ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดแพร่"

พิกัด: 18°09′N 100°10′E / 18.15°N 100.16°E / 18.15; 100.16
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nattapat toomtam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
RxAlchemiste (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 215: บรรทัด 215:


เมืองแพร่เป็น[[เมืองโบราณ]] อายุประมาณ 1,000 ปี เริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นเมืองประมาณ[[พุทธศตวรรษที่ 12]] หลังจากการก่อตั้ง[[เมืองเชียงใหม่]]และ[[สุโขทัย]] ซึ่งตาม[[ศิลาจารึก]]ของ[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]จารึกเอาไว้ เมืองแพร่เคยเป็นเมืองหนึ่งของ[[อาณาจักรสุโขทัย]] มีชื่อว่า "เมืองแพล" ต่อมาสมัย[[ขอม]]เรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อ เมืองแพล เป็น "เวียงโกศัย" ซึ่งแปลว่า ผ้าแพร และต่อมาเปลี่ยนเป็น เมืองแพร่ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเปลี่ยนตั้งแต่สมัยใด ซึ่งชาวล้านนานิยมออกเสียงเป็น "เมืองแป้" และเป็นจังหวัดแพร่ในปัจจุบัน จากตำนานเมืองเหนือ เมืองแพร่มีชื่อเดิมว่า "พลนคร" หรือ "เมืองพล" และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองแพล ในสมัยขอมเรืองอำนาจราว พ.ศ. 470-1560 [[พระนางจามเทวี]] ได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตล้านนา ได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพลเป็น "โกศัยนคร" หรือ "นครโกศัย" หรือ "เวียงโกศัย" ซึ่งแปลว่าผ้าแพร นับตั้งแต่นั้นมา ได้มีผู้ครอบครองสืบเนื่องกันมาหลายสมัย ในรัชสมั[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5]] แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ได้เปลี่ยนจากการปกครองจากผู้เจ้าครองนครเป็น[[มณฑลเทศาภิบาล]]ในปี พ.ศ. 2440 และได้โปรดเกล้าให้พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ไปเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรก<ref>http://www.phrcc.ac.th/phrae/phrae_3.html</ref>
เมืองแพร่เป็น[[เมืองโบราณ]] อายุประมาณ 1,000 ปี เริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นเมืองประมาณ[[พุทธศตวรรษที่ 12]] หลังจากการก่อตั้ง[[เมืองเชียงใหม่]]และ[[สุโขทัย]] ซึ่งตาม[[ศิลาจารึก]]ของ[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]จารึกเอาไว้ เมืองแพร่เคยเป็นเมืองหนึ่งของ[[อาณาจักรสุโขทัย]] มีชื่อว่า "เมืองแพล" ต่อมาสมัย[[ขอม]]เรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อ เมืองแพล เป็น "เวียงโกศัย" ซึ่งแปลว่า ผ้าแพร และต่อมาเปลี่ยนเป็น เมืองแพร่ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเปลี่ยนตั้งแต่สมัยใด ซึ่งชาวล้านนานิยมออกเสียงเป็น "เมืองแป้" และเป็นจังหวัดแพร่ในปัจจุบัน จากตำนานเมืองเหนือ เมืองแพร่มีชื่อเดิมว่า "พลนคร" หรือ "เมืองพล" และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองแพล ในสมัยขอมเรืองอำนาจราว พ.ศ. 470-1560 [[พระนางจามเทวี]] ได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตล้านนา ได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพลเป็น "โกศัยนคร" หรือ "นครโกศัย" หรือ "เวียงโกศัย" ซึ่งแปลว่าผ้าแพร นับตั้งแต่นั้นมา ได้มีผู้ครอบครองสืบเนื่องกันมาหลายสมัย ในรัชสมั[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5]] แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ได้เปลี่ยนจากการปกครองจากผู้เจ้าครองนครเป็น[[มณฑลเทศาภิบาล]]ในปี พ.ศ. 2440 และได้โปรดเกล้าให้พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ไปเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรก<ref>http://www.phrcc.ac.th/phrae/phrae_3.html</ref>

