ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครเชียงใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Porntep Kamonpetch (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5096443 สร้างโดย CommonsDelinker (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
<!-- ข้อมูลเสริม -->
<!-- ข้อมูลเสริม -->
| คำขวัญ = เชียงใหม่เมืองน่าอยู่ เฟื่องฟูวัฒนธรรม นำด้วยธรรมาภิบาล บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชน<ref>http://www.cmcity.go.th//flash/header.swf</ref>
| คำขวัญ = เชียงใหม่เมืองน่าอยู่ เฟื่องฟูวัฒนธรรม นำด้วยธรรมาภิบาล บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชน<ref>http://www.cmcity.go.th//flash/header.swf</ref>
| ชื่อนายกเทศมนตรี = [[ทัศนัย บูรณุปกรณ์|นายทัศนัย บูรณุปกรณ์]]
| ชื่อนายกเทศมนตรี = ยงยุทธ อุ่ยประภัสสร <br> (ปลัดเทศบาลฯ ปฎิบัติหน้าที่แทนฯ)
| รหัสiso = 5099
| รหัสiso = 5099
| พื้นที่ = 40.216
| พื้นที่ = 40.216

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:40, 20 กันยายน 2556

เทศบาลนครเชียงใหม่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Chiang Mai City
คำขวัญ: 
เชียงใหม่เมืองน่าอยู่ เฟื่องฟูวัฒนธรรม นำด้วยธรรมาภิบาล บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชน[1]
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรียงยุทธ อุ่ยประภัสสร
(ปลัดเทศบาลฯ ปฎิบัติหน้าที่แทนฯ)
พื้นที่
 • ทั้งหมด40.216 ตร.กม. (15.527 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2554)
 • ทั้งหมด137,797 คน
 • ความหนาแน่น3,426.42 คน/ตร.กม. (8,874.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่
เลขที่ 1 ถนนวังสิงห์คำ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์0 5325 9000
เว็บไซต์http://www.cmcity.go.th/ http://www.cmcity.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ไฟล์:Chiang Mai2.jpg
ถนนในตัวเมืองเชียงใหม่ ด้านขวาเป็นกำแพงเมืองเก่า
ภาพตัวเมืองเชียงใหม่เมื่อมองจากดอยสุเทพ
ไฟล์:Chiang Mai night skyline.JPG
วิวทิวทัศน์ตัวเมืองเชียงใหม่ยามค่ำคืน มองลงมาจากดอยสุเทพ

เทศบาลนครเชียงใหม่ หรือ เขตนครเชียงใหม่ (ไทยถิ่นเหนือ: )) เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีพิกัดภูมิศาสตร์ 18°47′20″ เหนือ 98°59′00″ ตะวันออก นครเชียงใหม่ ถูกเปรียบว่าเป็น กุหลาบแห่งเมืองเหนือ เนื่องด้วยเป็นเมืองที่สวยงาม บรรยากาศดีแห่งหนึ่งของประเทศ นครเชียงใหม่ซึ่งเป็นอดีตนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาถือเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือ มีศักยภาพและความพร้อมในหลายๆ ด้าน อีกทั้งนครเชียงใหม่ ยังเป็นนครประวัติศาสตร์ที่ยังคงหลงเหลือหลักฐานทางวัฒนธรรม ทั้งโบราณสถานมากมายในเมืองที่เป็นลักษณะเฉพาะของเชียงใหม่บ่งบอกถึงความเป็นล้านนา ทำให้เชียงใหม่ เป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้นๆของไทย

ประวัติเทศบาลนครเชียงใหม่

นครเชียงใหม่ เมื่อเริ่มแรกมีฐานะเป็นเพียงสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 และยังขึ้นตรงต่อมณฑลพายัพ แต่ต่อมาเมื่อประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปีพ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรจึงมีมติสมควรจัดตั้งชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุขาภิบาลให้มีฐานะเป็น เทศบาล โดยในครั้งนั้นนครเชียงใหม่ได้รับฐานะใหม่จากสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็น "เทศบาลนครเชียงใหม่" ในปี พ.ศ. 2478 [2] ถือได้ว่าเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของไทย

รายนามนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่

ลำดับ ชื่อ-สกุล วาระ
พิรุณ อินทราวุธ พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494
27 กนก รัตนัย
28 ศรีสวัสดิ์ อาวิพันธ์ ? - พ.ศ. 2528
29 วรกร ตันตรานนท์ พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2538
30 บุษบา ยอดบางเตย พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2541
31 ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543
32 บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2550
33 เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552
34 ทัศนัย บูรณุปกรณ์ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน

ประชากรศาสตร์

นครเชียงใหม่มีประชากรประมาณ 141,361 คน ชาย 66,036 คน หญิง 75,325 คน จำนวนบ้านเรือน 75,878 หลังคาเรือน[3] ในปัจจุบันนครเชียงใหม่กลาเป็นศูนย์กลางความเจริญทุกๆด้านของภูมิภาค ทำให้มีประชากรแฝง อพยพมาอาศัยในนครเชียงใหม่ มากกว่า 2.5 ล้านคน [4] และมีประชากรในต่างอำเภอในจงหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาใช้บริการในเขตเมืองในเวลากลางวัน และอพยพออกไปในเวลากลางคืนประมาณ 250,000 คน/วัน ทำให้ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีความหนาแน่น และมีสภาพการจราจรที่คับคั่ง ไม่ต่างราวกับกรุงเทพมหานคร [5]

ภาษา

ตัวอักษรล้านนา (คำเมือง)ภาษาราชการที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และมีภาษาท้องถิ่นซึ่งเรียกว่า ภาษาคำเมือง ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของทางภาคเหนือ มีคุณลักษณะของภาษาที่คล้ายๆกัน จะแตกต่างกันเฉพาะ สำเนียงและศัพท์บางคำ แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความไพเราะ ต่างกันไปนักท่องเที่ยวที่มาจากถิ่นอื่น ล้วนชื่นชมว่า "ภาษาคำเมืองนั้น มีความไพเราะ นุ่มนวล ยิ่งนักแล"

ศาสนา

ประชากรในนครเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธ 91.80% ศาสนาคริสต์ 5.60% ศาสนาอิสลาม 1.17% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซิกข์ 0.02% และอื่นๆ 1.14%

ประเพณีและวัฒนธรรม

นครเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่

  • ปีใหม่เมือง (สงกรานต์) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เข้าวัดก่อเจดีย์ทราย และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล

ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ด้วยโคมชนิดต่างๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ

  • ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวง เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก

เทศกาลร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน

  • มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ

พื้นที่

นครเชียงใหม่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 40.216 ตารางกิโลเมตรโดยครอบคลุมพื้นที่ 14 ตำบลของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ตำบลหายยา ตำบลช้างม่อย ตำบลศรีภูมิ ตำบลวัดเกต ตำบลช้างคลาน ตำบลพระสิงห์ ตำบลสุเทพ ตำบลป่าแดด ตำบลฟ้าฮ่าม ตำบลหนองป่าครั่ง ตำบลท่าศาลาบางส่วน ตำบลป่าตัน ตำบลหนองหอย และตำบลช้างเผือก

สภาพทั่วไป

ตัวเมืองเชียงใหม่บางส่วน ถ่ายเมื่อ 29/08/2554
ที่ตั้งและลักษณะของชุมชน

ชุมชนเมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนกลางเชิงดอยสุเทพ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านใจกลางเมืองในแนวเหนือ - ใต้ ชุมชนดั้งเดิมหรือบริเวณเมืองเก่าตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ต่อมาเมื่อชุมชนได้พัฒนาให้มีความเจริญขึ้น โดยมีการขยายตัวข้ามแม่น้ำปิง มาทางฝั่งตะวันออก และภายหลังจากที่ได้มีการตัดถนนอ้อมเมือง ชุมชนได้พัฒนาออกไปหลายทิศทางตามเส้นทางคมนาคม และโครงข่ายสาธารณูปโภค ธุรกิจการพัฒนาที่ดินและที่พักอาศัยได้ขยายตัวเป็นอย่างมาก สภาพที่แท้จริงของชุมชนเมืองเชียงใหม่ ในปัจจุบันไม่ได้คงอยู่แต่เฉพาะในเขตเทศบาลเท่านั้น แต่ได้ขยายออกไปตามบริเวณชานเมืองและชนบทโดยรอบ อย่างเช่น เขตอำเภอหางดง อำเภอสันทราย อำเภอแม่ริม อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แตง เป็นต้น

