พรรคความหวังใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคความหวังใหม่
ผู้ก่อตั้งพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (ครั้งที่หนึ่ง)
ชิงชัย มงคลธรรม (ครั้งที่สอง)
หัวหน้าชิงชัย มงคลธรรม
รองหัวหน้า
  • วิเศษ สุริโย
  • โสภณ สมประสงค์ บิวโดอิน
  • พูลลาภ บุญสม
เลขาธิการพงษ์ศักดิ์ กุลเมือง
รองเลขาธิการ
  • บุญเลิศ ภูวิเลิศ
  • สัญญา ด่านวันดี
  • ทองสุข หวังสมบัติเจริญ
เหรัญญิกดุษฎี ตีระนันทน์
นายทะเบียนสมาชิกณัฏฐ์พิชา เกษษา
โฆษกธัญพร ศิวบวรวัฒนา
กรรมการบริหาร
  • ทัศพงษ์ เข่งพิมล
  • นิธิศ นมจันทร์
  • อับดุลการิม ยูโซะ
  • นิภาพรรณ โอทอง
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
(พ.ศ. 2539–2540)
คำขวัญเลิกทาสทางความคิด ติดอาวุธทางปัญญา นำพาชาติพ้นภัย
ก่อตั้ง11 ตุลาคม พ.ศ. 2533
แยกจากพรรคไทยรักไทย
(7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545)
ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย
(25 เมษายน พ.ศ. 2545)
ที่ทำการ
จำนวนสมาชิก  (ปี 2566)9,288[1]
สีสีเหลืองพราว
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคความหวังใหม่ (อังกฤษ: New Aspiration Party; ย่อว่า ควม.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย พรรคก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 โดย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[2] พรรคความหวังใหม่ชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2539 และจัดตั้งรัฐบาลผสมโดยมีพลเอกชวลิตเป็นนายกรัฐมนตรี การเกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีต่อรัฐบาลลดน้อยลง และพลเอกชวลิตถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจ พลเอกชวลิตได้นำพรรคความหวังใหม่จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคไทยรักไทยที่นำโดยทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นพรรคที่มี ส.ส. มากที่สุดในสภาหลังการเลือกตั้งเมื่อวันเสาร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 หลังจากนั้นไม่นาน พรรคความหวังใหม่ได้รวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย และพลเอกชวลิตได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของทักษิณ

รายชื่อนายกรัฐมนตรี[แก้]

ประวัติ[แก้]

พรรคความหวังใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 เป็นลำดับที่ 26/2533[3] ในขั้นต้นมีนายวีระ สุวรรณกุล เป็นหัวหน้าพรรคคนแรกและมีนางสาวปราณี มีอุดร เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกต่อมาในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกของพรรคที่ประชุมมีมติเลือก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีต ผู้บัญชาการทหารบก และอดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าพรรค [4]

พรรคความหวังใหม่ ลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค ร่วมด้วยนักการเมืองหลายคน เช่น นายเสนาะ เทียนทอง นายจาตุรนต์ ฉายแสง และ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา มีสัญลักษณ์พรรคคือ ดอกทานตะวัน และมีคำขวัญพรรคว่า ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง ได้เป็นฝ่ายค้าน และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และ พรรคความหวังใหม่ เป็นหนึ่งในบรรดา 4 พรรคการเมือง ที่เรียกกันในช่วงเวลานั้นว่า พรรคเทพ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร

พรรคความหวังใหม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ได้ที่นั่ง ส.ส. จำนวน 125 ที่นั่ง โดยเฉือนชนะ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคคู่แข่งสำคัญไปเพียง 2 ที่นั่ง ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

พรรคความหวังใหม่ มีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสาน หลังจากพล.อ.ชวลิต ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2540 จากการประกาศลดค่าเงินบาท และทำให้ระหว่างปี พ.ศ. 2540–2544 พรรคความหวังใหม่ต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็น พรรคฝ่ายค้าน

การยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย[แก้]

หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทยขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคความหวังใหม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล หลังจากนั้นไม่นาน มีการควบรวมพรรคความหวังใหม่ เข้ากับพรรคไทยรักไทย[5][6] โดยที่สมาชิกพรรคความหวังใหม่ส่วนใหญ่ไปเข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทยพร้อมกับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรค

พรรคความหวังใหม่ยุคหลัง พ.ศ. 2545[แก้]

นายชิงชัย มงคลธรรม และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง ได้จดทะเบียนพรรคความหวังใหม่ขึ้นมาอีกครั้งเป็นลำดับที่ 6/2545 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 โดยมีนายโยธินทร์ เพียรภูเขา และนางสาวนันทกาล ตาลจินดา เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรกพร้อมคณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกอีกจำนวน 7 คนรวมเป็น 9 คน มีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร[7] ปัจจุบัน พรรคความหวังใหม่ ยังคงดำเนินกิจการทางการเมืองอยู่ โดยที่มีหัวหน้าพรรคคือ นายชิงชัย มงคลธรรม โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารพรรคชุดเดิม และได้เปลี่ยนสัญลักษณ์พรรคใหม่ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 ทางพรรคก็ได้ส่งผู้สมัครลงในพื้นที่อีสาน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเลยแม้ที่นั่งเดียว รวมทั้งการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 ด้วย ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 6 เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 พรรคความหวังใหม่ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง คือ นายอนุสรณ์ สมอ่อน หมายเลข 3 แต่ได้รับคะแนนเพียง 684 คะแนน และ ในปี พ.ศ. 2554 พรรคความหวังใหม่ได้ส่ง นายอธิวัฒน์ บุญชาติ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และ พิธีกรรายการทีวี ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในเขต 9 บุรีรัมย์

