ข้ามไปเนื้อหา

ลูปังฮีนีรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Lupang Hinirang)
ลูปังฮีนีรัง
คำแปล: แผ่นดินที่ได้เลือก
Lupang Hinirang
สกอร์เพลงชาติฟิลิปปินส์ "ลูปังฮีนีรัง"
ชื่ออื่นBayang Magiliw ("บายังมากีลิว")
(ไม่เป็นทางการ)
เนื้อร้องโฆเซ ปาลมา, ค.ศ. 1899
ทำนองจูเลียน เฟลิเป, ค.ศ. 1898
รับไปใช้12 มิถุนายน ค.ศ. 1898 (ทำนอง)
26 พฤษภาคม ค.ศ. 1956 (เนื้อร้อง)
12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 (ประมวลกฎหมาย)
ตัวอย่างเสียง
เพลงชาติฟิลิปปินส์ "ลูปังฮีนีรัง" (บรรเลง)

ลูปังฮีนีรัง (ฟิลิปปินส์: Lupang Hinirang) คือชื่อของเพลงชาติฟิลิปปินส์ ทำนองประพันธ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1898 โดย จูเลียน เฟลิเป (Julián Felipe) เนื้อร้องฉบับปัจจุบันได้ปรับมาจากบทกวีภาษาสเปนชื่อ "ฟีลีปีนัส" ("Filipinas") ซึ่งประพันธ์โดยโฆเซ ปาลมา (José Palma) เมื่อ ค.ศ. 1899

เดิมทีแล้วเพลงลูปังฮีนีรังเป็นเพลงที่เกิดขึ้นเฉพาะเหตุการณ์ เพราะเพลงนี้เมื่อใช้เป็นเพลงชาติในช่วงที่ฟิลิปปินส์เป็นอิสระจากสเปนในระยะเวลาสั้น ๆ ก็ไม่ปรากฏว่ามีเนื้อร้องแต่อย่างใด และได้บรรเลงเฉพาะในพิธีประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1898 เท่านั้น เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน รัฐบาลอาณานิคมของสหรัฐฯ ได้บัญญัติออกกฎหมายเรื่องธงชาติซึ่งได้สั่งห้ามมีการบรรเลงเพลงนี้[1] กระทั่งถึงปี ค.ศ. 1919 กฎหมายดังกล่าวจึงถูกยกเลิก เพลงนี้จึงได้รับการแปลเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับรองจากกฎหมายอย่างเป็นทางการในชื่อเพลง "Philippine Hymn" (เพลงสรรเสริญฟิลิปปิน) บทเพลงนี้ต่อมาได้มีการแปลออกเป็นภาษาตากาล็อกในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940 หลายสำนวน ต่อมาในปี ค.ศ. 1956 จึงได้เริ่มใช้บทร้องฉบับภาษาฟิลิปิโนหรือภาษาตากาล็อกแบบมาตรฐาน (มีการปรับแก้ใน ค.ศ. 1960) เป็นบทร้องเพลงชาติสืบมาจนถึงปัจจุบัน

คำว่า "ลูปัง ฮิรินัง" ในภาษาฟิลิปิโนหรือภาษาตากาล็อกมีความหมายว่า "แผ่นดินที่ได้เลือก" (Chosen Land) ในแหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษบางแห่งได้แปลชื่อเพลงนี้ผิดพลาดเป็น "Beloved Land" หรือ "Beloved Country" ซึ่งอาจเป็นภาษาไทยได้ว่า "แผ่นดินอันเป็นที่รัก"[2][3] อย่างไรก็ตาม คำแปล "แผ่นดินอันเป็นที่รัก" นั้น เป็นวลีที่แปลมาจากวรรคแรกของบทกวี "ฟีลีปีนัส" ซึ่งเริ่มด้วยวลี "Tiérra adorada" และเป็นคำแปลเดียวกับที่ใช้ในบทร้องภาษาฟิลิปิโนซึ่งขึ้นต้นว่า "Bayang Magiliw" ("บายัง มากีลิว") อันเป็นชื่อเพลงนี้อย่างไม่เป็นทางการอีกชื่อหนึ่ง

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

[แก้]

