พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
องคมนตรี [1][2] | |
ดำรงตำแหน่ง | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 |
ประสูติ | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2400 |
สิ้นพระชนม์ | 16 เมษายน พ.ศ. 2462 (61 ปี) |
ภรรยา | ชายา หม่อมเจ้าหญิงเม้า ทองแถม หม่อมเจ้าหญิงสุวรรณ ทองแถม หม่อม 8 คน |
พระบุตร | 15 องค์ |
ราชสกุล | ทองแถม |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ พระสนมโท |
จางวางเอก นายพันเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ (17 ตุลาคม พ.ศ. 2400 – 16 เมษายน พ.ศ. 2462) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย หุ้มแพร (ทองคำ ณ ราชสีมา) [3][4][5] เป็นพระบิดาแห่งภาพยนตร์ไทย
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 34 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ พระสนมโท ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 14 คํ่า ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ. 1219 ตรงกับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2400 มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์มีพระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันคือ
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเจริญรุ่งราษี
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากาญจนากร
พระประวัติรับราชการ
[แก้]พระองค์ทรงพระปรีชาในด้านงานช่าง ทรงร่วมรับหน้าที่บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 100 ปี พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมเกียรติพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงกรมเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ ผู้บังคับการกรมช่างมหาดเล็ก เมื่อ พ.ศ. 2431 ทรงบังคับบัญชางานช่างต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน พระราชวังบางปะอิน สวนสราญรมย์ ทรงรับผิดชอบงานโยธาในการก่อสร้าง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีกรมศิลปากร
พระองค์ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสประเทศสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2439 และได้ทอดพระเนตรภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ในปีต่อมา ทรงตามเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ. 2440 ได้ทรงจัดซื้อเครื่องซีเนมาโตกราฟฟี ซึ่งเป็นทั้งกล้องถ่ายและเครื่องฉายภาพยนตร์ กลับมาเมืองไทยด้วย ภาพบันทึกเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2440 นับเป็นภาพยนตร์ม้วนแรกสุดในโลกที่ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชาติไทย
พระองค์ได้ทรงถ่ายทำภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์เบ็ดเตล็ด ทั้งในและนอกเขตพระราชวัง จนถึงภาพพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง นอกจากพระองค์ทรงเป็นนักถ่ายภาพยนตร์เป็นรายแรกและรายเดียวของสยามในรัชสมัยนั้นแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดฉายและให้เช่าภาพยนตร์เป็นรายแรกของชาติด้วย โดยนอกจากจะทรงให้โรงภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่ายืมภาพยนตร์ของพระองค์แล้ว บางครั้งก็ทรงจัดฉายภาพยนตร์เก็บค่าดูจากสาธารณชนขึ้นในบริเวณวังของพระองค์ และที่ทรงทำเป็นประจำคือ การออกร้านฉายภาพยนตร์เป็นเจ้าประจำในงานประจำปีวัดเบญจมบพิตร ในรัชกาลต่อมา พระองค์ทรงว่างเว้นและเลิกราการถ่ายทำภาพยนตร์ เนื่องจากมีผู้ดำเนินการขึ้นในสยามแล้วหลายราย
พระองค์ทรงประทับอยู่ที่วังสรรพสาตรศุภกิจ ที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2444 วังนี้ถูกไฟไหม้หมดจนเหลือแต่ซุ้มประตูทางเข้าวัง เมื่อ พ.ศ. 2510 และมีการสร้างตึกแถวสมัยใหม่ขึ้นมาแทน ปัจจุบันย่านนี้เรียกว่า แพร่งสรรพศาสตร์
พระองค์ทรงได้รับเฉลิมพระเกียรติเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ เมื่อ พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการตำแหน่งสุดท้ายเป็น นายพันเอก ราชองครักษ์ [6] และทรงดำรงตำแหน่งจางวางเอกในกรมมหาดเล็ก[7] ในปี พ.ศ. 2456
สิ้นพระชนม์