====สมัยนครรัฐ====

ในปี พ.ศ. 1371 "พญาพล" หรือ "พญาพละราช" ได้อพยพผู้คนส่วนหนึ่งลงมาจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำลงมาทางใต้ สร้างเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมเรียกว่า "พละนคร" ตามชื่อของพญาพลผู้สร้างเมือง พญาพลได้สร้างวัดหลวงเป็นวัดแรกและสร้างวิหารหลวงพลนครไว้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนหลวงอันเป็นพระประธานเมือง ต่อมา เมืองแพร่ถูกหริภุญไชยเข้าครอบครองและส่งเชื้อสายราชวงศ์มาเป็นเจ้าเมือง

====สมัยสุโขทัย====

ในปี พ.ศ. 1826 เมื่อหริภุญไชยถูกพญามังรายตีแตกทำให้เมืองต่างๆที่เคยอยู่ในอำนาจของหริภุญไชยแยกตัวออกมา สำหรับเมืองแพร่ซึ่งขาดเจ้าผู้ครองนคร ทางสุโขทัยจึงยกกองทัพเข้ามาโจมตี ทำให้เมืองแพร่ตกเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัย ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ทำให้เมืองแพร่รับอิทธิพลทางศิลปะจากสุโขทัย ทั้งวัดวาอารามและพระพุทธรูปแบบสุโขทัย โดยเฉพาะ ในสมัยพระยาลิไทที่พระองค์ทรงส่งเสริมทางด้านการศาสนาเป็นอย่างมาก

====สมัยล้านนา====

ในปี พ.ศ. 1986 พระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ยกกองทัพมาตีเอาเมืองแพร่ในช่วงเวลาที่สุโขทัยอ่อนแอและหมดอำนาจทางการเมืองแล้ว โดยมีพระราชมารดาเป็นแม่ทัพ พญาแม่นคุนเป็นผู้ครองเมืองแพร่ไม่ออกรบ ยังคงนิ่งอยู่แต่ภายในเวียง เมื่อกองทัพเชียงใหม่ยิงต้นตาลแตกออกเป็นสองเสี่ยง พญาแม่นคุนจึงยอมแพ้และยอมให้กองทัพเชียงใหม่เข้าเมืองได้ ทำให้เมืองแพร่ถูกผนวกในอาณาจักรล้านนา

====สมัยอิทธิพลของพม่า====

ในปี พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนองยกทัพจากพม่ามาตีล้านนา กองทัพล้านนาไม่สามารถต่อสู้พวกพม่าได้ ล้านนาจึงกลายเป็นเมืองขึ้นของพม่า ต่อมา พระเจ้าล้านช้าง พญาเชียงใหม่ พญาน่าน พญาแพร่ พญาลคอร พญาเชียงราย พญาเชียงของ ก็เข้าร่วมต้านพม่าด้วย แต่ก็พ่ายแพ้แตกหนีไป ทำให้พม่าสามารถยึดล้านนาเป็นเมืองขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ แม้มีความพยายามต่อสู้พม่าหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งถึงช่วงธนบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์จึงสามารถขับไล่พม่าออกไปได้

====สมัยรัตนโกสินทร์====

เจ้าเมืองแพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์มีดังนี้ พญาแสนซ้าย, พญามังไชย (พญาเมืองไจย), เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นทอง (เจ้าหลวงอุปเสน), เจ้าหลวงอินทวิไชย, เจ้าหลวงพิมพิสาร และเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายคือ เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2442 มีการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคใหม่ โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล เมืองแพร่จึงถูกผนวกในมณฑลพายัพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 ได้มีการแยกพื้นที่ด้านตะวันออกเป็นมณฑลมหาราษฎร์ แต่ก็ยุบรวมกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2468
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 ระบบมณฑลเทศาภิบาลจึงถูกยกเลิกไป และจัดตั้งระบบจังหวัดขึ้นแทน เมืองแพร่จึงกลายเป็นจังหวัดแพร่ดังเช่นในปัจจุบัน



== ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ==
== ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:33, 20 มิถุนายน 2555

จังหวัดแพร่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Phrae
คำขวัญ: 
หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดแพร่เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายเกษม วัฒนธรรม
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2554)
พื้นที่
 • ทั้งหมด6,538.598 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 31
ประชากร
 (พ.ศ. 2554)
 • ทั้งหมด458,750 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 60
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 66
รหัส ISO 3166TH-54
ชื่อไทยอื่น ๆแพล พลนคร เวียงโกศัย
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ยมหิน
 • ดอกไม้ยมหิน
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 5452 3422
 • โทรสาร0 5451 1411
เว็บไซต์http://www.phrae.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดแพร่ เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อดีตเป็นแหล่งไม้สักที่สำคัญของประเทศ มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบมีทิวเขาล้อมรอบ

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกยมหิน (Chukrasia tabularis)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นยมหิน (Chukrasia tabularis)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม
  • วิสัยทัศน์จังหวัดแพร่: เมืองแพร่น่าอยู่ ประตูสู่ล้านนา เศรษฐกิจก้าวหน้า ประชาเป็นสุข[3]

อาณาเขต

สภาพทางภูมิศาสตร์

สภาพทั่วไป

จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งเหนือที่ 14.70 ถึง 18.44 องศา กับเส้นแวงที่ 99.58 ถึง 100.32 องศา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 155 เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงหมายเลข 11 และ 101 ประมาณ 555 กิโลเมตร และทางรถไฟ 550 กิโลเมตร (ถึงสถานีรถไฟเด่นชัย) มีเนื้อที่ประมาณ 6,538.59 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,086,625 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.27 ของพื้นที่ประเทศ จัดเป็นพื้นที่จังหวัดขนาดกลาง มีความกว้างประมาณ 59 กิโลเมตร (วัดจากตะวันออกสุดของอำเภอเมืองตะวันตกสุดของอำเภอลอง ) มีความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร (วัดจากเหนือสุดของอำเภอสอง ใต้สุดของอำเภอวังชิ้น ) ปัจจุบัน ที่ตั้งของจังหวัดแพร่นับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือที่ติดต่อไปยังจังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ จึงเรียกได้ว่าจังหวัดแพร่เป็น ประตูสู่ล้านนา[4][5]

ภูมิประเทศ

จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่มีภูเขาล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีภูเขาที่สูงที่สุดอยู่ที่ ดอยกู่สถาน (บางชื่อเรียกว่าดอยขุนสถาน) สูง 1,650 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยทั่วไปพื้นที่ราบจะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 120-200 เมตร สำหรับตัวเมืองแพร่มีความสูง 161[6] เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แม่น้ำยมเป็นลำน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดแพร่ต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา[7]

ภูมิอากาศ

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม จะมีอากาศร้อน อบอ้าวอุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้ 43.6 องศาเซลเซียสเมื่อปี พ.ศ. 2526[8] อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน 37.3[9] องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,000-1,500 มิลมิเมตร
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม-ปลายเดือนกุมภาพันธ์ จะมีอากาศหนาวอาจถึงหนาวจัดในบางปี อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 4.6 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2517[8] อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 14.4 องศาเซลเซียส[9]

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 78 ตำบล 645 หมู่บ้าน

แผนที่

  1. อำเภอเมืองแพร่
  2. อำเภอร้องกวาง
  3. อำเภอลอง
  4. อำเภอสูงเม่น
  5. อำเภอเด่นชัย
  6. อำเภอสอง
  7. อำเภอวังชิ้น
  8. อำเภอหนองม่วงไข่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

