โรงเรียนไชยาวิทยา

พิกัด: 9°22′57.44″N 99°11′22.74″E / 9.3826222°N 99.1896500°E / 9.3826222; 99.1896500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนไชยาวิทยา
Chaiyawitthaya school
ที่ตั้ง
แผนที่
ไทย 161 หมู่ที่ 4 ถนนสันติมิตร ต.ตลาดไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110
พิกัด57°26′N 22°44′E / 57.44°N 22.74°E / 57.44; 22.74
ข้อมูล
ชื่ออื่นช.ว. (c.y.)
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญความสามัคคีทั้งปวง นำมาซึ่งความสุข ความเจริญ
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
รหัส84100618
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย ไทย
สหราชอาณาจักร อังกฤษ
จีน จีน
เยอรมนี เยอรมัน
สี██████ ฟ้า - ขาว
เพลงมาร์ชโรงเรียนไชยาวิทยา
เว็บไซต์www.chaiya.ac.th

โรงเรียนไชยาวิทยา (อังกฤษ:Chaiyawitthaya School) (อักษรย่อ: ช.ว., C.Y.) เป็นโรงเรียนประจำเภอไชยา จังหวัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเขต2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนที่มีอัตราแข่งขันสูงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี[1] ตั้งอยู่ที่ ถนนสันติมิตร บ้านเวียง ตำบลตลาดไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนไชยาวิทยา เดิมชื่อ “โรงเรียนไชยา ” สังกัดกองการมัธยมศึกษา (โครงการทดลองอาชีพ) ของกรมสามัญศึกษา ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2497 ที่วัดเวียง มีนายนุกูล บุญรักษา เป็นผู้รักษาการครูใหญ่ โดยเริ่มสร้างอาคารเรียนที่ถาวรขึ้นในวัดหลงซึ่งเป็นที่สาธารณะ ต่อมามีผู้มีจิตศรัทธาบริจาค ที่ดินเพิ่มเติม ได้เนื้อที่ประมาณ 22 ไร่ 31 ตารางวา เมื่อสร้างอาคารเสร็จ ได้ย้ายจากวัดเวียงมาเรียนในบริเวณวัดหลง เรียกกันว่า “โรงเรียน ส.ฎ. 7 ” เปิดทำการสอนมาจนถึงปีการศึกษา 2519

ในปีการศึกษา 2518 กรมสามัญศึกษามีนโยบายจัดตั้งโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ โดยตั้งขึ้นใน โรงเรียนไชยา ( ส.ฎ. 7 ) มีนายชำนาญ ศรแผลง เป็นอาจารย์ใหญ่

ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ทางราชการได้ยุบรวมโรงเรียนทั้งสองโรงเรียนเข้าด้วยกันและตั้งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนไชยาวิทยา” เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กิจการของโรงเรียนได้ขยายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีนักเรียนในเขตบริการเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2523 กรมสามัญศึกษาได้ อนุมัติให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ในปี พ.ศ. 2546 โรงเรียนไชยาวิทยา ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เข้าร่วม โครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน และได้รับการประเมินให้ผ่านเป็น หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝันในปี 2548

ในปี พ.ศ. 2547 โรงเรียนไชยาวิทยา ได้รับการประเมินภายนอก และผ่านเกณฑ์การประเมินภายนอกของ สม.ศ. ในรอบแรก ปัจจุบันโรงเรียนไชยาวิทยา ได้เปิดสอนในระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 จัดแผนชั้นเรียน 8 – 8 - 8 / 5 - 5 - 4 รวม 39 ห้องเรียน

ตราโรงเรียน-พระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร[แก้]

พระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร พระอวโลกิเตศวรครึ่งองค์ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความมีปัญญา ความเมตตาและความอดทน คือ สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ ซึ่งเป็นคุณธรรมประจำองค์พระอวโลกิเตศวร