[แก้]จางวางเอก นายพันเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ประชวรเป็นพระโรคอัมพาต สิ้นพระชนม์ที่ตำหนักวังตำบลถนนตะนาว เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2462[8] สิริพระชันษาได้ 63 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช แทนพระองค์เสด็จสรงน้ำพระศพ ทรงสวมพระชฎาแล้วเจ้าพนักงานได้เชิญพระศพขึ้นตั้งบนชั้นแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศมณฑปใหญ่ ตั้งเครื่องสูงแวดล้อมและเครื่องประกอบพระอิสริยยศ มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในระหว่างวันที่ 9 ถึง 11 เมษายน พ.ศ. 2463 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองน้อย ประดิษฐานบนชั้นแว่นฟ้า 3 ชั้น ฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น แขวนกั้นพระโกศ แวดล้อมด้วยเครื่องสูง และเครื่องราชอิสริยยศ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองแถม
พระโอรสและธิดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ มีชายา 2 องค์ และมีหม่อม 8 คน รวม 10 องค์/คน ได้แก่
- หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม ท.จ.ว. (ราชสกุลเดิม รองทรง)
- หม่อมเจ้าสุวรรณ ทองแถม (ราชสกุลเดิม นิลรัตน)
- หม่อมราชวงศ์เกษรสุมาลี ทองแถม (ราชสกุลเดิม อิศรางกูร)
- หม่อมราชวงศ์นารีนพรัตน์ ทองแถม (ราชสกุลเดิม อิศรางกูร)
- หม่อมตาดใหญ่ ทองแถม ณ อยุธยา (สกุลเดิม โรจนวิภาต)
- หม่อมเมือง ทองแถม ณ อยุธยา (สกุลเดิม พลนิเทศ)
- หม่อมทับทิม ทองแถม ณ อยุธยา
- หม่อมตาดเล็ก ทองแถม ณ อยุธยา (สกุลเดิม นาครทรรพ)
- หม่อมเศรษฐี ทองแถม ณ อยุธยา
- หม่อมประเทียบ ทองแถม ณ อยุธยา (สกุลเดิม พุ่มพวงเพชร)
มีพระโอรส 7 องค์ และมีพระธิดา 8 องค์ รวม 15 องค์ ได้แก่
ลำดับ | พระรูปและพระนาม | เพศ | พระมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม | ช. | หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2427 [9] | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 | หม่อมเจ้าข่ายทองถัก หม่อมเจ้าพันธ์สิหิงค์ หม่อมแสงมณี หม่อมทรัพย์ หม่อมศรี หม่อมพิณ |
2 | หม่อมเจ้าเครือมาศวิมล ทองแถม | ญ. | หม่อมเมือง ทองแถม ณ อยุธยา | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2427 [9] | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2482 | |
3 | หม่อมเจ้าพวงสนธิสุวรรณ ทองแถม | ญ. | หม่อมตาดใหญ่ ทองแถม ณ อยุธยา | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2427 [9] | 24 กันยายน พ.ศ. 2472 | หม่อมเจ้าโชติรส เกษมสันต์ |
4 | หม่อมเจ้าพันธุคำนพคุณ ทองแถม | ช. | หม่อมทับทิม ทองแถม ณ อยุธยา | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 [9] | พ.ศ. 2506 | หม่อมเจ้านาฏนพคุณ หม่อมเลื่อน หม่อมหล่อ |
5 | หม่อมเจ้า | ญ. | ไม่มีข้อมูล | พ.ศ. 2430 | 20 เมษายน พ.ศ. 2434 | |
6 | หม่อมเจ้าคำงอก ทองแถม | ช. | หม่อมเจ้าสุวรรณ ทองแถม | 8 มีนาคม พ.ศ. 2431 [9] | 20 มกราคม พ.ศ. 2472 | หม่อมแฟร์ หม่อมมงคล หม่อมเรียม |
7 | หม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม | ช. | หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2433 [9] | พ.ศ. 2491 | หม่อมหลวงแย้ม หม่อมสอางค์ |
8 | หม่อมเจ้าชุนทองชุด | ญ. | หม่อมตาดเล็ก ทองแถม ณ อยุธยา | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล
(พระราชทานเพลิงเมื่อ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2434) |
|
9 | หม่อมเจ้าหย่องกาญจนา ทองแถม | ญ. | หม่อมราชวงศ์เกษรสุมาลี ทองแถม | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 [9] | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2498 | |
10 | หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม | ช. | หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2435 [9] | พ.ศ. 2506 | หม่อมเชิญ |
11 | หม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถม | ช. | หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม | 26 กันยายน พ.ศ. 2436 [9] | 13 มกราคม พ.ศ. 2501 | หม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ |
12 | หม่อมเจ้ากนกนารี ทองแถม | ญ. | หม่อมราชวงศ์นารีนพรัตน์ ทองแถม | 17 มีนาคม พ.ศ. 2438 [9] | 21 มีนาคม พ.ศ. 2511 | |
13 | หม่อมเจ้าสุวรรณโสภา | ญ. | หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2440 | |
14 | หม่อมเจ้าทองบรรณาการ ทองแถม | ช. | หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2446 [9] | พ.ศ. 2506 | หม่อมราชวงศ์ศิริโสภา หม่อมราชวงศ์ศรีถนอม หม่อมราชวงศ์วรรณวิจิตร |
15 | กังวาฬสุวรรณ กนิษฐชาต | ญ. | หม่อมเศรษฐี ทองแถม ณ อยุธยา | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2448[ต้องการอ้างอิง] | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 | หม่อมเจ้าจรัลยา จรูญโรจน์ สวัสดิ์ กนิษฐชาต |