อำเภอเมืองแพร่

อำเภอสอง

อำเภอลอง

อำเภอสูงเม่น

อำเภอเด่นชัย

อำเภอร้องกวาง

อำเภอหนองม่วงไข่

อำเภอวังชิ้น

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐาน

  • ยุคก่อนการตั้งชุมชน

จากการศึกษาของสรัสวดี อ๋องสกุล นักประวัติศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้สนใจประวัติศาสตร์ล้านนา พบว่า ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ ยุคสร้างบ้านแปงเมืองมีปัญหาขาดแคลนหลักฐานท้องถิ่น เพราะไม่พบ “พื้นเมืองแพร่” หรือตำนานของเมืองแพร่ ซึ่งเป็นตำนานของบ้านเมือง ฉบับที่มีการกล่าวถึงการก่อตั้งบ้านเมืองมากที่สุด คือ ตำนานวัดหลวงตำบลในเวียง อ.เมือง การศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีที่จะช่วยสนับสนุน การศึกษาประวัติศาสตร์เมืองแพร่มีน้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นช่วง พ.ศ.2325 สถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานีย้อนหลังเพียง 200 กว่าปี บันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญก็มีอยู่น้อยมาก สาเหตุอาจเนื่องมาจาก นิสัยของชาวแพร่ไม่ให้ความสำคัญ กับการจดบันทึกเรื่องราว

ลักษณะที่ตั้งของเมืองแพร่อยู่บนฝั่งแม่น้ำ จึงเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมบ่อยทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ถูกทำลาย การศึกษาประวัติศาสตร์ของแพร่ในยุคหลังจึงต้องศึกษาจากพงศาวดาร นักประวัติศาสตร์ไม่นิยมใช้ เนื่องจากขาดความชัดเจน แต่เมื่อไม่ปรากฎหลักฐาน ตำนานที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์จึงต้องนำวิธีนี้มาใช้ รอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์พบในพื้นที่ริมแม่น้ำ พบขวานหินกะเทาะ และขวานหินขัด

  • ยุคการก่อตั้งชุมชน

พบว่า การตั้งถิ่นฐานของชุมชน มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มชนชาวลัวะ หรือ ละว้า ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยในภาคเหนือนานนับพันปี ตำนานพระธาตุช่อแฮ กล่าวว่า ขุนลัวะ ชื่อ อ้ายก้อม เป็นผู้สร้างพระธาตุช่อแฮ

จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ การศึกษาจากเอกสารและคำบอกเล่า จากการสำรวจภาคสนาม จนถึงปี พ.ศ.2541 พบที่ตั้งชุมชนโบราณ จำนวน 24 แห่ง ชุมชนของคนกลุ่มน้อย จำนวน 4 แห่ง ชุมชนโบราณตั้งอยู่ในอำเภอต่าง ๆ ดังนี้

- อ.เมืองแพร่ ได้แก่ เมืองแพร่ วังมอญ วังธง เวียงตั้ง

- อ.สอง ได้แก่ เมืองสอง เวียงเทพ ชุมชนใกล้พระธาตุหนองจันทร์

- อ.ร้องกวาง ได้แก่ เวียงสันทราย

- อ.หนองม่วงไข่ ได้แก่ บ้านแม่คำมีท่าล้อ ชุมชนโบราณบ้านปากยาง

- อ.สูงเม่น ได้แก่ บ้านเวียงทอง บ้านพระหลวง บ้านสูงเม่น

- อ.เด่นชัย ได้แก่ บ้านเด่นชัย บ้านบ่อแก้ว

- อ.ลอง ได้แก่ เมืองลอง เวียงต้า เวียงเชียงชื่น เมืองโกณหลวง เมืองลัวะ ชุมชนโบราณบ้านแม่รัง

- อ.วังชิ้น ได้แก่ เมืองตรอกสลอบ บ้านแม่บงเหนือหรือขวานหินมีบ่า หรือที่เรียกว่า เสียมตุ่น หินไม่มีบ่าพบเพียงเล็กน้อย

  • ชุมชนโบราณที่สำคัญ

อำเภอที่มีแหล่งชุมชนโบราณที่สำคัญที่สุดคือ อำเภอสอง และอำเภอเมืองแพร่

- เมืองสองหรือเมืองสรอง ตั้งอยู่บนฝั่งของแม่น้ำสอง หรือแม่น้ำกาหลง มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ไม่ปรากฎผู้ใดสร้าง