อวโลกิเตศวร พบที่สนามหญ้าตรงหน้าบริเวณกำแพงพระบรมธาตุออกไป สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาพบด้วยพระองค์เอง ผู้ที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงในเวลานั้นเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ท่านทอดพระเนตรเห็นตั้งแต่บนหลังช้าง ช้างยังไม่ทันจะทรุดตัวลงอย่างเรียบร้อย ท่านก็รีบลงอย่างกับว่าหล่นลงมา ตรงไปอุ้มรูปนี้ขึ้นด้วยพระองค์เอง

(จากหนังสือแนวสังเขปของโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน โดยพระครูอินทปัญญาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ))

อวโลกิเตศวรองค์ที่กล่าวถึงนี้ คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด สมัยศรีวิชัย ขนาดใหญ่เท่าตัวคน ชำรุดเหลือเพียงครึ่งท่อน มี ๒ กร สูง ๑๑๔ เซนติเมตร ได้ชื่อว่าเป็นประติมากรรมชิ้นที่งดงามที่สุดในสมัยศรีวิชัย (อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘) สภาพเดิมก่อนที่จะได้พบนั้นถูกทิ้งอยู่ในบริเวณสนามหญ้าหน้ากำแพงวัดพระบรมธาตุไชยา เนื่องจากคนรุ่นหลังไม่ทราบว่าเป็นประติมากรรมในพระพุทธศาสนา เมื่อเห็นว่ามิใช่พระพุทธรูปและอยู่ในสภาพชำรุดหักพังเพียงครึ่งองค์จึงไม่มีผู้สนใจ จนกระทั่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาที่วัดนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงได้อัญเชิญไปไว้ที่พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ จึงได้นำไปจัดตั้งแสดงเป็นศิลปะชิ้นสำคัญประจำพิพิธภัณฑ์สืบมา


ตามความเชื่อของศาสนาพุทธลัทธิมหายาน นิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์เป็นที่เคารพบูชา เพราะเชื่อกันว่าพระโพธิสัตว์มีหน้าที่ช่วยเหลือ เป็นผู้ให้แสงสว่าง และผู้สอนพระธรรม แต่ก็ยังมีลักษณะทางโลกประกอบด้วย การสร้างสมัยแรก ๆ เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย นิยมสร้างให้มีลักษณะเป็นแบบกษัตริย์ ต่อมาได้สร้างให้มีลักษณะเป็นนักบวชมากขึ้น มีแต่ชฎามงกุฎเท่านั้นที่เหมือนกัน จากนั้นได้มีวิวัฒนาการในเรื่องเครื่องประดับตกแต่งมากขึ้น มี ๒ กรบ้าง ๔ กรบ้าง วิธีสังเกตว่าเป็นพระโพธิสัตว์จากพระพุทธรูปองค์เล็กเหนือศิวาภรณ์และถือดอกบัว ส่วนพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรยจะมีสถูปหรือเจดีย์องค์เล็ ก ๆ เหนือศิวาภรณ์และถือดอกบัว

ในเมืองไทยได้พบพระโพธิสัตว์จำนวนมากที่ภาคใต้ มีทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่เท่าคนจริง มีทั้งประทับนั่งและประทับยืน มี ๒ กร และ ๔ กร ที่พบมาก ได้แก่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา อำเภอเมืองและอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะประติมากรรมชิ้นเอกล้วนพบที่อำเภอไชยาทั้งสิ้น ส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย ซึ่งแพร่หลายเข้ามาพร้อมกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนา มีทั้งที่เป็นศิลปะสมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๓) และสมัยปาละ (พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๗) นอกจากนี้ ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับชิ้นที่พบในเกาะชวาภาคกลาง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียเช่นเดียวกัน

