สำคัญ คือ   ชุมชนโบราณบ้านสีดา-โนนเมือง วัดพระปรางค์สีดา วัดบ่อไก่แก้ว-บ้านดอนโก่ย หมู่บ้านโฮมสเตย์-บ้านหนองไข่เหี้ยศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นคือประเพณีแห่ช้างบ่อไก่แก้ว เพลงโคราช โปงลาง

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

ลำดับ ชื่อผู้บริหาร[2] ตำแหน่ง ปี พ.ศ.
1 นายธวัชชัย สีสิมมา ครูใหญ่ 2523 – 2535
2 นายสมปอง ศิริจันโท ผู้อำนวยการ 2535 – 2542
3 นายบุญยงค์ สมบูรณ์มนัสชัย ผู้อำนวยการ 2542 – 2543
4 นายราวี ฤทธิสิทธิ์ ผู้อำนวยการ 2543 – 2547
5 นายสหชัย สาสวน ผู้อำนวยการ 2547- 2551
6 นายอุดม สุทธิวรรณ ผู้อำนวยการ 2551
7 นายสุพล เชื่อมพงษ์ ผู้อำนวยการ 2551-2558
8 นายนิสิทธิ์ ส่งสุข ผู้อำนวยการ 2558 -2563
9 นายชูชาติ อยู่สอาด ผู้อำนวยการ 2563-2566
10 นายปรีชา ไค่นุ่นสิงห์ ผู้อำนวยการ 2566-ปัจจุบัน
  1. "Sidawittaya School". sites.google.com.
  2. "ทำเนียบผู้บริหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-30. สืบค้นเมื่อ 2010-11-04.