- นักโบราณคดีสันนิษฐานมีอายุในสมัยอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรสุโขทัย

- เป็นเมืองของพระเพื่อน พระแพง ในวรรณกรรมลิลิตพระลอ

- มีซากเจดีย์เก่าแก่ ชาวบ้านเรียกว่า ธาตุหินส้ม

- หรือเรียกเมืองนี้ชื่อว่า เมืองหินส้ม

- ปัจจุบันธาตุหินส้มได้รับการบูรณะและสร้างวัดขึ้นให้ชื่อว่า“ วัดพระธาตุพระลอ”

- ชุมชนเวียงเทพ เป็นชุมชนที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น

- ชุมชนเวียงสันทราย เป็นชุมชนเดียวที่พบในอ.ร้องกวาง มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชุมชน

- ชุมชนโบราณบ้านแม่คำมี ลักษณะของชุมชนคือสร้างสองฝั่งลำน้ำแม่คำมี มีลักษณะแตกต่างจากชุมชนโบราณแห่งอื่นที่สร้างติดลำน้ำด้านเดียว มีแนวคันดินด้านทิศตะวันออกเหลืออยู่ 3 ชั้น

- บ้านพระหลวงธาตุเนิ้ง ชุมชนนี้ไม่ปรากฎคูน้ำและคันดินล้อมรอบแต่มีโบราณสถานที่สำคัญคือ พระธาตุเนิ้ง (เจดีย์นี้มีลักษณะเอียงซึ่งอาจเกิดจากแผ่นดินไหว) ได้รับการบูรณะซ่อมแซมและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ

- เวียงต้า ที่ตั้งชุมชนเป็นที่ราบลูกคลื่นใกล้ภูเขามีแนวคันดิน 3 ชั้น นอกกำแพงวัดมีวัดเก่าแก่ คือ วัดต้าม่อน มีภาพเขียนฝาผนังเขียนเล่าชาดกเรื่อง “ ก่ำก๋าดำ” ปัจจุบันภาพจิตรกรรมนี้ถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

- เมืองลอง บทบาทของ อ.ลองในประวัติศาสตร์ อาณาจักรล้านนา สมัยพระเจ้าติโลกราช เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของอาณาจักรในภาวะศึกสงครามอาณาจักรอยุธยา เมืองลอง ชุมชนโบราณแห่งนี้มีชื่อเรียกอื่น ๆอีก ได้แก่ “เมืองเววาทภาษิต” “เมืองกกุฎไก่เอิ้ก” และ “เวียงเชียงชื่น” อ.ลองมีแนวคันดินเป็นกำแพงล้อมรอบเมืองทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบันถูกขุดทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำนา

- ในอดีตเมืองลองขึ้นอยู่กับเมืองลำปาง และได้รับการโอนมาเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดแพร่ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2474

- ชุมชนโบราณบ้านแม่บงเหนือ ในอดีตชุมชนนี้เป็นเมืองของพวกลั๊วะก่อนการตั้งอาณาจักรล้านนา - เมืองตรอกสลอบ บ้านนาเวียง อ.วังชิ้น มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น ปัจจุบันวัดที่ตั้งในเขตเมืองได้รับการบูรณะและให้ชื่อว่า วัดบางสนุก

  • กำเนิดเมืองแพร่

เมืองแพร่ เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ประวัติการสร้างเมือง ไม่มีจารึกในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ การศึกษาเรื่องราวของเมืองแพร่จึงต้องอาศัยหลักฐาน ของเมืองอื่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนานการสร้างพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นต้น

เมืองแพร่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ตำนานวัดหลวงกล่าวไว้ว่าประมาณ พ.ศ. ๑๓๗๑ พ่อขุนหลวงพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้าได้อพยพคนไทย (ไทยลื้อ ไทยเขิน) ส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมฝังแม่น้ำยม ขนานนามว่า “เมืองพลนคร”

ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่าเมืองแพร่เป็นเมือง ที่ปกครองโดยพญายี่บาแห่งแคว้นหริภุญไชย สันนิษฐานว่าเมืองแพร่และเมืองลำพูนเป็นเมือง ที่สร้างขึ้นมาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหง มหาราชหลักที่ ๑ ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๒๔ - ๒๕ ซึ่งจารึกไว้ว่า . “..เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพล เมืองน่าน เมือง…เมืองพลัวพ้นฝั่งของ เมืองชวา เป็นที่แล้ว…” ในข้อความนี้ เมืองแพล คือ เมืองแพร่ ศิลาจารึกนี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๒๖ จึงเป็น สิ่งที่ยืนยันถึงความเก่าแก่ ของเมืองแพร่ ว่าตั้งขึ้นมาก่อนเมืองเชียงใหม่ และเชื่อว่าเมืองแพร่ ได้ก่อตั้งขึ้นแล้วก่อนการตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ชื่อเดิมของเมืองแพร่ การก่อตั้งชุมชนหรือบ้านเมืองส่วนใหญ่ในภาคเหนือมักปรากฎ ชื่อบ้านเมืองนั้นในตำนาน เรื่องเล่าหรือจารึกตลอดจนหลักฐานเอกสารพื้นเมืองของเมืองนั้น ๆ แต่สำหรับเมืองแพร่นั้น แตกต่างออกไปเนื่องจากไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้อง โดยตรงจึงมีที่มาของ ชื่อเมืองจากหลักฐานอื่นดังนี้ เมืองพล นครพลหรือพลรัฐนคร เป็นชื่อเก่าแก่ดั้งเดิมที่สุดที่พบในตำนานเมืองเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. ๑๘๒๔ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคน มาติดต่อเจ้านครพล ให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง และจากตำนาน พระธาตุลำปางหลวง ตอนหนึ่ง ได้กล่าวถึงเจ้าเมืองพล ยกกำลังผู้คนไปขุดหาพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุไว้ในพระธาตุ แต่ไม่พบ เมื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของนครพลตามตำนานดังกล่าว พบว่าคนเมืองแพร่ ปัจจุบัน ชื่อพลนครปรากฎเป็นชื่อวิหารในวัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ โดยเชื่อว่าวัดนี้เป็นวัด ที่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่และเจ้าเมืองแพร่ให้ความอุปถัมภ์มา ตลอดจนหมดยุค การปกครองโดยเจ้าเมืองเมืองโกศัย เป็นชื่อที่ปรากฎในพงศาวดารเมืองเงิน ยางเชียงแสน ชื่อนี้ใช้เรียกเมืองแพร่ ในสมัยขอมเรืองอำนาจที่ชื่อเมืองในอาณาจักร ล้านนาเปลี่ยน เป็นภาษาบาลีตามความในยุคนั้น เช่น น่านเป็นนันทบุรี ลำพูนเป็นหริภุญไชย ลำปางเป็นเขลางค์นคร เป็นต้น

ชื่อ เวียงโกศัย น่าจะมาจากชื่อดอยที่เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองแพร่คือ ดอยโกสิยธชัคบรรพต หมายถึง ดอยแห่งผ้าแพร เมืองแพล เป็นชื่อที่ปรากฎ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ ๑ ด้านที่ ๔ โดยคำว่า แพล น่าจะมาจากศรัทธาของ ชาวเมืองที่มีต่อพระธาตุช่อแพร หรือช่อแฮที่สร้างขึ้น ภายหลังการสร้างเมืองต่อมาจึงได้เรียกชื่อ เมืองของตนว่า เมืองแพล จังหวัดแพร่จากประวัติศาสตร์การสร้างวัดหลวง พุทธศักราช 1371 พญาพลเป็นผู้ครองนครแพร่ เดิมชื่อ เมืองพล หรือ พลนคร ในสมัยขอมเรืองอำนาจระหว่างปี พ.ศ. 1470-1560 พระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชยเข้าครอบครองดินแดนแคว้นล้านนาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โกศัยนคร” หรือ “เวียงโกศัย”

