การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535
![]() | |||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
ผู้ใช้สิทธิ | 23.02% (![]() | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||||||||
|
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 จัดเป็น การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นครั้งที่ 4 สืบเนื่องจากการลาออกจากตำแหน่ง ก่อนหมดวาระ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของ พลตรี จำลอง ศรีเมือง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ใน การเลือกตั้ง มีนาคม 2535 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2535 จึงจัดให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 เมษายน 2535
สถานการณ์ก่อนการเลือกตั้ง[แก้]
สืบเนื่องจาก การลาออกจากตำแหน่ง ก่อนหมดวาระ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของ พลตรี จำลอง ศรีเมือง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ใน การเลือกตั้ง มีนาคม 2535 ในส่วนของ พรรคพลังธรรม เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2535 จึงเห็นสมควร จัดให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสียใหม่ โดยกำหนดจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 19 เมษายน 2535
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง[แก้]
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้สมัครลงรับเลือกตั้งทั้งหมด 19 คน ทั้งที่สังกัดพรรคการเมืองและไม่สังกัดพรรคการเมือง โดยมีผู้สมัครที่น่าสนใจ อาทิ[1]:
- วรัญชัย โชคชนะ (ผู้สมัครอิสระ) – นักกิจกรรมทางการเมือง (หมายเลข 1)
- ประทีป เสียงหวาน (ผู้สมัครอิสระ) – สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (2516) อดีตนายกสมาคมสามล้อเครื่อง (หมายเลข 2)
- พิจิตต รัตตกุล (พรรคประชาธิปัตย์) – อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ พลังงาน และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (2526-2531) (หมายเลข 3)
- นายแพทย์ บุญเทียม เขมาภิรัตน์ (ผู้สมัครอิสระ) – อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (2522-2531) (หมายเลข 4)
- สมิตร สมิทธินันท์ (ผู้สมัครอิสระ) – นักกิจกรรมทางการเมือง (หมายเลข 7)
- ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (พรรคพลังธรรม) – รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธา (2533-2535) อดีต คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หมายเลข 9)
- พลอากาศเอก สมมต สุนทรเวช (พรรคประชากรไทย) – ข้าราชการบำนาญทหารอากาศ (หมายเลข 10)
- มติ ตั้งพานิช (พรรคความหวังใหม่) – อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (หมายเลข 15)
- คุณหญิง กนก สามเสน วิล (ผู้สมัครอิสระ) – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (2526) (หมายเลข 17)
ผลการเลือกตั้ง[แก้]
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535
หมายเลข | ผู้สมัคร | สังกัด | คะแนนเสียง |
---|---|---|---|
9 | ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา | พรรคพลังธรรม | 363,668 |
3 | พิจิตต รัตตกุล | พรรคประชาธิปัตย์ | 305,740 |
10 | พลอากาศเอก สมมต สุนทรเวช | พรรคประชากรไทย | 70,058 |
15 | มติ ตั้งพานิช | พรรคความหวังใหม่ | 3,685 |
4 | นายแพทย์ บุญเทียม เขมาภิรัตน์ | ผู้สมัครอิสระ | 2,943 |
7 | สมิตร สมิทธินันท์ | ผู้สมัครอิสระ | 1,138 |
2 | ประทีป เสียงหวาน | ผู้สมัครอิสระ | 1,133 |
8 | บุญญสิฐ สอนชัด | ผู้สมัครอิสระ | 1,133 |
11 | ชูชาติ มีสัตย์ | ผู้สมัครอิสระ | 799 |
1 | วรัญชัย โชคชนะ | ผู้สมัครอิสระ | 734 |
17 | คุณหญิง กนก สามเสน วิล | ผู้สมัครอิสระ | 717 |
5 | ถวิล วิสุทธจินดา | ผู้สมัครอิสระ | 607 |
19 | อุลิต สดุดี | ผู้สมัครอิสระ | 465 |
6 | ไอศูรย์ หมั่นรักเรียน | ผู้สมัครอิสระ | 295 |
16 | ไพบูลย์ จันทรมงคล | ผู้สมัครอิสระ | 275 |
14 | ประสาน ภู่ปั้น | ผู้สมัครอิสระ | 170 |
18 | แดน เวลาดี | ผู้สมัครอิสระ | 156 |
13 | ผนึก ธัญรส | ผู้สมัครอิสระ | 151 |
12 | โพธิแก้ว หอธรรมรัตน์ | ผู้สมัครอิสระ | 116 |
รวมคะแนนเสียงที่ให้ผู้สมัครทั้งหมด | 756,983 | ||
บัตรเสีย | N/A | ||
รวม | 756,983 | ||
ข้อมูล: [2] |
ปฏิกิริยาหลังจากการเลือกตั้ง[แก้]
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า ร.อ.กฤษฎา จากการสนับสนุนของ พล.ต.จำลอง ที่ก่อนหน้านั้นในการเลือกตั้งทั่วไป พรรคพลังธรรมได้รับการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้รับเลือกตั้งไปด้วยคะแนนเสียง 363,668 คะแนน ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไป แต่ทว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิเพียงแค่ร้อยละ 23.02 เท่านั้น ซึ่งนับว่าน้อยมาก[3] [4] [5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-23. สืบค้นเมื่อ 2019-06-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 109, ตอนที่ 60, วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535, หน้า 5198
- ↑ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.กับทางเลือกของประชาชน จาก[ลิงก์เสีย]ผู้จัดการออนไลน์
- ↑ ประวัติการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จาก เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเนชั่นแชนแนล
- ↑ Duncan McCargo, Chamlong Srimuang and the new Thai politics (London: Hurst & Company, 1997), p. 140.
บรรณานุกรม[แก้]
- เกษตรศิริ, ชาญวิทย์ (March 2012). กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2545. โพสต์บุ๊กส์. ISBN 974-228-070-3.