ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดกาฬสินธุ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 4252542 สร้างโดย OctraBot (พูดคุย)
EleferenBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: ru:Каласин (провинция)
บรรทัด 437: บรรทัด 437:
[[pnb:صوبہ کلاسن]]
[[pnb:صوبہ کلاسن]]
[[pt:Kalasin (província)]]
[[pt:Kalasin (província)]]
[[ru:Каласин (провинция)]]
[[sv:Kalasin]]
[[sv:Kalasin]]
[[tg:Вилояти Каласин]]
[[tg:Вилояти Каласин]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:02, 9 กันยายน 2555

จังหวัดกาฬสินธุ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Kalasin
คำขวัญ: 
เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา
ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว
ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาฬสินธุ์เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2554)
พื้นที่
 • ทั้งหมด6,946.746 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 28
ประชากร
 (พ.ศ. 2554)
 • ทั้งหมด981,655 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 23
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 28
รหัส ISO 3166TH-46
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองน้ำดำ
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้มะหาด
 • ดอกไม้พะยอม
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 4381 3215
 • โทรสาร0 4381 1620
เว็บไซต์http://www.kalasin.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ “เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล “กาฬ” แปลว่า “ดำ” “สินธุ์” แปลว่า “น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” และยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง

อาณาเขตติดต่อ

กาฬสินธุ์ มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ประวัติ

ตามบันทึกประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ในปี พ.ศ. 2336 บ้านแก่งสำโรงได้รับการสถาปนาเป็น เมืองกาฬสินธุ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากเจ้าโสมพะมิตรเข้าเฝ้าฯ ถวายสวามิภักดิ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งขึ้นเป็น "พระยาไชยสุนทร" เจ้าเมืองท่านแรกโดยให้รั้งเมืองสืบไป

เมื่อ พ.ศ. 2437 เมื่อพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) เป็นเจ้าเมือง มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มาเป็นรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล มีมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด และมีอำนาจปกครองอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด โดยให้พระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์

ต่อมาเกิดข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ การเงินฝืดเคือง จำเป็นต้องยุบจังหวัดต่าง ๆ ลงเพื่อให้สมดุลกับรายได้ของประเทศ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอรรถเปศลสรวดี เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม (แทนพระยามหาสารคามคณาภิบาลซึ่งออกรับบำนาญ) ครั้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑล

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ได้ยกฐานะเป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2490 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2490 จนถึงปัจจุบัน[3]

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 135 ตำบล 1584 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 69 แห่ง (เทศบาลเมือง 2 แห่ง และเทศบาลตำบล 67 แห่ง) และองค์การบริหารส่วนตำบล 81 แห่ง

  1. อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
  2. อำเภอนามน
  3. อำเภอกมลาไสย
  4. อำเภอร่องคำ
  5. อำเภอกุฉินารายณ์
  6. อำเภอเขาวง
  7. อำเภอยางตลาด
  8. อำเภอห้วยเม็ก
  9. อำเภอสหัสขันธ์
  10. อำเภอคำม่วง
  11. อำเภอท่าคันโท
  12. อำเภอหนองกุงศรี
  13. อำเภอสมเด็จ
  14. อำเภอห้วยผึ้ง
  15. อำเภอสามชัย
  16. อำเภอนาคู
  17. อำเภอดอนจาน
  18. อำเภอฆ้องชัย
แผนที่อำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พระยาไชยสุนทร (โสมพะมิต) ผู้ก่อตั้งเมืองและเจ้าเมืองคนแรก พ.ศ. 2336 - 2349
2. พระยาไชยสุนทร (หมาแพง) พ.ศ. 2349 - 2369
3. พระยาไชยสุนทร (เจียม) พ.ศ. 2371 - 2382
4. พระยาไชยสุนทร (หล้า) พ.ศ. 2383 - 2388
5. พระยาไชยสุนทร (ทอง) พ.ศ. 2389 - 2394
6. พระยาไชยสุนทร (จารย์ละ) พ.ศ. 2394 - 2395
7. พระยาไชยสุนทร (กิ่ง) พ.ศ. 2395 - 2411
8. พระยาไชยสุนทร (หนู) พ.ศ. 2411 - 2420
9. พระยาไชยสุนทร (นนท์) พ.ศ. 2420 - 2425
10. พระยาไชยสุนทร (พั้ว) พ.ศ. 2425 - 2433
11. พระยาไชยสุนทร (เก) พ.ศ. 2433 - 2437
12. พระยาไชยสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) พ.ศ. 2437 - 2444
13. หลวงอภัย พ.ศ. 2444 - 2455
14. พระยาไชยสุนทร (ปุย อินทรตุล) พ.ศ. 2455 - 2461
15. พระยาไชยสุนทรภักดี พ.ศ. 2461 - 2474
16. พระเสน่หามนตรี (ชื่น สุคนธหงษ์)[4] [5] พ.ศ. 2474 - 2483
17. พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร) [6] พ.ศ. 2483 - 2490
18. ขุนบริบาลบรรพตเขต พ.ศ. 2490 - 2492
19. ขุนรัตนวรพงศ์ พ.ศ. 2492 - 2493
20. นายปลั่ง ทัศนประดิษฐ์ พ.ศ. 2493 - 2496
21. ขุนบุราษฎรนราภัย พ.ศ. 2496 - 2497
22. นายเชวง ไสยสุต พ.ศ. 2497 - 2499
23. นายพร บุญยประสบ [7] พ.ศ. 2500 - 2502
24. นายเลื่อน ไขแสง พ.ศ. 2502 - 2509
25. นายบุรี พรหมลักขโณ พ.ศ. 2509 - 2513
26. นายสง่า จันทรสาขา พ.ศ. 2513 - 2515
27. นายวิเชียร เวชสวรรค์ พ.ศ. 2515 - 2516
28. นายดำรง วชิโรดม พ.ศ. 2516 - 2519
29. นายอรุณ ปุสเทพ พ.ศ. 2519 - 2521
30. นายกรี รอดคำดี พ.ศ. 2521 - 2523
31. นายประกิต พิณเจริญ พ.ศ. 2523 - 2527
32. นายสนอง รอดโพธิ์ทอง พ.ศ. 2527 - 2528
33. ร.ต.ปฏิภาณ จูฑะพุทธิ พ.ศ. 2528 - 2531
34. ร.ต.วัฒนา สูตรสุวรรณ พ.ศ. 2531 - 2533
35. พ.ต.ดาวเรือง นิชรัตน์ พ.ศ. 2533 - 2535
36. นายสนิทวงศ์ อุเทศนันทน์ พ.ศ. 2535 - 2538
37. นายชวพงษ์ วัฒนสินธุ์ พ.ศ. 2538 - 2540
38. นายประสิทธิ์ พรรณพิสุทธิ์ พ.ศ. 2540 - 2541
39. นายวีระ เสรีรัตน์ พ.ศ. 2541 - 2542
40. นายชัยรัตน์ มาประณีต พ.ศ. 2542 - 2546
41. นายวรสิทธิ์ โรจนพานิช พ.ศ. 2546 - 2547
42. นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ พ.ศ. 2547 - 2548
43. นายกวี กิตติสถาพร พ.ศ. 2548 - 2550
44. นายประชา จิตสุทธิผล พ.ศ. 2550 - 2551
45. นายเดชา ตันติยวรงค์ พ.ศ. 2551 - 2552
46. นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ 1 ต.ค. 2552 - 27 พ.ย. 2554
47.นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต 28 พ.ย. 2554 - ปัจจุบัน