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์ที่พบที่พระบรมธาตุไชยา ได้ชื่อว่าเป็นประติมากรรมที่งดงามที่สุดในศิลปะสมัยศรีวิชัย มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ แม้จะชำรุดและเหลือเพียงครึ่งองค์ แต่ก็ยังคงมีร่องรอยความงดงามปรากฏอยู่ในท่าเอียงสะโพก หรือตริภังค์ นุ่งห่มลำตัวท่อนบนด้วยหนังกวาง มีรูปช้างและกวางอยู่ที่พระอังสาซ้าย มีลักษณะแบบเดียวกับยุวราช ตกแต่งด้วยเครื่องประดับอย่างงดงามคล้ายกับศิลปะในราชวงศ์ไศเลนทร์ของชวาภาคกลางในประเทศอินโดนีเซีย พระพักตร์แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกที่อ่อนโยน สมดังพระนาม “พระผู้เป็นเจ้าผู้คอยดูแลคุ้มครองมวลสรรพชีวิตด้วยพระเมตตาจากเบื้องบน”

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์จริง แม้จะถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่ก็ได้จำลององค์เหมือนจริงทุกอย่างไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับผู้สนใจจะชมพร้อมกับโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

  • โรงเรียนไชยา - โรงเรียน ส.ฎ. 7
รายนามอาจารย์ใหญ่ วาระการดำรงตำแหน่ง
นายเบญจะ สยังกุล พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2501
นายวิน ชัยรัตน์ พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2510
นางสาวสำรวย มีขนอน พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2511
นายมงคล นิลรัตน์ พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2519
  • โรงเรียนไชยาวิทยา
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
นายชำนาญ ศรแผลง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2528
นายเดโช นาคทองคง พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531
นายผจญ จวนใจ พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2531
นายสุวัฒน์ ใจสมุทร พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2535
นายวิจารณ์ คุ้มไทย พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2541
นายยงยุทธ เชื้อบ่อคา พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2549
นายอภินันท์ หมันหลิน พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2553
นายไพโรจน์ ทองนา พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2555
นายสุเทพ เทโหปการ พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2557
นายสมยศ กระจ่างแจ้ง พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558
นายนิวัติ โสกรรณิตย์ พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน

คณะผู้บริหาร[แก้]

รายนาม ตำแหน่ง
นายนิวัติ โสกรรณิตย์ ผู้อำนวยการ
นางอรุณี คำสุวรรณ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
นายนฤชาติ สุวรรณพร รองผู้อำนวยการฝ่ายธุรการ

การเรียนการสอน[แก้]

โรงเรียนไชยาวิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาดังนี้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (ห้อง 1)
  • จัดการศึกษาทั่วไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ห้อง2-9)

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (วิทย์-คณิต ทั่วไป) (ห้อง 1)
  • การเรียนรู้ทางด้านศิลปศาสตร์ (ศิลป์ทั่วไป) (ห้อง2-5)

-ศิลป์คำนวณ

-ศิลป์ทั่วไป

อาคารและสถานที่ภายในโรงเรียน[แก้]