พระยศ
[แก้]นายพันเอก นายกองโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ | |
---|---|
รับใช้ | กรมราชองครักษ์ กองเสือป่า |
ชั้นยศ | พันเอก นายกองโท |
พระยศมหาดเล็ก
[แก้]- 5 มกราคม 2456 – จางวางเอก[10]
พระยศทหาร
[แก้]- 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2441 นายพันเอก[11]
พระยศเสือป่า
[แก้]- นายหมู่เอก
- นายหมู่ใหญ่
- นายกองตรี
- นายกองโท
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ (17 ตุลาคม พ.ศ. 2400 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – พ.ศ. 2431)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ (พ.ศ. 2431 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448)[12]
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสาตรศุภกิจ (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสรรพสาตรศุภกิจ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 – ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2431 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2448 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2447 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[17]
- พ.ศ. 2433 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[18]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[19]
- พ.ศ. 2433 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[20]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[21]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[22]
- พ.ศ. 2456 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[23]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[24]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[25]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[26]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/006/45.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/006/47.PDF
- ↑ กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)
- ↑ ต้นสกุล ณ ราชสีมา ย้อนเรื่อง เมืองโคราช
- ↑ หากนับทางสายสกุลพระมารดา กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจทรงเป็นผู้สืบสายสกุล “ณ ราชสีมา” ชั้น 5 สาย "พระยาสุริยเดช (ทัศน์ รายณสุข ณ ราชสีมา)" และ ชั้น 4 สาย "เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)"
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/2360.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๒๖, ๒๐ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ ประกาศตั้งกรมพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงษ์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2431/033/281_1.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งกรมพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงษ์, เล่ม ๕ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๒๘๒, ๒๓ ธันวาคม ๑๒๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๙๑, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๖๖, ๓ กันยายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๗๖๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๘๐๒, ๒๙ มกราคม ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๓๙๑, ๒๕ มกราคม ๑๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๘, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๓๙๒, ๒๕ มกราคม ๑๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๔๑๔, ๑๗ ธันวาคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๖๑๗, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๗๘, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๙, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
- กรมหลวงสรรพสารตศุภกิจ (บิดาภาพยนตร์ไทย) เก็บถาวร 2008-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน thaifilm.com
- ราชสกุลทองแถม เก็บถาวร 2012-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2400
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2462
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมหลวง
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- ราชสกุลทองแถม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง
- สกุล ณ ราชสีมา
- สมาชิกกองเสือป่า
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์