เพลงลูปังฮีนีรังเริ่มต้นขึ้นจากทำนองเพลงมาร์ชซึ่งประธานาธิบดีเอมีลีโอ อากีนัลโด ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาขึ้นเพื่อใช้ในพิธีการประกาศเอกราชจากสเปน ภารกิจการสรรหาเพลงดังกล่าวนี้ได้มอบหมายให้จูเลียน เฟลีเป (Julián Felipe) เป็นผู้ดำเนินการ และได้มีการนำไปใช้แทนเพลงมาร์ชซึ่งอากีนัลโดไม่สามารถหาทำนองอันเป็นที่พอใจได้ ชื่อของเพลงมาร์ชใหม่ที่เฟลิเปประพันธ์ขึ้นนี้มีชื่อว่า “มาร์ชาฟีลีปีนามักดาโล” (สเปน: Marcha Filipina Magdalo "มาร์ชกลุ่มมักดาโลฟิลิปปินส์") ทั้งนี้ คำว่า "มักดาโล" เป็นชื่อกลุ่มการเมืองของเอมีลีโอ อากีนัลโด ซึ่งเคลื่อนไหวภายใต้การนำของขบวนการกาตีปูนันในพื้นที่จังหวัดคาวิเต้ ถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญยิ่งกลุ่มหนึ่งในกระบวนการก่อตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเพลงนี้เป็น “มาร์ชานาเซียวนัลฟีลีปีนา” (สเปน: Marcha Nacional Filipina "มาร์ชประจำชาติฟิลิปปินส์") ตามการประกาศรับรองเพลงชาติอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1898 อันเป็นเวลา 1 วันก่อนจะทำพิธีการประกาศเอกราชของฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ และได้บรรเลงครั้งแรกโดยวงโยธวาทิตซาน ฟรันซิสโก เด มาลาบอง ในพิธีประกาศเอกราช เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ปีเดียวกัน

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1899 โฆเซ ปาลมา ได้นิพนธ์บทกวี “ฟีลีปีนัส” (สเปน: "Filipinas") เป็นภาษาสเปน และได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ “ลา อินดีเพนเดนเซีย” ("La Independencia") เมื่อวันที่ 3 กันยายน ปีเดียวกัน บทกวีดังกล่าวได้ใช้เป็นบทร้องสำหรับทำนองเพลงชาติในเวลาต่อมา[4][5]

กฎหมายของฟิลิปปินส์ระบุไว้ว่าบทเพลงชาติต้องบรรเลงตามทำนองเพลงที่ประพันธ์และเรียบเรียงโดยจูเลียน เฟลีเปเสมอ แต่ต้นฉบับของทำนองเพลงที่เฟลีเปได้เรียบเรียงไว้นั้นหาได้มีการค้นพบไม่[6][7] ต่อมาในคริสต์ทศวรรษที่ 1920 จังหวะดนตรีของเพลงลูปังฮีนีรังได้เปลี่ยนเป็น 4/4 เพื่อให้เหมาะสมกับการขับร้อง และบันไดเสียงเพลงได้เปลี่ยนจากบันไดเสียง C major ในต้นฉบับ เป็น G majorแทน[7]

ระหว่างช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 เมื่อมีการยกเลิกกฎหมายว่าด้วยธงชาติของฟิลิปปินส์ ซึ่งห้ามการใช้สัญลักษณ์แห่งชาติของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมด รัฐบาลอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจดำเนินการแปลเพลงชาติฟิลิปปินส์จากภาษาสเปนออกเป็นภาษาอังกฤษ บทแปลฉบับแรกที่ดำเนินการในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นผลงานของปาซ มาร์เกซ เบนิเตซ (Paz Marquez Benitez) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นกวีที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ทว่าบทแปลที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่สุดนั้น คือบทประพันธ์อันมีชื่อว่า “ฟิลิปปินฮีม” (อังกฤษ: Philippine Hymn "เพลงสรรเสริญฟิลิปปิน") อันเป็นผลงานร่วมของวุฒิสมาชิกชาวฟิลิปปินส์ กามีโล โอเซียส (Camilo Osías) และแมรี เอ. เลน (Mary A. Lane) สตรีชาวอเมริกัน บทแปลดังกล่าวเป็นที่รับรองด้วยรัฐบัญญัติซึ่งตราโดยรัฐสภาฟิลิปปินส์เมื่อ ค.ศ. 1938

