ฟาโรห์เมนทูโฮเตปที่ 3
ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รูปสลักโอซิริสของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 แห่งราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ซึ่งจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์, บอสตัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 2010 – 1998 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เมนทูโฮเทปที่ 2 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เมนทูโฮเทปที่ 4 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชมารดา | เทม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สวรรคต | 1998 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ |
สอังค์คาเร เมนทูโฮเทปที่ 3 (หรือ มอนทูโฮเทปที่ 3)[4] เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดในสมัยราชอาณาจักรกลาง ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินระบุไว้ว่า พระองค์ครองราชย์เป็นระยะเวลา 12 ปี
รัชสมัย
[แก้]ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 ได้ครองราชย์ต่อจากฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2[5] ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ที่เชื่อกันว่าหลังจากที่พระราชบิดาของพระองค์ครองราชย์ยาวนานถึง 51 ปี ทำให้พระองค์น่าจะขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์ชีพค่อนข้างมากแล้วและครองราชย์เป็นเวลาเพียงแค่ 12 ปี แม้จะว่ารัชสมัยของพระองค์จะเป็นรัชสมัยสั้น ๆ แต่ในรัชสมัยของพระองค์เป็นที่ทราบของการออกเดินทางไปยังดินแดนแห่งพุนต์และการก่อสร้างสถาปัตยกรรม
พระนาม
[แก้]พระนามของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 นั้นคล้ายกับพระนามลำดับที่สามและพระนามสุดท้ายของของพระราชบิดาพระองค์มาก และพระนามนำหน้าของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 มีอยู่สองพระนาม คือ สอังค์คาเร ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี และ
|
snfr-k3-ra
"ผู้ที่ประดับดวงวิญญาณแห่งเร"
การออกเดินทางไปยังราชอาณาจักรพุนต์
[แก้]ฟาโรห์เมนทูโฮเทปได้ส่งคณะเดินทางไปยังดินแดนแห่งพุนต์ในช่วงปีที่ 8 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรเก่า จารึกในวาดิ ฮัมมามัตได้อธิบายว่า คณะเดินทางประกอบไปด้วยกำลังทหาร 3,000 นายและอยู่ภายใต้ผู้บัญชาการนามว่า เฮเนนู เมื่อคณะเดินทางเดินทางออกจากเมืองคอปโตสไปยังทะเลแดง คณะเดินทางได้ขุดบ่อน้ำ 12 บ่อ เพื่อการออกคณะเดินทางในอนาคตและจัดการพื้นที่ของกลุ่มกบฏ คณะเดินทางกลับมาจากดินแดนแห่งพุนต์พร้อมด้วยเครื่องหอม หมากฝรั่ง และน้ำหอม และนำหินมาจากวาดิ ฮัมมามัต
อนุสรณ์วัตถุ
[แก้]ฟาโรห์สอังค์คาเร เมนทูโฮเทปที่ 3 ได้ทรงรับผิดชอบในการก่อสร้างหลายอย่างในช่วงระยะเวลา 12 ปีแห่งการครองราชย์ของพระองค์ พระองค์ได้ขยายวิหารแห่งเทพมอนทูในเมืองเมดามุด ซึ่งเป็นประตูที่ตกแต่งอย่างมโหฬาร ซึ่งมีภาพสลักและตำแหน่งของพระองค์ ตอนนี้ตั้งอยู่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์
พระองค์ยังสร้างวิหารด้วยอิฐโคลนที่เนินแห่งธอทในธีบส์ตะวันตก วิหารนี้สร้างขึ้นบนที่ตั้งของวิหารโบราณที่มีอายุเก่าแกj เพื่ออุทิศถวายแด่เทพมอนทู-รา วิหารแห่งนี้อาจจะได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์[6]