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. โดยได้รับหมายเลขประจำพรรค คือ หมายเลข 34 ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เข้ามาทำหน้าที่ประธานที่ปรึกษาพรรค[8] แต่ผลปรากฏว่าไม่ได้รับเลือกตั้งทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2566 ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่ได้รับเลือก

บุคลากร[แก้]

รายชื่อหัวหน้าพรรค[แก้]

พรรคความหวังใหม่ (ครั้งที่ 1)
ลำดับที่ ชื่อ เริ่ม สิ้นสุด
1 วีระ สุวรรณกุล 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 16 ตุลาคม พ.ศ. 2533
2 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2533 28 มีนาคม พ.ศ. 2545
พรรคความหวังใหม่ (ครั้งที่ 2)
1 โยธินทร์ เพียรภูเขา 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 30 สิงหาคม พ.ศ. 2545
2 ชิงชัย มงคลธรรม 7 กันยายน พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน

รายชื่อเลขาธิการพรรค[แก้]

พรรคความหวังใหม่ (ครั้งที่ 1)
ลำดับที่ ชื่อ เริ่ม สิ้นสุด
1 ปราณี มีอุดร 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 22 ธันวาคม พ.ศ. 2534
2 พิศาล มูลศาสตรสาทร 22 ธันวาคม พ.ศ. 2534 9 เมษายน พ.ศ. 2538
3 สุขวิช รังสิตพล 9 เมษายน พ.ศ. 2538 [9] 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
4 เสนาะ เทียนทอง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 [10] 27 เมษายน พ.ศ. 2542
5 จาตุรนต์ ฉายแสง 27 เมษายน พ.ศ. 2542 [11] 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
6 วันมูหะมัดนอร์ มะทา 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 [12] 28 มีนาคม พ.ศ. 2545
พรรคความหวังใหม่ (ครั้งที่ 2)
1 นันทกาล ตาลจินดา 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 30 สิงหาคม พ.ศ. 2545
2 พลเอก กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ 7 กันยายน พ.ศ. 2545 14 มกราคม พ.ศ. 2546
3 พลตรี พีรพงษ์ สรรพพากย์พิสุทธิ์ 5 เมษายน พ.ศ. 2546 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
4 จารึก บุญไชย 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
5 ธนวัสถ์ นิลธนะพันธุ์ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
6 วิทยา ปราบภัย 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 1 มกราคม พ.ศ. 2567
7 อัษฏางค์ แสวงการ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน สถานภาพพรรค ผู้นำเลือกตั้ง
มี.ค. 2535
72 / 360
9,980,150 22.4% เพิ่มขึ้น 72 ฝ่ายค้าน พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ก.ย. 2535
51 / 360
6,576,092 14.2% ลดลง 21 ร่วมรัฐบาล (2535-2537)
ฝ่ายค้าน (2537-2538)
2538
57 / 391
6,806,621 12.3% เพิ่มขึ้น 6 ร่วมรัฐบาล
2539
125 / 393
16,585,528 29.1% เพิ่มขึ้น 68 พรรคจัดตั้งรัฐบาล (2539-2540)
ฝ่ายค้าน (2540-2544)
2544
36 / 500
2,008,948 7.02% ลดลง 89 ร่วมรัฐบาล
2548
0 / 500
88,951[13] ลดลง 36 ไม่ได้รับเลือกตั้ง ชิงชัย มงคลธรรม
2549 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
2550
0 / 500
159,117[14] ไม่ได้รับเลือกตั้ง
2554
0 / 500
21,195[15]
2557 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
2562
0 / 500
9,074[16] ไม่ได้รับเลือกตั้ง
2566
0 / 500
10,892[17]

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]

การเลือกตั้ง ผู้สมัคร คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2535 มติ ตั้งพานิช 3,685 ไม่ พ่ายแพ้

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566
  2. Hewison, Kevin (1997). Political change in Thailand. Routledge. p. 127. ISBN 0-415-14795-6.
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคความหวังใหม่)
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคความหวังใหม่เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคภาษาอังกฤษ ภาพเครื่องหมายพรรคและเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค
  5. การยุบพรรคซบไทยรักไทย
  6. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคความหวังใหม่เพื่อรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2024-01-26.
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคความหวังใหม่
  8. พล.อ.ชวลิต หวนนั่งประธานที่ปรึกษา พรรคความหวังใหม่สืบค้นวันที่ 6 มิถุนายน 2554
  9. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคความหวังใหม่เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค
  10. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคการเมืองเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่ (จำนวน 74 ราย)
  11. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่
  12. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่
  13. "ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปี พ.ศ. 2548 - Open Government Data of Thailand". data.go.th.
  14. "ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปี พ.ศ. 2550 - Open Government Data of Thailand". data.go.th.
  15. "ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปี พ.ศ. 2554 - Open Government Data of Thailand". data.go.th.
  16. "เลือกตั้ง 2562 : กกต.เปิดคะแนนดิบ 81 พรรค 100 %". Thai PBS.
  17. "รายงานสด ผลการเลือกตั้ง 2566 แบบเรียลไทม์". รายงานสด ผลเลือกตั้ง 2566 (ภาษาอังกฤษ).