สำหรับบทแปลภาคภาษาตากาล็อก ได้เริ่มปรากฏขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940 จากผลงานแปลฉบับแรกอันมีชื่อว่า “ดิวา นัง บายัน” (ตากาล็อก: Diwa ng Bayan "จิตวิญญาณแห่งประเทศ") ซึ่งใช้ขับร้องในช่วงแห่งการยึดครองฟิลิปปินส์ของญี่ปุ่น ตามติดด้วยบทร้องซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดอันมีชื่อว่า “โอ ซินตัง ลูปา” (ตากาล็อก: O Sintang Lupa “โอ้แผ่นดินที่รัก”) ซึ่งเป็นผลงานของ จูเลียน ครูซ บัลมาเกดา (Julian Cruz Balmaceda), อิลเดฟองโซ ซันโตส (Ildefonso Santos) และฟรันซิโก กาบาโย (Francisco Caballo) บทร้อง “โอ ซินตัง ลูปา” ภายหลังได้รับรองเป็นบทร้องสำหรับเพลงชาติเมื่อ ค.ศ. 1948 ทั้งนี้ นอกเหนือจากการรับรองบทร้อง “ดิวา นัง บายัน” เพื่อใช้เป็นเพลงชาติในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเพลงนี้ถูกแทนที่ด้วยบทเพลง “อาวิท ซา ปากลีคา นัง บากง ฟิลิปินัส” (ตากาล็อก: Awit sa Paglikha ng Bagong Pilipinas "เพลงสรรเสริญแห่งการกำเนิดฟิลิปปินส์ใหม่") และ เพลงชาติญี่ปุ่น “คิมิงาโยะ[8]

ระหว่างสมัยแห่งการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีรามอน แมกไซไซนั้น เกรกอรีโอ เอร์นันเดซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของฟิลิปปินส์ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อทบทวนบทร้องฉบับภาษาตากาล็อก บทเพลงชาติอันมีชื่อว่า “ลูปังฮีนีรัง” ก็ได้ปรากฏบทร้องฉบับภาษาฟิลิปิโนในที่สุด เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1956 มีการปรับแก้บทร้องอีกเล็กน้อยในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 จนปรากฏเป็นบทร้องเพลงชาติฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลงานการแปลของ เฟลิเป ปาดียา เด เลออน (Felipe Padilla de León) บทร้องฉบับภาษาฟิลิปีโนนี้ได้รับการยืนยันสถานะอย่างเป็นทางการด้วยรัฐบัญญัติแห่งสาธารณรัฐ เลขที่ 8491 หรือกฎหมายว่าด้วยธงชาติและสัญลักษณ์ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1998 ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวหาได้รับรองบทร้องต้นฉบับภาษาสเปนและฉบับภาษาอังกฤษไว้ไม่[6]

แอมเบธ โอแคมโป (Ambeth Ocampo) นักประวัติศาสตร์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าความหมายดั้งเดิมบางส่วนของบทกวี “ฟีลีปีนัส” ได้ตกหล่นไปจากการแปลข้ามภาษา ยกตัวอย่างเช่น ในวรรค “Hija del sol de oriente” จากต้นฉบับภาษาสเปนมีความหมายตามตัวว่า “บุตรีแห่งดวงตะวันบูรพา” วรรคดังกล่าวได้กลายเป็น "Child of the sun returning" ("ลูกแห่งตะวันที่หวนคืนมา" หรือ "ลูกแห่งพระอาทิตย์ขึ้น" โดยนัยย่อมแปลว่า "ลูกแห่งทิศตะวันออก") ในเพลง “ฟิลิปปินฮีม” และ “Perlas ng Silanganan” (“ไข่มุกแดนบูรพา”) ในบทร้องฉบับทางการในปัจจุบัน[9]

บทร้อง

[แก้]