จนถึงปี พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนการปกครองจากเจ้าผู้ครองนคร เป็นมณฑลเทศาภิบาล รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงกำกับคนแรก โดยมีเจ้าปกครองเมืองแพร่ คือ เจ้าพิริยะเทพวงศ์อุดร

ต่อมาเกิดกบฎเงี้ยวในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ. 2445 ทรงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี นำทัพพร้อมหัวเมืองใกล้เคียงเข้าปราบกบฎเงี้ยวที่เมืองแพร่ พระยาไชยบูรณ์ได้ทำการต่อสู้ ปกป้องจากพวกเงี้ยวอย่างเต็มความสามารถ และบังคับให้ลงนามยกเมืองให้ พระยาไชยบูรณ์ไม่ยอม พวกเงี้ยวจึงนำไปตัดหัวที่บ้านร่องกวางเคา เจ้าพิริยะเทพวงศ์ฯ เกรงพระราชอาญา จึงหนีไปพำนักที่เมืองหลวงพระบาง ต่อจากนั้นมาก็ไม่มีเจ้าเมืองหรือเจ้าผู้ครองนครแพร่อีก

  • ชื่อเดิมของเมืองแพร่

เมืองพล นครพล หรือพลรัฐนคร เมืองโกศัย เมืองแพล เมืองแพร่ เมืองแป้(ภาษาถิ่น)

ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

เมืองแพร่เป็นเมืองโบราณ อายุประมาณ 1,000 ปี เริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นเมืองประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 หลังจากการก่อตั้งเมืองเชียงใหม่และสุโขทัย ซึ่งตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจารึกเอาไว้ เมืองแพร่เคยเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย มีชื่อว่า "เมืองแพล" ต่อมาสมัยขอมเรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อ เมืองแพล เป็น "เวียงโกศัย" ซึ่งแปลว่า ผ้าแพร และต่อมาเปลี่ยนเป็น เมืองแพร่ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเปลี่ยนตั้งแต่สมัยใด ซึ่งชาวล้านนานิยมออกเสียงเป็น "เมืองแป้" และเป็นจังหวัดแพร่ในปัจจุบัน จากตำนานเมืองเหนือ เมืองแพร่มีชื่อเดิมว่า "พลนคร" หรือ "เมืองพล" และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองแพล ในสมัยขอมเรืองอำนาจราว พ.ศ. 470-1560 พระนางจามเทวี ได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตล้านนา ได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพลเป็น "โกศัยนคร" หรือ "นครโกศัย" หรือ "เวียงโกศัย" ซึ่งแปลว่าผ้าแพร นับตั้งแต่นั้นมา ได้มีผู้ครอบครองสืบเนื่องกันมาหลายสมัย ในรัชสมัพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนจากการปกครองจากผู้เจ้าครองนครเป็นมณฑลเทศาภิบาลในปี พ.ศ. 2440 และได้โปรดเกล้าให้พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ไปเป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรก[10]

ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1 พระยาราชฤทธานนท์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร์) พ.ศ. 2440-2445
2 พระยาศรีสุริยะราชวรานุวัตร (ทองศุข ดิษบุตร) พ.ศ. 2445-2448
3 พระบริรักษ์โยธี (เวศ) พ.ศ. 2448-2449
4 อ.อ. พระยานิกรกิติการ (กก ศรีเพ็ญ) พ.ศ. 2449-2458
5 อ.อ.พระยาสุรินทรภักดี ศรีไผทสมันต์ (สว่าง ผกณานนท์) พ.ศ. 2458-2460
6 อ.อ.พระยายอดเมืองขวาง (ม.ล. อั้น เสนีย์วงศ์) พ.ศ. 2460-2461
7 อ.ท.พระประสงค์ศขการี (เทียบ สุวรรณิน) พ.ศ. 2461-2466
8 ม.อ.ต.พระยารามราชเดช (ม.ร.ว. ปาน นพวงศ์ฯ) พ.ศ. 2466-2467
9 อ.ท.พระทวารา ดีภิบาล (เชย ชัยระภา) พ.ศ. 2467-2469
10 อ.ท.พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิ์ชูโต) พ.ศ. 2469-2471
11 ม.อ.ต.พระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (แม้น วสันตสิงห์) พ.ศ. 2471-2478
12 พระพายัพพิริยะกิจ (เอม ทินทลักษณ์) พ.ศ. 2478-2479
13 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล) พ.ศ. 2479-2481
14 หลวงเกษมประศาสน์ (บุญหยด สุวรรณสวัสดิ์) พ.ศ. 2481-2484
15 หลวงศรีนราศัย (ผิว จันทิมาคม) พ.ศ. 2484-2487
16 นายพรหม สูตรสุคนธ์ พ.ศ. 2487-2487
17 หลวงสรรคประศาสน์ (วิเศษ สรรคประศาสน์) พ.ศ. 2487-2489
18 นายสง่า สุขรัตน์ พ.ศ. 2489-2490
19 นายจรัส ธารีสาร พ.ศ. 2490-2493
20 นายเพ็ชร บูรณะวรศิริ พ.ศ. 2493-2495
21 นายชุณห์ นกแก้ว พ.ศ. 2495-2501
22 นายพยุง ตันติลิปิกร พ.ศ. 2501-2502
23 นายสมบัติ สมบัติทวี พ.ศ. 2502-2505
24 นายเครือ สุวรรณสิงห์ พ.ศ. 2505-2511
25 นายวิจิตร แจ่มใส พ.ศ. 2511-2512
26 นายปฐม สุทธิวาทนฤพุฒิ พ.ศ. 2512-2519
27 นายธานี โรจนาลักษณ์ พ.ศ. 2519-2520
28 นายสำรวย พึ่งประสิทธิ์ พ.ศ. 2520-2523
29 นายชูวงศ์ ฉายะบุตร พ.ศ. 2523-2524
30 น.อ.จำลอง ประเสริฐยิ่ง ร.น. พ.ศ. 2524-2524
31 นายแสวง อินทุสุต พ.ศ. 2524-2526
32 นายอนันต์ มีชำนะ พ.ศ. 2526-2527
33 นายธวัช รอดพร้อม พ.ศ. 2527-2532
34 นายศักดา ลาภเจริญ พ.ศ. 2532-2534
35 นายจินต์ วิภาตะกลัศ พ.ศ. 2534-2536
36 นายศักดิ์ เตชาชาญ พ.ศ. 2536-2537
37 นายทรงวุฒิ งามมีศรี พ.ศ. 2537-2539
38 นายนรินทร์ พานิชกิจ พ.ศ. 2539-2541
39 นายอนุกุล คุณาวงศ์ พ.ศ. 2541-2544
40 นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ พ.ศ. 2544-2546
41 นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง พ.ศ. 2546-2547
42 นายสันทัด จัตุชัย พ.ศ. 2547-2548
43 นายอธิคม สุวรรณพงศ์ พ.ศ. 2548-2550
44 ว่าที่ ร.ต. พงษ์ศักดิ์ พลายเวช พ.ศ. 2550-2552
45 นายวัลลภ พริ้งพงษ์ พ.ศ. 2552-2552
46 นายสมชัย หทยะตันติ พ.ศ. 2552-2553
47 นายชวน ศิรินันท์พร พ.ศ. 2553-2554
48 นายเกษม วัฒนธรรม พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

ศาสนสถาน

ทางธรรมชาติ

โบราณสถาน

ห้างสรรพสินค้า

สถาบันการศึกษา

ระดับปฐมศึกษา

ระดับมัธยมศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

ชาวแพร่ที่มีชื่อเสียง

ศาสนา

ศิลปิน

การเมืองการปกครอง

นักเศรษฐศาสตร์

บันเทิง

กีฬา

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

18°09′N 100°10′E / 18.15°N 100.16°E / 18.15; 100.16