  • อาคารนภสุทธิ์ หรืออาคาร 1 ปัจจุบันเป็นอาคารเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในโรงเรียน
    • ชั้น 1 ห้องหมวดศิลปะ ห้องนาฏศิลป์ ห้องดนตรี และร้านค้าสหกรณ์
    • ชั้น 2 ห้องหมวดวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนเคมี ห้องเรียนฟิสิกส์ ห้องเรียนชีวะ และห้องเรียนวิทยาศาตร์ทั่วไป
    • ชั้น 3 ห้องเรียนทั่วไป
  • อาคารพุทธิเศวต หรืออาคาร 2 เป็นอาคารเรียนทั่วไปและห้องพักครู
    • ชั้น 1 ห้องหมวดภาษาไทย ห้องเรียนแนะแนว ห้องปฏิบัติการภาษาไทย และห้องเรียนทั่วไป
    • ชั้น 2 ห้องหมวดสังศึกษาศาสนาและะวัฒนธรรม ห้องเรียนประชาธิปไตย ห้องจริยธรรม ห้องปฏิบัติการประวัติศาสตร์ และห้องเรียนทั่วไป
    • ชั้น 3 ห้องหมวดคณิตศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ และห้องเรียนทั่วไป
  • อาคารธรรมเมตา หรืออาคาร 3 ปัจจุบันเป็นอาคารอำนวยการ ประกอบด้วย
    • ชั้น 1 ห้องสภานักเรียน ห้องรับรองผู้ปกครอง ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องโสตทัศนศึกษา(ห้องดอกไม้สด) ห้องสมุดกาญจนาภิเษก(E-libraly)
    • ชั้น 2 ห้องธุรการ ห้องผู้อำนวยการ ห้องการเงินและสินทรัพย์ ห้องหมวดภาษาต่างประเทศ ห้อง Sound Lab ห้องคอมพิวเตอร์ 5
    • ชั้น 3 ห้องวิชาการ ห้องวัดผล ห้องปฏิบัติการพาณิชย์และธุรกิจ ห้องคอมพิวเตอร์ 3 ห้องคอมพิวเตอร์ 2 ห้องคอมพิวเตอร์ 1
  • อาคารนราขันติ หรืออาคาร 4 เป็นอาคาร 4 ชั้น โดยชั้นแรกเป็นโถงกว้าง
    • ชั้น 1 โถงกว้างเและเวทีสำหรับหรับกิจกรรม
    • ชั้น 2 ห้องเรียนศิลปะ ห้องโชว์งานศิลปะ และห้องเรียนทั่วไป
    • ชั้น 3 ห้องคอมพิวเตอร์ 4 ห้องอาเซียนศึกษา ห้องเรียนพละศึกษา และห้องเรียนทั่วไป
    • ชั้น 4 ห้องเรียนภาษาต่างประเทศ และห้องเรียนทั่วไป
  • อาคารพละศึกษา ประกอบด้วย
    • ห้องหมวดสุขศึกษาและพละศึกษา
    • ห้องพักครูหมวดพละศึกษา
    • โถงสำหรับเรียนพละศึกษา
  • โรงอาหาร อดีตเป็นหอประชุมหลังเก่าภายหลังได้มีการสร้างอาคาร 4 จึงดัดแปลงมาเป็นโรงอาหาร
  • หอประชุมหลังใหม่ สำหรับกิจกรรมต่างๆ งานเลี้ยง
  • อาคารคหกรรม
    • ห้องคหกรรมการอาหาร
    • ห้องตัดเย็บ
  • อาคารการงานพื้นฐานอาชีพ
    • ห้องหมวดการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี
    • ห้องเรียนสีเขียว
  • อาคารโยธวาทิต
    • ห้องพักสำหรับอาจารย์ผู้ควบคุมวง
    • ห้องพักสำหรับนักเรียนวงโยธวาทิต
    • ห้องเก็บอุปกรณ์วงโยธวาทิต
  • ห้องกิจการนักเรียน ภายในมีห้องพักสำหรับอาจารย์ฝ่ายกิจการนักเรียน และห้องรับรองผู้ปกครอง
  • อาคารพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ภายในมีห้องพักสำหรับนักเรียนที่ป่วย และห้องปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  • โรงผลิตน้ำ สำหรับใช้ภายในโรงเรียน
  • ลานจัดกิจกรรม
    • ลานดนตรี
    • ลานธรรม เป็นที่ตั้งของ ศาลาเรือนแก้วซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อ ของหลวงพ่อหนู ติสฺโส
    • ลานประดู่

นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานอยู่ตั้งทางด้านหน้าของโรงเรียน คือ โบราณสถานวัดหลง ที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร

กิจกรรมภายในโรงเรียน[แก้]

พิธีมาลาบูชาคุณ[แก้]

"มาลาบูชาคุณ" คือ การแสดงออกถึงความเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนและมีความกตัญญู กตัญญูต่อพระศาสนา พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิ่งใดเราเคยล่วงเกินพระรัตนตรัย อาจจะล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เราก็ขออโหสิกรรม และกระทำการบูชาคุณพระรัตนตรัย ได้เป็นที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยวให้แก่เรา