และสันนิษฐานกันมานานแล้วว่า หลุมฝังพระศพและวิหารฝังพระศพของพระองค์น่าจะได้สรา้งขึ้นขึ้นในเมืองเดียร์ เอล-บาฮาริ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ[6] วิหารแห่งนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาที่แยกจากกัน ไม่ไกลจากวิหารฝังพระศพของพระราชบิดา ทางเดินหลวงจะนำไปสู่แท่นในวิหาร ห้องฝังพระศพที่ปูด้วยแผ่นหินปูนสร้างเสร็จและปิดผนึกไว้ แต่เห็นได้ชัดว่าไม่เคยมีการฝังพระศพ การเชื่อมโยงระหว่างอนุสรณ์วัตถุกับฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 นั้นเป็นเรื่องตามสถานการณ์ โดยอิงจากตำแหน่งร่วมกับหลุมฝังพระศพ (TT280) ของเสนาบดีนามว่า เมเคตเร หัวหน้าข้าราชการคนหนึ่งของในช่วงรัชสมัยของพระองค์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดโรเธีย อาร์โนลด์ ได้ให้หลักฐานที่น่าสนใจว่าสถานที่นี้น่าจะเป็นหลุมฝังพระศพของฟาโรห์แห่งธีบส์ที่น่าจะยังไม่แล้วเสร็จของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 และยังไม่ทราบสถานที่ตั้งของหลุมฝังพระศพของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3[7] อย่างไรก็ตาม การระบุตัวเจ้าของหลุมฝังพระศพแห่งนี้ที่จะเป็นฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 นั้นก็ยังไม่ได้รับการยืนยันเช่นกัน ดังนั้น เจ้าของของหลุมฝังศพแห่งนี้ก็ยังเป็นปริศนาอยู่[8]
พระราชวงศ์
[แก้]ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 เป็นพระราชโอรสและผู้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 พระนางเทม หนึ่งในพระมเหสีในฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ได้รับสมญานามว่า "พระราชมารดาแห่งกษัตรย์สองพระองค์" และจากสมญานามนั้น พระนางอาจจะเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 อย่างแน่นอน พระราชวงศ์ของพระองค์ส่วนใหญ่แล้วนั้นเป็นปริศนา และในปัจจุบันเชื่อกันว่า พระองค์มีพระราชโอรสกับพระนางไอมิ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระมเหสีของพระองค์ คือ ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่[9] พระราชมารดาของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 เป็นที่ทราบกันว่าเป็นพระนางไอมิ หากพระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 ดังนั้นพระนางไอมิก็จะต้องเป็นพระมเหสีในฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 เช่นกัน[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Karl Richard Lepsius: Denkmaller, Abtheilung II Band IV Available online see p. 152
- ↑ King List (chronological)
- ↑ Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p72. 2006. ISBN 0-500-28628-0
- ↑ Firth, Lesley (editor-in-chief); และคณะ (1985). "Mentohotep III". Who Were They? The Simon & Schuster Color Illustrated Question & Answer Book. Little Simon Book, Simon & Schuster, Inc., New York City. p. 12. ISBN 0671604767.
{{cite encyclopedia}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Mentuhotep III". ib205.tripod.com. 9 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2012. สืบค้นเมื่อ 28 October 2016.
- ↑ 6.0 6.1 Wilkinson, Richard H., The Complete Temples of Ancient Egypt, Thames and Hudson, 2000,pp. 37, 172, 173, 181, ISBN 0-500-05100-3
- ↑ Arnold, Dorothea, "Amenemhat I and the Early Twelfth Dynasty at Thebes": Metropolitan Museum Journal, v. 26 (1991).
- ↑ Harco WillemsEgypt's Middle Kingdom: a view from within, in Karen Radner, Nadine Moeller, and D. T. Potts (eds): The Oxford History of the Ancient Near East: Volume II, Oxford, ISBN: 9780190687571, 684-687
- ↑ Dodson, Aidan and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. 2004. ISBN 0-500-05128-3
- ↑ Tyldesley, Joyce. Chronicle of the Queens of Egypt. Thames & Hudson. 2006, pp. 66-68. ISBN 0-500-05145-3
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Grajetzki, W. (2006). The Middle Kingdom of Ancient Egypt: History, Archaeology and Society. London: Duckworth. pp. 23–25. ISBN 0-7156-3435-6.