อาณาเขต

เทศบาลนครเชียงใหม่มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมือง ตำบลสันผีเสื้อ และอำเภอแม่ริม
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองหอย และตำบลป่าแดด
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองป่าครั่ง และตำบลฟ้าฮ่ามบางส่วน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติ ป่าดอยสุเทพ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครเชียงใหม่ (2504-2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 34.1
(93.4)
37.3
(99.1)
39.5
(103.1)
41.3
(106.3)
41.4
(106.5)
37.5
(99.5)
37.5
(99.5)
36.5
(97.7)
36.1
(97)
35.3
(95.5)
34.5
(94.1)
33.0
(91.4)
41.4
(106.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 28.9
(84)
32.2
(90)
34.9
(94.8)
36.1
(97)
34.1
(93.4)
32.3
(90.1)
31.7
(89.1)
31.1
(88)
31.3
(88.3)
31.1
(88)
29.8
(85.6)
28.3
(82.9)
31.8
(89.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 20.5
(68.9)
22.9
(73.2)
26.4
(79.5)
28.7
(83.7)
28.1
(82.6)
27.3
(81.1)
27.0
(80.6)
26.6
(79.9)
26.5
(79.7)
25.8
(78.4)
23.8
(74.8)
21.0
(69.8)
25.4
(77.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 13.7
(56.7)
14.9
(58.8)
18.2
(64.8)
21.8
(71.2)
23.4
(74.1)
23.7
(74.7)
23.6
(74.5)
23.4
(74.1)
23.0
(73.4)
21.8
(71.2)
19.0
(66.2)
15.0
(59)
20.1
(68.2)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 3.7
(38.7)
7.3
(45.1)
10.0
(50)
15.8
(60.4)
19.6
(67.3)
20.0
(68)
20.5
(68.9)
20.7
(69.3)
16.8
(62.2)
13.3
(55.9)
6.0
(42.8)
5.0
(41)
3.7
(38.7)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 6.9
(0.272)
4.6
(0.181)
13.0
(0.512)
50.1
(1.972)
158.4
(6.236)
131.6
(5.181)
160.8
(6.331)
236.0
(9.291)
227.6
(8.961)
121.9
(4.799)
52.8
(2.079)
19.8
(0.78)
1,183.5
(46.594)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 1 1 2 6 15 17 19 21 17 11 6 2 118
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 282.1 276.9 279.0 270.0 266.6 180.0 155.0 142.6 174.0 223.2 234.0 257.3 2,740.7
แหล่งที่มา 1: Thai Meteorological Department[6]
แหล่งที่มา 2: หอสังเกตการณ์ฮ่องกง[7], NOAA (extremes)[8]

ดวงตราเทศบาล

ดวงตราสัญลักษณ์ของเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นรูปพระบรมธาตุดอยสุเทพตั้งตระหง่านอยู่บนปุยเมฆ และยังมีพญานาค รวงข้าว และลายดอกประจำยาม ในดวงตราสัญลักษณ์อีกด้วย

ความหมาย

  1. พระบรมธาตุดอยสุเทพ สถานที่ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงยังเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ที่แห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของพระพุทธศาสนิกชนแสดงถึงการเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาในภาคเหนือที่รุ่งเรืองมายาวนานทุกสมัย
  2. ปุยเมฆ เป็นตัวบ่งบอกลักษณะสภาพอากาศโดยทั่วไปของนครเชียงใหม่ ที่เย็นสบายเกือบตลอดทั้งปี
  3. พญานาค ซึ่งตามประวัติความเป็นมานั้น พญานาคถือว่าเป็นผู้ให้น้ำ และในที่นี้หมายถึง แม่น้ำปิง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านนครเชียงใหม่
  4. รวงข้าว เปรียบดังความอุดมสมบูรณ์ของเมือง ที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีเช่นกัน

การแบ่งเขตการปกครอง

นครเชียงใหม่แบ่งการปกครอง ออกเป็น 4 แขวง ได้แก่

  1. แขวงนครพิงค์ มีพื้นที่ 11.7 ตารางกิโลเมตร
  2. แขวงกาวิละ มีพื้นที่ 11.4 ตารางกิโลเมตร
  3. แขวงเม็งราย มีพื้นที่ 7.7 ตารางกิโลเมตร
  4. แขวงศรีวิชัย มีพื้นที่ 9.2 ตารางกิโลเมตร