กฎแห่งความเป็นธรรม คือ กฎแห่งกรรมว่าทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้รับผลแห่งกรรมชั่ว นี้คือคุณของพระรัตนตรัย ใครผู้ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความเจริญ เราก็เคารพบูชา นอกจากบูชาคุณพระรัตนตรัย แล้วเราก็บูชาคุณของมารดา บิดา ตอบแทนบุญคุณมารดา บิดา ต้องบูชาคุณมารดา บิดา แล้วก็บูชาคุณที่สามคือ ที่เราได้ถวายพานที่สาม คุณของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นจอมทัพไทย เป็นแม่ทัพไทย พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ตั้งแต่โบราณกาลทรง ปกป้องผืนแผ่นดิน จนถึงทุกวันนี้ มาเป็นสยามประเทศ จนเป็นไทยทุกวันนี้ เราจึงต้อง เคารพบูชาคุณของพระมหากษัตริย์

ตอบแทนบุญคุณ และต้องบูชาคุณของครูบาอาจารย์ เกิดเป็นคนต้องมีความกตัญญู กตัญญู คือรู้คุณ กตเวที คือรู้แล้วต้องตอบแทนคุณ สรุปว่า เราต้องมีความกตัญญูต่อ หนึ่ง คือ ต่อบุคคลต่อบุคคล คือ ต่อมารดา บิดา ต่อครูบาอาจารย์ ต่อผู้มีพระคุณ นี่คือกตัญญูต่อบุคคลสองคือ ต้องกตัญญูต่อวัตถุสิ่งของ ข้าวของเครื่องใช้ที่เราได้ใช้สอย

โดยทางโรงเรียนจะจัดขึ้นในทุกๆวันสำคัญเช่นวันครู วันพ่อวันแม่ โดยพิธีจะจัดขึ้นกลางสนามของโรงเรียน มีผู้นำท่องกลอนมาลาบูชาคุณ

...มาลาพวงดอกไม้ (ซ้ำ) มาตั้งไว้เพื่อบูชา (สร้อย) บูชาคุณพระพุทธ(ซ้ำ) ที่ได้ตรัสรู้มา บูชาคุณพระธรรม (ซ้ำ) ที่ได้นำความสุขมา บูชาคุณพระสงฆ์(ซ้ำ) ผู้ดำรงพระวินัย บูชาคุณบิดา-บูชาคุณมารดา เลี้ยงลูกมาจนโตใหญ่ บูชาองค์กษัตริย์ อีกทั้งรัฐและชาติไทย บูชาผู้มีคุณ(ซ้ำ) ที่เจือจุนด้วยน้ำใจ

บูชาแด่คุณครู(ซ้ำ) ที่เอ็นดูสอนศิษย์มา...

กรีฑาสีนักเรียน[แก้]

โรงเรียนไชยาวิทยาได้มีการจัดกรีฑาสีนักเรียนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 โดยจะเป็นการคัดตัวนักกีฬาเพื่อเข้าแข่งใน กรีฑานักเรียนนักศึกษาของอำเภอและของจังหวัดต่อไปด้วย จึงจัดให้มีสีหลายสีเพื่อทำให้มีตัวเลือกในการคัดตัวนักกีฬามากขึ้นโดยนักเรียนแต่ละคนจะไม่มีสีประจำตัวจะต้องให้ตัวแทนห้องมาจับฉลากเพื่อแบ่งกลุ่มสีใหม่ทุกปีจึงทำให้ชื่อคณะสีของแต่ละสีเปลี่ยนไปทุกปี โดยสีที่จะมีการจับฉลากแบ่งกันทุกปีแต่จะไม่มีสีฟ้าและขาวเพราะเป็นสีประจำโรงเรียน ประกอบด้วย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายชื่อโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-18. สืบค้นเมื่อ 2014-11-11.

9°22′57.44″N 99°11′22.74″E / 9.3826222°N 99.1896500°E / 9.3826222; 99.1896500{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้