ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
}}
}}


พลเอก '''พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ''' (4 มกราคม พ.ศ. 2441 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496) เมื่อแรกประสูติมีพระอิสริยยศที่ '''หม่อมเจ้านักขัตรมงคล''' เป็นพระโอรสใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ]] กับ[[หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร]] เป็นพระราชชนกใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] และเป็นพระราชอัยกาใน[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
พลเอก '''พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ''' (4 มกราคม พ.ศ. 2441 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496) เมื่อแรกประสูติมีพระอิสริยยศที่ '''หม่อมเจ้านักขัตรมงคล''' เป็นพระโอรสใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ]] กับ[[หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร]] เป็นพระราชชนกใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] และเป็นพระราชอัยกาใน[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]หลังจากการสิ้นพระชนม์ของ [[พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ]][[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] จึงทรงพระกรุณาโปรดฯให้เชิญพระศพลงสู่[[พระโกศ]] และทรงพระกรุณาโปรดฯให้บำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานพระศพเรื่อยมาจนวันพระราชทานเพลิง พระราชทานเพลิงพระศพ ณ [[พระเมรุ]] [[วัดเทพศิรินทราวาส]]


== การศึกษา ==
== การศึกษา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:16, 16 กรกฎาคม 2564

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นตรี
เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2489-2490 (สมัยที่ 1)
ก่อนหน้าพระมนูเวทย์วิมลนาท (เปี๋ยน สุมาวงศ์)
ถัดไปดิเรก ชัยนาม
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2491-2493 (สมัยที่ 2)
ก่อนหน้าดิเรก ชัยนาม
ถัดไปพระพหิทธานุกร (ส่วน นวราช)
ประสูติ4 มกราคม พ.ศ. 2441
สิ้นพระชนม์11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 (55 ปี)
หม่อมหม่อมหลวงบัว กิติยากร
พระบุตร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พระมารดาหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร
รับใช้กองทัพบกไทย
ชั้นยศ พลเอก

พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (4 มกราคม พ.ศ. 2441 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496) เมื่อแรกประสูติมีพระอิสริยยศที่ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กับหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร เป็นพระราชชนกในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระราชอัยกาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังจากการสิ้นพระชนม์ของ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดฯให้เชิญพระศพลงสู่พระโกศ และทรงพระกรุณาโปรดฯให้บำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานพระศพเรื่อยมาจนวันพระราชทานเพลิง พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส

การศึกษา

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ทรงรับการศึกษาเบื้องต้น ณ วังที่ประทับ จากนั้นทรงศึกษาในโรงเรียนราชวิทยาลัย (ปัจจุบันคือโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) กระทั่ง พ.ศ. 2453 ทรงศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ชั้นประถม และชั้นมัธยมตามลำดับ ครั้น พ.ศ. 2454 เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เป็นนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. 2457 เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยม ในประเทศฝรั่งเศส กระทั่งได้รับประกาศนียบัตร Baccalauréat ทั้ง 2 ภาค ในทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยฝรั่งเศส École Spéciale Militaire de Saint Cyr โดยได้รับยศสิบโทและสิบเอกแห่งกองทัพฝรั่งเศส

การทำงาน

พ.ศ. 2463 ทรงศึกษาจนจบหลักสูตร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานสัญญาบัตรเป็นร้อยตรีเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2463[1] ตำแหน่งนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2465 โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ ร้อยโท ขณะศึกษาวิชาการทหารอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส[2] และยังได้ประจำการในกรมทหารราบฝรั่งเศสหลายแห่งด้วย ขณะเดียวกันได้ทรงรับคำสั่งเป็นนายทหารประจำพระองค์พันเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (ภายหลังคือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) และได้เสด็จไปทอดพระเนตรงานในกองทัพฝรั่งเศสอย่างกว้างขวาง และได้รู้จักคุ้นเคยนายทหารผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก จากนั้นในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2467 ได้รับพระราชทานยศ ร้อยเอก[3] ต่อมาในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 รับพระราชทานยศ พันตรี[4]

วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2472 ทรงรับราชการทหารจนได้รับพระราชทานยศพันโท[5] วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 รับพระราชทานยศพันเอก[6] ระหว่างนี้ทรงสร้างตำราทางทหารและสร้างแบบฝึก และวางแผนการป้องกันราชอาณาจักรไว้หลายอย่าง เมื่อ พ.ศ. 2474 ทรงได้รับตำแหน่งเลขานุการสภาการป้องกันพระราชอาณาจักร [7] และตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกด้วยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475[8] โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2474 พระองค์ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายทหาร [9]