บทร้องของเพลงชาติฉบับภาษาสเปน ตากาล็อก/ฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษต่อไปนี้ ล้วนเป็นบทร้องที่มีสถานะอย่างเป็นทางการในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม มีเพียงบทร้องฉบับภาษาฟิลิปิโนฉบับล่าสุดและเป็นฉบับที่ใช้ในปัจจุบันเท่านั้นที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย กฎหมายว่าด้วยธงชาติและสัญลักษณ์ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งตราไว้ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 ระบุไว้ชัดว่า "เพลงชาติต้องขับร้องด้วยภาษาฟิลิปิโนอยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ภายในหรือภายนอกประเทศ" และบัญญัติโทษปรับและจำคุกสำหรับผู้ที่ล่วงละเมิดกำกับไว้ด้วย[6]

บทกวีต้นฉบับภาษาสเปน:
Filipinas (1899) [4][5]
บทร้องฉบับทางการภาษาอังกฤษ สมัยเครือรัฐ:
The Philippine Hymn (1938) [10][11]
บทร้องฉบับทางการ ภาษาฟิลิปิโน:
Lupang Hinirang (1958, ปรับปรุงในยุค 1960) [6]
คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ:
Chosen Land[12][13]

Tierra adorada
Hija del sol de Oriente,
Su fuego ardiente
En ti latiendo está.

¡Tierra de amores!
Del heroísmo cuna,
Los invasores
No te hollarán jamás.

En tu azul cielo, en tus auras,
En tus montes y en tu mar
Esplende y late el poema
De tu amada libertad.

Tu pabellón, que en las lides
La victoria iluminó,
No verá nunca apagados
Sus estrellas ni su sol.

Tierra de dichas, del sol y amores,
En tu regazo dulce es vivir.
Es una gloria para tus hijos,
Cuando te ofenden, por ti morir.

Land of the morning
Child of the sun returning
With fervor burning
Thee do our souls adore.

Land dear and holy,
Cradle of noble heroes,
Ne’er shall invaders
Trample thy sacred shores.

Ever within thy skies and through thy clouds
And o'er thy hills and sea
Do we behold the radiance, feel the throb
Of glorious liberty

Thy banner dear to all our hearts
Its sun and stars alight,
Oh, never shall its shining fields
Be dimmed by tyrants might!

Beautiful land of love, o land of light,
In thine embrace 'tis rapture to lie
But it is glory ever, when thou art wronged
For us, thy sons to suffer and die

Bayang magiliw,
Perlas ng Silanganan
Alab ng puso,
Sa Dibdib mo'y buhay.

Lupang Hinirang,
Duyan ka ng magiting,
Sa manlulupig,
Di ka pasisiil.

Sa dagat at bundok,
Sa simoy at sa langit mong bughaw,
May dilag ang tula,
At awit sa paglayang minamahal.

Ang kislap ng watawat mo'y
Tagumpay na nagniningning,
Ang bituin at araw niya,
Kailan pa ma'y di magdidilim,

Lupa ng araw ng luwalhati't pagsinta,
Buhay ay langit sa piling mo,
Aming ligaya na pag may mang-aapi,
Ang mamatay nang dahil sa iyo.

ประเทศอันเป็นที่รัก
ไข่มุกแดนบูรพา
เพลิงแห่งจิตใจ
ลุกโชติช่วงในทรวงเธอ

แผ่นดินที่ได้เลือก
ถิ่นกำเนิดของเหล่าผู้กล้า
บรรดาผู้รุ้กราน
จักไม่มีวันกล้ำกรายได้

เหนือทะเลและขุนเขา
ในบรรยากาศและฟ้าครามของเธอ
มีความงามในบทกวี
และบทเพลงแห่งอิสรภาพที่รักยิ่ง

แสงจากธงของเธอ
ส่องประกายแห่งชัยชนะ
ดวงดาราและตะวันในธง
จักไม่มีวันลาลับอับแสงลง

แผ่นดินแห่งตะวัน เกียรติศักดิ์ และความรักเอย
ชีวิตคือสวรรค์ในอ้อมกอดของเธอ
หากมีใครเข้ามาย่ำยี พวกเรายินดี
พร้อมใจยอมตายเพื่อเธอ

บทร้องฉบับทางการภาษาอังกฤษ ก่อนสมัยเครือรัฐ:
O Land Beloved (1919)[14]
คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ:
ภาษาไทย[14]

O land beloved,
Child of the sunny Orient,
Whose ardent spirit
Ever burns in thy breast!