[8]

การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

สถาบันอาชีวศึกษา

โรงเรียน

ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร

เมืองพี่น้อง

อาหารพื้นเมือง

อนุสาวรีย์พระยาไชยสุนทร (ท้าวโสมพะมิต) เจ้าเมืองคนแรก

สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน

เทศกาลและงานประเพณี

อุทยาน

  • จังหวัดกาฬสินธุ์มีพื่นที่ป่าทั้งหมดประมาณ ๑,๑๕๐,๐๐๐ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๒๗ ของพื่นที่ในจังหวัด
  • อุทยานแห่งชาติภูพาน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของป่าสงวน ฯ ป่าแก้งกะอาม และบางส่วนของป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ และอำเภอห้วยผึ้ง มีพื้นที่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ ๕๗,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นอุทยาน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ และปี พ.ศ. ๒๕๒๕
  • อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ อ.คำม่วง อ.สมเด็จ บางส่วน
  • วนอุทยานภูพระ อยู่ในตำบลนาตาล อำเภอทุ่งคันโท มีพื้นที่ประมาณ ๖,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงมูล
  • วนอุทยานภูแฝก อยู่ที่บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงห้วยผา
  • วนอุทยานภูผาวัว อยู่ในตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ ๒๘,๐๐๐ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้ และป่าตอห่ม
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว อยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธ์ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ไร่เศษ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำของเขื่อนลำปาว
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงบังอี แปลงที่ ๒
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงระแนง อยู่ในเขตอำเภอยาวตลาด และอำเภอห้วยเม็ก มีพื้นที่ประมาณ ๖๙,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงแม่แฝด อยู่ในเขตอำเภอนามน อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๙,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่แปลงที่ ๑ อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู อยู่ในเขตอำเภอเขาวง และอำเภอนาดู มีพื้นที่ประมาณ ๘๘,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอห้วยผึ้ง และกิ่งอำเภอนาดู มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๐,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่านาจาร - ดงขวาง อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๓๗,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโคกกลางหมื่น อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๕,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงนามน อยู่ในเขตอำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากังกะอวม อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ ๘๘,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงด่านแย้ อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ ๗๖,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูพาน อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ ๒๑๕,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงมูล อยู่ในเขตอำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี และอำเภอท่าคันโท มีพื้นที่ประมาณ ๒๕๙,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่ แปลงที่ ๒ อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗
  • สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีอยู่แห่งเดียวคือ สถานี ฯ ลำปาว มีพื้นที่ประมาณ ๑,๕๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
  • ป่าชุมชน คือ กิจการของป่าที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อีกรูปแบบหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ มีป่าชุมชนอยู่ ๑๕ หมู่บ้าน เช่น ป่าชุมชนบ้านหนองผ้าอ้อม และป่าชุมชนบ้านสูงเนิน เป็นต้น

บุคคลที่มีชื่อเสียง

นักการเมือง

  • ชิงชัย มงคลธรรม หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
  • สังข์ทอง ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
  • สุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ แบบบัญชีรายชื่อ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
  • สิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกาฬสินธุ์
  • รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
  • บุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 1
  • วีระวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 2
  • คมเดช ไชยศิวามงคล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 3
  • พีระเพชร ศิริกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 4
  • นิพนธ์ ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 5
  • ประเสริฐ บุญเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 6

นามสกุลพระราชทานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดกาฬสินธุ์

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ประกาศสานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชบัญญาบัติ จัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2490ตอนที่ ๓๑ เล่ม ๖๔ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๙๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด ย้าย ตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด,เล่ม ๔๔ หน้า ๑๑๖๐ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา,เรื่องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์,เล่ม ๔๕ หน้า ๑๕๐๘ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๗๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด ตั้ง ย้าย ผู้ว่าราชการจังหวัด วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๗๒ เล่ม ๔๖ หน้า ๒๓๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเล่ม ๗๔ ตอน ๑๑ ๒๙ มกราคม ๑๕๐๐
  8. www.kalasin.go.th

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น