เมื่อ พ.ศ. 2475 ทรงออกจากประจำการเป็นนายทหารกองหนุน[10] แล้วย้ายไปรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ ตำแหน่งเลขานุการเอกประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อีกสองปีต่อมา ทรงลาออกจากตำแหน่งและเสด็จกลับประเทศไทย ระหว่างนี้ทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ หลายแขนง เช่น ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ และวรรณคดี

วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2489 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่ง อัครราชทูตประจำราชสำนักเซนต์เจมส์ สหราชอาณาจักร[11] ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 อันตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เป็นอัครราชทูตไทยประจำราชสำนักเซนต์เจมส์อีกวาระหนึ่ง[12] วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2490 ย้ายไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำประเทศเดนมาร์ก[13] และฝรั่งเศส ตามลำดับ[14] จากนั้นก็ย้ายไปดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำสำนักเซนต์เจมส์[15] อันเป็นตำแหน่งสุดท้ายในกระทรวงการต่างประเทศ

พ.ศ. 2493 ทรงพ้นตำแหน่งเอกอัครราชทูต และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานยศทหารเป็น พลเอก นายทหารพิเศษประจำกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และเป็นราชองครักษ์พิเศษ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2493[16] และโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2493[17] และสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493[18]

เมื่อ พ.ศ. 2495 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ[19] และรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก และมหาจักรีบรมราชวงศ์ ตามลำดับ

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ เริ่มประชวรพระโรคหลอดลมอักเสบ เมื่อกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2496 และยังประชวรพระโรควักกะ (ไต) พิการด้วย จนถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 เวลา 7.45 น. ก็สิ้นพระชนม์ ณ วังที่ประทับ สิริพระชันษา 55 ปี 1 เดือน 8 วัน

พระโอรส-ธิดา

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ เสกสมรสกับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; บุตรีของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)) เมื่อ พ.ศ. 2471 มีพระโอรส-ธิดา ดังนี้

  1. หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (20 กันยายน พ.ศ. 2472 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2530)
  2. หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547)
  3. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2475)
  4. ท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ (2 สิงหาคม พ.ศ. 2477)

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ
ลำดับโปเจียมไม่ทราบ

พระอิสริยยศ

  • 4 มกราคม พ.ศ. 2441 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 : หม่อมเจ้านักขัตรมงคล
  • 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล
  • 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 : พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. พระราชทานยศทหารบก
  2. พระราชทานยศทหารบก
  3. พระราชทานยศทหารบก
  4. พระราชทานยศทหารบกและข้าราชการ (หน้า ๗๔๕)
  5. พระราชทานยศ (หน้า ๑๑๒)
  6. พระราชทานยศ
  7. ประกาศสภาการป้องกันพระราชอาณาจักร เรื่อง ตั้งเลขานุการแห่งสภาการป้องกันพระราชอาณาจักร
  8. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนย้ายและปลดนายทหารกับตั้งราชองครักษ์เวร (ลำดับที่ ๑๓)
  9. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนย้ายนายทหารรับราชการ
  10. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง นายทหารออกจากประจำการ (ลำดับที่ ๓๐)
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอัครราชทูตไทยประจำประเทศเดนมาร์ก
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐฝรั่งเศส
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศอังกฤษและสาธารณรัฐจีนกับตั้งอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐฝรั่งเศส
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  17. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งองคมนตรี (พลเอก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร)
  18. พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระราชวงศ์
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการประกาศสถาปนาพระราชวงศ์, เล่ม ๖๙, ตอน ๒๘ ก, ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕, หน้า ๖๔๔
  20. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๒๘๖ เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๒๙, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
  21. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๘๐๖ เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๒๕, ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
  22. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๒๘๖ เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๒๙, ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
  23. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๓๐๔ เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๑๖, ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
  24. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 3085 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2474
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญเล่ม 44 หน้า 2567 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2470
  26. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๓๑๒๒ เล่ม ๔๓, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๙
  27. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐, ตอน ๖ง, ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖, หน้า ๒๓๔
  28. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แหล่งข้อมูลอื่น

  • พระราชพิธีสิบสองเดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์. (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตร วันที่ 7 มิถุนายน พุทธศักราช 2496).