O land of beauty,
Cradle of valiant warriors,
Tyrant oppressors
Never will daunt thy sons!

On the blue seas and verdant hills
And in the winds and azure skies,
Thy immortal voice of Liberty
We hear in ringing song arise.

On thy dear banner that has led
Thy sons to victory in the fight,
Forever shall its sun and stars
Unclouded shine with golden light.

Philippines, O land beloved of the sun,
On thy dear bosom life is sweet!
But in the hour when men must die for thee,
Gladly our lives we’ll lay at thy feet!

โอ้ แผ่นดินที่รัก
เด็กแห่งตะวันออกที่มีแสงแดด
ซึ่งมีจิตวิญญาณที่กระตือรือร้น
เคยถูกเพลิงในอกของเรา!
โอ้ ดินแดนแห่งความงาม
แหล่งกำเนิดของนักรบผู้กล้าหาญ
ผู้กดขี่ทรราชไป
จักไม่ทำให้ลูกชายของข้า หวาดกลัว!
บนท้องทะเลสีครามและเนินเขาเขียวชอุ่ม
และในสายลมพัดกระชิบและท้องฟ้าสีฟ้าคราม
เสียงอมตะของข้า เสรีภาพ
เราได้ยินเสียงเพลงได้ดังขึ้นมาแล้ว
บนธงแห่งความรักของข้า ที่นำไปแล้ว
ลูกชายของข้า จงได้รับชัยชนะในการต่อสู้เถิด
ดวงอาทิตย์และดวงดาวจะอยู่ตลอดไป
เปล่งประกายด้วยแสงสีทองอันเป็นมงคล
ประเทศฟิลิปปินส์ โอ้ ดินแดนอันเป็นที่รักแห่งดวงอาทิตย์
ชีวิตในอ้อมอกที่รักของเธอ ช่างหอมหวานเหลือเกิน!
แต่ในช่วงเวลาที่มนุษย์ ต้องตายเพื่อเจ้าไป
ยินดีชีวิตของเรา เราจะนอนหลับอยู่ที่พระบาทของเจ้าเถิด!
บทร้องฉบับทางการภาษาตากาล็อก
สมัยการยึดครองของญี่ปุ่น:
Diwa ng Bayan (1943) [ต้องการอ้างอิง]
คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ:
Spirit of the Country[12][15]

Lupang mapalad,
Na mutya ng silangan;
Bayang kasuyo,
Ng sangkalikasan.

Buhay at yaman,
Ng kapilipinuhan;
Kuha't bawi,
Sa banyagang kamay.

Sa iyong langit, bundok,
batis, dagat na pinalupig;
Nailibing na ang karimlan,
Ng kahapong pagtitiis.

Sakit at luha, hirap,
Sisa at sumpa sa pagaamis;
ay wala nang lahat at naligtas,
Sa ibig manlupit.

Hayo't magdiwang lahi kong minamahal,
Iyong watawat ang siyang tanglaw;
At kung sakaling ikaw ay muling pagbantaan,
Aming bangkay ang siyang hahadlang.

Land that is blesséd,
that is Pearl of the East;
Nation in union
with [the whole of] nature.

The life and riches
Of the Filipino people
Taken and reclaimed
From foreign hands.

In Thy skies, mountains,
Springs, seas that were invaded
Buried already is the darkness
Of yesterday's suffering.

Pain and tears, hardship,
Difficulty and curse of oppression
Are all gone and [we] are saved
From those who wish to be cruel [to us].

Let us celebrate, my beloved race,
With Thy flag as our guiding light;
And if ever Thou are once more threatened,
Our corpses will stand in the way.

บทร้องฉบับทางการภาษาตากาล็อก
สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 :
O Sintang Lupa (ค.ศ. 1948) [ต้องการอ้างอิง]
คำแปล:
O Beloved Land[12][15]

O Sintang Lupa,
Perlas ng Silanganan;
Diwang apoy kang
Sa araw nagmula.