โครงสร้างพื้นฐาน

  • ถนนภายในเขตเทศบาล มี 2 ลักษณะ ประกอบด้วย

1. ถนนลาดยาง จำนวน 495 สาย ความยาวทั้งสิ้น 148.98 กิโลเมตร 2. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 212 สาย ความยาวทั้งสิ้น107.57 กิโลเมตร

  • สะพานและสะพานลอยคนข้ามภายในเขตเทศบาล

1.สะพานข้ามแม่น้ำปิง จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย

  • สะพานเฉลิมพระเกียรติ ร.9
  • สะพานนครพิงค์
  • สะพานนวรัฐ
  • สะพานจันทร์สม
  • สะพานเหล็ก
  • สะพานเม็งราย

2.สะพานข้ามคลองแม่ข่า จำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย

  • ถนนรัตนโกสินทร์
  • ถนนอัษฎาธร
  • ถนนวิชยานนท์
  • ถนนหน้าโรงแรมปริ้นส์
  • ถนนช้างม่อย
  • ถนนท่าแพ
  • ถนนลอยเคราะห์
  • ถนนศรีดอนชัย
  • ถนนระแกง

3.สะพานลอยคนข้าม จำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย

  • หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • หน้าตลาดวโรรส
  • หน้าสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่
  • หน้าตลาดต้นลำไย
  • หน้าโรงเรียนปริ้นส์รอแยลวิทยาลัย
  • หน้าโรงเรียนมงฟอร์ตประถม
  • หน้าโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
  • หน้าโรงพยาบาลแมคคอมิค
  • หน้าสวนกาญจนาภิเษก

การศึกษา

ในปี พ.ศ. 2550 เทศบาลนครเชียงใหม่มีโรงเรียนในสังกัดจำนวน 11 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 1 แห่ง มีจำนวนห้องเรียนทั้งสิ้น 162 ห้อง มีจำนวนครูทั้งสิ้น 273 คน และมีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 4,289 คน

สถาบันอุดมศึกษา ที่ตั้งในเขตพื้นที่ เทศบาลนครเชียงใหม่

สถาบันอาชีวศึกษา

  • วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
  • วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
  • วิทยาลัยโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่
  • โรงเรียนเมโทรเทคโนโลยี
  • โรงเรียนพาณิชยการลานนาเชียงใหม่
  • โรงเรียนพาณิชยการเชียงใหม่
  • โรงเรียนศรีธนาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีเชียงใหม่
  • โรงเรียนเทคโนโลยีเอเชีย เชียงใหม่

โรงเรียนนานาชาติ

  • โรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่
  • โรงเรียนนานาชาตินครพายัพ
  • โรงเรียนนานาชาติเปรม ติณสูลานนท์
  • โรงเรียนนานาชาติลานนา
  • โรงเรียนนานาชาติอเมริกันแปซิฟิก
  • โรงเรียนนานาชาติเกรซ
  • โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่

โรงเรียนเอกชนและโรงเรียนมัธยม (รัฐบาล)

สถานที่ท่องเที่ยว

  • วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร
  • ดอยปุย
  • อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
  • น้ำตกห้วยแก้ว
  • น้ำตกวังบัวบาน
  • ห้วยตึงเฒ่า
  • เชียงใหม่ไนท์บาซาร์
  • พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
  • สวนสัตว์เชียงใหม่

ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า

เมืองพี่น้อง

อ้างอิง

  1. http://www.cmcity.go.th//flash/header.swf
  2. พระราชบัญญัติจัดตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่ พุทธศักราช ๒๔๗๘ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2478
  3. [1]
  4. http://www.ryt9.com/s/prg/369382
  5. chiangmainews. เข้าถึงได้จาก: [2]
  6. "30 year Average (1961-1990) - CHIANG MAI". Thai Meteorological Department. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.
  7. "Climatological Information for Chiang Mai, Thailand". Hong Kong Observatory. สืบค้นเมื่อ 2010-10-28.
  8. "Climate Normals for Chiang Mai". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2555 หน้า 39. สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่

แหล่งข้อมูลอื่น