Lupang magiliw,
Pugad ng kagitingan,
Sa manlulupig
'Di ka papaslang.

Sa iyong langit, simoy, parang,
Dagat at kabundukan,
Laganap ang tibok ng puso
Sa paglayang walang hanggan.

Sagisag ng watawat Mong mahal
Ningning at tagumpay;
Araw't Bituin niyang maalab
Ang s'yang lagi naming tanglaw.

Sa iyong lupa ng ligaya't pagsinta,
Tamis mabuhay na yakap Mo,
Datapwa't Langit ding kung ikaw ay apihin
Ay mamatay ng dahil sa 'Yo

O beloved land,
Pearl of the Orient,
A fiery spirit art thou
Coming from the sun.

Land of our affection,
Cradle of bravery,
To the conquerors
Thou shall never fall.

Through thy skies, air, meadows,
Seas and mountains,
Widespread is the heartbeat
For eternal freedom.

Thy dear flag symbolizes
Brilliance and victory;
Its radiant sun and stars
Will always be our guiding light.

In thee, land of joy and affection,
Sweet life in thine embrace.
Though heaven will it be too, if thou art oppressed
To die because of thee.

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pomeroy, William J. (Published 1992). The Philippines: Colonialism, Collaboration, and Resistance. International Publishers Co. p. 10. ISBN 0717806928. สืบค้นเมื่อ 26 January 2008. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help); excerpted quote: "In 1909 an entire band was sent to prison for playing the Philippine National Anthem at a festival in Quiapo, Manila.", citing Agoncillo, Teodoro A. (2005). "The Revolt of the Masses: The Story of Bonifacio and the Katipunan". Quezon City: University of the Philippines Press. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. Colleen A. Sexton (2006). Philippines in Pictures. Twenty-First Century Books. p. 69. ISBN 9780822526773.
  3. Marshall Cavendish Corporation (September 2007). "World and Its Peoples: Malaysia, Philippines, Singapore, and Brunei". Marshall Cavendish: 1242. ISBN 9780761476429. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. 4.0 4.1 The original text, as published in Barcelona, Spain in 1912: Palma, José (1912). Melancólicas : coleccion de poesías. Manila, Philippines: Liberería Manila Filatélica. (Digital copy found online at HathiTrust Digital Library on 2010-03-31)
  5. 5.0 5.1 Contemporary restatements of and comments about the original text:
    ^ "The Making of Filipinas". The Philippines Centennial. msc.edu.ph. สืบค้นเมื่อ 2008-11-12.
    ^ "The Philippine National Anthem". Filipinas Heritage Library. filipinaslibrary.org.ph. สืบค้นเมื่อ 2010-03-30.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ra8491
  7. 7.0 7.1 Ocampo, Ambeth R. (May 24, 2005). "The right way to sing the National Anthem". Philippines Daily Inquirer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-05-26. สืบค้นเมื่อ 2011-06-23. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) (archived from the original on 26 May 2005)
  8. Cribb, Robert (2003-07-22). Imperial Japan and National Identities in Asia, 1895-1945. Routledge. p. 28. ISBN 0700714820. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  9. Ocampo, Ambeth R. (1995). Mabini's Ghost. Pasig City, Philippines: Anvil Publishing.
  10. Official lyrics, according to CA 382.
  11. "The Philippines Flag and the National Anthem". eSerbisyo. Government of the Republic of the Philippines. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-23. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
  12. 12.0 12.1 12.2 คำแปลที่ให้ไว้ในที่นี้มีขึ้นเพื่อถอดความหมายเนื้อเพลงตามตัวอักษรให้พอเข้าใจเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจถอดความหรือแปลความหมายเพื่อการขับร้องตามทำนองเพลง
  13. คำแปลต่อไปนี้อิงตามคำแปลที่ใช้ในวิกิพีเดียภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งเกิดขึ้นจากฉันทามติร่วมกันของชาววิกิพีเดียในภาษาดังกล่าว
  14. 14.0 14.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ mabini
  15. 15.0 15.1 This translation is intended for illustrating the evolution of the Philippine national anthem.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]